กระจ่างขึ้นด้วยเครื่องช่วยวินิจฉัย (ตอนที่ 5)

กระจ่างขึ้นด้วยเครื่องช่วยวินิจฉัย

การใช้เอ็มอาร์ไอกับการตรวจหัวใจและหลอดเลือด เช่น

  • ดูขนาดและการทำงานของห้องหัวใจ
  • ดูความหนาและการเคลื่อนไหวของผนังหัวใจ
  • ดูร่องรอยความเสียหายของโรคหัวใจ
  • ดูปัญหาโครงสร้างในหลอดเลือดเอออร์ตา (Aorta) เช่น หลอดเลือดโป่งพอง
  • ดูการอักเสบหรืออุดตันของหลอดเลือด

การใช้เอ็มอาร์ไอกับกระดูกและข้อต่อ เช่น

  • ข้อต่อผิดปกติ เช่น ข้อต่ออักเสบ (Arthritis) หรือข้อต่อผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บ
  • ข้อกระดูกสันหลังผิดปกติ
  • การติดเชื้อในกระดูก
  • มีก้อนเนื้อในกระดูกและเซลล์เนื้อเยื่อ

ในห้องตรวจเอ็มอาร์ไอจะห้ามนำเอาวัตถุโลหะและอิเล็คโทรนิคเข้าไปด้วย เพราะอาจเกิดความเสียหายและทำให้การตรวจผิดพลาดได้ เช่น

  • เครื่องประดับ นาฬิกา บัตรเครดิต เครื่องช่วยฟัง
  • เข็มหมุด กิ๊บหนีบผม
  • ปากกา มีดพก แว่นตา

สำหรับคนที่มีการใส่อวัยวะต่อไปนี้ ไม่ควรทำเอ็มอาร์ไอ

  • มีการฝังประสาทหูเทียม (Cochlear implant)
  • มีการใส่คลิป (Clips) บางชนิดที่ใช้ในกรณีหลอดเลือดโป่งพองในสมอง (Brain aneurysms)
  • มีการใส่ขดลวด (Metal coils) บางชนิดในหลอดเลือด
  • มีการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Cardiac defibrillators) และเครื่องคุมจังหวะหัวใจ (Pacemakers)
  • มีการใช้ข้อเทียมที่เป็นโลหะ (Metallic joint prostheses)

ข้อดีของเอ็มอาร์ไอ

  • ไม่มีการใช้รังสี (Ionizing radiation) ในการตรวจ
  • สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่มีเนื้อเยื่ออ่อน (Soft-tissue structures) เช่น หัวใจ ตับ ฯลฯ ได้ดีกว่าเครื่องมืออื่น ทำให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของสมองเฉพาะแห่ง (Focal lesions) และก้อนเนื้อ (Tumors) ได้ดี
  • สามารถใช้ตรวจความผิดปกติของอวัยวะที่อาจถูกบดบังด้วยกระดูก

แหล่งข้อมูล

  1. Magnetic Resonance Imaging (MRI) - Body. http://www.radiologyinfo.org/en/info.cfm?pg=bodymr [2015, August 2].
  2. MRI. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/mri/basics/definition/prc-20012903 [2015, August 2].