9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 6

ตลาดการแพทย์ทางไกล

ในตลาดการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) มีการผลิตอุปกรณ์เพื่อการแพทย์ทางไกลให้กะทัดรัด, ใช้ง่ายขึ้น, ติดตั้งสะดวก, และ ถูกใจผู้ซื้อมากขึ้น เช่น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสถานี (Telemedicine Station) ที่ตั้งจอคอมพิวเตอร์, เครื่องมือส่องหู-คอ-จมูก (Ear, nose, throat: ENT), เครื่องหูฟัง (Stethoscope) เป็นต้น

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดเทคโนโลยีเพื่อการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าสูงสุดของโลกก็ว่าได้ มีผู้ที่ใช้การแพทย์ทางไกลประมาณ 96,000 ราย ในปี พ.ศ.2562 แต่ในปี พ.ศ.2563 มีผู้ใช้พุ่งขึ้นเหมือนติดจรวด (Sky-rocket) เป็น 18 ล้านราย กล่าวคือ เพิ่มขึ้นถึง 190 เท่า

มูลค่าตลาด (Market value) ของการแพทย์ทางไกล ใน พ.ศ.2562 อยู่ที่ 41,630 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,374 ล้านบาท) และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 13,200 ล้านบาท ต่อปีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ในตลาดประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว (Developed market)

การแพทย์ทางไกลจึงกำลังกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สร้างให้รายมหึมา (Enormous) เหมือน ธุรกิจยาและวัคซีนต้านโควิด-19 ที่เคยส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตยาและวัคซีนที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส Covid-19 ประสบผลกำไรอย่างมหาศาล (Considerable) อย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน

เมื่อแนวโน้มของสุขภาพยุคดิจิทัล (Digital health) เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย โดยเฉพาะหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกภาคส่วนต่างเล็งเห็นว่า เทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไทยในการดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น

ขณะเดียวกัน การมาถึงของสุขภาพดิจิทัล ยังช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแค่คนเมือง หรือกลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยีเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ แต่รวมถึงคนไทยทั้งประเทศ (โดยเฉพาะผู้อยู่ในชนบท) ที่สามารถเข้าถึงบริการการแพทย์ทางไกลได้

ในทางปฏิบัติ เราสามารถดำเนินการการแพทย์ทางไกลได้ โดยผ่านการนำเวทีพื้นฐาน (Platform) ดิจิทัล ที่เชื่อมต่อผ่านโครงข่าย 5G (= 5th Generation) และอุปกรณ์ IoT (= Internet of things เช่น นาฬิกาข้อมือ, แว่นตา, ฯลฯ) หรือรูปแบบที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล

ไม่มีใครคาดคิดว่าบริการปรึกษาแพทย์ทางไกล จะเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของคนทั้งโลก (รวมทั้งคนไทยด้วย) แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ที่ผ่านมา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้แพทย์ สามารถประเมินอาการเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ติด Covid-19 ผ่านระบบการแพทย์ทางไกล ซึ่งช่วยให้บุคลากรด่านหน้า (Frontier) ปลอดภัยจากการไร้สัมผัส (Touch-less) ด้วย

บริการอย่างการแพทย์ทางไกล ได้กลายเป็นประตู ที่ช่วยเข้ามาเปิดประสบการณ์ในการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เมื่อมองไปไกลกว่านั้น ถ้าคนไทยทั้งประเทศสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะการนำระบบรักษาทางไกลไปให้แพทย์ใช้งานเพื่อรักษาคนในพื้นที่ห่างไกล (Distant)

แหล่งข้อมูล –

  1. https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2389 [2023 May 13].
  2. https://allwellhealthcare.com/telemedicine/ [2023, May 13].
  3. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9650000033527 [2023, May 13].