จะกินอย่างไรเมื่อผ่าตัดกระเพราะอาหารลดความอ้วน (Bariatric Surgery) ตอนที่ 7

จะกินอย่างไรเมื่อผ่าตัดกระเพราะอาหารลดความอ้วน

หลังการผ่าตัดกระเพาะผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำ การเลือกรับประทานอาหารโดยนักโภชนาการ เนื่องจากการรับประทานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และเพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย โดยจำแนกดังนี้

  1. อาหารประเภทโปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดี อาทิ ไข่ เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ นมพร่องมันเนย เพื่อรักษาเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและป้องกันการขาดสารอาหาร ผู้ป่วยควรได้รับอาหารประเภทโปรตีน 60 - 80 กรัมต่อวัน

  2. พลังงานที่ควรได้รับต่อวัน 1,000 - 1,200 แคลอรีต่อวัน เพื่อเป็นการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาทิ ของทอดต่างๆ เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลทุกชนิด
  4. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง ที่ดูดซึมง่าย อาทิ แป้งจาก Bakeryต่างๆ อาหารประเภทเส้น
  5. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังการผ่าตัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าไปในระบบได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
  6. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ลิตรและต้องงดการดื่มน้ำก่อน - หลังรับประทานอาหารครึ่งชั่วโมง
  7. ผู้ป่วยสามารถรับประทานผัก - ผลไม้ได้ ถึงแม้ว่าในระยะ 1 เดือนแรกต้องบดก็ตาม เนื่องจากผัก และผลไม้มีวิตามินที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จำเป็นต้องรับประทานจากธรรมชาติ
  8. หยุดรับประทานอาหารทันที เมื่อรู้สึกอิ่มเพราะจะทำให้กระเพาะอาหารยืดออกได้อีก

โดยสรุป แล้วหลักการรับประทานอาหารหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร “เพื่อลดน้ำหนัก” ให้ให้สามารถควบคุมน้ำหนักดังนี้

  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีน จากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ อาทิ ไข่ เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ หรืออาหารทางการแพทย์ ตามคำแนะนำของนักกำหนดอาหาร อย่างเพียงพอเพื่อรักษาสภาพเนื้อเยื่อ
  • ผู้ป่วยควรต้องรับประอาหารช้าๆ เพื่อป้องกันภาวะอาหารไหลผ่านกระเพาะอย่างรวดเร็ว และอาจเกิดภาวะ Dumping Syndrome ภาวะน้ำตาลในระดับเลือดต่ำ
  • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล อาทิ น้ำหวาน น้ำผลไม้
  • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เนื่องจากเนื่องจากจะดูดซึมอย่างรวดเร็ว
  • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากการทอด และไขมันจากมาการีนต่างๆ

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

สุริยะ พันธ์ชัย.การรักษาโรคอ้วนด้วยวิธีการผ่าตัด Bariatric Surgery.ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556