จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 122: รสนิยมการกินต่างวัฒนธรรม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-122

อารมณ์ความรู้สึก (Sense) แปลงโฉม (Transform) พลังงานทางกายภาพ ให้เป็นสิ่งเร้า (Impulse) ซึ่งกลายเป็นประสาทสัมผัส (Sensation) และการมองเห็น (Perception) แต่การมองเห็นมักจะได้รับอิทธิพล (Influenced) จากปัจจัยทางจิตวิทยา อาทิ การเรียนรู้ อารมณ์ (Emotion) และการจูงใจ (Motivation) จนทำให้เราอาจมิได้มองเห็นโลกในมุมมองเดียวกันกับผู้อื่น

ตัวอย่างเช่น หากได้รับเชิญให้รับประทานตาของปลา (Fish eye) พวกเราหลายคนคงมีปฏิกิริยา (Reaction) ต่อความน่ารังเกียจ (Disgust) อย่างเปิดเผย (Express) ในวัฒนธรรมของเรา อันที่จริงวัฒนธรรมมีอิทธิพลสูงต่ออาหารการกิน โดยแยกแยะว่า อะไรน่ารังเกียจ และอะไรลิ้มรสแล้วอร่อย ขึ้นอยู่กับการมอง (Perceive) จากมิติต่างวัฒนธรรม

ความรังเกียจถูกกระตุ้น (Trigger) ด้วยการปรากฏตัว (Presence) ของสิ่งหลากหลายที่ปนเปื้อน (Contaminated) หรือน่าขยะแขยง (Offensive) อาทิ อาหารบางชนิด ผลิตภัณฑ์ร่างกาย หรือเลือด (Gore) เราแสดงความน่ารังเกียจผ่านการแสดงออกทางสีหน้า (Facial expression) อันเป็นที่รับรู้กันไปทั่ว (Universally recognized) โดยการหลับตา หดรูจมูก (Nostril) ให้แคบลง ม้วนริมฝีปากขึ้น และบางครั้งแลบลิ้นเข้าใส่

ความรังเกียจเป็นอารมณ์ความรู้สึกขั้นพื้นฐาน และมีความสัมพันธ์เฉพาะกับระบบการจูงใจ อาทิ ความหิวโหย (Hunger) เด็กมักเริ่มแสดงสีหน้าน่ารังเกียจ เมื่ออายุระหว่าง 2 ถึง 4 ขวบ ในขณะที่เขาเรียนรู้อาหารประเภทใดในวัฒนธรรมของเขาที่พิจารณาแล้วว่า รับประทานได้ (Edible) และอาหารประเภทใดต้องปฏิเสธ (Repugnant)

สำหรับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ การกินหนอน (Worm) ที่มีทรงกลม อ่อนนุ่ม และมีสีขาว เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยคาดคิด (Unthinkable) แต่สำหรับเผ่าแอสมัต (Asmat) แห่งเกาะนิวกินี (New Guinea) ในประเทศอินโดนีเชีย แล้ว มันเป็นที่โปรดปรานมากของชาวพื้นเมือง (Ethnic) ดังกล่าว

ชาวพื้นเมืองจะจับตัวอ่อน (Larva) ของตัวด้วง (Beetle grub) ที่มีรูปร่างอวบ (Plump) สีขาว ขนาด 2 นิ้ว นี้ประมาณ 1 โหล ใส่ลงกระบอกไม้ไผ่ (Bamboo sliver) แล้วย่างมัน จนกลายเป็นอาหารอันโอชะ (Delicacy) ช่างภาพ (Photographer) จากสหรัฐอเมริกาที่ถ่ายทำเรื่องราวนี้ ได้ลองกินตัวด้วงย่างนี้ แต่รสชาติของมัน ทำให้เขากลืน (Swallow) ไม่ลง

ชาวเอสกิโม (Eskimo) ล่าปลาวาฬชนิดซึ่งให้สารโปรตีน (Protein) ที่เรียกกันว่า “นาร์เวล” (Narwhal) เป็นปลาวาฬขาวขนาดเล็ก มักอยู่ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ในมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic) พวกเขาถือว่า ชั้น (Layer) ของไขมัน (Fat) ที่อยู่ใต้ผิวหนังของมันเป็นอาหารอันโอชะ เมื่อกินดิบๆ หรือตากแห้งแล้ว

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Food: How spicy flavors trick your tongue http://www.bbc.com/future/story/20150120-hidden-ways-your-tongue-tastes [2017, August 12].