โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไต ตอนที่ 4

กินอย่างไรเมื่อปลูกถ่ายไต

ไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury) สาเหตุของไตวายเฉียบพลันในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะช็อคทำให้ความดันโลหิตต่ำ ไตขาดเลือดมาเลี้ยง การได้รับยาบางประเภท ตลอดจนภาวะไตอักเสบ(Acute Glomerulonephritis)ที่มีการดำเนินโรคอย่างรุนแรง ทำให้การทำงานของไตลดลงอย่างมาก จึงมีการคั่งของเกลือและน้ำตลอดจนของเสียต่างๆในร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น บวม ภาวะน้ำเกิน เกลือแร่ผิดปกติ หรือมีภาวะของเสียคั่งในเลือด จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต เช่นการล้างไตทางช่องท้องหรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับพยาธิสภาพในขณะที่มีภาวะไตอักเสบ สามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

  1. ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องจำกัดน้ำประมาณ 300 - 600 ซีซีต่อวัน และจำกัดโซเดียม1 – 2 กรัม/วัน (เท่ากับเกลือแกง 2.5 – 5 กรัม)
  2. ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานและโปรตีนให้เพียงพอตามที่ควรได้รับในแต่ละวัน กรณีที่ผู้ป่วยมีระดับของเสียในเลือดสูง อาจจำเป็นต้องจำกัดโปรตีนในช่วงสั้นๆ
  3. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง

กรณีผู้ป่วยมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง เกิน 5.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรหลีกเลี่ยง อาหารในกลุ่มข้าว - แป้ง ดังนี้ ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวกล้อง บะหมี่เหลือง ขนมปังโฮลวีท และธัญพืชที่ไม่ขัดสี

สำหรับอาหารในกลุ่ม นมและผลิตภัณฑ์จากนม จะต้องระวังด้วยเช่นกันเมื่อมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง เกิน 5.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อ้างอิง

กรกต วีรเธียร. โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไต. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ;ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.

อดิสรณ์ ลำเพาพงศ์ . โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไต. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ;ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.