เสี่ยงไหมกับเมลาโทนิน (ตอนที่ 4)

เสี่ยงไหมกับเมลาโทนิน-4

ทั้งนี้เพราะปริมาณเมลาโทนินเพียง 1-5 มิลลิกรัม ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชักหรือมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นในเด็กเล็กได้ ส่วนในผู้ใหญ่การกินในปริมาณ 30 มิลลิกรัม ก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงควรเริ่มกินทีละน้อยและค่อยๆ ดูผล

โดยปริมาณที่ปลอดภัยในการเริ่มได้แก่ ปริมาณ 0.2-5 มิลลิกรัม ขึ้นกับน้ำหนัก อายุ พฤติกรรมการนอน (Sleep circumstances) ของแต่ละคน เช่น

  • กรณีช่วยให้นอนหลับทั่วไป ปริมาณอยู่ที่ 0.3-10 มิลลิกรัม
  • สำหรับผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ อยู่ที่ 0.1-5 มิลลิกรัม
  • การรักษาอาการเจ็ทแลค อยู่ที่ 0.1-8 มิลลิกรัม ก่อนเวลาเข้านอนของสถานที่เป้าหมาย
  • การรักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless leg syndrome) อยู่ที่ 3 มิลลิกรัม

การได้รับเมลาโทนินที่มากเกินอาจทำให้ผลตรงข้ามได้ กล่าวคือ ยิ่งทำให้นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมีผลต่อความดันโลหิต และทำให้เกิดผลข้างเคียง นอกจากนี้ไม่ควรกินเมลาโทนินพร้อมแอลกฮอล์หรือคาเฟอีน

เมลาโทนินใช้ได้ผลดีในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการกินอาหารเสริมเมลาโทนิน โดยเฉพาะเด็กและหญิงตั้งครรภ์ ทั้งนี้ เพราะอาหารเสริมเมลาโทนินสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่

  • ง่วง
  • อุณหภูมิในร่างกายต่ำลง
  • ฝันชัดเจน (Vivid dreams)
  • มึนงงในตอนเช้า (Morning grogginess)
  • ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
  • คลื่นไส้

ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ้าง เช่น

  • รู้สึกหดหู่ซึมเศร้า
  • สั่นเล็กน้อย (Mild tremor)
  • วิตกกังวลเล็กน้อย (Mild anxiety)
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นตะคริวที่ท้อง (Abdominal cramps)
  • หงุดหงิด
  • การตื่นตัวลดลง
  • สับสนไม่มีสมาธิ
  • ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

แหล่งข้อมูล:

  1. Is melatonin a helpful sleep aid — and what should I know about melatonin side effects? https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/melatonin-side-effects/faq-20057874 [2017, November 1].
  2. Melatonin - Overview. https://www.webmd.com/sleep-disorders/tc/melatonin-overview#1 [2017, November 1].
  3. Melatonin Overdose. https://www.healthline.com/health/melatonin-overdose#overview1 [2017, November 1].