กระบอกฉีดยาและเข็มจะขาดแคลนหลังวิกฤตน้ำท่วม

ข่าวเด่นรายวัน เมื่อวานนี้ รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขยอมรับว่า อาจขาดแคลน 2 เดือน. . . . สำหรับยาหรือเวชภัณฑ์ที่ทดแทนไม่ได้ โดยเฉพาะ น้ำเกลือ กับกระบอกฉีดยา และเข็มต่างๆ. . . . .

กระบอกฉีดยา (Syringe) เป็นเครื่องสูบลมอย่างง่ายประกอบด้วยตัวสูบลมที่ปรับให้เหมาะพอดีในหลอดแก้ว [หรือพลาสติก] ตัวสูบลมอาจถูกดึงหรือผลักภายในหลอดทรงกระบอก ที่นำเข้าและขับออกซึ่งของเหลว หรือก๊าซผ่านปากที่เปิดกระบอก ตรงปากกระบอกอาจสวมต่อด้วยเข็มฉีดยา หัวปุ่ม หรือสายท่อ เพื่อช่วยกำหนดการไหลเข้าและออกจากกระบอกของยา มักใช้ในการให้ยาฉีด นำยาผ่านหลอดเลือดดำ (Intravenous drug) เข้าไปในกระแสเลือด และวัด [การไหล] ของสารเหลว

ในทางการแพทย์ กระบอกฉีดยามักใช้ร่วมกับเข็มฉีดยา เพื่อฉีดสารเหลวหรือก๊าซเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายหรือออกจากร่างกาย ตามปรกติการฉีดอากาศเข้าไปในหลอดเลือดเป็นอันตราย เพราะอาจเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดอุดตัน แต่การป้องกันหลอดเลือดอุดตันสามารถทำได้โดยการนำอากาศออกจากกระบอกฉีดยา ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการถือกระบอกฉีดยาในลักษณะส่วนบนลงล่าง [ปลายเข็มชี้ฟ้า] ค่อยๆ เคาะกระบอกฉีดยา และขับ [ฉีด] สารเหลวออกเล็กน้อยก่อนการฉีดเข้าไปในกระแสเลือด

ส่วนที่เป็นกระบอกมักทำด้วยแก้วหรือพลาสติกโปร่งใส และ [ตรงผิวนอกของกระบอกฉีด] มีการทำเครื่องหมายเป็นขั้นๆ เพื่อบ่งชี้ถึงปริมาตรของสารเหลวในกระบอกฉีด กระบอกแก้วสามารถฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งอบไอน้ำได้ แต่กระบอกฉีดสมัยใหม่มักทำด้วยพลาสติก ที่มีลูกสูบยาง เพราะการเชื่อมที่ดีกว่าระหว่างกระบอกกับลูกสูบ นอกจากนี้ยังราคาถูกจนทิ้งไปได้หลังการใช้เพียงครั้งเดียว ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคที่ติดต่อทางเลือด

การใช้ซ้ำของเข็มและกระบอกฉีดยาในบรรดาผู้ใช้ยาผ่านหลอดเลือดดำ เป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยเฉพาะ เชื้อเอชไอวี และโรคไวรัสตับอักเสบ อย่างไรก็ตาม การใช้กระบอกฉีดยาซ้ำในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเกิดขึ้นบ่อย จะปลอดภัยได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้ใช้คนเดียวกัน

ในบางครั้ง กระบอกฉีดยาที่ปราศจากเข็ม อาจใช้กับการให้ยาน้ำแก่เด็กอ่อน เพราะสามารถวัดปริมาณที่ให้แต่ละครั้ง (Dose) ได้อย่างแม่นยำ และเป็นการง่ายกว่าในการรินยาเข้าไปในปากเด็กอ่อน แทนการคะยั้นคะยอให้เด็กอ่อนกินจากช้อนที่ตวงได้

กระบอกฉีดยาที่มีลูกสูบใช้ครั้งแรกในสมัยอาณาจักรโรมัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 เพื่อการบำบัดโรคที่มีภาวะแทรกซ้อน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ศัลยแพทย์ชาวอิรัก/อียิปต์ ได้ใช้กระบอกฉีดยาร่วมกับเข็มฉีดยา หลอดแก้วกลวง และเครื่องดูด เพื่อเอาต้อกระจกออกจากตาผู้ป่วย ซึ่งเป็นหัตถการที่ดำเนินต่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13

ในปี พ.ศ. 2303 รูปแบบของการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และการปล่อยให้เข้าหลอดเลือด (Infusion) ได้เริ่มต้นขึ้น ในปี พ.ศ. 2396 ได้มีการพัฒนากระบอกฉีดเข้าหลอดเลือดดำพร้อมเข็มที่เล็กมากพอที่จะเจาะเข้าผิวหนังได้ ในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการประดิษฐ์กระบอกฉีดยาด้วยแก้วทุกส่วน พร้อมกระบอกและตัวสูบที่ได้มาตรฐานทดแทนกัน ทำให้สามารถฆ่าเชื้อจากกระบอกแก้ว และตัวสูบได้ในเวลาเดียวกันเป็นจำนวนครั้งละมากๆ (Mass sterilization) และในปี พ.ศ. 2499 ก็ได้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรกระบอกฉีดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Disposable) ในออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

แหล่งข้อมูล:

  1. Syringe. http://en.wikipedia.org/wiki/Syringe [2011, November 18].