logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาแก้แพ้

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาแก้แพ้

เป็นกลุ่มยาที่มีโครงสร้างคล้ายสารฮิสตามีน (Histamine) ที่เมื่อกินเข้าไปแล้ว ยาจะเข้าไปจับกับตัวจับ/ตัวรับของสารฮิสตามีน (Histamine receptor) ที่อยู่บนผิวของเนื้อเยื่อตามระบบหายใจ เช่น ในโพรงจมูก หลอดลม ถุงลม และตามผิวหนังต่างๆ แทนตัวสารฮิสตามีน จึงทำให้ฮิสตามีนเข้าไปจับกับตัวรับไม่ได้ ช่วยทำให้ไม่เกิดอาการที่เป็นผลจากกระบวนการแพ้ทั้งหลาย ยากลุ่มนี้มีอีกชื่อว่า “ยาลดน้ำมูก” เพราะนอกจากช่วยลดอาการแพ้ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังใช้ช่วยลดน้ำมูกได้อีกด้วย

กลุ่มที่ 1 ยาแอนติฮิสตามีนกลุ่มง่วง มีคุณสมบัติ คือ

  • ผ่านเข้าออกสมองได้ดี จึงสามารถจับกับตัวรับฮิสตามีนในสมองได้ มีผลกดระบบประสาท ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ไม่สดชื่น การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ช้าลง
  • มีฤทธิ์เป็นแอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug/ยาต้านสารสื่อประสาทบางชนิด) ซึ่งฤทธิ์นี้ทำให้ปริมาณสารคัดหลั่งบริเวณทางเดินหายใจ (เช่น น้ำมูก เสมหะ) ลดลง โดยเฉพาะถ้าใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คอแห้ง ปากแห้ง โพรงจมูกแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และถ้ากรณีผู้ป่วยเป็นต้อหินร่วมด้วย เมื่อใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานานจะทำให้อาการต้อหินรุนแรงขึ้นได้
  • ส่วนใหญ่ยามีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังกินยา
  • ยาออกฤทธิ์ภายในเวลา 15-30 นาที หลังกินยา

กลุ่มที่ 2 ยาแอนติฮิสตามีนกลุ่มไม่ง่วง มีคุณสมบัติ คือ

  • ยาไม่ผ่านเข้าสมอง จึงไม่กดระบบประสาท ทำให้ไม่ค่อยมีผลง่วงซึม
  • ยาออกฤทธิ์ยาวนานกว่า 12 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน
  • การออกฤทธิ์จะช้ากว่ากลุ่มที่ 1 คือประมาณ 1 -2 วัน หลังกินยา ยกเว้นยาบางตัว เช่น ยาฟีโซฟีนาดีน (Fexofenadine)
  • มีความเจาะจงต่อตัวรับฮิสตามีนสูง
  • ไม่มีฤทธิ์เป็นแอนติโคลิเนอร์จิก
  • ง่วงมากที่สุด เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไดเมนไฮดริเนต (Dimen hydrinate) ไฮครอกไซซีน (Hydroxyzine) ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) ไตรโพลิดีน (Triprolidine) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) บรอมเฟนามีน (Brompheniramine)
  • ง่วงน้อยที่สุดถึงไม่ง่วง เช่น ยาลอราทาดีน (Loratadine) เซติไรซีน (Cetirizine) ฟีโซฟีนาดีน (Fexofenadine)
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะอาจดื้อยา และทำให้โพรงจมูกแห้ง ปากแห้ง เยื่อบุผิวตามทางเดินหายใจแห้ง เกิดอาการระคายคอและไอ ต่อมน้ำตาสร้างน้ำตาน้อยลง จนทำให้ตาแห้งและคันตา ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะคั่ง (ถ่ายปัสสาวะไม่ออก) และต้อหินกำเริบ
  • ไม่ควรใช้ในเด็กเล็กเพราะจะออกฤทธิ์ตรงข้ามในเด็กเล็ก กล่าวคือ แทนที่จะกดระบบประสาทกลับกระตุ้นระบบประสาทแทน ทำให้เด็กเกิดอาการตื่นเต้น กระวนกระ วาย และถ้าใช้ยามากเกินขนาดอาจทำให้เด็กชักได้
  • ยาแอนติฮิสตามีนทุกกลุ่มจะเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์และกับยาที่กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาคลายเครียด และยานอนหลับ จึงไม่ควรใช้ร่วมกัน
  • พยายามค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้และหลีกเลี่ยงการใช้ยา เพราะแอนติฮิสตามีนเป็นเพียงยาบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรักษา ดังนั้น อาการแพ้จึงไม่หายขาดถ้ายังกำจัดสาเหตุไม่ได้