น้ำตาล...ความหวานกับสุขภาพ ตอนที่ 1

ความหวานกับสุขภาพ

ผลกระทบของน้ำตาลต่อความอ้วนและสุขภาพ แม้ว่าน้ำตาลจะมีความสำคัญในฐานะที่เป็นผลผลิตและแหล่งอาหาร แต่ในมุมมองของโภชนาการและการแพทย์ น้ำตาลเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ส่งผลการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ซึ่งพบมาขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคมปัจจุบัน หลักฐานทางวิชาการระบุว่า น้ำตาลนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาผันฟุ โดยตรงแล้ว ยังเป็นสาเหตุร่วมของภาวะอ้วนเบาหวานชนิดที่ 2 ยังอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

ดังนั้นการลดการบริโภคน้ำตาล ในชีวิตประจำวันให้น้อยลงจึงเป็นเป้าหมายระดับโลก ล่าสุดในปี 2015 คณะกรรมการวิชาการด้านโภชนาการและองค์การอนามัยโลก จัดทำร่างข้อเสนอแนะเรื่องพลังงานจากอาหารในการบริโภค 1 วันโดยลดสัดส่วนพลังงานจากน้ำตาลอิสระ(Free sugar)ลงครึ่งหนึ่ง จากข้อแนะนำเดิมไม่เกินร้อยละ 10 เป็นไม่เกินร้อยละ 5 ของพลังงานทั้งหมดหรือประมาณ 6 ช้อนชาและเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ หามาตรการลดการบริโภคน้ำตาลในประชากรของตนลงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

การลดน้ำตาลในชีวิตประจำวันไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะน้ำตาลแฝงมากับอาหารทุกชนิด ทั้งเครื่องดื่ม อาหารว่าง อาหารหลัก นมและผลิตภัณฑ์จากนม แม้กระทั่งในเครื่องปรุงอาหารและยา จากการสำรวจประชากรใน 100 ประเทศพบว่าในช่วง 38 ปีจาก1962 – 2000 ประชากรบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นจาก 232 กิโลแคลอรี เป็น 306 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยแหล่งที่มาของพลังงานจากน้ำตาลที่สำคัญที่สุดมาจากน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล รองลงมาคือขนมและอาหารต่างๆ โดยผลจากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยบริโภคน้ำอัดลมต่อคนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน.

อ้างอิง

จันทนา อึ้งชูศักดิ์. การขับเคลื่อนระดับโลกเพื่อลดปริมาณน้ำตาลในชีวิตประจำวัน . การประชุมวิชาการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 9 เรื่อง โภชนาการดีถ้วนหน้า ตามรอยพระบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการ ; วันที่ 21-23 ตุลาคม 2558 ; ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ชั้น 5. กรุงเทพฯ.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช.จานอาหารของฉัน(My Plate).กินเพื่อสุขภาพ ;2557.โรงพิมพ์เสริมมิตร .กรุงเทพฯ.หน้า 7-29.