การรักษาประคับประคองตามอาการ การรักษาตามอาการ (Supportive and symptomatic treatment)

การรักษาประคับประคองตามอาการ หรือ การรักษาตามอาการของผู้ป่วย เป็นวิธีรักษาโรคที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การรักษาเพื่อให้อาการผิดปกติต่างๆของผู้ป่วยบรรเทาลง เช่น การลดไข้ การรักษาอาการปวด การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาประคับ ประคองตามอาการ เป็นการรักษาอาการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ไม่ใช่การรักษาสา เหตุ ดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีที่รักษาให้หายจากโรค เพียงแต่ทำให้อาการของผู้ป่วยบรรเทาลง

ทางการแพทย์ ในการรักษาทุกโรค จำเป็นต้องมีการรักษาควบคู่กันไปทั้ง

  • การรักษาสาเหตุเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรค เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ กรณีโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
  • และการรักษาประคับประคองตามอาการ เพื่อบรรเทาอาการต่างๆของผู้ป่วย เช่น การให้ยาลดไข้ กรณีผู้ป่วยมีไข้สูง เป็นต้น
การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยทั่วไปเป็นการรักษาทางอายุรกรรม ที่ให้การรัก ษาโดยแพทย์ทั่วไปทุกสาขา เช่น การให้ยาบรรเทาอาการต่างๆ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้เลือด การให้ออกซิเจน การใส่ท่อให้อาหาร การใส่ท่อสวนปัสสาวะ ซึ่งบ่อยครั้ง แพทย์ พยาบาล สามารถสอนผู้ป่วยให้ดูแลตนเองที่บ้านได้ เช่น การเช็ดตัวลดไข้เมื่อมีไข้สูง หรือ การทำกายภาพฟื้นฟูกรณีเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น

แต่ในบางกรณี การรักษาประคับประคองตามอาการอาจรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นกับอา การผู้ป่วย ซึ่งแต่ละวิธีรักษามักมีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยมาก จนไม่ส่งผลกระทบต่อคุณ ภาพชีวิตของผู้ป่วย เช่น

  • การรักษาด้วยศัลยกรรม (เช่นการเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจกรณีผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ หรือ การเจาะท้องเพื่อใส่ท่อให้อาหาร เป็นต้น)
  • และรังสีรักษา (เช่น การฉายรังสีรักษาเพื่อบรรเทาปวดในโรคมะเร็งกระจายเข้ากระดูก เป็นต้น)