จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 213: การเสพติดยา (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-213

      

      ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis) ประสบปัญหาร้ายแรงกับสูบซิการ์ (Cigar) อย่างต่อเนื่องจนมีผลกระทบต่อชีวิตวิชาชีพ ด้วยอาการ 4 อย่างด้วยกัน

      อารการแรกที่ซิกมันด์ ฟรอยด์ ยังคงสูบซิการ์อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัญหาหัวใจ ก็คือ เขาเสพติด (Addiction) ซึ่งหมายความว่า เขาได้พัฒนารูปแบบพฤติกรรม (Behavioral pattern) ของการเสพติดยา (Abuse) อันแสดงออกโดยความปรารถนา (Desire) อย่างท่วมท้น (Overwhelming) และอย่างหุนหันพลันแล่น (Impulsive) เพื่อให้ได้ยามาเสพ หลังจากหยุดยาแล้ว เขามีแนวโน้ม (Tendency) ที่จะกลับคืนสู่สภาพ (Relapse) ของการเสพยาใหม่ เนื่องจากเขาได้เสพติดสารนิโคตีน (Nicotine) แล้วหยุดไม่ได้

      อาการที่ 2 ซึ่งฟรอยด์สูบซิการ์ถึง 20 มวนต่อวัน ก็คือเขาได้พัฒนาการอดทนยอมรับ (Tolerance) ต่อสารนิโคตีน ซึ่งหมายความว่า เขาได้เสพยาครั้งแล้วครั้งเล่า (Repeatedly) ตลอดช่วงระยะเวลา ปริมาณ (Dose) เดิมของยาที่เขาเสพติด ไม่สามารถสร้างผลกระทบต่อความปรารถนา (Desired effect) ได้ เขาจึงต้องเสพยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้ผลกระทบต่อพฤติกรรมเพียงเท่าเดิม การอดทนยอมรับเป็นสัญญาณ (Sign) ของการพึ่งพาสารนิโคตีน

      อาการที่ 3 ซึ่งฟรอยด์ พบความลำบากใจที่จะเลิก (Quit) สูบซิการ์ ก็คือ เขาได้วิวัฒนาการพึ่งพา (Dependency) สารนิโคตีน ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท (Nervous system) ที่เขาจำเป็นต้องอาศัยยา เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ (Re-occurrence) ของอาการถอดถอน (Withdrawal) ยา อาการดังกล่าว สร้างความเจ็บปวดทรมานมาก การติดยาและการพึ่งพา รวมกัน (Combine) ทำให้การหยุดยายากขึ้นเป็นทวีคูณ (Doubly difficult)

      อาการที่ 4 การพึ่งพาสารนิโคตีน ทำให้ฟรอยด์พบกับอาการถอดถอนยากขึ้น ทุกครั้งที่เขาพยายามหยุดยา อาการถอดถอนจะสร้างความเจ็บปวดทางร่างกาย (Physical) และจิตใจ (Psychological) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากผู้พึ่งพายา พยายามหยุดการเสพติดยา จนกลายเป็นความซึมเศร้า (Depressed) ฟรอยด์ อธิบายว่า เขารู้สึกว่า อยู่ในสภาพทุรนทุรายใกล้ตาย เพราะความรู้สึกถูกทรมาน (Tortured) เกินกว่าพลังมนุษย์ (Human power) จะต้านทานได้ (Bear)

      ในสหรัฐอเมริกา มีการเสพยาอย่างแพร่หลาย ทั้งที่ถูกกฎหมาย (Legal) และผิดกฎหมาย (Illegal) ใน 35 ปีที่ผ่านมา รัฐได้ทำสงครามยาเสพติด เพื่อควบคุมการเสพยาที่ผิดกฎหมาย ต้นทุนของการต่อสู้ดังกล่าว สูงนับหลายพันล้านดอลลาร์ โดยที่ 65% ใช้ในการปราบปราม (Law enforcement) และ 35% ใช้ในการเยียวยารักษา อันที่จริง ทุกๆ 20 วินาที จะมีการจับกุม (Arrest) ผู้ละเมิดฎหมาย (Law violation) จากการใช้ยาเสพติด

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Psychoactive drug - https://en.wikipedia.org/wiki/Psychoactive_drug [2019, May 11].