เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) : ในบางโอกาสความเขียว.... ก็สวยกว่าขาวขาว

ใบเตย ต้นไม้ธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเมื่อผศ. ดร.เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร คิดค้นวิจัยการปรับปรุงกลิ่นหลังการหุงต้มของข้าวพันธุ์ชัยนาท1 โดยใช้สารสกัดจากใบเตย จนคว้ารางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยยอดเยี่ยม “TISD 2010 Best Presentation Award” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 3rd Technology and Innovation for Sustainable Development International Conference (TISD 2010)

ประโยชน์ของเตยหอม คือ ราก และใบ แต่ละส่วนของเตยหอมจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้

  • ใบเตยสด เชื่อว่า เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใบเตยต้มกับน้ำ เชื่อว่ามีสรรพคุณใช้รับประทานแก้หวัด แก้ไอ ดับพิษไข้ ดับร้อน ใบเตยมีสารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และยังใช้แต่งกลิ่นให้หอมอีกด้วย เช่น แต่งกลิ่นในขนมหลายชนิด ได้แก่ ขนมขี้หนู ลอดช่องซ่าหริ่ม ขนมชั้น ฯลฯ
  • รากเตย มีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

วิธีทำ

ข้าวสาร 1 ขีด

ใบเตยแก่ 15-20 ใบ

ใบเตยนำมาล้างให้สะอาดหั่นฝอยนำมาปั่นหรือโขลก คั้นเอาแต่น้ำมาใช้หุงข้าว

หมายเหตุ น้ำใบเตยคั้นแล้วควรนำไปหุงเลย หากทิ้งไว้นานมากกว่า 1 ชั่วโมงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไม่เขียวสด

แหล่งข้อมูล:

  1. ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข