การสูญเสียความทรงจำ (Amnesia)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 22 ตุลาคม 2555
- Tweet
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- โรคจิต (Psychosis)
- โรคความจำเสื่อม
- ขี้ลืม หลงลืม (Forgetfulness)
- การสูญเสียความทรงจำ ภาวะเสียความจำ (Amnesia)
- ภาวะสมองเสื่อมเหตุสมองขาดเลือด (Vascular dementia)
- อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
การสูญเสียความทรงจำ หรือภาวะเสียความจำ (Amnesia) คือ ภาวะที่จดจำไม่ได้ในบางสิ่งบางอย่าง อาจเป็นเรื่องราวในอดีต หรือความสามารถในการทำงานบางอย่าง แต่ยังสามารถจดจำเรื่องราวในปัจจุบันได้ และยังสามารถช่วยเหลือตนเองหรือทำงานในปัจจุบันได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติ ดังนั้นจึงต่างกับภาวะสมองเสื่อมที่จะค่อยๆสูญเสียการควบคุมดูแลตนเองลงอย่างช้าๆ
การสูญเสียความทรงจำเกิดจากสมองส่วนความจำได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น ถ้าการบาดเจ็บไม่มากร่างกายซ่อมแซมได้ ผู้ป่วยก็จะฟื้นความทรงจำได้ แต่ถ้าการบาดเจ็บนั้นร่างกายซ่อม แซมไม่ได้ก็จะเกิดการสูญเสียความทรงจำอย่างถาวร
สาเหตุที่พบบ่อยของการสูญเสียความทรงจำคือ
- อุบัติเหตุต่อสมอง
- การติดสุราเรื้อรัง
- สมองอักเสบติดเชื้อ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- สมองขาดออกซิเจนเช่น จากการสูดดมควันพิษ
- โรคเนื้องอกสมอง
- โรคมะเร็งสมอง
- อาการชักเรื้อรัง
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่น ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวช
- และปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจ
อนึ่ง แพทย์วินิจฉัยภาวะนี้ได้จากประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายทางระบบประสาท การตรวจทางห้องปฏิบัติการในเรื่องของระบบประสาท การถ่ายภาพสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และ/หรือเอมอาร์ไอ และบางครั้งอาจต้องตัดชิ้นเนื้อจากสมองเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษาการสูญเสียความทรงจำจะเป็นการบำบัดรักษาทางด้านจิตเวชร่วมกับการใช้ยาในการรักษาการบาดเจ็บของเซลล์สมอง ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุของภาวะนี้
ภาวะสูญเสียความทรงจำเมื่อได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ โอกาสที่ความทรงจำจะฟื้นกลับคืนจะเร็วขึ้น ดังนั้นเมื่อมีอาการในด้านความทรงจำจงควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอ
บรรณานุกรม
- Amnesia href="http://www.mayoclinic.com/health/amnesia/DS01041 [ 2015,May23]
Updated 2015, May 23