จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 126 : ข้อจำกัดทางกายภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-126

สายตา (Eyesight) ของผู้สูงวัยส่วนมากจะแย่ลง ทำให้ความคมชัด (Acuity) ในการมองเห็นลดลง แม้ในผู้สูงวัยที่มีสายตาข้างปรกติ ตัวพิมพ์ขนาดเล็กลง (Diminishing) [ซึ่งผู้ใหญ่เยาว์วัยสามารถมองเห็นได้ง่าย] เป็นสาเหตุของการเสื่อมถอยของทักษะการอ่านในผู้สูงวัย เพราะนักวิจัยประมาณ (Estimate) ว่า 23% ของผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัยไม่สามารถอ่านตัวพิมพ์ดังกล่าวได้

การแก้ปัญหานี้จึงอยู่ที่การพิมพ์หนังสือให้ตัวโตขึ้น (Larger typeface) ประมาณ 2 เท่าตัว ซึ่งทำให้การอ่านง่ายขึ้นด้วยสำหรับผู้มีสายตาค่อนข้างแย่ (Poor) แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน เริ่มต้นที่หนังสือตัวโตมีตลาด [ผู้อ่าน] ที่ค่อนข้างเล็ก ผู้ใหญ่เยาว์วัยที่มีสายไม่สู้ดีนัก (Impaired) มักใช้อุปกรณ์ขยาย (Magnifying equipment) จึงสามารถรับมือกับตัวพิมพ์ปรกติได้

สำนักพิมพ์มีแนวโน้มที่จะใช้ตัวพิมพ์ขนาดปรกติ เพื่อดึงดูด (Appeal) ผู้อ่านฐานใหญ่สุด (Largest readership) ซึ่งนโยบายนี้เป็นอุปสรรค (Restrict) แก่ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องสายตา หรือจำกัดทางเลือกประเภทของเนื้อหา (Text) ที่ไม่มีแนวโน้มจะยืดขยาย (Stretch) ความสามารถในการอ่าน ผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยที่มีข้อจำกัด (Limit) ในเรื่องปริมาณที่เขาสามารถอ่านได้

นอกจากนี้ หนังสือที่พิมพ์ตัวโตมักมีน้ำหนักค่อนข้างมาก เป็นข้อจำกัดในการถือครองเวลาเดินทางระหว่างร้านหนังสือหรือห้องสมุดกับบ้าน ยังไม่มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) จากการวิจัยว่า ตัวพิมพ์โตอาจช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านดังๆ แต่ก็อาจลดความเร็วในการอ่านในใจ (Silent) เหมือนที่บางคนตั้งข้อสังเกต

อย่างไรก็ตาม การวิจัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การปรับขนาดตัวพิมพ์ให้ใหญ่ขึ้นในข้อสอบเชาวน์ปัญญา (Intelligence test) สามารถบรรเทา (Lessen) แต่ไม่อาจขจัด (Remove) ความแตกต่างระหว่างอายุ ในขณะที่อีกวิจัยหนึ่งพบว่า การเพิ่มขนาดของตัวพิมพ์มิได้มีผลกระทบต่อผล (Performance) ของการทดสอบเพื่อคัดเลือกบุคลากร (Personnel selection test)

การพิจารณาถึงขนาดของตัวพิมพ์จะกลายเป็นรูปแบบที่เชย (Outmoded) ในที่สุด เนื่องจากการเกิด (Rise) ของหนังสือที่พูดได้ (Talking book) นักวิจัยสังเกตว่า ผู้สูงวัยที่มีปัญหาการมองเห็น (Visual) อาทิ การเสื่อมลงของจอประสาทตา (Macular degeneration) มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสาร (ซึ่งมักมีตัวพิมพ์ขนาดเล็กตามปรกติ) ไปเป็นการฟังหนังสือที่พูดได้ นักวิจัยประมาณว่า 1 ใน 4 ของตัวอย่าง (Sample) ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการขยายตัวพิมพ์ให้โตขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือที่พูดได้เสนอทางออกให้ผู้มีปัญหาเรื่องสายตา แต่มันไม่สามารถทดแทน (Substitute) การอ่านโดยตรง ด้วยเหตุผล 3 ประการ ในประการแรก ผู้เล่าเหตุการณ์ (Narrator) ค่อนข้างตอกย้ำ (Emphasize) สิ่งที่ได้อ่าน ซึ่งอาจไม่สอดคล้อง (Match) กับสิ่งที่ผู้ฟังอยากได้เมื่อเขาอ่านเอง ในประการที่ 2 การฟังหนังสือที่พูดได้ เกี่ยวข้องกับการได้ยินทุกๆ คำพูด และในประการที่ 3 การอ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านข้อความเดิมได้อีก หรืออาจกระโดดข้าม (Skip) เนื้อหาบางตอนได้ แต่เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก หรือทำไม่ได้เลย เมื่อฟังหนังสือที่พูดได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Barriers to physical activity in older adults in Germany: a cross-sectional study https://ijbnpa.biomedcentral.com/articles/10.1186/1479-5868-8-121 [2017, September 12].