ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 7)

ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ได้รับการออกแบบทางการยศาสตร์ เพื่อนำใช้รักษาหรือป้องกันความผิดปกติ อย่างเช่นการรักษาความเจ็บปวดเรื้อรังที่สัมพันธ์กับความดัน ความผิดปกติของการอักเสบของข้อต่อกระดูก (Arthritis) ทั้งเรื้อรังและชั่วคราว

หนึ่งในชนิดที่แพร่หลายมากที่สุดของการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับงานคือ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อรวมโครงร่างที่สัมพันธ์กับงาน (Work-related musculoskeletal disorders : WRMDs) ซึ่งส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดถาวร การสูญเสียความสามารถในการททำงาน หรือไม่สามารถทำงานได้ แต่การวินิจฉัยเริ่มต้น อาจทำได้ยากเพราะขึ้นอยู่บนพื้นฐานหลักของการเจ็บปวดและอาการอื่นๆ

ทุกๆ ปี 1.8 ล้านคนงานในสหรัฐมีประสพการณ์ WRMDs และเกือบจะ 600,000 รายของการบาดเจ็บเป็นความรุนแรงเพียงพอที่จะเป็นสาหตุของการขาดงาน งานบางอย่างหรือเงื่อนไขของงานเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยของคนงานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น การล้าเฉพาะที่ ความไม่สบาย หรือปวดซึ่งไม่หายไปหลังจากพักทั้งคืน หลายชนิดของงานเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำซ้ำๆ และการใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ (Forceful exertion) ความถี่ ความหนัก หรือการยกข้ามศีรษะ งานที่อยู่ในตำแหน่งงุ่มง่าม หรือ ใช้อุปกรณ์สั่นสะเทือน

องค์การบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Safety and Health Administration : OSHA) ได้พบหลักฐานสำคัญว่า โปรแกรมการยศาสตร์ สามารถตัดต้นทุนค่าชดเชยของคนงานได้ เพิ่มผลผลิตและ ลดการหมุนเวียนของลูกจ้างได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการรวบรวมข้อมูลเพื่อแยกแยะงานหรือเงื่อนไขของงาน ซึ่งเป็นปัญหามากที่สุด การใช้แหล่งข้อมูล อย่างเช่น การบาดเจ็บและจดบันทึกความเจ็บปวด เวชระเบียน และการวิเคราะห์งาน

การเกิดขึ้น (Emergence) ของสาขาปัจจัยมนุษย์บนทางหลวงที่ปลอดภัย (Highway safety) โดยใช้หลักของปัจจัยมนุษย์เพื่อที่จะเข้าใจนการกระทำและความสามารถของผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับรถยนต์ และรถบรรทุก คนเดินถนน หรือคนถีบจักรยาน ทำให้เราสามารถออกแบบถนนหรือทางเดินเท้า เพื่อลดการชนกันทางจราจร (Traffic collision)

ความผิดพลาดของคนขับรถ ได้รับการบันทึก ว่าเป็นปัจจัยสาเหตุถึง 44% ของการชนกันถึงแก่ความตาย (Fatal) ในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นหัวข้อที่น่าสนใจก็คือประเด็นที่ว่า ผู้ใช้ถนนจะรวบรวมและประมวลข้อมูลเกี่ยวกับถนนและสิ่แวดล้อมอย่างไร และจะช่วยเขาตัดสินใจอย่างเหมาะสมได้อย่างไร

นักผู้ปฏิบัติ (Practitioner) ที่ยึดมั่นในปัจจัยมนุษย์ มาจากหลากหลายพื้นฐาน ส่วนใหญ่มักเป็นนักจิตวิทยา (จากหลายๆ สาขาของจิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการมอง จิตวิทยาประยุกต์ และจิตวิทยาทดลอง) และสรีสวิทยา นอกจากนี้ยังมีนักออกแบบ (อุตสาหกรรม ปฏิสัมพันธ์ และกร๊าฟฟิค) นักมนุษยวิทยา (Anthropologist) นักเทคนิคการสื่อสารและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ก็มีส่วนร่วมพัฒนาความก้าวหน้าทางสาขาวิชานี้ นักการยศาสตร์ จะมีวุฒิปริญญาตรีในสาขาจิตวิทยา วิศวกรรม การออกแบบ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ และโดยปกติอาจมีวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาเอก ในสาขาที่เกี่ยวข้อง แม้ว่านักปฏิบัติบางท่านได้เข้ามาในสาขาปัจจัยมนุษย์จากสาขาอื่นๆ

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0%d2%be [2013, October 19].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 19].