logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย

เรื่อง :

  • ผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  • ผู้ที่หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
  • ผู้ที่ไม่เคยมีบุตรหรือให้กำเนิดบุตรหลังอายุ 30 ปี
  • ผู้ที่ไม่เคยให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีญาติใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  • ผู้ที่เคยได้รับรังสีในระดับสูงบริเวณหน้าอก
  • ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนบำบัดเป็นระยะเวลานาน

อย่างไรก็ดี ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าจะต้องเป็นโรคมะเร็งเต้านมเสมอไป เพราะมีหลายคนที่ไม่มีปัจจัยเหล่านี้แต่ก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้นการคัดกรองหรือการตรวจเต้านมจึงจำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน

  • เต้านมบวมทั้งหมดหรือบางส่วน
  • ผิวเต้านมแดง ตกสะเก็ด ระคายเคืองหรือมีรอยบุ๋ม
  • เจ็บเต้านมหรือหัวนม
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก และอาจต่อไปได้อีก)
  • ระวังการรักษาที่ใช้วิธีฮอร์โมนบำบัด (Hormone replacement therapy = HRT)
  • เข้ารับการตรวจคัดกรอง
  • รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง ไร้ค่า ไม่มีใครช่วยได้
  • การกินและน้ำหนักเปลี่ยนแปลง บางคนกินมากขึ้น บางคนเบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • โกรธและหงุดหงิดง่าย ซึ่งมักจะเกิดจากความอดทนต่อความเครียดต่ำลง
  • ไร้พลัง มีความรู้สึกสูญเสียพลัง ไม่มีพลังขับเคลื่อนให้ต้องทำอะไรในชีวิตประจำวัน
  • มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เมื่อเศร้าแล้วบางคนหาทางออกด้านพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ติดยาเสพติด ติดพนัน ขับรถเร็ว เล่นกีฬาเสี่ยงตาย เป็นต้น
  • อาการทางร่างกาย เช่น อาการนอนไม่หลับ การเจ็บป่วย (เช่น ปวดท้อง มึนศีรษะ) และ/หรือการเจ็บปวด (เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่) บ่อย โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุทางร่างกายได้
  • การหายใจ:  การหายใจของเราจะผิดไปจากปกติ เราจะหายใจถี่ขึ้น ตื้นขึ้น และหลายครั้งเรา “กลั้นหายใจ” โดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อากาศจะเข้าสู่ปอดน้อยลงเรื่อยๆ
  • อาการร้อนท้อง ปวดท้อง หรือร้อนกระเพาะอาหาร: เกิดเนื่องจากเวลาเครียดจะมีการหลั่งกรดมากในกระเพาะอาหารที่มากขึ้น
  • ปวดศีรษะ ปวดขมับ: เกิดขึ้นได้บ่อยเวลาเครียด โดยมีสาเหตุมาจากการหายใจซึ่งทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เต็มที่ ทำให้ต้องสูบฉีดเลือดไปสมองเร็วขึ้นและเส้นเลือดบีบตัวมากขึ้น ทำให้เราปวดตุ๊บๆ ที่ศีรษะ
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิค
  • สร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเอง เช่น ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนขำขัน สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลและลดความเครียดได้
  • ระบายอารมณ์เสียบ้าง (ในด้านที่ไม่ทำลาย) เช่น ตะโกน ร้องไห้ เขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก หรือพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ เพื่อช่วยลดความฟุ้งซ่าน ทั้งยังได้ข้อคิดและเรียนรู้ว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว
  • มองโลกในแง่ดี ทุกปัญหาย่อมมีทางออก ทุกอุปสรรคย่อมมีโอกาส
  • ตระหนักรู้ในตนเอง รู้จักว่าอารมณ์ตนเองเป็นอย่างไร ยอมรับตามอารมณ์ที่ตนเองเป็น (หากปฏิเสธอารมณ์ตนเองตามความเป็นจริงมักจะเกิดความขัดแย้งในใจ เกิดความเครียดและซึมเศร้าได้)
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • พูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน 
  • หางานอดิเรกทำ ที่ทำให้ตนเองมีความสุข เช่น ดูหนังฟังเพลง เล่นคอมพิวเตอร์ เต้นรำ อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว ฯลฯ
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นประโยชน์เช่น แอลกอฮอล์ สารกระตุ้นประสาท

สิว (Acne) คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยมาก ประชากรร้อยละ 90 เคยมีปัญหาสิวอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ปัญหาสิวไม่ได้ส่งผลให้เกิดแผลเป็นที่ผิวหนังเท่านั้นเนื่องจากในหลายครั้งปัญหาสิวได้ก่อให้เกิดแผลเป็นในจิตใจทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึมเศร้า แยกตัวจากสังคม รวมไปถึงการเลือกปฏิบัติจากสังคมและโอกาสในหน้าที่การงานอีกด้วย

  • พันธุกรรม (พบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็นสิวรุนแรง โอกาสที่บุตรจะเป็นสิวขั้นรุนแรงมีถึงร้อยละ 25)
  • ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ เช่น วัยรุ่น ช่วงเวลาก่อนมีประจำเดือน การตั้งครรภ์
  • การขับของซีบัม (Sebum) หรือไขมันที่มากเกินไปร่วมกับการอุดตันของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุด และการอักเสบที่สัมพันธ์กับเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
  • ความเครียด
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด (เช่น ยาสเตียรอยด์ และยารักษาตรงเป้าบางชนิด)
  • ยาทาภายนอก (Topical therapies) ใช้รักษาสิวที่มีความรุนแรงน้อย (Mild Acne) โดยสามารถใช้ร่วมกับยารับประทานเพื่อรักษาสิวที่มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรง และใช้ทาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการสิวดีขึ้นแล้ว
  • ยารักษาสิวชนิดรับประทาน ใช้รักษาสิวที่มีความรุนแรงปานกลาง (Moderate Acne) ไปจนถึงอาการรุนแรง (Severe Acne) ซึ่งกรณีใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดจะเลือกใช้ในผู้ป่วยเพศหญิงเท่านั้น
  • ยา Isotretinoin ชนิดรับประทาน ใช้รักษาสิวที่มีความรุนแรงมาก (Severe Acne) ซึ่งไม่สามารถควบคุมอาการได้เมื่อใช้ยารักษาสิวชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ดีเนื่องจากยาประเภทนี้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาหลายอย่าง จึงควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • ไม่สัมผัสใบหน้าบ่อยๆ เพราะจะเพิ่มโอกาสผิวติดเชื้อแบคทีเรีย และห้ามแกะหรือกดสิวด้วยตนเองเพราะการกดที่ไม่ถูกวิธีและการแกะสิวมักก่อให้เกิดแผลเป็นโดยเฉพาะหลุมสิว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีค่าไกลซีมิกอินเดกซ์สูง (Glycemic index คือ ตัวบ่งชี้ว่า อาหารชนิดใดเมื่อกินแล้วส่งผลให้มีน้ำตาลกลูโคลสในเลือดสูงทันที) เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมหวาน รวมถึงนมวัว อาหารทะเล และอาหารไขมันทรานส์สูง (Trans fat หรือ Trans fatty acid ซึ่งเป็นไขมันที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจน) เช่น เนยเทียม ครีมเทียมบางชนิด ฟาสต์ฟูต อาหารทอด และอาหารสำเร็จรูปบางชนิด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุลและมีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น
  • ฝึกผ่อนคลายความเครียดเช่น ด้วยการนั่งสมาธิหรือการฝึกการหายใจ (Breathing exercise)
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ระบุว่าไม่เป็นตัวก่อสิว “Non-comedogenic” คือไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน และเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน (Oil-based) เป็นส่วนประกอบหลัก
  • ล้างเครื่องสำอางใบหน้าออกให้สะอาดก่อนนอนเสมอเพราะเป็นสาเหตุก่อการอุดตันของซีบัม
  • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งตามปกติ ไม่จำเป็นต้องล้างบ่อยจนเกินไป แต่สำหรับคนที่หน้ามันมากอาจล้างเพิ่มระหว่างวันด้วยน้ำเปล่าซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของค่ากรดด่างของผิวหน้า (พีเอช หรือ pH) และเซลล์ชั้นปกป้องผิวแต่อย่างใด

ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ถ่ายท้อง (Diarrhea) คือ อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ เป็นมูก หรือเป็นมูกเลือด ติดต่อกันอย่างน้อยในแต่ละวัน 3 ครั้งขึ้นไปเรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน แต่ถ้าท้องเสียเป็นๆ หายๆ หรือต่อเนื่องนานตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปเรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง

  • ระบบทางเดินอาหารติดเชื้อ โดยเชื้อที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อบิด และพยาธิ
  • โรคกลุ่มอาการดูดซึมอาหารได้น้อย (Malabsorption syndrome) 
  • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาแก้ปวดเอ็นเสดส์ ยาปฏิชีวนะ ยาโรคเกาต์บางชนิด และยาเคมีบำบัด
  • ผลข้างเคียงจากฉายรังสีรักษาในโรคมะเร็งของบริเวณช่องท้องและช่องท้องน้อย
  • ปวดท้อง ปวดมวนท้อง ปวดท้องแบบปวดเบ่ง
  • อ่อนเพลีย
  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข็มจัด
  • ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ผิวแห้ง เมื่อเป็นมากตาจะลึกโหล เพราะเนื้อเยื่อรอบๆ ตาขาดน้ำไปด้วย
  • กรณีขาดน้ำรุนแรงจะ วิงเวียน มึนงง กระสับกระส่าย และช็อกในที่สุด
  • ในเด็กอ่อนซึ่งมักจะไม่มีปัสสาวะเลย กระหม่อมจะบุ๋มลึก และไม่มีน้ำตาเมื่อร้องโยเยหรือร้องไห้
  • ยาบรรเทาปวดท้อง/ยาแก้ปวดท้อง
  • ยาลดไข้
  • ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ/ให้น้ำเกลือ กรณีท้องเสียมาก
  • อาจให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • รักษาสุขอนามัย
  • กินอาหารสุกและปรุงใหม่เสมอ ดื่มน้ำสะอาด ระวังการกินน้ำแข็ง และดื่มนมสดเฉพาะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
  • ไม่ใช้ภาชนะช้อนส้อมแก้วน้ำร่วมกับคนอื่น
  • ปฏิบัติตามข้อแนะนำในการบริโภค คือ ‘กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ’ โดยเฉพาะการล้างมือก่อนการบริโภค และหลังเข้าห้องน้ำ
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุที่มีวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์/กระทรวงสาธารณสุข

ประจำเดือน หรือ รอบเดือน หรือ ระดู (Menstruation หรือ Period หรือ Menses) คือ เลือดและเนื้อเยื่อต่างๆที่หลุดลอกออกจากเยื่อบุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุมดลูก โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงที่สัมพันธ์กับการตกไข่ ซึ่งการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกจะเกิดประมาณเดือนละครั้ง โดยอายุที่เริ่มมีประจำเดือนปกติอยู่ระหว่างประมาณ 8-16 ปี (ในเด็กไทยเฉลี่ยที่อายุ 11-12 ปี) และภาวะหมดประจำเดือนจะอยู่ในช่วงอายุ 45-55 ปี (เฉลี่ยประมาณ 51-52 ปี) ทั้งนี้ขึ้นกับ พันธุกรรม, สุขภาพร่างกาย, โรคต่างๆ ที่การรักษาส่งผลถึงการทำงานของรังไข่

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีมากมายหลายอาการ โดยสามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มอาการที่แสดงออกทางด้านจิตใจ อารมณ์ เช่น หงุดหงิด เครียด โมโหง่าย หรือซึมเศร้า

2. กลุ่มอาการที่แสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น เจ็บคัดตึงเต้านม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บวมตามนิ้วมือนิ้วเท้า

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดหรือป้องกันกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนได้ เพราะเวลาออกกำลังกายจะมีฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ทำให้เรามีความสุขไม่เครียด นอกจากนี้ควรดูแลตัวเองเกี่ยวกับอาหาร ควรกินคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวที่ไม่ขัดสี ลดอาหารหวานจัด กินผักผลไม้มากๆ เพื่อให้ได้วิตามิน เกลือแร่ ครบถ้วน และลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดประจำเดือน ได้แก่

1. การมีประจำเดือนเร็ว มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 12 ปี

2. การไม่มีลูกทำให้รังไข่ต้องทำงานตลอด จะมีรอบประจำเดือนมากกว่าคนที่มีลูก ซึ่งได้หยุดพักการมีประจำเดือนช่วงตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอดระยะเวลาหนึ่ง

3. สูบบุหรี่

4. อ้วน

5. ประจำเดือนออกมากและนาน

6. การใส่ห่วงอนามัย

7. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)

8. การมีเนื้องอกมดลูก

1. ทำจิตใจให้ร่าเริงไม่เครียด

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน จะทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น มีฮอร์โมนเอนโดร์ฟีน

4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มมีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ หรือช็อกโกแลต

5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

6. ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้วเมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม

7. กินอาหารประเภทธัญพืช ถั่ว ผักใบเขียวและผลไม้มากๆ

8. ควรกินปลามากกว่าเนื้อแดง (เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)

โรคกรดไหลย้อน (Gastoesophageal reflux disease / GERD) เป็นโรคพบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย พบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบอัตราเกิดสูงขึ้นในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป (พบสูงสุดในคนอายุ 60 - 70 ปีขึ้นไป) ซึ่งคาดว่าเมื่อคนมีอายุยืนยาวมากขึ้นก็จะพบโรคนี้ได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

  • อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น
  • การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน
  • การนอนราบหลังกินอาหาร เพราะจะเกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอาหาร/เครื่องดื่ม
  • ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ และอาหารที่ก่อการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด
  • เครื่องดื่มมีกาเฟอีนและแก๊สมาก เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ยาชูกำลังบางชนิด เพราะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
  • บุหรี่ เพราะมีสารพิษ เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และอาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง
  • โรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีผลต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งของกระเพาะอาหารและของเส้นประสาทกระเพาะอาหารเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคอ้วนและการตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้น
  • แสบร้อนกลางอก (Heartburn) ลำคอ และกล่องเสียงอักเสบ (เจ็บคอเรื้อรัง ไอเรื้อรัง มีเสลด และอาจเสียงแหบเป็นครั้งคราว)
  • เรอบ่อย / สะอึกบ่อย
  • มีรสเปรี้ยวในช่องปาก / มีกลิ่นปาก

ก. การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เลิกบุหรี่ เลิกสุรา ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน

ข. เมื่อมีอาการเรื้อรังรุนแรงขึ้น แพทย์จะให้ยาต่างๆ เช่น ยาลดกรด และ/หรือ ยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร

ค. เมื่ออาการเลวลงมาก อาจต้องให้การผ่าตัดหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ เพราะการผ่าตัดไม่ได้ผลดีในผู้ป่วยทุกราย)

เป็นโรคไม่รุนแรง ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่เป็นโรคเรื้อรัง ส่งผลถึงคุณภาพชีวิต การรักษาให้หายมักเป็นไปได้ยาก แต่การรักษาจะช่วยให้โรคสงบได้นาน และช่วยชะลอความรุนแรงของโรค (เซลล์ที่อักเสบเรื้อรังอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้) โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากโรคกรดไหลย้อน คือ

  • โรคหลอดอาหาร คอ และกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง
  • โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • โรคหืด
  • ฟันผุง่าย เหงือกอักเสบบ่อยจากช่องปากเป็นกรดและจากกรดไหลย้อนถึงช่องปาก

โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids หรือ Piles) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบ และ/หรือการบวมของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่อยู่ภายในทวารหนักและรอบๆ ปากทวารหนัก แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคริดสีดวงภายนอก (External hemorrhoids) และ โรคริดสีดวงภายใน (Internal hemorrhoids)

  • ท้องผูก ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อยๆ จะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • การนั่งนานๆ รวมทั้งนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ จะกดทับกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง
  • โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด
  • อาจเกิดจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่าเมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร

โดยปัจจัยแต่ละตัวล้วนทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด อันเป็นผลให้เกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย

  • อาการพบบ่อยของโรคริดสีดวงภายนอก คือ
    • มีติ่งเนื้อสีชมพูคล้ำออกมาจากปากทวารหนักเมื่อท้องผูกหรือท้องเสีย
    • เมื่อมีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดที่โป่งพองจะก่อให้เกิดอาการปวด เจ็บ บวม และระคายเคืองบริเวณรอบปากทวารหนัก และอาการคัน แต่มักไม่ค่อยพบมีเลือดออกจากติ่งเนื้อนี้
  • อาการพบบ่อยของโรคริดสีดวงทวารภายใน คือ
    • อุจจาระเป็นเลือด โดยไม่มีอาการปวดเจ็บ อุจจาระมักเป็นเลือดสด ออกหลังอุจจาระสุดแล้ว มักพบเลือดบนกระดาษชำระ เลือดที่ออกจะไม่ปนกับอุจจาระ มักไม่มีมูกปน และมักหยุดได้เอง อาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ
    • เมื่อเป็นมากหลอดเลือดจะบวมมาก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบหลอดเลือดจะบวมออกมาถึงปากทวารหนัก เห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่ม ปลิ้นโผล่ออกมานอกปากทวารหนัก ซึ่งในภาวะเช่นนี้จะก่ออาการเจ็บปวดได้
  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มความดันในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การใช้ยาต่างๆ เช่น ยาทาลดอาการคัน ยาเหน็บทวารลดอาการบวม ปวด และยาแก้ปวด เป็นต้น
  • การรักษาทางศัลยกรรมที่มีหลายรูปแบบ เช่น การจี้ด้วยไฟฟ้า หรือ เลเซอร์ การฉีดยาเข้าหลอดเลือด เพื่อให้หลอดเลือดยุบแฟบ การผูกหลอดเลือด หรือการผ่าตัดหลอดเลือด ทั้งนี้ขึ้นกับความรุน แรงของโรค ข้อบ่งชี้ และดุลพินิจของแพทย์
  • ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่ เพราะเมื่อเกิดหลอดเลือดโป่งพอง หูรูดปากทวารหนักจึงปิดไม่สนิท
  • ภาวะซีด เพราะมีเลือดออกจากกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดเรื้อรัง หรือบางครั้งเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดเองได้
  • การติดเชื้อ อาจเกิดเป็นฝี หรือหนองในบริเวณก้นได้
  • ถ้าเกิดการเน่าตายของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างมาก

นิ่ว (Stone หรือ Calculi หรือ Lithiasis) คือเกลือเคมีหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ไขมันคอเลสเตอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งอยู่ภายในอวัยวะต่างๆ เช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ และถุงน้ำดี กลไกการเกิดนิ่วจะแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดนิ่ว เช่น

  • นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากการมีเกลือเคมีหรือสารเคมีบางชนิดในร่างกายสูงมากผิดปกติ หรือเกิดจากการบริโภคอาหารบางชนิดไม่ถูกสัดส่วนอย่างการกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • นิ่วในไต/ในท่อไต เกิดจากมีการติดเชื้อเรื้อรังของไต และจากภาวะมีปัสสาวะน้อย สารต่างๆ ในปัสสาวะจึงเข้มข้นตกตะกอนได้ง่าย
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการกินอาหารที่มีออกซาเลตสูงหรือสูงปานกลางต่อเนื่อง เช่น โยเกิร์ต ถั่วรูปไต ถั่วเหลือง งา ลูกนัท ผลเบอร์รี มะเดื่อ แครอท บีทรูท มะเขือ ผักกะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลิ หัวหอม ผักกะเฉด และยอดผักต่างๆ

ก. การเอานิ่วออกจากไต: ขึ้นกับขนาดก้อนนิ่ว เช่น ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้นิ่วหลุดออกมาเอง กินยาละลายนิ่ว ยาขับนิ่ว เพื่อช่วยให้ไต/ท่อไตบีบตัวสูงขึ้น นิ่วจึงหลุดออกมาเองได้เร็วขึ้น หรือการสลายนิ่วด้วยหัตถการทางการแพทย์ เช่น การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การผ่าตัด

ข. การรักษาสาเหตุ: เมื่อทราบสาเหตุของโรคนิ่ว เช่น รักษาโรคเกาต์เมื่อมีสาเหตุจากโรคเกาต์ ใช้ยาลดกรดยูริคในเลือดกรณีมีกรดยูริคในเลือดสูง

ค. การรักษาประคับประคองตามอาการ: เช่น ยาบรรเทาปวด/ยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดท้อง/ปวดหลัง ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อผู้ป่วยกินได้น้อย เป็นต้น

  • ปวดหลังเรื้อรังด้านมีนิ่ว บางครั้งอาจปวดหลังหรือปวดท้องรุนแรง
  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรืออาจเป็นหนองเมื่อมีการติดเชื้อรุนแรง
  • บางครั้งอาจมีนิ่วก้อนเล็กๆ ปนมากับปัสสาวะ
  • มีไข้ร่วมกับปวดหลัง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อมีการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย
  • เกิดโรคนิ่วตามจุดที่ก้อนนิ่วไปติดอยู่ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ
  • โรคไตอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง ซึ่งอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือเป็นสาเหตุให้ไตเสียการทำงานจึงเกิดโรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะไตวายซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ในแต่ละวัน
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ
  • จำกัดการกินอาหารที่มีสารต่างๆ ที่ตกตะกอนได้ง่ายในไต เช่น สารออกซาเลตที่มีสูงในยอดผัก ถั่วรูปไต และผักกะเฉด กรดยูริคที่มีสูงในอาหารโปรตีนและยอดผัก และสารซีสตีนที่มีสูงในอาหารโปรตีน (เนื้อสัตว์ต่างๆ)
  • รีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการทางปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงที่เป็นเหตุของโรคไตเรื้อรัง

โรคงูสวัด (Herpes zoster หรือ Shingles หรือเรียกสั้นๆ ว่า Zoster) คือ โรคผื่น/ตุ่มน้ำใส ที่มักเกิดรวมเป็นกระจุกตามแนวยาวของเส้นประสาท เจ็บมาก เกิดตามผิวหนังตำแหน่งใดก็ได้ทั่วตัว แต่มักเกิดที่ลำตัว บริเวณเอว และที่สะโพก/แก้มก้น โดยเกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคอีสุกอีใส เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ มักพบในคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอลงจึงเกิดเป็นโรคงูสวัด

  • มีอาการคล้ายไข้หวัด/ โรคหวัด นำก่อน ประมาณ 2-3 วัน เช่น
    • มีไข้ (มีได้ทั้งไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ) หรือ ไม่มีไข้
    • อาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดท้อง อ่อนเพลีย ตากลัวแสง
    • มักเจ็บในบริเวณติดเชื้อมาก (ยังไม่มีผื่นขึ้น) หลังจากนั้น 2-3วัน จึงขึ้นผื่น
  • ผื่นจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน เป็นทางยาว และไม่กว้างมากนัก มักเป็นทางยาวตามแนวเส้นประสาทของร่างกาย โดยมักเริ่มในแนวใกล้ๆ กลางลำตัวตามแนวปมประสาท เช่น ตามประสาทของ ลำตัว แขน ขา ตา และหู และมักเกิดเพียงด้านเดียว โดยทั่วไปมักพบที่ลำตัวบ่อยที่สุด
  • ผู้ป่วยจะมีอาการ คันในบริเวณขึ้นผื่น เจ็บปวดมาก อาจร่วมกับปวดแสบปวดร้อน บางคนร่วมกับอาการชาในบริเวณนั้นๆ
  • อาการปวดมักนำมาก่อนเกิดผื่นแดง และเมื่อเกิดผื่นแล้วอาการปวดก็ยังคงอยู่ และบ่อยครั้งเมื่อโรคและผื่นหายแล้วก็ยังปวดได้ต่อเนื่อง อาจเป็นปีๆ แต่อาจปวดมากหรือน้อยไม่เท่ากันในทุกราย

โรคงูสวัด เป็นโรคติดต่อได้จากการสัมผัส ผื่น หรือ ตุ่มพองของโรค โดยผู้สัมผัสไม่เกิดเป็นงูสวัดแต่จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส หรือบางครั้งแม้เคยฉีดวัคซีนนี้มาแล้วก็ตาม

  • การใช้ยาต้านไวรัส (เช่น ยา Aciclovir) ซึ่งจะได้ผลดี ลดความรุนแรงของอาการ และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้นเมื่อได้รับยาภายใน 3 วันหลังเกิดผื่น ที่มีทั้ง ยาทา ยากิน และ ยาฉีด ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ซึ่งพบว่ายิ่งรักษาเร็วเท่าไร ตุ่มน้ำใสและอาการปวดก็หายเร็วกว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาช้า
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะ
    • ยาแก้ปวด และ
    • ยาบรรเทาอาการคัน/ยาแก้คัน

การป้องกันโรคงูสวัด คือ หลีกเลี่ยงสัมผัสผื่นและตุ่มโรคของผู้ป่วยโรคนี้รวมถึงโรคอีสุกอีใส โดยเฉพาะเมื่อไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำ ถึงแม้ประสิทธิภาพจะไม่สูง 100 % แต่ก็พบว่าได้ประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดอาการงูสวัดได้สูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น  

  1. ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ ภาวะมีความดันโลหิตที่วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ขึ้นไป
  2. ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันโลหิตช่วงบน ‘ซีสโตลิค’ (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตช่วงล่าง ‘ไดแอสโตลิค’ (Diastolic blood pressure) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท (ความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดันซีสโตลิคหรือไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่งหรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้)

ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติจะอยู่ระหว่าง 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท

ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ
  • พันธุกรรม
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
  • สูบบุหรี่/ติดสุรา
  • กินอาหารเค็มสม่ำเสมอต่อเนื่อง
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์
  • ผู้สูงอายุจากการมีโรคเรื้อรัง ดื่มน้ำน้อย และจากการไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน  โรคหัวใจ  โรคต่อมไทรอยด์  โรคซีด
  • กินยาบางชนิดโดยเฉพาะยาขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ  ยาลดความดัน ยาเบาหวาน
  • มีภาวะขาดน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่นท้องเสียรุนแรง  อาเจียนรุนแรง  หรือ โรคลมแดด
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ
  • มักไม่มีอาการเอง แต่เป็นอาการจากผลข้างเคียงของโรคที่เป็นอยู่
    เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
  • กรณีที่มีอาการจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่อง มึนงง วิงเวียน สับสน
    และเมื่อมีอาการมากอาจโคม่าและเสียชีวิตได้
  • วิงเวียน  หน้ามืด เป็นลม ตาลาย/ตาพร่า
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มือเท้าเย็น เหงื่อออกมาก
  • ชีพจรเบา เต้นเร็ว หายใจเร็ว เหนื่อย
  • กระหายน้ำ ตัวแห้งปัสสาวะน้อย
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ
  • กินอาหารมีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาสุขภาพจิต
  • ไม่สูบบุหรี่/ไม่ดื่ม/จำกัดสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจสุขภาพประจำปี (การตรวจสุขภาพ) ซึ่งรวมถึงตรวจวัดความดันโลหิต เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี หลังจากนั้นตรวจสุขภาพบ่อยตาม แพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • ระมัดระวังในการเปลี่ยนท่าทางโดยเฉพาะเมื่อต้องลุกขึ้นยืน เปลี่ยนท่าทางให้ช้าลง ทำทีละขั้นตอนเสมอ เช่น จากนอน เป็นนั่งพัก แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน
  • รักษาและควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงให้ได้อย่างดี
  • ระมัดระวังการใช้ยาต่างๆ ไม่ซื้อยากินเอง

ไข้หวัดในที่นี้หมายถึง โรคไข้หวัดธรรมดา (Common cold) และโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza / Flu) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนแต่เกิดจากไวรัสคนละชนิดซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยมากทั้งในผู้ใหญ่และเด็กในหน้าฝนและหน้าหนาว

ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการที่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา กล่าวคือ

อาการสำคัญของไข้หวัดธรรมดาที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้แต่เป็นไข้ไม่สูง มักไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส อาจปวดหัวแต่ไม่มาก ปวดเมื่อยตัว แสบตาอาจมีน้ำตาไหล คัดจมูกจามไอไม่มาก มีน้ำมูกใส อาจเสียงแหบ อ่อนเพลียแต่ไม่มาก บางครั้งอาจมีอาการเจ็บคอ ปวดท้อง อาเจียน หรือ ท้องเสียได้บ้าง

ส่วนอาการสำคัญของไข้หวัดใหญ่ที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้สูงบางครั้งสูงมาก 38 - 41 องศาเซลเซียส โดยไข้ขึ้นสูงภายใน 1 วัน ปวดศีรษะมาก ปวดกระบอกตาเวลาตาเคลื่อนไหว น้ำตาไหลเมื่อมีแสงสว่าง ปวดกล้ามเนื้อ/ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ คัดจมูก เบื่ออาหาร แต่อาการที่อาจพบได้และเป็นอาการรุนแรงกว่า เช่น หายใจเหนื่อย หอบหายใจมีเสียงหวีด ไอรุนแรง หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย มึนงง ซึม และ/หรือ หัวใจล้มเหลว

ความรุนแรงของไข้หวัดขึ้นกับว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดใด แต่โดยทั่วไปไข้หวัดธรรมดามักไม่รุนแรงหายได้เองภายในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ด้วยการดูแลตนเองตามอาการ แต่อาจมีโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดการไซนัสอักเสบ/หูน้ำหนวก/ปอดบวมได้ ส่วนไข้หวัดใหญ่กรณีที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนอาการไข้และอาการต่างๆ จะดีขึ้นภายใน 5 - 7 วัน กรณีที่มีโรคแทรกซ้อนชนิดไม่รุนแรงอาจมีการอักเสบของหูชั้นกลางและไซนัส แต่ถ้าเป็นชนิดรุนแรงซึ่งมีโอกาสเกิดสูงในบุคคลกลุ่มเสี่ยงอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สมองอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดอัมพาต ชัก แขน/ขาอ่อนแรง และโคม่า

  • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคนละชนิด
  • อาการไข้หวัดธรรมดารุนแรงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่และอาการมักค่อยเป็นค่อยไป แต่ไข้หวัดใหญ่อาการรุนแรงทันทีภายใน 1 วัน
  • ไข้หวัดธรรมดาไม่ค่อยเกิดโรคแทรกซ้อน แต่เมื่อเกิดมักเป็นโรคแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง แต่ไข้หวัดใหญ่มักเกิดโรคข้างเคียงแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน)
  • ไข้หวัดธรรมดาไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่ในไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจรักษาด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่แรก
  • ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดธรรมดา แต่ไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนป้องกัน

โรคไข้เลือดออกหรือโรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever / DHF) เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยโดยเฉพาะในฤดูฝน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะโรค เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่ในตัวยุงตลอดอายุของยุง คือประมาณ 1 - 2 เดือน หากยุงลายตัวนั้นกัดคนอื่น เชื้อไวรัสเดงกีในยุงจะถูกถ่ายทอดไปให้แก่คนได้ เป็นโรครุนแรงแต่โอกาสรักษาหายสูงเมื่อได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่แรก อย่างไรก็ดีหากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50% จากการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีเป็นครั้งแรกมักไม่มีอาการ หรืออาจมีเพียงไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารเท่านั้น แต่ในคนที่ติดเชื้อนี้เป็นครั้งที่ 2 โดย เฉพาะเชื้อนั้นเป็นเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงช็อกได้

ในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง หากอาการไม่รุนแรงโรคนี้จะหายได้เอง ดังนั้นการรักษาที่มีจึงเป็นเพียงการรักษาตามอาการ และการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคไข้เลือดออก คือ เลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น เลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดาไหล จนถึงเลือดออกรุนแรงตามอวัยวะภายในต่างๆ เช่น สมอง กระเพาะอาหาร ลำไส้ และปอด เป็นต้น

ภาวะเลือดออกง่ายนี้เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำจากตัวโรคไข้เลือดออกเอง โดยเกล็ดเลือดจะมีปริมาณกลับสู่ปกติในระยะฟักฟื้นได้เอง แต่ในช่วงที่เกล็ดเลือดต่ำควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทก การทำหัตถการ หรือการผ่าตัด และยาบางชนิดที่ทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ หรือระบบแข็งตัวของเลือดปกติ เช่น ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ยาแอสไพริน ยาแก้ปวด และแก้อักเสบกลุ่มเอนเสด (NSAIDs: Nonsteroidal anti-inflammatory drugs) เช่น Ibuprofen และ Indomethacin เป็นต้น

นอกจากนี้ ภาวะน้ำเกินในร่างกายจนเกิดมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือในช่องท้องมากเกิน ไป จนทำให้หอบเหนื่อยหายใจลำบากก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญเช่นเดียวกัน ภาวะนี้เกิดจากการรั่วไหลของน้ำออกนอกหลอดเลือดในช่วงที่เข้าสู่ระยะช็อก หากแพทย์ตรวจพบและให้การรักษาที่ทันท่วงที และเลือกใช้ชนิดและกำหนดปริมาณสารน้ำที่เหมาะสมให้ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยจะสามารถผ่านพ้นระยะนี้ได้อย่างปลอดภัย

เนื่องจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้นการลดปริมาณยุงและการป้องกันยุงกัดจึงเป็นหัวใจของการป้องกันโรคนี้ โดยนิสัยของยุงลายชอบแพร่พันธุ์ในน้ำนิ่งใสและชอบกัดในเวลากลางวัน ดังนั้นควรนอนกางมุ้งแม้ในเวลากลางวัน และควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านและรอบๆบ้าน

ปัจจุบันกำลังมีการวิจัยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจริงจัง และมีการนำมาใช้ทางคลินิกบ้างแล้วในบางประเทศ แต่ผลที่ได้รับและความปลอดภัยของวัคซีนยังไม่ชัดเจน

โรคตากะปริบ คือ โรคที่มีอาการกะพริบตาหรือหลับตาทั้ง 2 ข้าง อย่างแรงและถี่มากกว่าปกติ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเองไม่สามารถควบคุมได้ โดยบางคนมีอาการกะพริบตาอย่างเดียว บางคนมีอาการเกร็งของเปลือกตา/หนังตาด้วย ทำให้ลืมตาไม่ขึ้นมองไม่เห็น

โรคตากะปริบ เกิดจากมีการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบตา (Orbicularis oculi) แบบควบคุมไม่ได้ เกิดจาก 2 กลุ่มสาเหตุ คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential blepharospasm) ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด และ ชนิดทราบสาเหตุ เช่น โรคพาร์กินสัน ผลข้างเคียงจากยากลุ่มที่รักษาโรคจิตเภท โรคสารทองแดงสะสมเกินในร่างกาย (Wilson’s disease) โรคสมองขาดเลือดมาเลี้ยงในบริเวณก้านสมอง โดยสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคตากะปริบที่พบบ่อย คือ แสงจ้า แสงแดด ดูทีวี อ่านหนังสือนานๆ ความเครียด การขับรถนานๆ

ผู้ป่วยโรคตากะปริบอาจมีอาการอื่นๆ ทางตานำมาก่อน เช่น ตาอักเสบ ตากลัวแสง (มองแสงสว่างแล้วแสบตา น้ำตาไหล) ตาแห้ง เจ็บตา แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล รวมทั้งอาการซึม เศร้า ต่อมามีอาการกะพริบตาถี่ๆ หรือบ่อยๆ เกินปกติ (ปกติประมาณ 12-20 ครั้ง/นาที) และถ้าเป็นรุนแรงเปลือกตาจะกะพริบบ่อยมากและหดเกร็ง จนเปลือกตาปิดตลอดเวลา มองไม่เห็นเหมือนคนตาบอด (Functional blindness) บางครั้งมีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของใบหน้าด้วย เช่น ที่แก้ม หรือที่ขมับ

โรคตากะปริบ จะกะพริบตาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่สามารถบังคับให้เป็นหรือหยุดเป็นได้ แต่การกะพริบตาเองบ่อยๆ จนเป็นนิสัยนั้น เกิดจากความตั้งใจสั่งให้ทำ จึงสามารถหยุดหรือฝืนกะพริบตาได้

โรคตากะปริบ ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตา รบกวนการมองเห็นและความมั่นใจในตนเอง เพราะมีการกะพริบตาบ่อยๆ บางรายที่มีอาการรุนแรง มีการกะพริบตาบ่อยๆและมีการเกร็งค้างร่วมด้วย ส่งผลให้มองไม่เห็น คล้ายกับตาบอดเพราะเปลือกตาปิดสนิท แต่ไม่ได้เป็นตาบอดจริงๆ เพราะไม่ได้เป็นโรคของลูกตาจริงๆ และนอกจากนั้น ไม่ทำให้เกิดอัมพาตของใบหน้า

อนึ่ง โรคตากะปริบไม่เกี่ยวข้องกับโรคอัมพาต เพราะเป็นเฉพาะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาผิดปกติเท่านั้น และสามารถรักษาให้ดีเป็นปกติได้โดยพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หูด (Warts) คือ โรคติดเชื้อของผิวหนังและเยื่อบุที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอชพีวี (HPV หรือ Human papilloma virus) ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีมากกว่า 100 ชนิดย่อย โดยแต่ละชนิดย่อยใช้ตัวเลขในการเรียกชื่อและทำให้เกิดหูดที่ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีหน้าตาหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวี 1 ก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า และ เอชพีวี 6 ก่อให้เกิดหูดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก เป็นต้น

หูดเป็นโรคติดต่อที่ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสของผิวหนังโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 2 - 6 เดือน เนื่องจากเชื้อหูดจะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ เชื้อหูดจึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่นๆ เช่น ไอ จามรดกัน อย่างไรก็ดีบางคนอาจเป็นพาหะโรคได้ กล่าวคือ ผิวหนังดูปกติ ไม่มีตุ่มนูน แต่มีเชื้อหูดอยู่ที่ผิวหนังซึ่งทำให้สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยการสัมผัสผิวหนังส่วนที่มีเชื้อ

1. หูดที่ผิวหนัง: อาจจะเรียบหรือนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามาก มีผิวขรุขระ แข็งกว่าหนังธรรมดา และเวลาตัดส่วนยอดของหูดแล้ว จะเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ ที่อุดตันภายใน และมีจุดเลือดออกเล็กๆ ในบางครั้งการติดเชื้อหูดอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังใดๆ เลยก็ได้

2. หูดอวัยวะเพศ: อาจเรียกว่าหูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง ในกลุ่มชายรักร่วมเพศอาจพบหูดบริเวณรอบปาก/รูทวารหนัก หูดมีลักษณะนูน ผิวตะปุ่มตะป่ำคล้ายหงอนไก่

3. หูดที่เยื่อบุ: เช่น ที่เยื่อบุตา สายเสียง กล่องเสียง ซึ่งลักษณะหูดจะเป็นตุ่มนูน มีผิวขรุขระคล้ายหูดทั่วไป

แพทย์จะประเมินจากหลายๆ ปัจจัย เช่น ขนาดของหูด จำนวนหูดที่เกิด ลักษณะของหูด ตำแหน่งที่เกิด อายุผู้ป่วย และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย รวมทั้งดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปวิธีรักษาหูดได้แก่

1. การไม่รักษา: ประมาณ 65% ของผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ โรคหูดจะยุบหายเองภายในประมาณ 2 ปี ดังนั้นถ้าเป็นหูดขนาดเล็กและมีจำนวนเล็กน้อย อาจเลือกวิธีนี้ได้

2. การรักษาด้วยยา: ซึ่งควรเป็นการรักษาโดยแพทย์เท่านั้น โดยมียาหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ยาทา ยาฉีดเฉพาะที่ ยากินและยาฉีดเข้าเส้นเลือด แต่ยังไม่มีวิธีไหนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

3 การผ่าตัด: เช่น การรักษาโดยใช้ความเย็น การใช้เลเซอร์ การจี้ด้วยไฟฟ้า การผ่าตัดแบบใช้มีด

ในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องมักไม่หายเอง การรักษาก็ไม่ค่อยได้ผล มีอัตราการเกิดเป็นใหม่สูง และหูดอาจกลายเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • การหลีกเลี่ยงการสัมผัสรอยโรค
  • ล้างมือเป็นประจำ เมื่อสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
  • ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกัน และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
  • การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีบางสายพันธุ์

คลื่นไส้เป็นอาการที่อยากจะอาเจียน ส่วนอาเจียนคือการที่อาหารและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตอนบนถูกขับออกมาอย่างรุนแรงจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตอนบน ผ่านทางหลอดอาหารเข้าสู่ช่องปาก โดยเกิดขึ้นจากแรงบีบตัวทันทีของกล้ามเนื้อของกะบังลม กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทรวงอก และของหน้าท้อง ซึ่งสมองที่ควบคุมอาการคลื่นไส้ คือ สมองใหญ่ (Cerebral cortex) และสมองที่ควบคุมการอาเจียน คือ ก้านสมอง (Brain stem) โดยสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

ก. จากความผิดปกติในช่องท้อง เช่น การติดเชื้อของอวัยวะในช่องท้องจากไวรัสหรือแบคทีเรีย การอุดตันในทางเดินอาหาร การอักเสบของกระเพาะอาหาร

ข. จากความผิดปกตินอกช่องท้อง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคต่างๆ ของหูชั้นใน โรคทางสมอง

ค. สาเหตุอื่นๆ: เช่น จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด สารพิษบางชนิด ในบางภาวะหรือบางโรคของต่อม

ความรุนแรง/การพยากรณ์โรคของอาการคลื่นไส้อาเจียน ขึ้นกับสาเหตุ เช่น

  • รุนแรงน้อยเมื่อเกิดจากการจินตนาการ
  • รุนแรงปานกลางเมื่อเกิดจากลำไส้อุดตัน
  • รุนแรงมากเมื่อเกิดจากโรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง

ส่วนผลข้างเคียงจากคลื่นไส้อาเจียน เช่น

  • ขาดอาหาร กรณีอาเจียนต่อเนื่อง
  • อ่อนเพลีย จาก กิน ดื่ม และพักผ่อนได้น้อย
  • ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากอาเจียนจนเกิดภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะน้อย ใจสั่น วิงเวียน เป็นลม

ถ้าอาเจียนรุนแรง อาจอาเจียนเป็นเลือดได้จากหลอดเลือดในกระเพาะอาหารหรือในหลอดอาหาร

  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ในขณะมีอาการไม่ควรนอนราบ ควรนอนเอนตัวเพื่อป้องกันการสำลักอาหารจากอาเจียนเข้าหลอดลมและปอด
  • ระมัดระวังไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ โดยจิบน้ำ หรือ น้ำผลไม้บ่อยๆ
  • กินอาหารครั้งละน้อยๆ โดยเพิ่มมื้ออาหาร ไม่ควรกินในช่วงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาหารควรเป็นอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว หรืออาหารน้ำ
  • ควรอยู่ในสถานที่ถ่ายเทอากาศได้ดี สะอาด ไม่มีกลิ่น ไม่สว่างมาก ไม่ร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะเวลานอนและขณะกิน
  • สังเกตตัวกระตุ้นอาการเสมอเพื่อหลีกเลี่ยง
  • สังเกตลักษณะของอาเจียน เช่น ขม (จากมีน้ำดีปน) หรือมีเลือดปน เพื่อแจ้งแพทย์ พยาบาล เพราะแพทย์ใช้เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุอาการเพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง
  • กินยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์แนะนำ
  • รีบพบแพทย์/มาโรงพยาบาลเมื่ออาการอาเจียนไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังดูแลตนเอง หรือมีไข้สูง ปวดท้องมาก อาเจียนเป็นเลือด ปวดศีรษะมาก คอแข็ง แขนขา อ่อนแรง (อาการของโรคทางสมอง)

โรคภูมิแพ้คือโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสารกระตุ้นที่ในภาวะปกติแล้วจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรพืช แต่ในโรคภูมิแพ้ร่างกายจะเกิดการตอบสนองอย่างมากผิดปกติต่อสารเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) นั้น

โรคภูมิแพ้เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณ 30 - 50% แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้จะมีผลให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงประมาณ 50 - 70% ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้เลยมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงประมาณ 10%

1. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้แก่ โรคหืด (Asthma)

2. โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)

3. โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)

4. โรคภูมิแพ้ทางตา (Eye allergy)

5. โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ (Anaphylaxis)

  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ละอองเกสรพืช ขนสัตว์ ควันบุหรี่ กลิ่นฉุน น้ำหอม และฝุ่นละออง
  • รักษาด้วยยา เช่น ยาแก้แพ้ ยาต้านการอักเสบ วัคซีนภูมิแพ้

โอกาสรักษาโรคภูมิแพ้ได้หายหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดไหน กรณีแพ้อาหารเมื่อหยุดกินอาหารที่แพ้ไปสักระยะอาจหายขาดได้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืด โอกาสหายขาดมีน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการรักษาควบคุมโรคและความรุนแรงของโรค

ผู้ป่วยที่เป็นโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือแพ้อากาศมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ไซนัส อักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ นอนกรนซึ่งรบกวนการนอนหลับ บางครั้งหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ (โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ)

โรคนี้เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้น้อยก็สามารถป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้) ส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะสามารถป้องกันการเกิดการแพ้อาหารได้ได้ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ลมพิษ (Urticaria หรือ Hives) เป็นกลุ่มอาการ ไม่ใช่โรค แต่มักเรียกว่าเป็นโรค โดยเป็นอาการที่เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่ง/สารที่ก่อการแพ้ อาจมีเฉพาะอาการซึ่งแสดงออกทางผิวหนัง หรือมีอาการทางเนื้อเยื่อ/อวัยวะระบบอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของสาเหตุ เช่น บวม แน่นหน้าอก หรือ ความดันโลหิตต่ำ/หน้ามืด โดยลักษณะอาการทางผิวหนัง จะเป็นผื่นบวมนูน สีออกขาว ล้อมรอบด้วยผื่นสีแดง ผู้ป่วยมักมีอาการคันถึงคันมากในตำแหน่งผิวหนังบริเวณเกิดผื่น หรือถ้าเป็นมากจะรู้สึกแสบร้อนที่ผื่น แต่ผื่นมักหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง

  1. แบ่งโดยอาศัยระยะเวลาที่เป็นโรค - ถ้ามีอาการไม่เกิน 6 สัปดาห์ จัดเป็นลมพิษเฉียบพลัน แต่ถ้ามีอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 สัปดาห์ จัดเป็นลมพิษเรื้อรัง
  2. แบ่งตามสาเหตุ โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการลมพิษที่พบบ่อย ได้แก่
    • สาเหตุทางกายภาพ (physical) ผู้ป่วยบางรายผื่นลมพิษอาจเป็นผลจากปฏิกิริยาต่อความร้อน ความเย็น การสั่นสะเทือน การกดทับ การขูดขีดที่ผิวหนัง แสงแดด การออกกำลังกาย เป็นต้น
    • การแพ้สารที่สัมผัส เช่น การแพ้ยาง (latex) ขนสัตว์ พืช หรืออาหารบางชนิด ปฏิกิริยาแพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากการโดนผึ้งหรือต่อต่อย
    • การกินอาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล อาหารรสจัด สารกันเสีย สีผสมอาหารบางชนิด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
    • ยาบางชนิด เช่น ยาลดไข้แอสไพริน หรือ ยาปฏิชีวนะบางชนิด
    • การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมีพยาธิ
    • โรคบางชนิด เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อ (โรคไทรอยด์) โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
    • ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเองกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น
    • บางครั้ง แพทย์หาสาเหตุไม่พบ

มีการศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบความเกี่ยวเนื่องระหว่างระบบประสาท-ระบบต่อมไร้ท่อ-ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ที่อาจเป็นสาเหตุของลมพิษ โดยพบว่าความเครียดทำให้มีการหลั่งของสารเคมีบางชนิด และสารเคมีนั้นๆ จะไปกระตุ้นเซลล์ชนิดหนึ่งในร่างกายที่อยู่ในเนื้อเยื่อผิวหนังและในเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเรียกว่า เซลล์มาสต์ (Mast cell) ทำให้เซลล์นี้แตกตัวหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ออกมา ซึ่งสารฮิสตามีนเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดลมพิษ

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาลมพิษคือ ต้องพยายามหาและหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ ดังนั้นสิ่งที่มีความสำคัญมากคือ ข้อมูลจากผู้ป่วย อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่จะไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษได้แน่นอน ถึงแม้ว่าจะถามประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการดังกล่าวแล้ว ดังนั้นมักต้องใช้ยาในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการคันของผู้ป่วย โดยทั่วไปจะเริ่มต้นจากยาทาประเภทคาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion) ซึ่งเป็นแป้งน้ำผสมเมนทอลเพื่อให้เย็น เพื่อลดอาการคัน หรือทาแป้งเย็นหรือประคบผ้าเย็นก็ได้ ถ้ายังมีผื่นขึ้นอยู่ก็กินยาต้านฮิสตามีน โดยกินชนิดที่ไม่ง่วงในตอนเช้าเพื่อไม่รบกวนการทำงาน และกินชนิดที่ทำให้ง่วงในตอนกลางคืนเพื่อจะได้ไม่เกาเวลานอนหลับ ถ้ายังไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือมีอาการทางเนื้อเยื่อ/อวัยวะระบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดท้องหรือถ่ายเหลว เป็นลมหน้ามืด ควรปรึกษาแพทย์ หรือพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน

วัณโรค (Tuberculosis / TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า ‘วัณโรคปอด/Pulmonary TB’ แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำไส้ และหากเชื้อวัณโรคอยู่ในตัวผู้ป่วยโดยไม่มีอาการได้นานๆ จะเรียกว่า ‘วัณโรคระยะแฝง (Latent TB infection/ LTBI)

วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนทางการหายใจ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่จากผู้ป่วยวัณโรคปอดไปสู่ผู้อื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็กๆ ซึ่งออกมาจากการ ไอ จาม หรือพูด ละอองเสมหะเหล่านี้จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และเมื่อสูดเข้าไปจะเข้าไปจนถึงถุงลมปอดแล้วเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อถุงลมได้ ทั้งนี้ ในการไอ 1 ครั้งอาจพบมีละอองเสมหะออกมาถึง 3,000 ละอองเสมหะ อย่างไรก็ดีวัณโรคจะไม่ติดต่อทางการกิน การดื่ม และการสัมผัส และผู้ป่วยจะไม่มีการแพร่เชื้อกรณีที่ได้รับยาวัณโรคเกิน 2 อาทิตย์ไปแล้ว

ในระยะแรกหลังจากเชื้อวัณโรคเข้าในร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการและไม่สามารถตรวจพบได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ จนถึงประมาณหลังจาก 4 อาทิตย์ ร่างกายจะเริ่มมีปฏิกริยาต่อเชื้อวัณโรค โดยส่วนใหญ่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในคนปกติจะสามารถควบคุมเชื้อวัณโรคให้สงบนิ่งอยู่ เรียกว่าอยู่ในระยะแฝง/วัณโรคระยะแฝง ซึ่งจะไม่มีอาการของโรคและไม่แพร่เชื้อ

แต่ในผู้ป่วยเด็กเล็กหรือผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS)/ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาจไม่สามารถควบคุมเชื้อวัณโรคให้สงบได้ จึงเกิดโรควัณโรคปฐมภูมิ (เป็นวัณโรคที่แสดงอาการตั้งแต่ครั้งแรกที่ติดเชื้อ โดยไม่มีการอยู่ในระยะแฝง) เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด หรือวัณโรคต่อมน้ำเหลืองได้ ทั้งนี้ เชื้อวัณโรคที่อยู่ในระยะแฝงจะสงบอยู่จนมีปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอจึงเกิดโรควัณโรคปอดขึ้น

อาการสำคัญของวัณโรคปอดคือ ไอเรื้อรังโดยเฉพาะอาการไอที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยจะเริ่มจากไอแห้งๆ ต่อมาจะมีเสมหะจนอาจมีไอเป็นเลือดได้ ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อย คือ มีไข้ (มักเป็นไข้ต่ำๆ) อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเหงื่อออกกลางคืน

1. กินยาวัณโรคตามที่แพทย์แนะนำจนครบตามกำหนดอย่างเคร่งครัด (ประมาณ 6 - 12 เดือน) เพื่อป้องกันการดื้อยา

2. ในช่วงแรกของการรักษาโดยเฉพาะ 2 อาทิตย์แรกถือเป็นระยะแพร่เชื้อ ผู้ป่วยควรอยู่แต่ในบ้าน แยกห้องนอน นอนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวกและแสงแดดส่องถึง ไม่ออกไปในที่ที่มีผู้คนแออัด ต้องปิดปากจมูกเวลาไอหรือจาม และใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในที่ชุมชน

รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้านควรดูแลให้ทำตามข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยวัณโรค และฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ให้ทารกแรกเกิดทุกรายเพื่อป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรงในเด็กเล็ก อย่างไรก็ดีผู้ที่เคยฉีดวัคซีนบีซีจีมาแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอดได้

โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อย คือ โรค/ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรค/ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคคอพอก โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ และโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

ก.  ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism): คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานสูงขึ้นผิดปกติจึงส่งผลให้มีฮอร์โมนบางชนิดในร่างกาย/ในเลือดสูงกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ขึ้น ทั้งนี้ อาการจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบบ่อย ได้แก่ ผอมลงทั้งๆ ที่กินจุ หัวใจเต้นเร็วและแรง เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อแขนและขาลีบ อุจจาระบ่อยขึ้น/ท้องเสีย ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผมเปราะแห้ง ผมร่วง มือสั่น หงุดหงิดง่าย กังวลเกินเหตุ อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เป็นต้น

ข.  ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism): ได้แก่ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติหรือเสียหายจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จึงส่งผลให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย/ในเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ ทนหนาวไม่ได้ ท้องผูก ประจำเดือนแต่ละครั้งมามากผิดปกติ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อ้วนฉุ เฉื่อย ช้า เสียงแหบ ผิวหนังดูหนากว่าปกติ ผิวแห้ง เล็บแตกง่าย ใบหน้า รอบดวงตา มือ เท้าบวม (โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน) ซึมเศร้า เป็นต้น

ค.  โรคคอพอก (Goiter หรือ Goitre): คือ โรคต่อมไทรอยด์โต อาจโตเรียบทั่วทั้งสองกลีบ โตเรียบเพียงกลีบเดียว โตแบบเป็นตะปุ่มตะป่ำ หรือเป็นปุ่มก้อนเนื้อ อาจเกิดเพียงก้อนเนื้อเดียวหรือหลายๆก้อน เกิดกับต่อมไทรอยด์เพียงกลีบใดกลีบหนึ่งหรือกับทั้งสองกลีบพร้อมกัน มักมีสาเหตุจากขาดเกลือแร่ไอโอดีน ต่อมไทรอยด์จึงเพิ่มปริมาณเซลล์ให้มากขึ้น ต่อมจึงมีขนาดโตขึ้น

ง.  โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ หรือ ก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule): คือ ปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นปุ่มเนื้อที่ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็ง

จ.  โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer): เป็นโรคมะเร็งพบบ่อยชนิดหนึ่งของคนไทย เป็นโรคมะเร็งของผู้ใหญ่ แต่พบได้ตั้งแต่ในเด็กโตไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้หญิงพบเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ชายถึงประมาณ 3 - 4 เท่า เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ การได้รับรังสีในบริเวณต่อมไทรอยด์โดยเฉพาะในช่วงเป็นเด็ก

ก.  ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน: การรักษาคือ การกินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และ/หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน โดยจะเป็นวิธีการใดขึ้นกับ อายุ สุขภาพ ผู้ป่วย ดุลพินิจของแพทย์ และความสมัครใจของผู้ป่วย

ข.  ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน: การรักษาคือ การกินยาไทรอยด์ฮอร์โมน และการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น กินยาขับน้ำลดบวม (ยาขับปัสสาวะ) เป็นต้น

ค. โรคคอพอก: คือ รักษาตามสาเหตุของคอพอก เช่น รักษาภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น

ง.  โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์: คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นต้น

จ.  เนื้องอกต่อมไทรอยด์: การรักษาคือ กินยาไทรอยด์ฮอร์โมน แต่เมื่อก้อนโตขึ้นหรือก้อนไม่ยุบหลังกินยา การรักษาคือ การผ่าตัดก้อนเนื้อหรือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ฉ.  โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์: การรักษาคือ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และอาจร่วมกับการกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน การฉายรังสีรักษา หรือยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งและชนิดของเซลล์มะเร็ง

โรคมือ เท้า ปาก (Hand- Foot-and- Mouth disease) เป็นโรคที่พบได้บ่อยตลอดปีในแถบร้อนชื้น มักเป็นในเด็กเล็ก พบมากในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีแต่พบในเด็กอายุมากกว่านี้ก็ได้ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า คอกแซคกีไวรัส เอ 16 (Coxsackievirus A16) ในบางครั้งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอ็นเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) คอกแซคกีไวรัส เอ 5, 7, 9, 10 และคอกแซคกีไวรัส บี 2, 5 และอาจเกิดจากเชื้อไวรัส เอ็คโคไวรัส (Echovirus) ได้บ้าง ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การติดเชื้อเอนเทโรไวรัสในช่วงวัยเด็กเล็กน่าจะช่วยลดโอกาสของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยเช่นกัน

โรคนี้ติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1) จากการกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระหรือน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย และ 2) จากการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายมาจากผู้ป่วย ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 3 - 6 วันผู้ป่วยจึงจะมีอาการ

ส่วนใหญ่เด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปากจะมีอาการน้อย อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้ และมีตุ่มน้ำหรือตุ่มแดงๆ ที่มีการอักเสบกระจายทั่วไปบริเวณริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก ลิ้น ด้านหลังของคอหอย กระพุงแก้ม หรืออาจจะทำให้มีแผลตื้นๆ บนเยื่อบุปากที่อักเสบ

มักพบมีผื่นหรือตุ่มน้ำบริเวณมือและเท้าซึ่งจะเจ็บ ส่วนใหญ่จะพบตุ่มน้ำบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าขนาดประมาณ 3-7 มิลลิเมตร มักพบเป็นตุ่มน้ำรูปรีๆ เหมือนลูกรักบี้ อาจพบตุ่มน้ำบริเวณหลังเท้าหรือบริเวณก้นได้ ซึ่งตุ่มน้ำเหล่านี้จะหายไปภายในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

โรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส 71 มักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักกว่าที่เกิดจากเชื้อคอกแซคกีไวรัส เอ 16 โดยมักจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงทางระบบประสาท (มีการอักเสบของก้านสมอง เนื้อสมอง และไขสันหลัง ทำให้เกิดภาวะแขน-ขาอ่อนแรง/อัมพาต) ระบบหัวใจ และปอดได้สูง ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วจากภาวะปอดบวมน้ำ เลือดออกในปอด และภาวะช็อก นอกจากนี้เชื้อคอกแซคกีไวรัส เอ 16 ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และภาวะช็อกได้ แต่พบได้น้อยกว่าจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 มาก

เด็กที่เป็นโรคมือ เท้า ปากมักจะกินอาหารและนมได้น้อยลง เด็กเล็กๆ จะมีน้ำลายยืดมากกว่าปกติเพราะมักจะเจ็บปาก กลืนไม่ได้ (แนะนำให้เด็กกินน้ำเย็น กินนมแช่เย็น หรือเอานมแช่แข็งให้ หรือไอศกรีม เด็กจะกินได้เพราะความเย็นทำให้ชาไม่เจ็บ) หากแบมือและดูที่ฝ่าเท้าจะพบมีตุ่มแดงๆในช่วงแรก ซึ่งต่อมาจะโตขึ้นและเห็นเป็นตุ่มน้ำชัดเจน

  1. ผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทั้งหน้ามือ หลังมือ ซอกนิ้วมือ รอบนิ้วมือ เล็บ ข้อมือทั้งสองข้าง หลังขับถ่าย ก่อนปรุงอาหาร หรือกินอาหาร และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ทั้งห้ามนำเด็กเข้าไปในที่แออัดเมื่อมีการระบาดของโรค
  2. เมื่อบุตรหลานมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก ควรพาเด็กไปพบแพทย์และให้อยู่บ้าน ไม่ควรพาไปสถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียน หรือในที่ชุมชน เพราะจะนำโรคนี้ไปแพร่ให้เด็กอื่น
  3. ในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลควรเน้นบุคลากรและเด็กในการดูแลตนเองตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ของเด็กแต่ละคนอย่าให้ปะปนกัน เพราะของเล่นต่างๆ อาจปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือสิ่งขับถ่ายของเด็ก ควรหมั่นทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอกแล้วล้างน้ำให้สะอาดและนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
  4. หากพบเด็กในห้องเรียนเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเป็นโรคมือ เท้า ปากต้องปิดห้องเรียนหรือ โรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน

ชนิดของเหา

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเหา

อาการ

การรักษา

เหาที่ศีรษะ

เกิดขึ้นโดยการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด และใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี หมวก ที่มัดผม ผ้าเช็ดตัว รวมถึงที่เป่าผม โดยพบว่าการหวีผมอาจส่งเหาออกไปได้ไกลถึง 1 เมตร ทั้งนี้ความยาวของเส้นผมไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ติดเหาง่ายขึ้น ผู้ชายจึงสามารถเป็นเหาได้เช่นกัน

คันที่ศีรษะ เพราะร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด โดยถ้าตรวจดูหลังการดูดเลือดใหม่ๆ จะพบตุ่มนูนแดงเล็กๆ และจะคันมากในช่วงกลางคืน เพราะเหามักดูดเลือดในช่วงเวลานี้

  • การใช้ยาฆ่าเหา ซึ่งมีทั้งยาสระผมและยากิน
  • การใช้หวีเสนียดหวีผมหลังจากที่ใช้ยาฆ่าเหาไปแล้ว
  • การโกนผม

เหาที่ลำตัว

เกิดขึ้นโดยการอาศัยอยู่กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภาวะที่ไม่มีการอาบน้ำ ไม่ได้เปลี่ยนหรือซักเสื้อผ้า เช่น การเดินทางบนรถบัสหรือรถไฟเป็นระยะทางยาวนานหลายวัน การอยู่ในค่ายกักกัน ค่ายผู้อพยพ ในคุก หรือพบในคนเร่ร่อนไม่มีที่อยู่อาศัย

คันตามลำตัว และคันมากในช่วงกลางคืน การตรวจร่างกายก็จะพบรอยเกา และตุ่มนูนแดงเล็กๆ ที่เกิดจากการกัดดูดเลือดของเหา โดยจะพบตามลำตัวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณอื่นๆที่อาจพบ ได้แก่ บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ส่วนบริเวณหน้า แขนและขาจะพบได้น้อย และที่บริเวณหนังศีรษะจะไม่พบตุ่มนูนแดงนี้ นอกจากนี้ อาจพบผื่นแบนเรียบเล็กๆ สีออกเทา-น้ำเงิน

การอาบน้ำ รักษาความสะอาดของเสื้อผ้าและที่นอน

เหาที่อวัยวะเพศ (โลน)

เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่ในเด็กก็สามารถพบได้โดยเกิดจากพ่อแม่เป็นเหาที่อวัยวะเพศ และมีการอยู่ใกล้ชิด นอนร่วมกัน ทำให้เด็กติดเหาจากพ่อแม่ได้

คันในบริเวณที่เหาอาศัยอยู่ เช่น ขนที่อวัยวะเพศ ขนรอบรูก้น ขนที่ท้อง ขนที่หน้าอก ขนที่รักแร้ หากมีปริมาณมาก อาจลามไปถึงขนคิ้วและขนตาได้

  • ใช้ยาฆ่าเหา
  • การโกนขน

แต่สิ่งสำคัญคือต้องรักษาคู่นอนของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย

  1. เหาที่ศีรษะ หากมีปริมาณมากและทิ้งไว้ไม่รักษา เส้นผมอาจจะพันกันกลายเป็นก้อน มีสะเก็ดหนอง และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  2. เหาที่ลำตัว หากทิ้งไว้ไม่รักษาเป็นเวลาหลายปี ผิวหนังจะหนาตัวและมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งเกิดจากการเกาผิวหนังเป็นระยะเวลานานๆ
  3. ไม่ว่าเป็นเหาที่บริเวณไหน หากมีปริมาณมาก หรือเกามากจนผิวหนังถลอก อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เกิดผิวหนังอักเสบและเป็นฝีหนองได้
  4. ตัวเหาเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใหญ่ชนิด Epi demic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นต้น

การป้องกันการแพร่เหาสู่ผู้อื่นคือ ต้องรักษาเหาของตนเองให้หาย และการกำจัดเหาที่อาจหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองกลับเป็นซ้ำด้วย อันได้แก่ การรักษาความสะอาดร่างกาย ของใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น หวี หมวก ที่มัดผม ผ้าคลุมผม ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว รวมถึงของเล่น เช่น ตุ๊กตา สำหรับสิ่งของที่นำมาซักล้างไม่ได้ ให้ใช้วิธีใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้มิดชิด ทิ้งไว้ในระยะเวลาที่แน่ใจว่าตัวเหาจะตายทั้งหมด และเผื่อเวลาไว้สำหรับเหาที่อาจวางไข่และฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งก็คือระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วจึงนำของใช้ดังกล่าวมาใช้ต่อได้

โรคกระเพาะอาหาร หรือ โรคของกระเพาะอาหาร (Stomach disease) คือ โรค/ภาวะผิดปกติต่างๆ ที่เกิดกับเซลล์/เนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร มีหลากหลายมาก ทั้งโรค/ภาวะผิดปกติที่พบบ่อย หรือที่พบได้เรื่อยๆไม่บ่อยมาก หรือที่พบน้อย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลเปบติค กระเพาะอาหารติดเชื้อ มะเร็งกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอุดตัน กระเพาะอาหารทะลุ โรคอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร ภาวะไร้กรดเกลือ เป็นต้น

  • อายุ: ยิ่งสูงอายุโอกาสที่เซลล์กระเพาะอาหารจะเสื่อมตามธรรมชาติเช่นเดียวกับเซลล์ทุกอวัยวะก็ยิ่งสูงขึ้น จึงเกิดโรคต่างๆ ได้สูงขึ้น เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร ภาวะไร้กรดเกลือ เป็นต้น
  • สูบบุหรี่: ควันพิษของบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคกระเพาะอาหารได้หลายโรค เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน โรคแผลเปบติค
  • การดื่มสุราเรื้อรัง: เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน แผลเปบติค และกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เพราะแอลกอฮอล์ก่อการระคายเคืองเรื้อรังต่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร
  • ความเครียด: จะส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเกลือสูงต่อเนื่อง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบและแผลเปบติคได้ ที่รวมถึงภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด: เช่น ยาแก้ปวด/ ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs ยาเสตียรอยด์ ที่จะส่งผลต่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นแผลที่รวมถึงมีเลือดออกจากแผลได้ง่าย (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร)
  • ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไพโลไร: ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูน: ที่จะส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง จนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน เรอบ่อย สะอึกบ่อย อุจจาระดำเหมือนยางมะตอย (อาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร) หรืออาจคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณยอดอก

ก. การรักษาสาเหตุ: ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละโรคที่เป็นสาเหตุ ที่รวมถึงความรุนแรงของอาการและการตอบสนองต่อวิธีรักษาในแต่ละผู้ป่วย เช่น การรักษาทางยาและการผ่าตัด

ข. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต: เป็นการรักษาร่วมกับวิธีรักษาในทุกๆ สาเหตุ เป็นการรักษาหลักที่สำคัญ/ที่จำเป็นสำหรับทุกผู้ป่วย ได้แก่ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการบริโภคเพื่อช่วยลดการอักเสบ/การระคายเคือง เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานได้พอเหมาะกับประสิทธิภาพที่ยังคงเหลืออยู่ที่จะช่วยให้กระเพาะอาหารฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และยังช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากกระเพาะอาหารทำงานลดลง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เรอ สะอึก ซึ่งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ การเลิกบุหรี่/สุรา การปรับประเภทและปริมาณอาหาร การใช้ยาโดยรู้ถึงผลข้างเคียงของยาที่มีต่อกระเพาะอาหาร และการรักษาสุขภาพจิต

ค. การรักษาตามอาการ: เช่น การใช้ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาแก้สะอึก เป็นต้น

มะเร็ง/โรคมะเร็ง คือ โรคที่เซลล์ในร่างกายเกิดการแบ่งตัวรวดเร็วสูงกว่าปกติและร่างกายควบคุมการแบ่งตัวนี้ไม่ได้ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง/แผลมะเร็งที่ทำลายเซลล์/เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดโรค ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆ ตลอดจนต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง ส่งผลต่อเนื่องให้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดมะเร็งทำงานไม่ได้ตามปกติ โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญคือ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก ไขกระดูก จนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

 เพศ 

เรียงตามลำดับที่พบบ่อยสุด

 ชาย 

  โรคมะเร็ง ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว ช่องปากกระเพาะปัสสาวะ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร

 หญิง 

  โรคมะเร็ง เต้านม ปากมดลูก ตับ ลำไส้ใหญ่ ปอด รังไข่ ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง มดลูก และ เม็ดเลือดขาว

 เด็ก 

  โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง และโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมา/Neuroblastoma (มะเร็งของประสาทซิมพาทีติก)

โรคมะเร็ง (Cancer)

โรคเนื้องอก (Tumor) 

  • ก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็ง โตเร็ว
  • ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ เป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง
  • มีการรักษาที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง
  • ก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า
  • ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เพียงกดหรือเบียดทับเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสเลือด
  • มักรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด

สาเหตุของโรคมะเร็งยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าสาเหตุน่ามาจากหลายๆ ปัจจัยเสี่ยงร่วมกันมากกว่าปัจจัยเดียว เช่น มีพันธุกรรมผิดปกติ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา/แอลกอฮอล์ ขาดสารอาหารต่างๆ ขาดการกินผักและผลไม้ กินอาหารไขมันและ/หรือเนื้อแดงสูงต่อเนื่องเป็นประจำ ได้รับสารพิษ ติดเชื้อ เป็นต้น

ชนิด

ลักษณะ

ตัวอย่าง

คาร์ซิโนมา (Carcinoma)

 

เป็นมะเร็งกลุ่มใหญ่ที่พบบ่อยสุดของมะเร็งทั้งหมด มักพบในผู้ใหญ่ โดยเป็นมะเร็งของเนื่อเยื่อบุผิว และของเยื่อเมือก ของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ

มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด

 

ซาร์โคมา (Sarcoma)

เป็นมะเร็งกลุ่มพบได้น้อย พบทั้งในผู้ใหญ่และในเด็ก โดยเป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

มะเร็งกล้ามเนื้อลาย มะเร็งซาร์โคมามดลูก มะเร็งคาโปซิ มะเร็งกระดูก

มะเร็งระบบโลหิตวิทยา/มะเร็งโรคเลือด (Hematologic malignancy /Non-solid tumor)

เป็นมะเร็งในเนื้อเยื่อระบบโลหิตวิทยา

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งมัลติเพิลมัยอีโลมา

เนื้องอกเจิมเซลล์ มะเร็งเจิมเซลล์ (Germ cell tumor)

เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน (Germ cell) ของอวัยวะเพศ คือ อัณฑะในเพศชาย และรังไข่ในเพศหญิง

มะเร็งอัณฑะ มะเร็งรังไข่ชนิดเจิมเซลล์

มะเร็งบลาสโตมา (Blastoma / Blast)

เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อนที่เคยมีอยู่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (Embryo) มักพบในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก พบน้อยมากๆ ในผู้ใหญ่

มะเร็งจอตา มะเร็งนิวโรบลาสโตมา มะเร็ง/เนื้องอกวิมส์/มะเร็งไตในเด็ก

เป็นน้ำประมาณ 90%-95% ที่เหลือเป็นผลิตผลของเหลือจากการสันดาปเพื่อเซลล์ใช้พลังงานจาก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ของเสียต่างๆ และสารส่วนเกินต่างๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น เกลือแร่ สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ ยา ฮอร์โมน สารพิษ

สี กลิ่น และความเป็นกรดด่างของปัสสาวะ

ปัสสาวะปกติจะใส ไม่ขุ่น แต่อาจขุ่นได้บ้างเล็กน้อยจากการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ ส่วนสีเหลืองของปัสสาวะเกิดสารในเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า ฮีม (Heme) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายหลังหมดอายุ นอกจากนี้สีของปัสสาวะยังขึ้นกับสีของอาหารที่กิน รวมทั้ง ผัก ผลไม้ และยาที่กินด้วย

ปกติปัสสาวะจะไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นแอมโมเนียจางๆ (เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารยูเรียในปัสสาวะไปเป็นแอมโมเนีย) แต่เมื่อดื่มน้ำน้อยสารต่างๆ ในปัสสาวะจะเข็มข้นขึ้น จึงก่อให้เกิดกลิ่นตามสารนั้นๆ ได้ เช่น อาหารประเภทหัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง เครื่องเทศ หรือจากยาบางชนิด เช่น วิตามินต่างๆ

ปัสสาวะปกติจะค่อนข้างเป็นกรดอ่อนๆ โดยค่า pH อยู่ที่ประมาณ 5.5-6.5 แต่อาจมีค่า pHอยู่ระหว่า 4.6-8 ได้ และเช่นเดียวกับสีและกลิ่น ค่า pH ขึ้นกับ ปริมาณน้ำที่ดื่ม อาหาร และยาที่กิน

ปริมาณปัสสาวะและจำนวนครั้งของการปัสสาวะต่อวัน

ในผู้ใหญ่ปกติ ปริมาณปัสสาวะต่อวันจะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณน้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร เหงื่อ ภูมิอากาศ/อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม อาชีพ/การงาน การถ่ายเทอากาศในสถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัย การเล่น การออกกำลังกาย ยาต่างๆ ที่บริโภค เช่น ยาขับปัสสาวะ น้ำหนักตัว โรคประจำตัว อย่างไรก็ตามปริมาณทั่วไปจะอยู่ในช่วงประมาณ 0.6-2.6 ลิตร/วัน (เฉลี่ยประมาณ 1.4 ลิตร/วัน หรือ 1-2 ลิตร/วัน) ซึ่งจะมีการขับถ่ายประมาณ 6-8 ครั้งต่อวันขึ้นกับปัจจัยต่างๆ

ประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะ คือ สามารถใช้เป็นการตรวจเพื่อการคัดกรอง การวินิจฉัย และการติดตามผลการรักษาโรคและภาวะต่างๆ ทั้งของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคหรือภาวะต่างที่ไม่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ แต่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน (เช่น การตั้งครรภ์) การสันดาปพลังงานของร่างกาย (เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคตับ) หรือการที่ร่างกายได้รับสารพิษต่างๆ (เช่น ยาเสพติด หรือการรับสารพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว หรือ ปรอท) ตัวอย่างของความผิดปกติที่ได้จากการตรวจปัสสาวะ เช่น

  • ปัสสาวะที่มีสีผิดปกติอาจเกิดจากโรคหรือภาวะต่างๆ เช่น สีเหลืองเข้มแต่ไม่มากเกิดจากภาวะขาดน้ำ / สีเหลืองเข้มคล้ำเกิดจากโรคไวรัสตับอักเสบ โรคตับอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ หรือโรคจากการมีการอุดกั้นทางเดินน้ำดี หรือโรคมะเร็งตับชนิดเกิดจากท่อน้ำดีในตับ / สีแดงหรือเป็นเลือดเกิดจากมีการอักเสบ แผล นิ่ว หรือมีเลือดออกในอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ / สีขาวขุ่นเหมือนนมเกิดจากมีน้ำเหลืองหรือไขมันปน เช่น โรคเท้าช้าง
  • กลิ่นหวานเหมือนผลไม้เกิดจากโรคเบาหวาน / กลิ่นเหม็นอับเกิดจากโรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง / กลิ่นเหม็นเน่าเกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ / กลิ่นอุจจาระเกิดจากการมีรูทะลุระหว่างลำไส้ใหญ่และทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

โรคตาปลาเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีหรือถูกกดทับกับสิ่งต่างๆ บ่อยๆ เป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของเราหรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายเองก็ได้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. โรคตาปลาที่เรียกว่า คอร์น (Corns) ตาปลาชนิดนี้จะเป็นตุ่มนูนของผิวหนังที่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลาง ซึ่งเกิดจากผิวหนังชั้นบนสุดของหนังกำพร้ามีการหวำตัวลงไป และทำให้ชั้นของขี้ไคลซึ่งเกิดจากการลอกตัวของผิวหนังชั้นบนสุดของหนังกำพร้านี้มีการสะสมอัดแน่นจนไปกดเบียดชั้นผิวหนังแท้ซึ่งมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บ ตาปลาชนิดคอร์นแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ชนิดย่อยคือ ตาปลาชนิดแข็งและตาปลาชนิดอ่อน

2. โรคตาปลาที่เรียกว่า คัลลัส (Callus) ตาปลาชนิดนี้จะเป็นตุ่มนูนของผิวหนังแบบที่ไม่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลาง พบบ่อยบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าบริเวณใกล้ๆ กับนิ้วเท้า อาจจะมีอาการเจ็บหรือไม่มีก็ได้ ขอบเขตของตุ่มนูนในตาปลาชนิดนี้จะไม่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากตาปลาชนิดคอร์นที่จะมีขอบเขตชัดเจน

1. จากการกระทำของเราหรือสาเหตุจากภายนอก ได้แก่ การใส่รองเท้าที่คับและแน่นเกินไป หรือไม่ใส่รองเท้าเวลาเดิน ใช้มือทำงานบางอย่างบ่อยๆ เป็นเวลานาน เช่น ร้อยพวงมาลัยและใช้นิ้วมือถูกับเข็มร้อยมาลัยบ่อยๆ เขียนหนังสือมากหรือออกแรงใช้นิ้วกดทับดินสอ/ปากกา เป็นต้น

2. จากความผิดปกติของร่างกายหรือสาเหตุจากภายใน ได้แก่ การมีเท้าผิดรูปทำให้เวลาเดินบางตำแหน่งของเท้าจะรับน้ำหนักและถูกกดทับมากกว่าปกติ หรือมีความผิดปกติมีปุ่มกระดูกยื่นหรือนูนออกมาทำให้เกิดการเสียดสีเวลาใช้งาน เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ เป็นต้น

1. การรักษาตาปลา: โดยการใช้ใบมีดโกนหรือมีดผ่าตัดเฉือนตุ่มตาปลาออกโดยหากเฉือนได้ถูกต้อง เลือดจะไม่ออก และอาจใช้ยาในรูปแบบยาทา/ยาใช้ภายนอกรักษาร่วม หรือหากตาปลามีขนาดเล็ก เพิ่งเป็นมาไม่นาน อาจใช้ยาทารักษาอย่างเดียว  โดยยาเหล่านี้จะไปทำให้ชั้นผิวหนังของตาปลานิ่มลงและค่อยๆ หลุดลอกออกไปเอง นอกจากนี้การแช่มือหรือเท้าที่เป็นตาปลาในน้ำอุ่นอาจช่วยทำให้ตาปลานิ่มลงและง่ายต่อการเฉือนออก  และอาจใช้หินสำหรับขัดตัวถูบริเวณตาปลาที่แข็งมากๆ

2. การกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดตาปลา:

  • กรณีเป็นตาปลาที่เท้า ควรเลือกรองเท้าใส่ให้พอดีกับเท้า ไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกิดการเสียดสีได้ ด้านหน้าของรองเท้าต้องไม่บีบนิ้วเท้า ส้นรองเท้าต้องไม่สูงเกินไป พื้นรองเท้าต้องนิ่มแต่ยืดหยุ่น ถุงเท้าที่ใส่ต้องมีความพอดีไม่รัดแน่นหรือหลวมไปเช่นกัน
  • กรณีที่มีตาปลาอยู่ระหว่างง่ามนิ้วเท้า อาจใช้สำลีหรือฟองน้ำบุระหว่างง่ามนิ้วเท้า
  • กรณีตาปลาอยู่ตรงฝ่าเท้าด้านหน้าใกล้ๆ กับนิ้วเท้า อาจเสริมพื้นรองเท้าเหนือส่วนที่เกิดตาปลา เพื่อลดแรงกด
  • กรณีมีเท้าผิดรูปหรือการลงน้ำหนักของเท้ามีความผิดปกติ อาจเลือกใช้รองเท้าที่ออกแบบเป็นพิเศษที่เหมาะสมกับความผิดปกติแต่ละชนิด
  • ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาฉีดซิลิโคนเข้าชั้นผิวหนังบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกยื่นออกมาเพื่อลดแรงเสียดสีและแรงกดผิวหนังตรงปุ่ม หรือแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดก็ได้
  • ผู้ที่อ้วนมีน้ำหนักมากและมีตาปลาที่เท้า อาจต้องลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดของเท้ากับพื้น
  • ผู้ที่เป็นตาปลาที่มือ ควรใส่ถุงมือเวลาทำงานเพื่อลดการเสียดสีของผิวหนัง

ตาปลา เป็นการหนาตัวของผิวหนังชั้นนอก ซึ่งมักเกิดจากการเสียดสีซ้ำ ๆ ในขณะที่หูดเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนัง โดยกรณีที่เป็นหูด เมื่อมีการฝานผิวหนังด้านบนอาจเห็นจุดเลือดออกหรือมีเลือดซึมออกมาเล็กน้อยได้ ในขณะที่ตาปลาจะไม่เห็นจุดเลือดออก

พจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2547 ให้ความหมายคำว่า เลือดออก / ตกเลือด ว่าได้แก่ อาการที่มีเลือดที่ตามปกติต้องอยู่ในหลอดเลือด ไหลออกมาอยู่ภายนอกหลอดเลือด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • เลือดออกภายใน (Internal bleeding) - เกิดกับหลอดเลือดของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ในทางเดินอาหาร สมอง ม้าม ปอด
  • เลือดออกภายนอก (External bleeding) - เกิดกับหลอดเลือดของผิวหนัง และ/หรืออวัยวะที่เป็นช่อง (ทวาร) ที่ติดต่อกับภายนอกร่างกาย เช่น ช่องปาก หู จมูก ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และทวารหนัก

องค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization) แบ่งความรุนแรงของการมีเลือดออกเป็น 5 ระดับ คือ

  • ระดับ 0 ไม่มีเลือดออก
  • ระดับ 1 เลือดออกเป็นจุดเล็กๆ แดงๆ เช่น ในโรคไข้เลือดออก (Petechial bleeding) เป็นระดับไม่ต้องมีการรักษาด้วยการให้สารน้ำ/น้ำเกลือ หรือ ให้เลือด
  • ระดับ 2 เลือดออกให้เห็น แต่ไม่มาก ไม่ก่ออาการผิดปกติอื่นๆ จึงยังไม่ต้องมีการให้น้ำ เกลือ หรือ ให้เลือด
  • ระดับ 3 เลือดออกมาก ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น ใจสั่น ซีด เป็นระดับที่ต้องได้รับการรักษาด้วยน้ำเกลือ และ/หรือ การให้เลือด
  • ระดับ 4 เลือดออกรุนแรงมาก ความดันโลหิตต่ำมาก ต้องได้รับการให้เลือด ผู้เสียเลือด อาจเสียชีวิตได้ หรือ มีเลือดออกในอวัยวะสำคัญที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิต เช่น เลือดออกในสมอง หรือ เลือดออกในจอตา

ทั้งนี้ โดยทั่วไปในคนปกติ เมื่อเสียเลือดน้อยกว่า 10-15% ของปริมาณเลือดในร่างกาย (Blood volume) จะไม่ก่ออาการผิดปกติ อาจเพียงอ่อนเพลียเล็กน้อย ซึ่งในการบริจาคเลือดในแต่ละครั้ง มักอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 8-10% ของปริมาณเลือดทั้งหมดในร่างกาย (ในคนปกติจะมีปริมาณเลือดอยู่ที่ประมาณ 4.7-5 ลิตร โดยผู้หญิงจะมีปริมาณเลือดน้อยกว่าผู้ชายเล็กน้อย)

  • โรคเลือดเช่น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  • มีแผลในอวัยวะนั้นๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลเปบติค แผลในทวารหนัก
  • โรคความดันโลหิตสูงเช่น โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น โรคไข้เลือดออก
  • ภาวะอักเสบ เช่น ช่องคลอดอักเสบ เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่น ยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบในกลุ่มเอ็นเสด/NSAIDs และยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคมะเร็งบางชนิดที่ทำให้มีเกล็ดเลือดต่ำเช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ภาวะตับวาย และไตวาย

สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งจากผิวหนังขึ้นผื่นเป็นปื้น แดง หนา คัน เจ็บ ตกสะเก็ดเป็นมันและมีสีเงิน จึงได้ชื่อว่า ‘โรคสะเก็ดเงิน’ มีหลายปัจจัยร่วมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น เชื้อชาติ พันธุกรรม ภาวะมีความเครียด โรคอ้วน สิ่งแวดล้อม ผลข้างเคียงจากกินยาบางชนิด และอาจพบเกิดร่วมกับโรคเรื่อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ

โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคออโตอิมมูนที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตานทานโรคต่อต้านเซลล์/เนื้อเยื่อผิวหนังจึงส่งผลให้เนื้อเยื่อผิวหนังเกิดการอักเสบเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดกับผิวหนังได้ทุกส่วน แต่ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ

  • ผิวหนังส่วนข้อศอก (ด้านนอกไม่ใช่ด้านในข้อพับ)
  • เข่า (ด้านนอกไม่ใช่ส่วนในข้อพับ)
  • ผิวหนังส่วน ด้านหลัง หลังมือ หลังเท้า
  • หนังศีรษะ และใบหน้า

สะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ตลอดชีวิต แม้จะรักษาอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน มีหลายวิธี และอาจใช้หลายวิธีรักษาร่วมกัน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ การตอบสนองของอาการต่อวิธีรักษาต่าง และดุลพินิจของแพทย์ เช่น

  • การใช้ ’ยาทา’ ต่างๆ เช่น ยา Salicylic acid ยาสเตียรอด์ ยา Retinoid ยา Anthralin วิตามินดี และรวมถึงการใช้ครีม/โลชั่นบำรุงผิวชนิดที่อ่อนโยน
  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ
  • การฉายแสงรอยโรคด้วย แสง UV-A หรือ UV B จากแสงแดด
  • การกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดบางชนิด
  • การฉายรังสีรักษาที่รอยโรค
  • การป้องกัน ควบคุม รักษา โรคต่างๆ ที่มักเกิดร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต
  • บางครั้ง/บางรายที่ดื้อต่อการรักษาวิธีต่างๆ อาจมีการผ่าตัดต่อมทอนซิล กรณีแพทย์เชื่อว่าเป็นต้นเหตุการติดเชื้อเรื้อรังที่ส่งผลกระตุ้นอาการของสะเก็ดเงิน
  • โรคข้ออักเสบ ที่พบได้ประมาณ 10-15% และ
  • อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

เนื่องจากเป็นโรคในกลุ่มโรคออโตอิมมูน จึงไม่สามารถป้องกันได้ 100% ยกเว้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงฯ/ปัจจัยกระตุ้น

โรคอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากกินอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำ/เครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย รองลงไปคือเชื้อไวรัส นอกจากนั้นที่พบได้บ้าง คือ การปนเปื้อนปรสิต (Parasite) เช่น บิดมีตัว (Amoeba) ส่วนการปนเปื้อนสารพิษที่พบบ่อยคือ จากเห็ดพิษ สารพิษปนเปื้อนในอาหารทะเล สารหนู และสารโลหะหนัก

โดยแบคทีเรียที่พบก่อโรคอาหารเป็นพิษมีหลายชนิดที่พบบ่อย คือ สแตฟฟีโลคอกคัส (Staphylococcus) อีโคไล (E. coli) บิดชิเกลลา (Shigella) ไทฟอยด์ (Salmonella) เชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเดียวกับบาดทะยัก (Clostridium) อหิวาตกโรค (Cholera) และ ลิสทีเรีย (Listeria monocytogenes) ส่วนไวรัสที่พบเป็นสาเหตุโรคอาหารเป็นพิษที่พบบ่อย คือ ไวรัสตับอักเสบ เอ และ อะดีโนไวรัส (Adenovirus)

เมื่อเชื้อหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการเร็วหรือช้า (ระยะฟักตัว) ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของเชื้อ/สารพิษ ซึ่งเกิดอาการได้ตั้งแต่ 2-6 ชั่วโมงหลังกินอาหาร/ดื่มน้ำ ไปจนเป็นวันหรือสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่โดยทั่วไปมักเกิดอาการภายใน 2-6 ชั่วโมง หรือ 2-3วัน โดยอาการโดยทั่วไปที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ท้องเสีย อาจเป็นน้ำ มูก หรือ มูกเลือด
  • ปวดท้อง อาจมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค (มักเป็นการปวดบิด)
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีไข้สูง อาจหนาวสั่น แต่บางครั้งอาจมีไข้ต่ำได้
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อาจปวดข้อ ขึ้นกับชนิดของเชื้อ/สารพิษ
  • อาจมีผื่นขึ้นตามเนื้อตัว
  • อาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ผลข้างเคียงจากโรคอาหารเป็นพิษโดยทั่วไปคือ ภาวะขาดน้ำเมื่อท้องเสียมาก (อ่อนเพลียมาก ตัวแห้ง ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย/ไม่มีปัสสาวะ ความดันโลหิตอาจต่ำ สับสน และโคม่า) นอกจากนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค/สารพิษ เช่น กล้ามเนื้อไม่มีแรงเมื่อได้รับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มบาดทะยัก เลือดออกตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะไตเมื่อเกิดจากเชื้ออีโคไลชนิดรุนแรง หรือทำให้เกิดการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์เมื่อเกิดจากเชื้อลิสทีเรีย

  • ในขณะปวดท้อง หรือ คลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรกินอาหารหรือดื่มน้ำเพราะอาการจะรุนแรงขึ้น
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่ายท้อง เพราะการท้องเสียจะช่วยขับเชื้อและสารพิษออกจากร่างกาย
  • จิบน้ำ อมน้ำแข็งสะอาด หรือ น้ำเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • เมื่ออาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือ ปวดท้อง บรรเทาลง ควรเริ่มอาหารด้วยอาหารน้ำที่มีรสจืด เช่น น้ำซุปครั้งละน้อยๆ ก่อนแล้วสังเกตอาการดู หลังจากนั้นจึงค่อยปรับอาหารไปตามอาการ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากหรืออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อแพทย์ไม่สั่งให้จำกัดน้ำดื่ม
  • พักผ่อนให้มาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นที่สำคัญ คือ การล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนกินอาหาร
  • รีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือฉุกเฉินกรณีที่มีอาการรุนแรง มีไข้สูง อุจจาระเป็นเลือด หรือกรณีที่อาการท้องเสียถึงแม้จะดีขึ้น แต่ยังคงมีอาการอยู่นานเกิน 3 วัน

ก. ไขมันคอเลสเตอรอล มีประโยชน์ในการช่วยสร้างผนังของเซลล์ ฮอร์โมนบางชนิด วิตามินดี และเป็นส่วนประกอบในน้ำดี แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ

  • ไขมันแอลดีแอล (LDL) - เป็นไขมันไม่ดี ส่งเสริมให้หลอดเลือดแดงแข็งจากการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด
  • ไขมันเอชดีแอล (HDL) - เป็นไขมันที่ดี ช่วยกำจัดไขมันแอลดีแอลออกจากผนังหลอดเลือด

ข. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (TG/TAG) เป็นไขมันอีกชนิดที่เป็นสาเหตุให้หลอดเลือดแข็ง อาจเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

  • อายุ: ผู้สูงอายุมักมีไขมันในเลือดสูงกว่าคนวัยอื่น โดยเฉพาะในหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • เพศ: เพศหญิงมักมีไขมันในเลือดโดยเฉพาะชนิด LDL สูง
  • น้ำหนักตัว: ไขมันในเลือดมักจะสูงในผู้ที่เป็นโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • อาหารที่บริโภค: ไขมันในเลือดจะสูงขึ้นเมื่อบริโภคอาหารไขมันสูงต่อเนื่อง
  • พันธุกรรม: ผู้มีคนในครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวสายตรงเป็นโรคไขมันในเลือดสูง มีโอกาสมีไขมันในเลือดสูงกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
  • การออกกำลังกาย: คนที่ขาดการออกกำลังกาย ไขมันในเลือดมักสูง
  1. สาเหตุจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของไขมันที่ผิดปกติเอง แบ่งออกตามชนิดของไขมันในเลือดดังนี้
    • ระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติแต่ระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติ
    • ทั้งระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ
  2. สาเหตุจากการเป็นโรคอื่นๆ แล้วทำให้ระบบเมตาบอลิซึมของไขมันผิดปกติ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ) โรคตับ โรค กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing syndrome)

ปริมาณคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดการตีบตัน/หลอดเลือดแดงแข็ง เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (กลุ่มโรคเอนซีดี) เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ

  • จำกัดอาหารไขมันให้น้อยที่สุดหรือดังกล่าวแล้ว หลีกเลี่ยงอาหารทอดและใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์
  • จำกัดอาหารแป้งและน้ำตาลเพื่อลดโอกาสเกิดโรคเบาหวาน
  • กินอาหารจืดเพื่อลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมักพบเกิดร่วมกับโรคไขมันในเลือดสูง
  • ไม่สูบบุหรี่เพราะสารพิษในควันบุหรี่เพิ่มการจับตัวของไขมันในหลอดเลือด เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดแข็ง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ

ก. การติดเชื้อ ซึ่งเกิดได้จากเชื้อโรคทุกชนิด

  • แบคทีเรีย: เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบได้บ่อยที่สุด โดยแบคทีเรียที่พบบ่อย คือ อีโคไล (E.coli) และ Staphylococcus และโรคลำไส้อักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียที่พบบ่อย เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
  • ไวรัส เช่น ไวรัสโรตาที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา อะดีโนไวรัส (Adenovirus) ที่ทำให้ท้องเสียที่เรียกว่า ไข้หวัดลงกระเพาะ (Stomach flu) หรือ ไวรัสซีเอมวี (CMV, Cytomegalovirus) ที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เป็นต้น
  • ปรสิต เช่น อะมีบา (Amoeba) ในโรคบิดมีตัว พยาธิต่างๆ เช่น พยาธิตัวกลมที่เรียกว่า พยาธิสตรองจิลอยด์ สตรองจิลอยดิอาซิส (Strongyloidiasis)
  • เชื้อรา ที่มักเป็นสาเหตุให้เกิดลำไส้อักเสบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์

ข. ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เป็นโรคที่พบได้ประปราย เช่น

  • ลำไส้ขาดเลือด (Ischemic colitis) จากมีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • มีเนื้อเยื่ออักเสบในทุกอวัยวะ รวมทั้งลำไส้อักเสบจากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง เป็นต้น
  • ท้องเสียหรือท้องร่วงร่วมกับปวดท้อง (ปวดบีบ)
  • ลักษณะอุจจาระอาจ เหลว เป็นน้ำ เป็นมูก หรือเป็นมูกเลือด มักมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ โดยสีอาจปกติ หรือ ซีดกว่าเดิม
  • มีไข้หนาวสั่น พบได้ทั้งไข้สูงหรือไข้ต่ำ ขึ้นกับสาเหตุ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • อาการจากภาวะขาดน้ำ เช่น ตาโหล ปากแห้ง วิงเวียน เป็นลม ใจสั่น เป็นต้น
  • ติดเชื้อในกระแสโลหิต
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  • ลำไส้ทะลุ
  • ภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเน่าตาย  
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานเสมอ
  • รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม โดยเฉพาะน้ำแข็ง ห้องครัว เครื่องใช้ในการปรุงอาหาร และในการกิน/ดื่ม
  • กินอาหารปรุงสุกทั่วถึงเสมอ
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ไม่ใช้ ช้อน ซ่อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น และใช้ช้อนกลางในการกินอาหารทุกครั้ง
  • ภาวะสายตาสั้น: อาจเกิดจากกำลังหักเหของแสงของกระจกตาและแก้วตามากเกินไป หรือถ้ากำลังหักเหของแสงปกติ ก็อาจเกิดจากลูกตายาวเกินไปหรือตาโตเกินไป
  • ภาวะสายตายาว: อาจเกิดจากกำลังหักเหแสงของกระจกตาและแก้วตาน้อยเกินไป หรือจากลูกตาสั้นเกินไป (ตาเล็ก)
  • ภาวะสายตาเอียง: มักพบปนไปกับสายตาสั้นหรือสายตายาว ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้แสงโฟกัสเกิดกระจายหลายจุด จึงส่งผลให้เห็นภาพไม่ชัดและปวดเมื่อยตา ส่วนน้อยเกิดจากแก้วตาซึ่งอยู่คลาดเคลื่อนไปจากที่ควร
  • สายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia): เกิดจากความสามารถในการมองระยะใกล้ลดลงตามอายุ (มองใกล้ไม่ชัด) มักเกิดในผู้ที่อายุตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป 

การแก้ไขสายตาผิดปกติทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้แว่นตาตลอดจนเลนส์สัมผัส (Contact lens) ซึ่งเป็นการแก้ไขชั่วคราว การผ่าตัดซึ่งประกอบด้วยการผ่าตัดด้วยมีด การใส่เลนส์เสริมแก้วตา (Phakic intraocular lens) และใช้แสงเลเซอร์ (ที่เรียกกันว่า  Lasik) ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขแบบถาวร แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

สำหรับความจำเป็นของการแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ ขึ้นกับว่าความผิดปกติของสายตานั้นรบกวนหรือบั่นทอนภารกิจประจำวันหรือคุณภาพชีวิตก็ควรแก้ไข เช่น กรณีนักเรียนที่มีสายตาสั้นมองกระดานไม่ชัดเป็นผลทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง หรือกรณีสายตาเอียงหรือสายตายาวที่แม้จะมองเห็นได้ชัดเจน แต่มีอาการปวดศีรษะปวดตาเป็นประจำ ทั้งสองกรณีก็จำเป็นต้องรับการแก้ไข

ในทางตรงข้าม แม้จะสายตาสั้นหรือตายาวหรือตาเอียงค่อนข้างมาก แต่ผู้นั้นไม่ต้องใช้สายตามองไกล ภารกิจประจำวันไม่เดือดร้อน ไม่มีอาการปวดตาเวลาใช้สายตา ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข ยกเว้นกรณีที่สายตาผิดปกตินั้น อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบการทำงานอย่างอื่น เช่น สายตายาวจนก่อให้เกิดตาเข หรือสายตาผิดปกตินั้นอาจก่อให้เกิดภาวะ “ตาขี้เกียจ (ตามัว/Amblyopia)” ซึ่งหมายถึงการไม่รับรู้การเห็นอย่างถาวร มักพบเกิดในเด็ก โดยเป็นภาวะมักพบในสายตาผิดปกติที่ไม่เท่ากันระหว่างตา 2 ข้าง ในกรณีนี้ ควรรับการแก้ไขสายตาที่ผิดปกติอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมแว่นตลอดเวลา ไม่ใช่ใส่ๆ ถอดๆ ทั้งนี้ โดยทั่วไปการแก้ไขสายตาผิดปกติในเด็กควรพิถีพิถันกว่าผู้ใหญ่ เพราะการแก้ไขที่ถูกต้องนอกจากช่วยให้สายตาดีขึ้นแล้วยังทำให้การพัฒนาการของสายตาดำเนินไปอย่างปกติด้วย

ในทางการแพทย์คำว่า “สายตายาว” หมายถึง อาการสายตายาวที่เกิดตั้งแต่อายุยังน้อยยังไม่ถึงวัยสูงอายุ ส่วนคำว่า “สายตาผู้สูงอายุ” หมายถึง อาการสายตายาวที่เกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้ง 2 สภาวะมีวิธีแก้ไขโดยการใช้เลนส์แว่นตาเป็นเลนส์นูน ซึ่งเป็นการเพิ่มกำลังหักเหของแสงเหมือนกัน แต่เป็นคนละโอกาสกัน กล่าวคือ

  • สายตาผู้สูงอายุ ใช้เลนส์นูนเฉพาะเวลามองใกล้เท่านั้น
  • ส่วนสายตายาวทั่วไป ใช้แว่นเลนส์นูนทั้งชนิดมองไกลและชนิดมองใกล้

เจ็บหน้าอก / แน่นหน้าอก (Chest pain) เป็นอาการที่เกิดได้จากสาเหตุต่างๆ มากมาย ทั้งจากโรคทางกายและจากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจโดยไม่ได้มีพยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆ
โรคทางกายที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกมีสาเหตุหลักเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้คือ

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม และจากอาการไอรุนแรง
  • โรคทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ธาตุพิการ โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • โรคของผนังหน้าอก เช่น กระดูกซี่โครงบาดเจ็บ หรือโรคงูสวัดของผิวหนังส่วนหน้าอก
  • ปัญหาทางอารมณ์จิตใจ เช่น เครียด โกรธ หรือการเรียกร้องความสนใจ

ทั้งนี้ อาการเจ็บหน้าอกมักเกิดร่วมกับอาการต่างๆ เสมอ เช่น เรอ แน่นท้อง มีไข้ ไอ หรือผิวหนังขึ้นผื่น แต่เจ็บหน้าอกที่เกิดร่วมกับอาการวิงเวียนจะเป็นลม หรือเจ็บ/ปวดร้าวไปขากรรไกรและแขน เป็นอาการที่ต้องพบแพทย์ฉุกเฉินเพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด/กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด/อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris) เกิดจากการนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ โดยสาเหตุสำคัญ ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจตีบเนื่องจากการเสื่อมสภาพจากภาวะสูงอายุ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กรรมพันธุ์

ที่พบได้บ่อยส่วนใหญ่จะมีอาการแน่นหน้าอก/หรือเจ็บแน่น/หรือปวดแน่นตรงกลางอกเหนือลิ้นปี่ แน่นหนักเหมือนมีอะไรกดทับหรือบีบ บางครั้งมีอาการแสบร้อน อาการดังกล่าวอาจลุกลามไปด้านหลัง คอ ไหล่ คาง หรือต้นแขน โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่นานประมาณ 5 นาที แต่อาจน้อยหรือนานกว่านี้ได้ ลักษณะเฉพาะอีกประการคือ ตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหรือมักจะเกิดอาการตอนใช้กำลัง/ออกแรง หรือมีความเครียดมากๆ หรือบางครั้งมีอาการหลังกินอาหารมื้อหนัก หรือตอนอากาศเย็นมากๆ (บางคนอาจพบตอนอากาศร้อนมากๆ) หรือ ช่วงสูบบุหรี่ โดยอาการปวด แน่น เจ็บ หน้าอก จะทำให้รู้สึกหายใจลำบาก เหงื่อไหล บางคนมีอาการคลื่น ไส้ร่วมด้วย และอาการจะรุนแรงหากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจมีมาก

  • ควรนอนราบ แล้วให้ญาติติดต่อรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร 1669/ใช้ ได้ทั่วประเทศ (สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ/สพฉ. กระทรวงสาธารณสุข ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง)
  • หากมียาขยายหลอดเลือดหัวใจ รีบให้รับประทาน หรืออม หรือพ่นในช่องปาก แล้วแต่ว่ามียาชนิดใด

อาการหูอื้อหรือมีเสียงในหู (Tinnitus) หมายถึง การได้ยินลดลง หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูอยู่ หรือรู้สึกมีเสียงอยู่ในหูตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นเสียงแหลมวี๊ด ๆคล้ายมีแมลงบินในหู หรือเสียงหึ่งๆ หรือเสียงตุบๆ คล้ายชีพจรเต้น หรือแม้แต้เสียงการกลืนอาหาร หรือเสียงลมหายใจ บางคนอาจรู้สึกแน่นหูร่วมด้วย อาการอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรังหรือเป็นอยู่ชั่วคราว อาการอาจเกิดกับหูเพียงข้างเดียวหรือมีอาการกับหูทั้งสองข้าง ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ โดยหูอื้อบางชนิดก็ไม่มีอันตราย บางชนิดก็มีอันตราย

สาเหตุของหูอื้อมีได้หลายสาเหตุที่พบบ่อย เช่น หูติดเชื้อ แก้วหูทะลุ น้ำเข้าหู โรคหวัด โรคไซนัสอักเสบ การได้ยินเสียงดังเป็นประจำ การได้ยินเสียงดังมากทันที เช่น เสียงระเบิด โรคของต่อมไทรอยด์ โรคหลอดเลือด โรคเนื้องอกสมอง หรือโรคเนื้องอกของประสาทหู และโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก

1. หูอื้อแบบมีเสียงแหลมวี๊ดๆ คล้ายมีแมลงในหู หรือเสียงหึ่งๆ ประเภทนี้มักเกิดจากมีความผิดปกติของหูชั้นในหรือของเส้นประสาทหู มักเกิดร่วมกับอาการประสาทหูเสื่อมและการได้ยินลดลง อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการหูอื้อมักเกิดร่วมกับอาการนอนไม่หลับ ซึ่งบ่อยครั้งผู้ป่วยมักเข้าใจว่าเสียงดังในหูทำให้นอนไม่หลับ เครียด หรือภาวะซึมเศร้า และภาวะทั้งหมดมีส่วนเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้อาการยิ่งเป็นมากขึ้น

2. หูอื้อแบบรู้สึกตุบๆ กลุ่มนี้เกิดจากมีเนื้องอกในช่องหู (Glomus tumor) ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจอาจสามารถได้ยินเสียงอื้อนั้นด้วย

3. หูอื้อแบบได้ยินเสียงภายในร่างกายชัดกว่าปกติ เช่น เสียงพูดของตัวเอง หรือเสียงลมหายใจ มักเกิดจากมีความผิดปกติของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง บางครั้งเกิดจากโรคภูมิแพ้ ทำให้ท่อระบายอากาศของหู (Eustachian tube) บวมและถ่ายเทอากาศไม่ได้ ผู้ป่วยอาจสังเกตได้ว่า อาการมักเป็นๆ หายๆ หรือเวลาขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำจะมีอาการปวดหูและมีหูอื้อ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะพบได้น้อย แต่อาจเกิดจากโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกได้ โดยเฉพาะถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือร่วมกับมีต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ โต คลำได้ ซึ่งถ้าเป็นหูอื้อจากมะเร็งมักเป็นหูอื้อเพียงข้างเดียว ข้างที่มีก้อนมะเร็งโตจนอุดกั้นท่อระบายอากาศของหู โดยโรคมะเร็งชนิดนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในบ้านเราในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายจีน ดังนั้นถ้ามีอาการหูอื้อข้างเดียว จึงควรรีบพบแพทย์ หู คอ จมูก

ควรใช้ความสังเกตว่า เป็นหูอื้อแบบไหน เป็นเวลาเป็นโรคหวัด โรคภูมิแพ้ หรือไม่ หรือมีอาการได้ยินลดลง ซึ่งกรณีมีการได้ยินลดลงนี้ควรรีบพบแพทย์ด้านหู คอ จมูก เพราะอาจมีอาการประสาทหูเสื่อมได้ นอกจากนี้ควรงด/เลิกบุหรี่/หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะมีรายงานว่าอาจทำให้อาการหูอื้อเลวลงได้ งด/เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ได้ยินการไหลเวียนของเลือดในหูดังขึ้น/หูอื้อมากขึ้น ควรยอมรับ เข้าใจในอาการ และปรับตัว ลดความกังวล ลดความเครียด

การป้องกันหูอื้อ ทำได้โดยการงด/หลีกเลี่ยงฟังเสียงดังๆ หรือถ้าต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง ต้องมีที่อุดหูป้องกัน หรือถ้าเป็นหวัด หรือภูมิแพ้ ต้องทำการรักษาและงดการดำน้ำในช่วงนั้น นอกจากนั้น คือ การดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ

เนื้องอก หมายถึง ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เกิดจากการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้อวัยวะที่มีเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนใหญ่เนื้องอกเวลาคลำดูจะมีความแข็งมากกว่าเนื้อปกติของอวัยวะนั้นๆ โดยมากถ้าเป็นอวัยวะปกติที่คลำได้ง่าย เช่น ผิวหนัง เต้านม อวัยวะเพศ ช่องปาก ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำเหลือง ทวารหนัก และอัณฑะ เมื่อเกิดเนื้องอกขึ้นมาจะเห็นและคลำได้ง่าย เพราะจะเห็นเป็นก้อนทำให้อวัยวะนั้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติ แต่ถ้าเป็นเนื้องอกที่เกิดที่อวัยวะภายในลึกๆ จะสังเกตเห็นหรือคลำตรวจพบได้ยากมากจนกว่าจะมีขนาดใหญ่มากแล้ว เช่น ปอด ตับ ไต มดลูก สมอง ตับอ่อน ม้าม ต่อมลูกหมาก และ กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

เนื้องอกแบ่งใหญ่ๆเป็น 2 ชนิดคือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ไม่ใช่มะเร็ง (Benign tumor / Benign neoplasia) อีกชนิดคือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือที่เรียกว่าโรคมะเร็ง (Malignant tumor / Malignant neoplasia / Cancer)

เนื้องอกทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมของเซลล์ของเนื้องอก ได้แก่ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะโตช้าๆ เพราะเซลล์ของเนื้องอกแบ่งตัวช้า ไม่ค่อยมีการแทรกตัวเข้าไประหว่างเซลล์ปกติ ไม่ค่อยมีการทำลายเซลล์ปกติใกล้เคียง และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีการกินทะลุเข้าไปในหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง ทำให้ไม่มีโอกาสที่เซลล์เนื้องอกจะแพร่กระจายตามหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองไปเติบโตเป็นก้อนที่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปได้ จึงเป็นโรคที่มักรักษาได้หายโดยเพียงการผ่าตัด

ในทางตรงกันข้าม เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือโรคมะเร็ง จะมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มปริมาณเร็วมาก เซลล์มะเร็งจะเบียดแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ปกติใกล้เคียงและทำลายเซลล์ปกติเหล่านั้นด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ เซลล์มะเร็งสามารถแทรกตัวทะลุเข้าไปในหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองได้ และอาศัยการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง นำพาเอาเซลล์มะเร็งเหล่านี้แพร่กระจายไปเจริญเติบโตเป็นก้อนมะเร็งก้อนใหม่ที่อวัยวะอื่นๆ ได้ ( Metastasis) ดังนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง มีการรักษาที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง

  • ได้รับสารเคมีบางอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง เช่น จากสารพิษในควันบุหรี่ สารพิษในแอลกอฮอล์ สารพวกสีย้อมผ้าต่างๆ จากยาบางชนิด เช่น ยาสารเคมีที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
  • ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเอชพีวีที่เป็นสาเหตุเกิดโรคหูด
  • ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อเอชไพโลริในกระเพาะอาหาร (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร)
  • ติดเชื้อพยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ตับ
  • ได้รับรังสีบางชนิด เช่น เนื้องอกต่อมไทรอยด์จากได้รับรังสีจากสารไอโซโทป กรณีอุบัติเหตุต่อโรงงานที่ใช้พลังงานปรมาณู
  • มีพันธุกรรมผิดปกติ

เมื่อสงสัยมีเนื้องอกเกิดขึ้นในร่างกายของเรา เราควรจะสังเกตเบื้องต้นว่า ก้อนนี้มีมานานเท่าใด เจ็บปวดหรือไม่ นุ่มหรือแข็ง สัมพันธ์กับอาการ หรือ ภาวะอื่นๆ ของร่างกายหรือไม่ เช่น มีไข้ร่วมด้วยหรือไม่ สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนหรือไม่ เป็นต้น เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องตามขั้นตอนทางการแพทย์ต่อไป ซึ่งเมื่อมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดในตำแหน่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์เสมอ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผิดปกติสู่ลูก จากพ่อและ/หรือ แม่ โรคนี้พบได้ทั่วโลก แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1) Alpha thalassemia 2) Beta thalassemia) และ 3) Thalassemia minor ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ยังแบ่งย่อยได้อีกหลายชนิดขึ้นกับการจับคู่กันของจีน (Gene) ที่ผิดปกติ ทั้งนี้ คนที่ได้จีนธาลัสซีเมียจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว ยังไม่ถือว่าเป็นโรคแต่ถือว่าเป็นพาหะของโรค (Thalassemia trait)

โดยทั่วไป แบ่งความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมียเป็น 4 ระดับ คือ

1. ชนิดความรุนแรงสูงสุด ทารกในกลุ่มนี้จะเสียชีวิตทั้งหมด อาจเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดเล็กน้อย โดยทารกจะบวม ซีดมาก ท้องโตจากตับและม้ามโต และมีภาวะหัวใจวาย

2. ชนิดความรุนแรงสูง ทารกในกลุ่มนี้เมื่อแรกเกิดอาการปกติ แต่จะเริ่มมีอาการในขวบปีแรกหรือหลังอายุ 6 เดือน และอาการจะมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กจะอ่อนเพลีย ซีดมาก ท้องโตจากการมีตับและม้ามโต เด็กเจริญเติบโตช้า แคระแกน ไม่สมอายุ กระดูกใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและกระดูกขากรรไกรใหญ่ ฟันบนเหยิน/ยื่น กระดูกเปราะง่าย ต้องได้รับเลือดบ่อยและเป็นประจำ จึงทำให้มีธาตุเหล็ก (จากเม็ดเลือดแดงที่ตายแล้ว) สะสมในร่างกายสูง ผิวจึงคล้ำ เกิดตับแข็ง หัวใจวายง่าย มักมีนิ่วในถุงน้ำดี และมีอายุสั้น

3. ชนิดความรุนแรงปานกลาง ต้องให้เลือดเป็นครั้งคราวเมื่อซีดมาก มีไข้สูงง่าย หรือเมื่อติดเชื้อ

4. ชนิดความรุนแรงต่ำ ซีดเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องให้เลือด แต่อาจเหนื่อยง่ายจากภาวะซีด มักมีโรคร่วมอื่นๆ ได้บ่อย เช่น โรคหืด และอาจมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย

นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว ยังมีอาการจากการมีโรคเรื้อรังแทรกซ้อน เช่น โรคตับแข็ง โรคเบาหวาน และ โรคต่อมไทรอยด์ ซึ่งโอกาสเกิดโรคเรื้อรังเหล่านี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและอายุของผู้ป่วย (ยิ่งสูงอายุโอกาสเกิดผลข้างเคียง/โรคแทรกซ้อนยิ่งสูงขึ้น)

  • กินอาหารมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารหมู่โปรตีน และอาหารมีโฟเลต/วิตามินบี 9 เพื่อเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้
  • รักษา ควบคุมโรคแทรกซ้อนซึ่งเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง หรือ โรคต่อมไทรอยด์
  • ให้เลือด โดยความถี่ของการให้เลือดขึ้นกับอาการและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ให้ยาขับเหล็กในผู้ป่วยมีเหล็กสะสมในเลือดสูง ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ผ่าตัดม้าม เมื่อมีม้ามโตและม้ามทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
  • ปลูกถ่ายไขกระดูก โดยใช้ไขกระดูกหรือเซลล์ตัวอ่อน (Stem cell) หรือเลือดจากรกของคนที่เลือดเข้ากันได้กับผู้ป่วย
  • ก่อนแต่งงานควรปรึกษาสูติแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการตรวจสุขภาพ ควรตรวจโรคติดต่อต่างๆ รวมทั้งตรวจโรคทางพันธุกรรม
  • เมื่อพบว่ามีจีนผิดปกติทั้งจากพ่อและแม่หรือเพียงคนใดคนหนึ่ง ควรปรึกษาสูติแพทย์ในเรื่องการมีบุตรก่อนแต่งงาน หรือก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์

ไวรัสตับอักเสบ (Viral hepatitis) คือ โรคเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับจากติดเชื้อไวรัสในกลุ่มไวรัสตับอักเสบ โดยการติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเมื่อหายแล้วร่างกายมักฟื้นกลับเป็นปกติ แต่ก็มีส่วนน้อยที่โรคไม่หายและกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังซึ่งมักทำให้เกิดโรคตับแข็งตามมา บางคนมีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในตัวโดยไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้เรียกว่า เป็นพาหะโรค (Carrier)

ไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิดหรือหลายสายพันธุ์ย่อย กล่าวคือ มีตั้งแต่ไวรัสตับอักเสบชนิดเอไปจนถึงชนิดเอช และยังมีอีกหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญ คือ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี โดยไวรัสตับอักเสบทุกชนิดให้อาการคล้ายกัน แต่แยกจากกันโดยการตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทานของเชื้อชนิดย่อยต่างๆ

  • บางชนิดติดต่อผ่านทางระบบเดินอาหาร เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ
  • บางชนิดติดต่อทางสารคัดหลั่งซึ่งรวมทั้ง เลือด น้ำเหลือง และทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) เช่น ไวรัสตับอักเสบบี
  • บางชนิดติดต่อจากการได้รับเลือดในการรักษาโรคต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
  • บางชนิดติดต่อจากแม่สู่ลูกจากการคลอดบุตร เช่น ไวรัสตับอักเสบบี

อาการของไวรัสตับอักเสบทุกสายพันธุ์หรือทุกชนิดคล้ายกัน มีได้ตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงอาการมาก ขึ้นกับปริมาณไวรัสที่ร่างกายได้รับและสุขภาพดั่งเดิมของผู้ป่วย โดยอาการพบบ่อยของไวรัสตับอักเสบ ได้แก่

  • มีไข้
  • ปวดเมื่อยตัว คล้ายอาการจากโรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ แต่อ่อนเพลียมากกว่าไข้หวัดมาก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อาจมีท้องเสีย
  • อาจเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา (ตำแหน่งของตับ)
  • มักมีตาเหลือง ตัวเหลือง (โรคดีซ่าน) ปัสสาวะสีเข้ม
  • อาจมีตับโตคลำได้ (ปกติจะคลำตับไม่ได้)
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ และเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง
  • ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
  • กินแต่อาหารที่ปรุงสุกอย่างทั่วถึง ดื่มน้ำสะอาด ระวังการกินน้ำแข็ง และอาหารสุกๆดิบๆ
  • ระมัดระวังการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของบุคคลอื่น โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือบางอย่างร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา เครื่องมือสักตามร่างกาย และกรรไกรตัดเล็บ
  • ใช้ถุงยางอนามัยชายเสมอเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ฉีดวัคซีนตับอักเสบบี ตามคำแนะนำของแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข

ตะคริว (Muscle cramp) คืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทันทีโดยไม่ได้ตั้งใจ มักเกิดกับกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อต้นขา แต่ทั้งนี้เกิดได้กับกล้ามเนื้อทุกมัดในร่างกาย ซึ่งกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวจะคลำได้เป็นก้อนแข็งและปวด/เจ็บมาก โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตะคริวคือ นักกีฬา คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ต้องนอนนานๆ ผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดตะคริวคือ

  • สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ มวลกล้ามเนื้อจึงลดลง รวมทั้งขาดการออกกำลังยืดกล้ามเนื้อ
  • ใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นเกินกำลัง ผิดวิธี หรือผิดท่าทาง เช่น เล่นกีฬาหนัก ยกของหนัก หรือ อาชีพที่ต้อง ยืน เดิน นานๆ
  • ร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่ที่ใช้ในการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญ คือ เกลือแร่ โปแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม เช่น เสียเหงื่อมากจากการงาน การกีฬา อากาศร้อน หรือจากโรคเรื้อรังของอวัยวะที่ควบคุมเกี่ยวกับน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย เช่น โรคไตเรื้อรัง
  • ดื่มน้ำน้อย เซลล์กล้ามเนื้อจึงขาดน้ำ (มักเป็นสาเหตุในผู้สูงอายุ)
  • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดบางชนิด ยาลดไขมันบางชนิด หรือยารักษาทางจิตเวชบางชนิด
  • ดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ร่างกายจึงมักขาดน้ำรวมทั้งกล้ามเนื้อ
  • โรคเรื้อรังของกระดูกสันหลังและ/หรือไขสันหลัง จึงส่งผลให้ประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ
  • โรคเรื้อรังของปลายประสาทต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดส่วนปลายแข็ง จึงส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี กล้ามเนื้อจึงขาดเลือด
  • โรคจากความผิดปกติทางฮอร์โมน เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ และการใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด (เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด)
  • ความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย/กลุ่มอาการเมตาโบลิก เช่น โรคเบาหวาน
  • โรคตับ และ/หรือ โรคไต เพราะทั้งสองอวัยวะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
  • หยุดการใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นทันทีร่วมกับการนวดเบาๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ช่วงกล้ามเนื้อหดเกร็งมาก การประคบอุ่น/ประคบร้อนอาจช่วยบรรเทาอาการได้
  • เมื่อปวด/เจ็บกล้ามเนื้อมาก การประคบเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการได้
  • กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดในช่วงหลังกล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว (แต่ไม่สามารถช่วยลดอาการปวดช่วงกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ เพราะยายังออกฤทธิ์ไม่ทัน)
  • ควรพบแพทย์เพื่อรักษาทั้งสาเหตุและตัวอาการตะคริว กรณีที่มีอาการปวดมาก หรือมีอาการเป็นตะคริวไม่หายหลังการดูแลตนเองนานเกินกว่า 30 นาที หรือกรณีที่เป็นตะคริวบ่อย
  • ดื่มน้ำให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม และให้พอเพียงกับปริมาณน้ำที่ร่างกายเสียไป เช่น เมื่อเหงื่อออกมาก ท้องเสีย หรือ ปัสสาวะมาก
  • ไม่นั่ง นอน เดิน นานๆ
  • ฝึกยืดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยง/งด งานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเกินกำลัง เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬาหนัก
  • เมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อทำงานหนักควรมีการอบอุ่น (Warm up) กล้ามเนื้อ ตามวิธีที่ถูกต้องก่อนเสมอ
  • กิน ผัก ผลไม้ให้มาก เพราะมีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อสูง เช่น โปแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม วิตามินบี และวิตามินอี
  • สวมรองเท้าที่ไม่รัดเท้าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตบริเวณขาและเท้า
  • รักษา/ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ

 

กลาก

เกลื้อน

ลักษณะ

เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ/หรือเล็บ

เป็นโรคเชื้อราที่เกิดขึ้นเฉพาะกับผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) เท่านั้น

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อรากลุ่มที่เรียกว่า Dermatophytes และมีปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • ผิวหนังที่เปียกชื้น
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายบกพร่อง เป็นโรคที่มีฮอร์โมนชนิดสเตียรอยด์ในร่างกายสูง เช่น Cushing’s syndrome เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
  • การเล่นกีฬาประเภทที่ผิวหนังมีการเสียดสีกันเช่น ยูโด คาราเต้ มวยปล้ำ

เกิดจากเชื้อราชื่อ Malassezia spp และมีปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • สภาพอากาศที่ร้อน ชื้น ร่วมกับ
  • มีพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง
  • ขาดสารอาหารบางชนิด

 

อาการ

  • หลังติดเชื้อราโรคกลากมาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มแสดงอาการของโรคกลากในแต่ละตำแหน่งของร่างกาย เช่น ที่ ศีรษะ / เท้า / มือ / เล็บ / ลำตัว / ใบหน้า / บริเวณเคราหนวดและลำคอ / ขาหนีบ
  • จะมีชื่อเรียกโรคและอาการที่แตกต่างกันไป เช่น โรคกลากที่ขาหนีบเรียก “โรคสังคัง” โรคกลากที่เท้าเรียก “โรคฮ่องกงฟุต (โรคน้ำกัดเท้า)” โรคกลากที่ศีรษะเรียก “ชันนะตุ”
  • ไม่ว่าจะเป็นที่ตำแหน่งไหนก็จะมีอาการคันเป็นหลัก

 

  • มีผื่นรูปวงกลมหรือวงรีแบบแบนราบที่มีขอบเขตชัดเจน ผิวสัมผัสของผื่นจะไม่เรียบ
  • ผื่นมีลักษณะเป็นขุยละเอียด และมีได้หลายสี ตั้งแต่สีชมพู เทา น้ำตาล น้ำตาลแดง หรือสีออกขาว (คือจางกว่าสีของผิวหนังปกติ)
  • มีผื่นหลายๆวง ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ จนกระทั่งเป็นปื้นขนาดใหญ่
  • มักพบผื่นตามบริเวณ หน้าอก และแผ่นหลัง เป็นส่วนใหญ่ บางครั้งอาจพบผื่นบริเวณหน้าท้อง ลำคอ และแขนส่วนต้น มีส่วนน้อยมากอาจพบผื่นที่บริเวณใบหน้า
  • ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคัน

ภาวะแทรกซ้อน

  • ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา รอยโรคบนผิวหนังต่างๆ จะหายไปโดยไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น ผมที่ร่วงก็จะงอกกลับมาใหม่ได้เหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากที่ศีรษะแบบชันนะตุ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาผมจะร่วงถาวรได้
  • อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังเกิดการอักเสบและอาจเป็นฝีหนองขึ้นมา เมื่อรักษาหายก็อาจกลายเป็นแผลเป็นได้
  • เชื้อราอาจลุกลามลงลึกไปจากชั้นเคราตินของผิวหนังและทำให้เกิดเป็นตุ่มเนื้ออักเสบในชั้นใต้ผิวหนังได้
  • ในบางคนอาจเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Id reaction คือมีการติดเชื้อราที่บริเวณหนึ่ง แต่กลับมีอาการเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นของร่างกายด้วย
  • ไม่มีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน ไม่มีอันตรายถึงชีวิต ไม่ทำให้พิการ แม้ผู้ป่วยจะไม่ได้ใช้ยารักษาเลยก็ตาม
  • มีเพียงทำให้ผิวหนังเป็นด่างดวง ดูไม่สวยงามเท่านั้น

 

การติดต่อ

ติดเชื้อได้จากการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคกลาก หรือสัมผัสมาจากราที่อยู่ในดินในทราย รวมถึงการสัมผัสสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคกลาก

ไม่ใช่โรคติดต่อ ดังนั้นจึงไม่ได้ติดต่อกันโดยการสัมผัส

การดูแลตนเองและการป้องกันโรค

  • บริเวณที่เป็นโรคกลากอยู่ต้องระวังอย่าให้เปียกชื้นหรือสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ หรือตลอดเวลา
  • ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่นเช่น หวี ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ถุงเท้า หมวก รองเท้า เครื่องนอน
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นข้อพับและซอกต่างๆของร่างกายด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด อาบน้ำเสร็จแล้วซับให้แห้งอย่าปล่อยให้เปียกชื้น
  • เล็บมือเล็บเท้าควรตัดให้สั้นเสมอ รองเท้าแบบหุ้มส้นไม่ควรให้แน่นเกินไป และหมั่นนำออกตากแดดเสมอ
  • ผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ หรือตลอดเวลาควรป้องกันด้วยถุงมือยาง รองเท้าบู๊ท หรือเสื้อยาง เป็นต้น
  • ควรรักษาความสะอาดของร่างกายไม่ให้เหงื่อไคลหมักหมม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ถ้าเหงื่อออกมาก ให้อาบน้ำบ่อยๆ และเช็ดตัวให้แห้ง

 

 

*อนึ่ง: สำหรับโรคเกลื้อนน้ำนม หรือกลากน้ำนม หรือ Pityriasis alba ไม่ใช่โรคเกลื้อนหรือโรคกลากที่แท้จริง และไม่ได้เกิดจากเชื้อรา แต่เป็นโรคที่เซลล์สร้างเม็ดสีที่ชั้นหนังกำพร้าสร้างเม็ดสีลดลง ทำให้เกิดเป็นผื่นแบนราบสีออกขาว ดูคล้ายโรคเกลื้อนได้ แต่ผื่นในโรคเกลื้อนน้ำนมมักพบบริเวณใบหน้า และขอบเขตของผื่นจะไม่ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างกับผื่นของโรคเกลื้อน 

เอดส์ (AIDS) เป็นชื่อโรค ย่อมาจากคำว่า Acquired immunodeficiency syndrome มีความหมายกว้างๆ ว่า “โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Human immunodeficiency virus จัดเป็นไวรัสในกลุ่ม Retro virus ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีระยะที่ 1 (ระยะติดเชื้อปฐมภูมิ) และระยะที่ 2 (ระยะติดเชื้อเรื้อรัง) ยังไม่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ แต่เมื่อโรคเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจึงจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์โดยสมบูรณ์

มีอาการผิดปกติจากเดิมเกิดขึ้น เช่น น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งทั่วตัว มีไข้เรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง มีฝ้าขาวที่ลิ้น มีผื่นหรือเชื้อราตามผิวหนัง มีโรคงูสวัด แขนขาอ่อนแรง หรืออาการชัก

โรคเอดส์สามารถติดต่อได้โดยการได้รับเลือด และ/หรือสารคัดหลั่ง (Secretion) เช่น น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด จากผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การมีเพศสัมพันธ์ (ประมาณ 78% ของการติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด) การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดโดยใช้เข็มฉีดร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ (ประมาณ 20%) การสักผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย การรับเลือดจากผู้อื่นที่มีเชื้อไวรัสอยู่ การติดต่อจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ลูก เป็นต้น

  1. หาความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้มากที่สุด
  2. กินยาต้านไวรัส (Antiretroviral therapy) เป็นประจำ ตรงเวลา และอย่าให้ขาดยา
  3. ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคอื่นๆ จากผู้อื่น เช่น ไม่เข้าไปใกล้ชิดกับคนที่กำลังไม่สบาย ใช้หน้ากากอนามัยเสมอ หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลหรือในสถานที่มีคนอยู่หนาแน่น
  4. รักษาสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะยังไม่เกิดอาการรุนแรง หรือไม่มีอาการอยู่เป็นเวลานานประมาณ 7-10 ปี บางคนไม่มีอาการผิดปกติเป็นเวลานานกว่า 10 ปีก็มี ในช่วงเวลาเหล่านี้ควรออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ เลิกดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ เลิกพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม หาวิธีลดความเคร่งเครียดทางจิตใจ
  5. ศึกษาวิธีป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น เช่น
  • ใช้ถุงยางอนามัยชายทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (Oral sex)
  • ห้ามบริจาคโลหิตให้ผู้อื่น
  • ผู้ติดเชื้อเพศหญิง ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์
  • เมื่อผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล หรือผ่าตัด หรือคลอดบุตร ควรแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบว่า ตนเองติดเชื้อ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์จะได้ป้องกันอย่างถูกวิธี
  1. โรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาส: เช่น เชื้อราแคนดิดา (Candidiasis) เชื้อวัณโรค เชื้อไวรัสเริม (Herpes simplex) เชื้อไวรัสงูสวัด (Herpes zoster) เป็นต้น ซึ่งเชื้อฉวยโอกาสเหล่านี้มักจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะภายใน เช่น ปอด สมอง ตับ ไต ต่อมน้ำเหลือง และมักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าปกติ รักษายากกว่าปกติ
  2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคมะเร็งคาโปสิซาร์โคมา รวมทั้งโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ
  3. โรคแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้มีอาการทางสมองได้หลายอย่าง เช่น ซึม โวยวาย ความจำเสื่อม หมดสติ ชัก และ/หรือ อาการคล้ายโรคจิต เป็นต้น

ตาแดง (Conjunctivitis) เป็นภาวะที่บริเวณตาขาวมีสีแดงกว่าปกติ เป็นเพราะหลอดเลือดที่เยื่อตาขยายใหญ่ขึ้น จึงส่งผลให้เห็นเป็นสีแดง สาเหตุของตาแดงมีหลากหลายมากที่พบบ่อยคือ เยื่อตาอักเสบ กระจกตาถลอก ต้อหิน ผง/ฝุ่น/ควัน/สารต่างๆ เข้าตา ขยี้ตา มีอุบัติเหตุที่ตา ปวดศีรษะรุนแรง ไอเรื้อรัง/ไอรุนแรงจนทำให้มีเลือดออกใต้เยื่อตา มีไข้สูง ตาแห้ง ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อตาติดเชื้อแบคทีเรียหรือติดเชื้อไวรัส ฯลฯ โรคตาแดงพบได้บ่อยในทุกเพศและทุกวัย อาจเกิดกับตาข้างเดียวหรือพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Adenovirus และ Enterovirus เนื่องจากโรคนี้ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย มักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว แต่เดิมทีโรคนี้มักเป็นในหน้าฝน หน้าน้ำท่วม เพราะทำให้เชื้อโรคกระจายได้ง่าย แต่ในระยะหลังโรคนี้พบได้ตลอดปี

เมื่อได้รับเชื้อ อาจเกิดอาการตาแดงในวันรุ่งขึ้นไปจนถึง 2 สัปดาห์ โดยเริ่มรู้สึกระคายเคืองในตา น้ำตาไหล ตาแดง มีความรู้สึกคล้ายมีผงหรือเม็ดทรายอยู่ในตา มักเป็นข้างเดียวก่อน ถ้าไม่ระวังอาจลามไปตาอีกข้างในเวลาต่อมา ซึ่งพบเป็น 2 ข้างได้ถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วย โดยทั่วไปมักจะมีน้ำตาออกมาเป็นน้ำใสๆ หรือเป็นเมือกเล็กน้อย แต่เมื่อมีติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จึงจะมีขี้ตาข้นคล้ายหนองได้ นอกจากนี้ยังมีหนังตาบวมแดง บริเวณเยื่อตาอาจพบเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายไปทั่ว บางรายมีจุดเลือดเล็กๆ กระจาย บางรายอาจพบเป็นเลือดเป็นปื้นใหญ่ๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำตาไหล โดยน้ำตามีเลือดปนจนทำให้ผู้ป่วยตกใจว่ามีเลือดออกได้ และผู้ที่เป็นมากๆ อาจมีขี้ตาปนเมือกจนเป็นแผ่นติดเยื่อตาได้

ความผิดปกติทั้งหมดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส จะอยู่ที่หนังตาและเยื่อตาเท่านั้น ส่วนของตาดำจะยังปกติดี จึงไม่มีผลต่อการมองเห็น โดยผู้ป่วยโรคนี้จะยังมองเห็นได้ปกติ ลักษณะที่สำคัญอีกประการของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสนี้ มักจะพบการอักเสบและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองหน้าหูด้วย

ควรแยกผู้ป่วยออกจากกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ในค่ายทหาร โรงงานอุตสาหกรรม ที่ทำงานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีนักเรียนอยู่ประจำ ควรดูแลอนามัยส่วนบุคคลให้ดี หมั่นล้างมือ รักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ร่วมกับผู้อื่น และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย

เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาอะไรที่ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง ยาที่ใช้หยอดตาส่วนมากคือใช้ยาหยอดปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และอาจใช้น้ำตาเทียมร่วมกับยาลดอาการระคายเคือง

การใช้ผ้าชุบน้ำเย็น (รักษาความสะอาดทั้งผ้าและน้ำเสมอ) ประคบ จะช่วยให้อาการระคายเคืองตาน้อยลง ผู้ป่วยบางรายมีอาการ เจ็บตา เคืองตามาก แพทย์อาจสั่งยาหยอดตา ประเภทมียาสเตียรอยด์ร่วมกับยาปฏิชีวนะให้ชั่วคราว (อย่าซื้อยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือ เภสัชกร เพราะยามีผลข้างเคียงสูง เช่น เพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียในลูกตา และโรคต้อหิน กรณีที่ใช้ไม่ถูกต้อง) และแม้จะไม่มีข้อห้ามในการใช้สายตาระหว่างที่เป็นตาแดง แต่การใช้สายตามากๆ ทำให้เคืองตา น้ำตาไหลมากขึ้น จึงควรลดการใช้สายตาลงบ้าง โดยทั่วไปโรคตาแดงจากติดเชื้อไวรัสจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่สายตาจะกลับ มาปกติเหมือนเดิม

เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมากร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยเวลาร้องเด็กจะงอขา งอตัว กำมือ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน” เกิดได้ประมาณ 8-40% ของเด็กเล็ก และที่น่าสังเกตคือ พบบ่อยในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง มีลูกน้อยคน เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก พ่อแม่มีการศึกษาสูง

สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology/ความผิดปกติในด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ) ของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ

  1. จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
  2. เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
  3. เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
  4. เด็กกินมากเกินไปหรือกินน้อยเกินไป หรือมีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน มีการแพ้อาหาร
  5. ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก โดยพบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
  6. มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิก
  1. ระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กเล็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ (Immature autonomic nervous system) จึงส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ยังไม่สมบูรณ์
  2. บิดา และ/หรือมารดา สูบบุหรี่

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่

  1. ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
  2. ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง
  3. ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย (Low-allergen milk)
  4. เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก และหลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้เด็กนั่งหรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
  5. ใช้ยาบางชนิด
  1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
  2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง แสงรบกวน
  3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
  4. นวดตัวเด็ก หรือเขย่าเบาๆ ไปมา ลูบหลังให้
  5. เปิดเพลงเบาๆ ให้ฟัง
  • ผ่านทางแผลสด: โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆ แต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่ได้มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง: เช่น แผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน: พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดหรือการสักลาย  
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด: เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ

โรคบาดทะยักมีระยะฟักตัวคือ ตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการประมาณ 8 วัน (อยู่ในช่วง 3-21วัน) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบาดทะยัก จะมีอาการแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่เกิดอาการทั่วร่างกาย: เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ ซึ่งไม่เหมือนโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ที่มักมีไข้

  • โดยเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อบริเวณกรามแข็งเกร็ง อ้าปากได้ยาก กลืนลำบาก ต่อมากล้ามเนื้อบริเวณคอไหล่และหลังจะแข็งเกร็ง ทำให้มีอาการปวด และในที่สุดกล้ามเนื้อทั่วตัวก็จะแข็งเกร็งและมีการหดตัวเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีท่าทางที่จำเพาะ เช่น
    • การที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ามีการหดตัวและแข็งเกร็ง ทำให้ผู้ป่วยแสดงสีหน้าที่ดูเหมือนกำลังแสยะยิ้ม
    • ส่วนการที่กล้ามเนื้อหลังหดตัวและแข็งเกร็ง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหงายตัวออก กล้ามเนื้อขาเหยียดตึงไปด้านหลัง (คล้ายทำท่าสะพานโค้ง) และกล้ามเนื้อแขนงอและบิดออกพร้อมกับกำหมัด
  • การหดเกร็งของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ เพียงช่วงสั้นๆ โดยมีสิ่งเร้าเพียงเล็กน้อยเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการหดเกร็งขึ้นมา เช่น เสียงดัง การสัมผัสตัว ในขณะที่มีการหดตัวและแข้งเกร็งของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นนั้น การรับรู้สัมผัสและความรู้สึกตัวของผู้ป่วยจะปกติทุกอย่าง (ซึ่งไม่เหมือนกับผู้ป่วยโรคลมชักที่จะไม่รู้สึกตัว)
    • ถ้าอาการหดตัวและแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นยาวนาน จะทำให้หายใจได้ลำบาก ผู้ป่วยจะขาดอากาศและตัวเขียว
    • ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่รุนแรง คือกล้ามเนื้อทั้งตัวหดตัวและแข็งเกร็งอย่างรุนแรงพร้อมๆ กัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และทำให้กล้ามเนื้อที่ช่วยการหายใจทำหน้าที่ตามปกติไม่ได้ หลอดลมหดเกร็ง เกิดภาวะหายใจล้มเหลวตามมาและเสียชีวิตในที่สุด
  • ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแขน/ขาหดตัว หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดหัวใจหยุดเต้น มีไข้สูงมาก และ/หรือ เหงื่อออกทั่วตัว

ทั้งนี้ โรคในกลุ่มเกิดอาการทั่วร่างกายนี้ มีอัตราเสียชีวิตประมาณ 4-30% ขึ้นกับได้รับเชื้อในปริมาณน้อยหรือมากและอายุ โดยในผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป โอกาสเสียชีวิตจะสูง

2. กลุ่มที่เกิดอาการแบบเฉพาะที่: ผู้ป่วยในกลุ่มนี้พบได้ค่อนข้างน้อย อาการจะมีแค่การหดตัวและแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณใกล้แผลเท่านั้น พิษของเชื้อไม่ลุกลามเข้าสู่สมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโรคไม่รุนแรง อัตราเสียชีวิตประมาณ 1%

3. กลุ่มที่เกิดอาการแบบเฉพาะที่ศีรษะ: เป็นกลุ่มที่พบได้น้อยมากมาก เกิดจากผู้ป่วยมีอุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือมีการติดเชื้ออักเสบของหูชั้นกลาง พิษของเชื้อจะเข้าสู่เส้นประสาทบริเวณใบหน้า และอาจลุกลามเข้าสู่สมอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง

*อนึ่ง บาดทะยักในเด็กแรกเกิด ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือประกอบกับมารดาไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก จึงไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะส่งต่อให้ลูกได้ อาการคือ หลังคลอดได้ประมาณ 7 วัน เด็กทารกจะไม่ค่อยดูดนม งอแง และมีการหดตัวและแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดขึ้น ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง เด็กมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 90%

ซีสต์ / ถุง / ถุงน้ำ / ถุงหุ้ม เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับเนื้อเยื่อ/อวัยวะทุกชนิดของร่างกาย ลักษณะภายนอกจะมองดูและคลำได้คล้ายก้อนเนื้อกลมๆ ซึ่งมีได้ตั้งแต่ขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตรไปจนถึงขนาดใหญ่ได้หลายๆ เซนติเมตร มักมีลักษณะนุ่มผิวเรียบ โดยซีสต์สามารถโตขึ้นได้เรื่อยๆ ขึ้นกับชนิดเซลล์ที่ก่อให้เกิดซีสต์ แต่มักไม่ค่อยเปลี่ยนไปเป็นมะเร็ง (พบได้บาง แต่น้อยมากๆ)

ซีสต์มีได้หลายชนิด และมีสาเหตุได้หลากหลายขึ้นกับชนิดของซีสต์ โดยอาการสำคัญของซีสต์ คือ การพบก้อนที่โตช้าๆ ซึ่งอาการที่เกิดจากซีสต์จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิดซีสต์ เช่น คลำพบก้อนเนื้อเมื่อเกิดที่ผิวหนัง ปวดศีรษะเรื้อรังเมื่อเกิดที่สมอง ปวดท้องน้อยเรื้อรังเมื่อเกิดที่รังไข่ เป็นต้น

เป็นถุงน้ำชนิดหนึ่งที่เกิดในรังไข่ ซึ่งภายในถุงน้ำจะเป็นเลือดเก่าๆ ข้นๆ สีน้ำตาลทำให้ดูเหมือนช็อกโกแลต เกิดจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดไปกับเลือดประจำเดือนที่ไหลย้อนขึ้นไปในท่อนำไข่ แล้วไปตกอยู่ที่รังไข่และมีการเจริญแบ่งตัวมากขึ้น และเยื่อบุโพรงมดลูกกลุ่มนี้จะมีการลอกหลุดทำให้มีเลือดออกเป็นรอบๆ ตามรอบประจำเดือน ทำให้เกิดการสะสมเลือดที่รังไข่เป็นระยะเวลานานจนเกิดเป็นก้อนถุงน้ำเลือดหรือถุงน้ำช็อกโกแลต/ช็อกโกแลตซีสต์ขึ้นมา เป็นโรคที่สัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศหญิงชนิดเอสโตรเจน จึงพบโรคนี้มากในสตรีวัยเจริญพันธุ์

อาการของถุงน้ำช็อกโกแลต เช่น ปวดประจำเดือนมากทุกเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย ปวดท้องรุนแรงเฉียบพลันในกรณีที่ถุงน้ำนี้แตก (บางครั้งเป็นส่วนน้อยผู้ป่วยอาจไม่มีอาการได้)

เป็นถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่งภายในถุงน้ำประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมัน เส้นผม ฟัน และ/หรือกระดูกอ่อน อุบัติการณ์พบถุงน้ำรังไข่เดอร์มอยด์ / เดอร์มอยด์ซีสต์รังไข่ ได้ประมาณ 20-25 % ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด โดยพบบ่อยในช่วงอายุ 10-30 ปี เกิดจากการที่มีเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆได้ (Totipotential cell) มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างที่ยังไม่ทราบ ให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน จนเกิดเป็นถุงน้ำที่รังไข่ที่เรียกว่า ‘Dermoid cyst’

อาการที่เกิด เช่น ปวดหน่วงๆ ในท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน คลำก้อนได้ในท้องน้อย ปวดท้องเฉียบพลันซึ่งมักเกิดจากมีภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ เช่น เกิดการบิดขั้ว (Twisted ovarian cyst) หรือมีการแตกของถุงน้ำ (Ruptured ovarian cyst) หรือมีการติดเชื้อในถุงน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ทำให้ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดด่วน

เป็นซีสต์ของผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นก้อนซีสต์ที่มีสารสีขาวคล้ายชีส/เนยหรือไขมันอยู่ภายใน แท้จริงแล้วชีส/เนยนี้ไม่ได้มาจากต่อมไขมันแต่อย่างใด แต่เกิดมาจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอก (Epidermal cell) ที่ฝังตัวลงในผิวหนังชั้นหนังแท้แล้วผลิตสารเคอราติน (Keratin) สะสมจนเป็นซีสต์ขึ้น

ซีสต์ไขมันผิวหนังจะมีลักษณะมองเห็นและคลำได้เป็นก้อนกลม ขอบเรียบ สีเดียวกับผิวหนัง ไม่มีอาการ ก้อนซีสต์มีได้หลายขนาด ตั้งแต่เป็นมิลลิเมตรไปจนถึงเป็นหลายๆเซนติเมตร อาจมีก้อนเดียวหรือหลายๆ ก้อน ก้อนสามารถจับให้เคลื่อนไปมาได้เล็กน้อย พบได้ทุกบริเวณของผิวหนัง ทั้งใบหน้า หนังศีรษะ แขนขา ลำตัว และอวัยวะเพศ อาจพบรูเปิดจากก้อนมีสารภายในสีขาวคล้ายชีส/เนย มีกลิ่นเหม็น

  1. นิ่วในถุงน้ำดี: เป็นโรคพบบ่อยที่สุดของโรคถุงน้ำดี เป็นโรคของผู้ใหญ่ พบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชาย
  2. ถุงน้ำดีอักเสบ: เป็นโรคพบบ่อยรองลงมา มักเกิดจากถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคของผู้ใหญ่ และมักมีความสัมพันธ์กับโรคนิ่วในถุงน้ำดี  
  3. Functional gallbladder disorder หรือ Biliary dyskinesia หรือ Gallbladder dyskinesis: เป็นโรคพบได้เรื่อยๆในเด็กโตและในผู้ใหญ่ (พบน้อยกว่าในเด็กโต) เป็นโรคยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่พบว่าถุงน้ำดีมีการบีบตัวที่ไม่ดี ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนที่กระตุ้นให้มันบีบตัว จึงส่งผลให้ลำไส้เล็กขาดน้ำย่อยอาหารจากน้ำดี จึงไม่สามารถย่อยและดูดซึมอาหารไขมันได้ ทั้งนี้อาจพบมีการอักเสบเรื้อรังของผนังถุงน้ำดีได้ แต่ไม่พบนิ่วในถุงน้ำดี
  4. ติ่งเนื้อถุงน้ำดี: เป็นโรคยังไม่ทราบสาเหตุเกิด เป็นโรคของผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
  5. เนื้องอกถุงน้ำดี: เป็นโรคพบน้อยมากๆ มักเป็นเพียงรายงานผู้ป่วย
  6. มะเร็งถุงน้ำดี: เป็นโรคพบน้อย เป็นโรคของผู้ใหญ่

อาการของโรคถุงน้ำดีทุกสาเหตุ มีอาการคล้ายคลึงกัน และยังคล้ายคลึงกับอาการของ โรคตับ โรคท่อน้ำดีอักเสบ และ โรคตับอ่อน ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • ปวดท้อง: มักปวดในตำแหน่งของถุงน้ำดี คือ ช่องท้องด้านขวาตอนบน อาจเป็นการปวดรุนแรงเฉียบพลันกรณีโรคเกิดอย่างเฉียบพลัน หรือปวดท้องเรื้อรังกรณีเป็นโรคถุงน้ำดีเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดของโรคถุงน้ำดี มักเป็นการปวดแบบปวดบีบ

นอกจากนั้น อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้แตกต่างกันในแต่ละสาเหตุ/ผู้ป่วย เช่น

  • ถ้าโรคเป็นชนิดไม่รุนแรง หรือรอยโรคขนาดเล็ก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่เป็นการตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจภาพตับเพื่อวินิจฉัยโรคของตับ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือ ติ่งเนื้อถุงน้ำดี
  • คลื่นไส้ อาจร่วมกับอาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
  • กรณีเป็นการอักเสบติดเชื้อ มักมีไข้ มีได้ทั้งไข้สูง หรือไข้ต่ำ อาจร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • กรณีเป็นมาก อาจมีตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งจะส่งผลให้ปัสสาวะมีสีเหลืองเข็มมากและอุจจาระสีซีด
  • มีอาการคันตามตัวโดยไม่มีผื่น กรณีมีตัวเหลืองตาเหลือง
  • อาจมี ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • อาจคลำได้ก้อนเนื้อผิดปกติที่ช่องท้องด้านขวาตอนบน กรณีมีถุงน้ำดีโต ซึ่งก้อนนี้อาจคลำแล้วเจ็บหรือไม่ก็ได้

ผลข้างเคียงจากโรคถุงน้ำดี มักเกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่เป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ คือ

  • นิ่วในถุงน้ำดีหลุดเข้าอุดตันในท่อน้ำดีรวม (Choledocholithiasis)
  • โรคติดเชื้อระบบทางเดินน้ำดีที่รุนแรง (Ascending cholangitis)
  • โรคอักเสบรุนแรงของถุงน้ำดีที่ทำให้ถุงน้ำดีขาดเลือดจนเกิดเนื้อเยื่อตายและถุงน้ำดีทะลุ (Gangrenous cholecystitis)
  • นิ่วในถุงน้ำดีหลุดเข้าอุดตันลำไส้ซึ่งก่อให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันที่เรียกว่า Gallstone ileus
  • หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) ได้แก่ การอักเสบเฉียบพลันของหลอดลม ซึ่งประมาณ 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และประมาณ 10% เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้โดยทั่วไปมักมีอาการไอ มีเสมหะ และมีไข้ แต่อาการต่างๆ เหล่านี้มักหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางคนยังอาจมีอาการไอต่อเนื่องได้นานถึงประมาณ 4 -8 สัปดาห์จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้เต็มที่
  • หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) มักเป็นอาการไอเรื้อรังร่วมกับมีเสมหะเหนียวข้น โดยมีอาการเรื้อรังนานตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปใน 1 ปีและเกิดติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักเกิดจากเยื่อเมือกหลอดลมได้รับการระคายเคืองต่อเนื่องเรื้อรัง เช่น จากการสูบบุหรี่ จากควันบุหรี่ และ/หรือจากมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มักมีหลอดลมอักเสบเฉียบพลันจากการติดเชื้อแทรกซ้อนร่วมด้วยได้เสมอเป็นระยะๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงขึ้นมาก เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • อาการของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ที่พบได้บ่อย คือ
    • ไอ มักมีเสมหะร่วมด้วย เสมหะอาจมีสีขาว ใส สีเหลือง เขียว เทา และสีอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเชื้อที่ก่อโรค
    • อาจร่วมกับ เจ็บระคายคอ เสียงแหบ
    • อาจมีไข้ มักมีไข้ต่ำๆ แต่มีไข้สูงได้
    • อ่อนเพลีย
  • อาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่พบได้บ่อย คือ
    • ไอเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น มักมีสีเหลือง หรือเขียว บางครั้งอาจมีเสมหะเป็นเลือดได้ ทั้งนี้จะมีอาการนานต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปใน 1 ปี และมีอาการติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี มักร่วมกับประวัติการได้รับสารก่อการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ/หลอดลมเรื้อรัง เช่น สูบบุหรี่ หรือจากการงานอาชีพ
    • อาจหายใจมีเสียงหวีด
    • หายใจเหนื่อยหอบ หรือ หายใจลำบากเมื่อออกแรง
    • มีอาการของหลอดลมอักเสบเฉียบพลันร่วมด้วย เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อนร่วมด้วย
  • หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โดยทั่วไปเป็นโรคไม่รุ่นแรง มักรักษาได้หายเสมอภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไอต่อเนื่องได้อีกนานประมาณ 2-4 สัปดาห์ บางรายอาจถึง 8 สัปดาห์ได้ แต่ทั้งนี้มักไม่ใช่อาการไอรุนแรง อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องหรือต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอาจรุนแรงและ/หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ซ้ำซ้อน ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง คือ ปอดอักเสบ ปอดบวม และเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้ประมาณ 5-10%
  • หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มักเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เพราะเมื่อเนื้อเยื่อหลอดลมเสียหายและถูกทำลายไปแล้ว มักจะเสียหายถาวร แต่การรักษาจะช่วยหยุดหรือชะลอการทำลายเพิ่มเติมลงได้ ดังนั้นการรักษาโรคตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น จึงได้ผลในการควบคุมโรคได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่รักษาควบคุมโรคไม่ได้ หลอดลมและปอดจะค่อยๆ ถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และเกิดภาวะหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
  • ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน คือ ผู้ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ หรืออยู่ในถิ่น/ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ และอยู่ในที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ค่ายผู้อพยพ ค่ายทหาร เป็นต้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และรู้จักใช้หน้ากากอนามัยเมื่อต้องใกล้ชิดผู้ป่วย หรือเมื่ออยู่ในที่แออัดในช่วงที่มีการระบาดของโรคทางเดินหายใจ
  • ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง คือ สูบบุหรี่ ได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง คนในเมืองที่ได้รับฝุ่นละอองหรือมลภาวะทางอากาศเรื้อรัง มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการมีมลภาวะในอากาศ เช่น ทำเหมืองแร่ เป็นต้น
  • ส่วนใหญ่เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง จากก้อนอุจจาระที่แข็ง
  • เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ตามการอักเสบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
  • สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้น้อยกว่า เช่น พยาธิในลำไส้ (เช่น พยาธิตืดหมู) หรือเนื้องอก

อาการสำคัญ คือ ปวดท้องที่มีลักษณะ เช่น

ก. ระยะแรก: ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน: จะมีอาการ เช่น

  • ปวดท้องกะทันหันและเป็นอาการเกิดก่อนอาการอื่นๆ
  • มักปวดตำแหน่งรอบสะดือ ปวดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มักมีอาการเบื่ออาหาร จุก แน่นท้อง เกิดร่วมด้วยตามมา

ข. ระยะต่อมา: ระยะไส้ติ่งบวมโป่งขึ้น เชื้อโรคขยายลุกลามถึงชั้นนอกของไส้ติ่ง อาการ เช่น

  • ปวดท้องมากขึ้นในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่เกิน 1 - 2 วัน
  • ย้ายตำแหน่งมาปวดที่ท้องน้อยด้านขวา
  • การเคลื่อนไหว ไอ จาม ทำให้ปวดมากขึ้น
  • อาจเกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูก ในระยะนี้ก็ได้

ค. ระยะรุนแรง: ไส้ติ่งอักเสบแตกกระจายในช่องท้อง: เมื่อปล่อยไว้จนไส้ติ่งอักเสบแตก (พบได้บ่อยประมาณ 20%) หากไม่ได้รับการผ่าตัดออก จะเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนได้ 2 แบบ คือ

  • ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อห่อหุ้มไส้ติ่งที่แตกนั้นไว้ ทำให้คลำได้มีก้อนเจ็บที่ท้องน้อย และมีไข้

เชื้อโรคและหนองกระจายไปทั่วท้อง (เยื่อบุช่องท้องอักเสบ) อาจเข้ากระแสเลือดซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้

การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกซึ่งคือการรักษาตามมาตรฐาน ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ไม่ยุ่งยาก นอนโรงพยาบาล 2-3 วัน แต่กรณีไส้ติ่งอักเสบที่แตกแล้ว มักใช้เวลาที่นานกว่า และอาจเกิดแผลผ่าตัดติดเชื้อภายหลังได้

การรักษาไส้ติ่งอักเสบโดยหวังให้อาการดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยหวังว่าการอุดตันที่ไส้ติ่งจะหลุดคลายออกไปได้เองนั้น พบได้น้อยมาก และมีความเสี่ยงสูงที่ไส้ติ่งแตกทะลุ ดังนั้นจึงควรผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคเร่งด่วน ต้องไปพบแพทย์ทันทีที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล และไม่ควรกินยาระบายหรือสวนอุจจาระ เพราะอาจทำให้ไส้ติ่งอักเสบนั้นแตกเร็วขึ้น

คือ ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีภาวะโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะของสตรีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ ไปจนกระทั่งหลังคลอด 1 สัปดาห์

ทั้งนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายหรือฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อบางตัว หรือจากกรรมพันธุ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างโปรตีนบางตัวที่สร้างขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในสตรีตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงรกได้เพียงพอ บางส่วนของรกจึงขาดเลือด เกิดการตายของเนื้อรกบางส่วนที่มีการปล่อยสารที่ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วร่างกายของสตรีตั้งครรภ์หดตัว

  1. ชนิดรุนแรงน้อย คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโดยมีความดันโลหิตสูงไม่เกิน 160/110 มม.ปรอท หรือมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน หรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย และทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  2. ชนิดรุนแรงมาก คือ ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 160/110 มม.ปรอท หรือมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 2 กรัมต่อวัน หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปวดหัวมาก ตาพร่ามัว มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักขณะตั้งครรภ์โดยที่ไม่เคยมีอาการชักมาก่อนตั้งครรภ์ (Eclampsia) และอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมอง/ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะจนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • มีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  • ตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ
  • น้ำหนักเพิ่มมากอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมตาม ใบหน้า มือ ข้อเท้า และเท้า
  • ปวดหัวโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย หน้าผาก โดยกินยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
  • มีตาพร่ามัว อาจตาบอดชั่วขณะได้
  • จุก/แน่นหน้าอก หรือที่บริเวณลิ้นปี่
  • หากอาการรุนแรง อาจมีอาการชักกระตุกทั้งตัว เกิดเลือดออกในสมอง/เลือดออกในกะโหลกศีรษะได้

ก. ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา: เช่น มีเลือดออกในสมองจากหลอดเลือดในสมองแตก เกิดอาการชัก ตาบอด (ชั่วคราว/ถาวร) มีภาวะน้ำท่วมปอด/ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ จากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ข. ภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์: เช่น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ มีภาวะน้ำคร่ำน้อย คลอดก่อนกำหนด หัวใจทารกเต้นช้าจากการขาดออกซิเจน หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์

  1. งดทำงานหนัก งดเดินชอปปิ้ง ให้พักผ่อนมากๆ
  2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
  3. งดมีเพศสัมพันธ์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น เลือดสูบฉีดจากหัวใจมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลายพาโรติด จะทำให้เกิดอาการของโรคคางทูมหลังสัมผัส (ระยะฟักตัวทั่วไปประมาณ 14 - 18 วัน แต่อาจเร็วได้ถึง 7 วัน หรือนานได้ถึง 25 วัน) โดยอาการที่เกิดขึ้น คือ

  • เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตัว เบื่ออาหาร
  • หลังจากนั้น 1 - 2 วัน
    • ไข้จะสูงขึ้นได้ถึง 39 องศาเซลเซียส
    • จะเจ็บบริเวณหน้าหูและขากรรไกร
    • ต่อมน้ำลายพาโรติดด้านที่มีอาการจะค่อยๆ โตขึ้น อาจโตมากถึงระดับลูกตาและเจ็บมาก
    • อาจมีอาการเจ็บแก้มและเจ็บหูด้านเดียวกับต่อมน้ำลายที่เกิดโรค อย่างไรก็ตามประมาณ 30% ของผู้ป่วย ไม่มีอาการอื่น ยกเว้นมีเพียงต่อมพาโรติดโตเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปอาการและต่อมน้ำลายที่โตจะค่อยๆ ยุบหายไปเองในระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน

คางทูมเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ/ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ จากการหายใจเอาเชื้อในอากาศเข้าไป และ/หรือ สัมผัสน้ำลาย/ละอองน้ำลายของผู้ป่วย จัดเป็นโรคที่ติดต่อง่ายมาก กล่าวคือ จากละอองลมหายใจ น้ำลาย ละอองน้ำลายของผู้ป่วย จะเข้าสู่เยื่อตาเยื่อจมูกและช่องปากของผู้ที่ใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยคางทูม ทั้งจากผู้ป่วยที่มีอาการและจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้แต่ไม่มีอาการ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้จากเชื้อที่ติดค้างอยู่ตามราวบันได ของเล่น ของใช้ต่างๆ แก้วน้ำ ช้อน ฯลฯ เมื่อมือไปสัมผัสแล้วมาสัมผัสกับตาจมูกช่องปาก โดยช่วงระยะเวลาในการกระจายเชื้อ คือ ประมาณ 1-7 วัน ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ต่อเนื่องไปจนถึงประมาณ 5-10 วัน หลังจากมีการบวมของต่อมน้ำลาย

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ: แต่อาการมักไม่รุนแรงพบได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วย
  • โรคสมองอักเสบ: พบน้อย แต่ถ้ารุนแรงอาจทำให้เสียชีวิต พบประมาณ 1% และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง
  • ในผู้ชาย: อาจพบการอักเสบของอัณฑะ/อัณฑะอักเสบ โดยโอกาสเกิดสูงขึ้นถ้าคางทูมเกิดในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่พบได้ 20-30% ของผู้ป่วย
    • อาการอัณฑะอักเสบมักเกิดประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากต่อมน้ำลายอักเสบ โดยอัณฑะจะบวม เจ็บ และอาจกลับมามีไข้ได้อีก อาการต่างๆ จะเป็นอยู่ประมาณ 3-4 วัน (อาจนานได้ถึง 2-3 สัปดาห์) อัณฑะจะยุบบวม และขนาดอัณฑะจะเล็กลง
    • การอักเสบมักเกิดกับอัณฑะข้างเดียว ซ้ายหรือขวามีโอกาสเกิดใกล้เคียงกัน แต่พบเกิด 2 ข้างได้ 10-30%
    • หลังเกิดอัณฑะอักเสบ ประมาณ 13% ของผู้มีอัณฑะอักเสบข้างเดียว และ 30-87% ของผู้มีอัณฑะอักเสบ 2 ข้าง จะมีบุตรยาก บางคนอาจเป็นหมันได้ สาเหตุมีบุตรยากเกิดจากการฟ่อลีบของอัณฑะข้างที่อักเสบ จึงส่งผลให้การสร้างจำนวนอสุจิลดลง และ/หรือการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิผิดปกติ
  • ในผู้หญิง:
    • อาจมีการอักเสบของรังไข่/รังไข่อักเสบ ได้ประมาณ 5% แต่มักไม่มีผลให้มีบุตรยากหรือเป็นหมัน
    • ถ้าโรคเกิดในหญิงตั้งครรภ์ มีรายงานพบเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้งบุตรได้

วิธีป้องกันโรคคางทูมที่มีประสิทธิภาพ คือ การฉีดวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ 2 เข็ม เข็มแรกที่อายุประมาณ 9-12 เดือน เข็มที่ 2 ที่อายุประมาณ 4-6 ปี และไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะคงอยู่ตลอดชีวิต

คอพอก เกิดจากเซลล์ของต่อมไทรอยด์มีการเจริญเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าปกติ ต่อมไทรอยด์จึงมีขนาดโตขึ้น บ่อยครั้งเกิดร่วมกับการมีพังผืดเกิดขึ้นด้วย จึงส่งผลให้เนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์เกิดเป็นก้อนเนื้อตะปุ่มตะป่ำตามมา คอพอกแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการทำงานของเซลล์ต่อมไทรอยด์ ออกเป็น 4 ชนิด คือ

  • ชนิดต่อมไทรอยด์โตเรียบทั่วทั้งต่อมและไทรอยด์เซลล์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนปกติ (Diffuse nontoxic goitre) เกิดในคนในถิ่นที่พื้นดินและสิ่งแวดล้อมขาดธาตุไอโอดีน ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โตเรียบทั่วไป ไม่มีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ
  • ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำและไทรอยด์เซลล์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนปกติ (Nontoxic multinodular goitre) เป็นโรคพบได้บ่อยในถิ่นที่พื้นดินและสิ่งแวดล้อมขาดธาตุไอโอดีน ทั้งนี้ต่อมไทรอยด์อาจมีขนาดโตไม่มากไปจนถึงโตได้เป็นหลายๆ เซนติเมตร ซึ่งปุ่ม (ก้อนเนื้อ) เองก็มีได้ตั้งแต่ขนาดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าไปจนถึงโตเป็นหลายๆ เซนติเมตร
  • ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำและไทรอยด์เซลล์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเกินปกติ (Toxic multinodular goitre) เป็นโรคพบได้น้อยกว่าคอพอกทั้งสองชนิดแรก เกิดได้ทั้งจากการขาดธาตุไอโอดีนและอาจจากมีการผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมด้วย
  • ชนิดมีปุ่มเนื้อปุ่มเดียวและปุ่มเนื้อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเกินปกติ (Hyperfunctioning solitary nodule) เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยผู้ป่วยมักมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วย แต่อาการไม่มาก

ทั้งนี้ นอกจากภาวะขาดธาตุไอโอดีนแล้ว สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดคอพอกได้ แต่พบได้น้อยกว่าภาวะขาดไอโอดีน คือ

  • พันธุกรรม โดยเฉพาะผู้หญิง โดยคนกลุ่มนี้มักเกิดโรคในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรวฟ (Graves’ disease) และโรคต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโต (Hashimoto’s disease)
  • การตั้งครรภ์ เพราะมีฮอร์โมนบางชนิดจากการตั้งครรภ์ (Human chorionic gona dotropin) สามารถกระตุ้นเซลล์ต่อมไทรอยด์ให้เจริญโตขึ้นผิดปกติได้ โดยต่อมจะยุบกลับเป็นปกติภายหลังการคลอด
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบติดเชื้อ เช่น จากติดเชื้อไวรัส
  • โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • อาการจากสาเหตุ ถ้าคอพอกเกิดจากขาดธาตุไอโอดีน การทำงานของต่อมไทรอยด์มักสร้างฮอร์โมนอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือต่ำเล็กน้อย ผู้ป่วยจึงมักไม่มีอาการ แต่ถ้าโรคเกิดจากสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์มีฮอร์โมนสูงเกินปกติมาก ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ เช่น ในโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรวฟ หรืออาจมีอาการจากต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) เช่น ในระยะเรื้อรังของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโต
  • อาการจากขนาดของคอพอก/ขนาดของต่อมไทรอยด์ ถ้าคอพอกโตไม่มากและต่อมไทรอยด์ทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการอะไรเลย เพียงแต่เมื่อส่องกระจกอาจมองเห็นหรืออาจมีคนทักว่าต่อมไทรอยด์โต แต่หากต่อมไทรอยด์โตมาก จะก่ออาการจากต่อมกดเบียดทับเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง ซึ่งคือ ลำคอ หลอดลม หลอดอาหาร และประสาทกล่องเสียง เช่น รู้สึกแน่นอึดอัดในลำคอ อาจมีหายใจอึดอัดลำบากขึ้น ไอบ่อย ไอเรื้อรัง กลืนลำบาก และอาจมีเสียงแหบ
  • อาจไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเมื่อผู้ป่วยมีอาการปกติ การทำงานของต่อมไทรอยด์ปกติ และขนาดต่อมไทรอยด์ไม่โตมาก เพียงปรับประเภทอาหารให้มีธาตุไอโอดีนสูงขึ้น เช่น อาหารทะเล สาหร่ายทะเล และใช้เกลือที่ผสมไอโอดีนในการปรุงอาหาร
  • กินยาไทรอยด์ฮอร์โมนเมื่อพบมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ และให้ยารักษาในกรณีที่มีอาการของโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรืออาจรักษาด้วยการกินน้ำแร่รังสี ทั้งนี้ขึ้นกับสุขภาพผู้ป่วย อายุ และดุลพินิจของแพทย์
  • การผ่าตัด เช่น ต่อมไทรอยด์โตมากจนก่ออาการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง หรือเมื่อสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

กระเนื้อ (Seborrheic keratosis) เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง เป็นเนื้องอกที่พบบ่อยที่สุด พบได้ตั้งแต่เริ่มเข้าวัยรุ่นคืออายุประมาณ 15 ปี และพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ และ/หรือ ผิวหนังได้รับแสงแดดต่อเนื่อง

  • เป็นก้อนเนื้อ สีน้ำตาล น้ำตาลดำ หรือสีดำ
  • มีขอบเขตก้อนชัดเจน
  • ก้อนเนื้อมีลักษณะ กลม หรือรูปไข่ คล้ายแปะอยู่ที่ผิวหนัง
  • ผิวของก้อนพบได้ทั้ง ผิวเรียบมัน หรือผิวขรุขระ 
  • ไม่เจ็บ แต่ออกอาการคันได้
  • มักพบกระเนื้อบริเวณนอกร่มผ้า (แต่พบในร่มผ้าก็ได้)
  • ขนาดมักไม่เกิน 3 เซนติเมตร

ทั้งนี้ กระเนื้อที่เกิดจากมะเร็งผิวหนัง นอกจากจะมีลักษณะของก้อนเนื้อที่โตเร็วแล้ว ยังอาจพบลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • เกิดมีแผลที่ก้อน
  • มีเลือดออกที่ก้อน/ที่แผล
  • ขอบเขตก้อนไม่เรียบ มีลักษณะการลุกลามเข้าผิวหนังส่วนข้างเคียง

กรณีปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องรักษากำจัดกระเนื้อออก แต่หากเป็นปัญหาด้านความงาม ก็สามารถรักษาได้โดยสามารถกำจัดกระเนื้อออกได้หมดในการรักษาครั้งเดียว

  • กรณีที่แพทย์ต้องการส่งตรวจชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยาจากกระเนื้อ แพทย์จะทำการตัดก้อนกระเนื้อออกด้วยมีดผ่าตัดหรือมีดโกนผ่าตัด
  • หากแพทย์ไม่ต้องการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา แพทย์สามารถกำจัดกระเนื้อออกได้โดยการใช้
    • เลเซอร์
    • การจี้กระเนื้อด้วยความเย็น (Cryotherapy) หรือ
    • การขูดกระเนื้อออกด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Curettage

โดยตัวโรคกระเนื้อไม่ก่อผลข้างเคียง แต่อาจมีผลข้างเคียงจากการรักษา แต่ก็พบได้น้อย เช่น รอยดำหลังผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการรักษา หรือเกิดแผลเป็น

เนื่องจากสาเหตุของกระเนื้อ ไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่อาจเกี่ยวข้องกับแสงแดด การป้องกันผิวไม่ให้ได้รับแสงแดดจัดหรือได้รับแสงแดดต่อเนื่อง จึงอาจมีผลพลอยได้ในการป้องกันกระเนื้อได้

การติดเชื้อเอชพีวีพบได้ทุกอายุตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ พบทั้งเพศหญิงและเพศชาย แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ

  • การติดเชื้อของอวัยวะเพศรอบปากทวารหนักและในเซลล์เนื้อเยื่อเมือก ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จากเพศสัมพันธ์ ทั้งทางอวัยวะเพศภายนอก ช่องคลอด ปากมดลูก ทางทวารหนัก ทางปาก การติดเชื้อผ่านทางมือที่สัมผัสกับเชื้อแล้วไปสัมผัสผิวหนังส่วนอื่นหรืออวัยวะเพศผู้อื่น การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน และการติดเชื้อจากการคลอดวิธีธรรมชาติ(จากทารกสัมผัสอวัยวะเพศมารดา)
  • การติดเชื้อกับผิวหนังที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ คือการติดเชื้อที่ผิวหนังส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อวัยวะเพศ เช่น โรคหูดผิวหนัง
  • การติดเชื้อในโรค Epidermodysplasia verruciformis ซึ่งเป็นโรคผิวหนังผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบน้อยมาก โดยผิวหนังขึ้นตุ่มและผื่นเรื้อรัง และกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ง่าย โดยโรคนี้มักพบผิวหนังในส่วนที่เกิดโรคมีการติดเชื้อเอชพีวีเสมอ
  • สูบบุหรี่
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ขาดวิตามินบี 9 (Folic acid)
  • ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น
  • มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำโดยเฉพาะกรณีติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศและรอบปากทวารหนัก
  • ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดติดต่อกันนานเกิน 5 ปี (ปัจจัยเสี่ยงนี้จะหมดไปเมื่อหยุดใช้ยา)

การติดเชื้อเอชพีวีโดยเฉพาะการติดเชื้อที่อวัยวะเพศและรอบปากทวารหนักเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานและกำจัดเชื้อได้เอง โดยประมาณ 70% ของผู้ติดเชื้อโรคจะหายได้เองภายในระยะเวลาประมาณ 1 ปี และประมาณ 90-95% ของผู้ติดเชื้อโรคจะหายไปเองภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี  อย่างไรก็ตามประมาณ 5-10% ของโรค ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ได้ ผู้ป่วยยังคงติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง ทำให้เซลล์ปกติที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่สามารถเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนกลายเป็นเซลล์ก่อนการเป็นมะเร็งและกลายเป็นเซลล์มะเร็งจะประมาณ 10-15 ปี ที่นานพอที่จะให้แพทย์ทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเอชพีวี มีเพียงการรักษาสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้มีภูมิต้านทานต่อตัวเชื้อ การรักษาอาจทำได้ด้วยการจี้รอยโรคด้วยยา ความเย็น เลเซอร์ หรือผ่าตัดรอยโรคด้วยวิธีทั่วไป

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • ใส่ถุงยางอนามัยชายทุกครั้งเมื่อมีการร่วมเพศ
  • ฉีดวัคซีนป้องการการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยลดโอกาการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดโรคด่างขาว มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึ่งทำให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดสี เช่น จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานในร่างกาย จากขบวนการสร้างสีซึ่งมีการสร้างสารที่เป็นพิษต่อเซลล์เม็ดสี จากกลไกการเกิดอนุมูลอิสสระ จากภาวะเซลล์เม็ดสีผิดปกติ หรือจากภาวะทางระบบประสาท ซึ่งกลไกต่างๆ เหล่านี้มีผลทำลายเซลล์เม็ดสี ทำให้เกิดรอยด่างขาว นอกจากนี้เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมซึ่งทำให้เซลล์สร้างสีผิวอ่อนแอและถูกทำลายได้ง่าย

พบรอยด่างสีขาวเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังโดยไม่มีผื่นคันนำมาก่อน ผิวส่วนอื่นมีลักษณะเป็นปกติทุกอย่าง รูปร่างรอยด่างอาจกลม รี หรือเป็นเส้นยาวก็ได้ มีขนาดต่างกันตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ อาจมีวงเดียวหรือหลายวง กระจายได้ทั่วตัว ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ ใบหน้า รอบปาก รอบดวงตา คอ มือ ปลายนิ้ว แขน ขา และตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวมาก ได้แก่ ข้อพับ เข่า ข้อมือ หลังมือ เป็นต้น นอกจากที่ผิวหนังแล้วยังพบรอยด่างได้ตามเยื่อเมื่อกบุในอวัยวะต่างๆ เช่น ในช่องปาก เหงือก อวัยวะเพศ หัวนม รอยขาวที่หนังศีรษะหรือตำแหน่งที่มีขน ซึ่งจะทำให้ผมและขนบริเวณนั้นเป็นสีขาวไปด้วย

อาการร่วม: โรคด่างขาวอาจเกิดร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะอื่น เช่น

  • ดวงตา เนื่องจากเยื่อเมือกบุตามีเซลล์เม็ดสีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการทางดวงตาร่วมด้วยได้ เช่น ม่านตาอักเสบ
  • โรคภูมิต้านตนเอง โรคของต่อมไร้ท่อ (ที่พบบ่อยได้แก่ โรคต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวาน) โรคเลือด และโรคผมร่วงเป็นหย่อมซึ่งมักพบร่วมกับโรคด่างขาวที่เกิดกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ (Nonsegmental vitiligo) และ โรคด่างขาวที่เป็นกรรมพันธุ์
  • โรคทางหู เนื่องจากเซลล์เม็ดสีเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างและการทำงานของหูชั้นในและระบบการได้ยิน จึงอาจพบความผิดปกติทางการได้ยินร่วมกับโรคด่างขาวได้

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคด่างขาวให้หายขาดได้ และโรคด่างขาวแต่ละชนิดในแต่ละคนก็มีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน แนวทางการรักษาโดยทั่วไปขึ้นกับ ลักษณะผิวดั่งเดิม ชนิด การกระจาย และ การดำเนินโรค เช่น

  • ในคนที่มีผิวขาวอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเฉพาะแดดจัดในช่วง 10.00-16.00น. และใช้ครีมกันแดดที่มี ค่า SPF 30 ขึ้นไป
  • การรักษาโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดสีให้กลับคืนมา ได้แก่ 1) ใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อกระตุ้นเซลล์เม็ดสีให้กลับมาทำงานปกติ 2) การฉายแสง (อัลตราไวโอเลตหรือแสงยูวี) เพื่อกระตุ้นเซลล์เม็ดสี 3) การผ่าตัดผิวปกติมาแปะที่บริเวณรอยโรคเพื่อปลูกถ่ายเซลล์เม็ดสี 4) การใช้เลเซอร์เพื่อกระตุ้นเซลล์เม็ดสี 5) ฟอกสีผิวตรงตำแหน่งผิวปกติแทนเพื่อให้สีผิวปกติขาวเท่ากับรอยโรค

เนื่องจากโรคนี้อาจลามมากขึ้นได้หรือเกิดขึ้นใหม่ตรงรอยกระแทก รอยขูดขีด หรือ บริเวณแผล ดังนั้นควรระวังตัวไม่ให้เกิดแผล หรือการกระแทก และเนื่องจากผิวบริเวณรอยด่างขาวจะขาดเซลล์เม็ดสี แสงแดดจะผ่านผิวหนังลงไปทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นในได้ง่ายกว่าคนทั่วไป นานเข้าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคด่างขาวควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ และควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคด่างขาวได้เพราะเป็นโรคยังไม่ทราบสาเหตุเกิดที่แน่ชัด อีกทั้งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องทางพันธุกรรม ดังนั้นคงทำได้แค่การสังเกตตัวเอง หากมีรอยโรคเกิดขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

โรคตับแข็ง (Liver cirrhosis) เกิดจากการที่เนื้อเยื่อตับบาดเจ็บและถูกทำลายจากการอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ เนื้อเยื่อตับจึงกลายเป็นพังผืด มีลักษณะแข็ง เกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะปั่มจากพังผืดทั่วตับ ขนาดตับจะค่อยๆ เล็กลง และทำงานได้ลดน้อยลงต่อเนื่อง จนเกิดตับวายและเป็นเหตุให้เสียชีวิต

  • 60-70% เกิดจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ประมาณ 10% เกิดจากโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ โรคไวรัสตับอักเสบ ซี
  • ประมาณ 5-10% เกิดจากภาวะร่างกายมีเกลือแร่ ธาตุเหล็กสูง เหล็กจึงไปสะสมในตับ ส่งผลให้เกิดตับแข็ง เช่น ในโรคธาลัสซีเมีย
  • ประมาณ 10% เกิดจากโรคต่างๆ ของท่อน้ำดี เช่น ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ตนเองหรือท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด
  • อีกประมาณ 5% เกิดจากโรค หรือ ภาวะอื่นๆ เช่น
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง หรือ ยารักษาวัณโรค หรือ วิตามินเอเสริมอาหารปริมาณสูง
    • จากโรคภูมิแพ้ตนเอง/โรคออโตอิมมูน
    • จากโรคไขมันพอกตับ (มักพบในคนอ้วน)
    • จากตับติดเชื้อบางชนิด เช่น ติดเชื้อพยาธิใบไม้เลือด
    • จากโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง

อาการที่พบบ่อยในโรคตับแข็ง คือ ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค ต่อเมื่อเป็นมากแล้วจึงมีอาการ ซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร ผอมลง คลื่นไส้เรื้อรัง
  • อาจมีเส้นเลือดฝอย/หลอดเลือดฝอยเกิดมากผิดปกติตามตัวและในฝ่ามือ
  • อาจมีตัว/ตาเหลือง (ดีซ่าน) จากการคั่งของสารสีเหลือง (Bilirubin) ในร่างกาย และมีอาการคันตามตัว เพราะสารสีเหลืองจากตับก่อการระคายต่อผิวหนัง
  • หายใจมีกลิ่นจากสารของเสียที่สะสมในร่างกายเพราะตับกำจัดออกไม่ได้
  • ห้อเลือดง่าย เลือดออกแล้วหยุดยาก จากการขาดสารช่วยการแข็งตัวของเลือดซึ่งสร้างจากตับ
  • ติดเชื้อต่างๆ ง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคลดลงจากตับทำงานได้ลดลง
  • บวมใบหน้า มือ เท้า ท้อง เพราะโปรตีนในเลือดลดลงจากตับทำงานลดลง และจากความดันเลือดดำในตับสูงขึ้นจากการเกิดพังผืดของตับ จึงเกิดน้ำคั่งในท้อง/ท้องมาน
  • หลอดเลือดดำของอวัยวะต่างๆ ในท้องขยายตัวจากความดันเลือดดำในตับสูงขึ้น หลอดเลือดดำเหล่านี้จึงแตกได้ง่าย ที่สำคัญคือหลอดเลือดดำหลอดอาหาร ส่งผลให้อาเจียนเป็นเลือด
  • ม้ามโต จากมีเลือดคั่งเพราะความดันเลือดในตับสูงขึ้น นอกจากนั้นม้ามจะทำลายเม็ดเลือดแดงได้สูงขึ้น จึงเกิดภาวะซีด
  • โรคไตวาย จากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง
  • ระยะสุดท้ายของตับแข็ง เมื่อตับเสียการทำงานมากขึ้นจะเกิดภาวะตับวาย สารของเสียในร่างกาย/ในเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลถึงสมอง เกิดภาวะมือสั่น สับสน และโคม่าในที่สุด
  • ไม่ดื่ม/เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี
  • หลีกเลี่ยง/ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • ไม่ซื้อยาต่างๆ กินเอง ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ

ตาบอดสี (Color blindness) เป็นภาวะที่ตามองเห็นสีบางสีผิดไปจากคนปกติ ไม่ใช่ไม่เห็นสี เช่น คนตาบอดสีแดง ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่เห็นสีแดงของวัตถุเลย เพียงแต่เขาอาจเห็นวัตถุนั้นเป็นสีเทา และเนื่องจากเขาถูกสอนมาตั้งแต่เด็กว่าวัตถุนั้นสีแดง (ทั้งๆ ที่เขาเห็นเป็นสีเทา) คนตาบอดสีแดงจึงบอกสีแดงได้ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าตาบอดสีแดง จึงไม่ยอมรับเพราะเขาก็บอกได้ว่านั่นเป็นสีแดง

ตาบอดสี เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้บ่อยกว่าในผู้ชาย โดยในผู้ชายพบภาวะนี้ได้ประมาณ 8% ของประชากรทั้งหมด แต่พบในผู้หญิงได้เพียงประมาณ 0.4%

ก. ภาวะตาบอดสีชนิดมีมาแต่กำเนิด: เป็นภาวะถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักเป็นในผู้ชาย โดยเป็นโรคถ่ายทอดมากับ X chromosome ของฝ่ายแม่ กล่าวคือ แม่เป็นพาหะของโรค นำโรคไปสู่ลูกชาย แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่เห็นสีเดียว จะเห็นเพียงภาพขาวดำ สายตามักมัวมากจนมองไม่เห็นสี ตาสู้แสงไม่ได้ ลูกตากลิ้งกลอกไปมาตลอดเวลา 2) ตาบอดสีแดง/ตาบอดสีเขียว 3) ตาพร่องสีแดง/ตาพร่องสีเขียว (กลุ่มนี้พบได้บ่อยที่สุด)

ข.ภาวะตาบอดสีที่เกิดในภายหลัง ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติแต่เกิดจากโรคของจอตาหรือประสาทตา ตลอดจนโรคของสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็น ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าโรคของจอตามักสูญเสียการมองเห็นสีน้ำเงิน-เหลือง และโรคของประสาทตามักสูญเสียการมองเห็นสีแดง-เขียว

ในชีวิตประจำวัน แม้จะมองเห็นสีผิดเพี้ยนไป อาจไม่มีปัญหา มีผู้ศึกษาพบว่าประมาณร้อยละ 70 ของคนตาบอดสี อาจเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกสีของสิ่งของอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้ที่บอดสีแดง-เขียวจะรุนแรงกว่าผู้ที่พร่องสีแดง -เขียว มีปัญหาในการตัดสินใจว่าผลไม้นั้นสุกหรือใกล้สุก การเลือกไหมสีต่างๆในการตัดเย็บผิดไป การเลือกสีเสื้อผ้าผิดไป เลือกสีเฟอร์นิเจอร์และสีทาผนังผิดเพี้ยน เด็กนักเรียนอาจเลือกสีระบายภาพวาดผิดไป แม้แต่การขับรถในบางประเทศจะไม่ออกใบขับขี่ให้ผู้ที่มีตาบอดสี เนื่องจากกลัวว่าจะมองสัญญาณไฟจราจรตลอดจนไฟท้ายรถยนต์ไม่ชัดเจน

เมื่อมีบิดาหรือมารดาตาบอดสี หรือสังเกตเห็นความผิดปกติในการเห็นสี หรือสงสัยว่าตนเองเห็นสีผิดปกติ ควรรีบพบจักษุแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนรวมทั้งการหาสาเหตุ ทั้งนี้เพื่อการปรับตัวเรียนรู้ในการใช้สีต่างๆในชีวิตประจำวัน การเลือกวิชาที่จะเรียน และเลือกอาชีพ ที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับการใช้สี รวมทั้งควรแจ้งให้ครอบครัว ที่ทำงาน และคนรอบข้างได้ทราบถึงภาวะตาบอดสีของเรา เพื่อปรับการใช้ชีวิตและการทำงาน ป้องกันการผิดพลาดจากการใช้สี

  • สัญญาณด้านอารมณ์/จิตใจ - มีปัญหาด้านความจำ ขาดสมาธิ มีปัญหาในการตัดสินใจ มองโลกในแง่ร้ายเสมอ คิดแต่การแข่งขัน วิตกกังวลสูง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน รู้สึกเหนื่อยล้า เหงา เศร้า อยากอยู่คนเดียว ไม่มีความสุข
  • สัญญาณเตือนด้านร่างกาย - ปวดเมื่อยเสมอ ปวดหลังเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้ เบื่ออาหารหรือกินจุผิดปกติ ท้องผูกหรือท้องเสีย คลื่นไส้ วิงเวียน เหนื่อยง่าย รู้สึกใจสั่น มือ เท้าเย็น นอนมากเกินควรหรือนอนไม่หลับ เบื่อหน่ายงาน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนเช่น ชอบกัดเล็บ หรือตื่นเต้น กังวลง่าย หรือหันไปคลายความเครียดด้วยการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือยาเสพติด

หรือสังเกตง่ายๆ เมื่อมีความเครียดจะสัมพันธ์กับอาการ 3 อย่างดังต่อไปนี้

  1. การหายใจ: จะผิดไปจากปกติ มีการหายใจถี่ขึ้น ตื้นขึ้น และหลายครั้งที่กลั้นหายใจโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อากาศจะเข้าสู่ปอดน้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายคนที่เครียดมักจะถอนหายใจ เพื่อระบายอากาศออกมาและบังคับให้หายใจเข้าลึกๆ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบางคนก็ใช้เป็นการระบายความเครียดได้ชั่วคราว
  2. อาการร้อนท้อง ปวดท้อง หรือ ร้อนกระเพาะอาหาร: เกิดเนื่องจากเวลาเครียดจากการทำงาน งานล้นมือ หรือฟังเรื่องร้ายๆ หรือถูกตำหนิบ่อยๆ จะเกิดอาการร้อนในท้อง แสบท้อง ซึ่งเกิดจากการหลั่งกรดมากในกระเพาะอาหาร
  3. ปวดศีรษะ ปวดขมับ: เกิดขึ้นได้บ่อยเวลาเครียด สาเหตุมาจากการหายใจซึ่งทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เต็มที่ ทำให้ต้องสูบฉีดเลือดไปสมองเร็วขึ้นและเส้นเลือดบีบตัวมากขึ้น ทำให้รู้สึกปวดตุ๊บๆ ที่ศีรษะ

เนื่องจากความเครียดมีผลกับร่างกาย 3 อย่างคือ การหายใจ ปวดท้อง และปวดศีรษะ วิธีคลายเครียดหรือการดูแลความเครียดก็คือ วิธีทำให้ทั้ง 3 ระบบของร่างกายได้ผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย ฝึกการหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ เล่นโยคะ ปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ ทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ พูดคุยกับเพื่อน เป็นต้น ซึ่งหากอยู่ในขณะทำงานควรหาเวลาซัก 5 นาทีในการผ่อนคลายตนเอง จะทำให้ความเครียดไม่ก่อตัวรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคได้

หากใครมีความสามารถในการจัดการกับความคิดตนเอง หรือฝึกเจริญสติตนเองได้ในระหว่างทำงาน ก็จะทำให้ความเครียดบรรเทาเบาบางลงได้มาก กรณีเกิดความเครียดที่รุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองกล่าวคือ จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า ควรไปพบแพทย์

  1. ตระหนักรู้ในตนเอง: รู้จักว่าอารมณ์ตนเองเป็นอย่างไร ยอมรับตามอารมณ์ที่ตนเองเป็น (หากปฏิเสธอารมณ์ตนเองตามความเป็นจริงมักจะเกิดความขัดแย้งในใจ เกิดความเครียดและซึมเศร้าได้)
  2. ฝึกจัดการอารมณ์ตนเองอย่างเหมาะสม: มนุษย์ทุกคนล้วนมีอารมณ์กันทั้งนั้น การรู้เท่าทันอารมณ์อย่างเดียว บางรายอาจอดทนได้ไม่พอ ทำให้เกิดความเครียดหรือซึมเศร้าได้ การจัดการอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดจะทำให้ไม่มีขยะทางอารมณ์คั่งค้าง เช่น โกรธก็รู้อารมณ์และอาจไปปล่อยอารมณ์เชิงสร้างสรรค์จากการทำงานบ้าน คุยกับเพื่อน ฯลฯ
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ครอบครัวและเพื่อน: หากเกิดสภาวะเครียดเล็กน้อย ก็ควรมีการพูดคุยเพื่อไม่ให้สะสมจนกลายเป็นความเครียดเรื้อรัง
  6. หางานอดิเรกทำ: เพื่อทำให้ตนเองมีความสุข เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นคอมพิวเตอร์ ร้องเพลง เต้นรำ อ่านหนังสือ ฯลฯ
  7. ท่องเที่ยว: หาเวลาพักผ่อนไปท่องเที่ยวตามสมควรแล้วแต่ความพร้อม เช่น อย่างน้อยเดือนละครั้ง เข้าหาธรรมชาติ ทะเล น้ำตก ภูเขา ฯลฯ
  8. กินอาหารที่มีประโยชน์: อาหารบางอย่างทำให้เกิดการบำรุงสมองได้ทำให้ไม่เครียดเช่น กล้วย บล็อกโคลี่ ผักโขม นม ธัญพืช ส้ม ฯลฯ ขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น แอลกอฮอล์ สารกระตุ้นประสาท ฯลฯ
  1. การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ปริมาณและระยะเวลาที่สูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ยิ่งสูบบุหรี่มากและสูบมานานหลายปีจะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มาก แต่ไม่จำเป็นว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนจะต้องเป็นโรคนี้ โดยเฉลี่ยผู้สูบบุหรี่ 5 คนจะเป็นโรคนี้ 1 คน การที่ไม่ได้เป็นโรคในผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนคาดว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยของเรื่องพันธุกรรมในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
  2. มลภาวะของอากาศ การทำงานบางประเภทที่มีการหายใจเอาละอองสารเคมีบางอย่างเป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การทำงานในเหมืองถ่านหิน งานอุตสาหกรรมสิ่งทอจากฝ้าย งานอุตสาหกรรมพลาสติก และงานเชื่อมโลหะ เป็นต้น
  3. เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ขาดเอนไซม์ชื่อ Alpha-one antitrypsin (เอนไซม์ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจากสารต่างๆ)

เกิดจากผนังของ Respiratory bronchiole ท่อถุงลมและ/หรือถุงลมถูกทำลายหายไป ทำให้ท่อและถุงลมซึ่งอยู่ติดๆ กันคล้ายพวงองุ่น กลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่ เมื่อหลอดลมที่ใช้แลกเปลี่ยนก๊าซ ท่อถุงลม และถุงลม เกิดการโป่งพอง จะสูญเสียความยืดหยุ่นในการหดตัวเพื่อบีบไล่อากาศออกจากท่อเมื่อเราหายใจออก ทำให้อากาศซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำเกิดการคั่งค้างอยู่ในปอดได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง ผู้ป่วยจะมีปริมาณก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายขึ้นมา

  • เริ่มมีอาการไอ และมีเสมหะบ่อยๆ มักจะเป็นมากในช่วงเช้า ซึ่งเป็นอาการของการที่มีพยาธิสภาพของหลอดลมอักเสบร่วม แต่อาการจะไม่เด่นเท่าผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ
  • ต่อมาเริ่มมีอาการเหนื่อยซึ่งจะค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากมีอาการเหนื่อยง่ายขึ้นเมื่อออกแรงใช้กำลัง จนกระทั่งสุดท้ายแม้อยู่เฉยๆ ก็มีอาการเหนื่อยได้
  • อาจมีหายใจเสียงดังวี๊ดๆได้ หรือรู้สึกเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้ ตรวจร่างกายจะฟังเสียงปอดได้ผิดปกติ อัตราการหายใจเร็วกว่าคนปกติ
  • ในผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้ว ขนาดทรวงอกจะใหญ่กว่าปกติ เนื่องจากปริมาตรปอดที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยจะขยายออกทางด้านหน้าและหลังมากกว่าทางด้านข้าง ทำให้ทรวงอกมีรูปร่างเหมือนถังเบียร์หรือโอ่ง เรียกว่า Barrel chest
  • อาจพบลักษณะการหายใจออกแบบห่อปาก (Pursed lip) ซึ่งเป็นท่าทางที่ช่วยในการหายใจเอาอากาศออก หรือท่ายืนเอนตัวไปด้านหลังและยืดแขนออก
  • ตรวจดูเล็บอาจพบลักษณะเล็บปุ้ม/นิ้วข้อปลายมีลักษณะกลม (Clubbing finger)
  • เมื่ออาการรุนแรงมากแล้ว จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงของหลอดเลือดที่ไหลเข้าสู่ปอด ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ ผู้ป่วยก็จะมีอาการบวมตามแขนขา ตับโต ท้องมาน/มีน้ำในท้อง และยิ่งทำให้มีอาการเหนื่อยมากขึ้น
  • ในผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้วจะพบอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น น้ำหนักตัวลดอย่างมีนัยสำคัญ โดยในระยะท้ายๆ ผู้ป่วยจะผอมมาก
  1. เลิก/หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และยาเส้น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่หรือสถานที่มีควันบุหรี่
  2. หากผู้ป่วยอาศัยอยู่ในเมืองที่มีปัญหามลภาวะทางอากาศ พยายามอยู่แต่ในบ้านหรือในอาคาร เพราะจะมีฝุ่นละออง ควันพิษต่างๆ น้อยกว่าตามท้องถนน และควรใช้หน้ากากอนามัย
  3. ผู้ป่วยควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และเชื้อนิวโมคอคคัส เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคนี้กำเริบ

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ เฮอร์ปี ซิมเพล็กไวรัส (Herpes simplex virus / HSV) พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในวัยหนุ่มสาวและในวัยผู้ใหญ่ โอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ไวรัส เอชเอสวี มี 2 ชนิด คือ ชนิด 1 (HSV-1) ที่เป็นสาเหตุติดเชื้อในช่องปากและริมฝีปาก หรือเรียกได้อีกชื่อว่า Cold sore เป็นโรคพบบ่อยประมาณ 40-80% ของประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะในคนที่มีสุขอนามัยพื้นฐานไม่ดี และชนิด 2 (HSV-2) ซึ่งเป็นสาเหตุติดเชื้อในอวัยวะเพศภายนอกและในช่องคลอด เป็นโรคพบบ่อยเช่นกัน แต่พบน้อยกว่าการติดเชื้อ HSV-1 มาก โดยพบได้ประมาณ 16% ของประชากรทั่วโลก

โรคเริมติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มแผลที่เป็นโรค จากน้ำ จากตุ่มพอง จากน้ำลาย จากสารคัดหลั่ง จากของใช้ร่วมกัน การจูบ การกิน จากมือติดโรคป้ายตาจึงเกิดโรคที่ตา และเมื่อเกิดกับอวัยวะเพศ จะก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (บ่อยครั้งคนที่เกิดโรคมีอาการน้อยมาก จึงไม่รู้ว่าเป็นโรค) และติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ขณะคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ

เมื่อติดเชื้อเริมมักไม่มีอาการอะไร แต่เชื้อจะอยู่ในตัวตลอดชีวิตในปมประสาท รอจนเมื่อร่างกายอ่อนแอลงจึงแสดงอาการ

  • เกิดตุ่มพองเล็กๆ เจ็บ ต่อมาเกิดเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน ในตุ่มมีน้ำใสๆ ตุ่มมักเกิดเป็นกลุ่มๆ ลักษณะตุ่มคล้ายของโรคงูสวัดและตุ่มโรคอีสุกอีใส แต่เกิดในตำแหน่งและมีการแพร่กระจายของตุ่มผิดกัน อาการเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์และหายเองได้
  • ก่อนหน้าเกิดตุ่มพอง อาจอ่อนเพลียแต่ไม่มีอาการอื่น จึงมักไม่รู้ตัวว่าติดโรค
  • บางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดนำก่อน 1-3 วัน เช่น ไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • เมื่อเกิดในช่องปาก อาจกินอาหารแล้วเจ็บทำให้กินได้น้อย ผอมลง

โรคเริมเป็นแล้วเป็นอีกได้เรื่อยๆ บางครั้งอาจเกิดถึงปีละ 3 ครั้ง แต่จะค่อยๆ ห่างไปเมื่อสูงอายุขึ้น ทั้งนี้ โรคเริมหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่เมื่อรักษาด้วยยาต้านไวรัสมักช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหลังหายแล้ว มักไม่เกิดเป็นแผลเป็น

  1. ปัจจัยเสี่ยงเกิดเริมชนิด HSV-1 (Cold sore) ได้แก่ ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ช้อน ส้อม แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องสำอาง การจูบด้วยปาก
  2. ปัจจัยเสี่ยงเกิดเริมชนิด HSV2 (เริมเกิดที่อวัยวะเพศ) ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น
  • เมื่อรักษาความสะอาดไม่ดี ตุ่มพองอาจเป็นหนองจากติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ
  • เมื่อติดเชื้อในตาจะส่งผลถึงการมองเห็นได้
  • บางครั้งในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ โรคอาจลุกลามรุนแรงเป็นการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง และของสมอง

น้ำในหูไม่เท่ากันหรือโรคเมนิแยร์ (Meniere's disease / MD) มีกลไกเกิดจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่ยังไม่ทราบสาเหตุเกิดชัดเจน โดยอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม โรคออโตอิมมูน การติดเชื้อไวรัสของหู หรือโรคหลอดเลือดของหู เป็นโรคพบได้ทั่วโลก พบได้ประมาณ 15 รายต่อประชากร 1 แสนคน พบทุกอายุ แต่มักพบในช่วงอายุ 40-50 ปี โดยในผู้สูงอายุพบเป็นประมาณ 15% ของผู้ป่วยโรคนี้ทั้งหมด ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า

อาการที่พบในทุกคน คือ บ้านหมุนเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ร่วมกับมีหูอื้อ รู้สึกแน่นในหู และมีการได้ยินลดลงเป็นๆ หายๆ จนในที่สุดอาจเกิดหูหนวกถาวร มักเกิดกับหูเพียงข้างเดียว (ข้างซ้ายหรือข้างขวามีโอกาสเกิดใกล้เคียงกัน) อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ร่วมด้วย หรืออาการเหล่านั้นอาจเป็นอาการนำมาก่อน (Aura) บ้านหมุน อาการอาจเป็นอยู่นานประมาณอย่างน้อย 20 นาทีถึง 1 วัน เป็นๆ หายๆ พยากรณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดอาการเมื่อไร บ่อยขนาดไหน อาจเกิดทุกสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี หรือหลายปี

โรคนี้เป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีที่รักษาให้หาย แต่การรักษาปัจจุบันจะช่วยให้อาการดีขึ้น โรคไม่รุนแรงขึ้น และอาจป้องกันหูหนวกถาวรได้ เช่น

  • การใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับน้ำ ยาแก้บ้านหมุน ยาแก้คลื่นไส้ ยา Antihistamine
  • การทำกายภาพฟื้นฟูทางหู ที่เรียกว่า Rehab and Hearing Aids
  • การผ่าตัดหูชั้นใน ซึ่งจะใช้เฉพาะกับผู้ป่วยบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีดังกล่าวข้างต้นทั้ง 2 วิธี พร้อมกับผู้ป่วยมีอาการเลวลงเรื่อยๆ
  • อื่นๆ: คือการดูแลตนเอง ที่สำคัญคือ กำจัด/ลดปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการ และ/หรือทำให้อาการเลวลง เช่น อาหารเค็ม เครื่องดื่มกาเฟอีน ช็อกโกแลต สุรา ผงชูรส บุหรี่ ความเครียด และการวิตกกังวล แต่ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อคงความดันโลหิตให้ปกติ

เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดจน จึงยังไม่ทราบวิธีป้องกัน แต่ลดโอกาสเกิดอาการและลดความรุนแรงของอาการได้จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ

โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคเกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชื่อ ชิคุนกุนยาไวรัส (Chikungunya virus / CHIK V) ชนิดมีแมลงเป็นพาหะโรค (Arbovirus) โดยรังโรค คือ ลิง หนู นก และอาจเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีสัตว์อะไรอีกบ้าง แต่ในช่วงมีการระบาดของโรค รังโรคคือคน

แมลงที่เป็นพาหะโรคชิคุนกุนยา คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงลายสวน (Aedes albopictus skuse) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก หรือ โรคเดงกี แต่โรคไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรงมากกว่า โดยยุงลายทั้งสองสายพันธุ์ มักเป็นยุงที่พบได้ทั่วไปทั้งในเมืองและในต่างจังหวัดโดยเฉพาะตามสวน เป็นยุงหากินกลางวัน มีลายขาวดำตามลำตัวและตามขา ชอบวางไข่ในน้ำสะอาด (โดยเฉพาะน้ำฝน) ที่ขังอยู่ในภาชนะต่างๆ เช่น กระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่งเก็บน้ำ โดยไข่จะเป็นตัวยุงภายใน 7-10 วัน ยุงพวกนี้ชอบอาศัยในบ้าน ใกล้ๆ บ้าน ในโรงเรียน ในสถานที่ที่มีแสงแดดน้อย หรือ มีร่มเงา และมีอากาศเย็น

เป็นอาการเฉียบพลันเกิดภายหลังได้รับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (ถูกยุงลายมีเชื้อกัด) ประมาณ 1-12 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) ส่วนใหญ่ประมาณ 2-5 วัน โดยมีอาการหลัก คือ

  • มีไข้ ไข้สูงทันที (อุณหภูมิมักสูงถึง 40 องศาเซลเซียส) แต่บางคนอาจมีไข้ต่ำได้
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อมาก ทยอยปวดทีละข้อ ซึ่งปวดได้หลายข้อ มักเป็นกับข้อเล็กๆ เกิดทั้งข้อด้านซ้ายและด้านขวา
  • มีผื่นแดงคล้ายไข้เลือดออกขึ้นในบริเวณลำตัว แต่บางครั้งอาจพบที่แขนขาได้ด้วย
  • ปวดศีรษะ ปวดตา ตาแดง ตากลัวแสง (เห็นแสงสว่างแล้วน้ำตาไหล) แต่ไม่มาก และอ่อนเพลีย

โดยทั่วไป จะมีไข้อยู่ประมาณ 2 วัน แล้วไข้ลงทันที แต่อาการอื่นๆ จะคงอยู่ต่ออีกประมาณ 5-7 วัน โดยเฉพาะอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ อาจเป็นอยู่นานเป็นเดือนหรือบางคนเป็นหลายปี

ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตที่เกิดจากโรคนี้ แต่การปวดข้อและข้ออักเสบส่งผลถึงคุณภาพชีวิต เช่น เป็นอุปสรรคในการทำงาน ความรุนแรงของอาการขึ้นกับอายุ โดยผู้สูงอายุจะมีอาการรุนแรงกว่าวัยอื่นๆ และระยะเวลาในการเจ็บป่วยจากข้ออักเสบก็ขึ้นกับอายุเช่นกัน โดยในเด็กและวัยหนุ่มสาวอาการต่างๆ มักหายภายใน 5-15 วัน วัยกลางคนอาการมักหายภายใน 1-2.5 เดือน แต่ในผู้สูงอายุจะมีอาการอยู่นานกว่านี้ เป็นหลายเดือนหรือเป็นปีๆ

  • การป้องกันยุงกัด เช่น ในถิ่นระบาดควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว การทายากันยุง ใช้ยาไล่ยุง ใช้มุ้งกับเด็กๆ ที่นอนในบ้านแม้เป็นช่วงกลางวัน
  • การกำจัดยุง ต้องร่วมมือกันทั้งในครอบครัวและในแหล่งชุมชน และต้องปฏิบัติสม่ำเสมอตลอดไป โดยเพิ่มความเข้มในช่วงหน้าฝนและหลังฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงยุงวางไข่ เช่น กำจัด หรือ คว่ำภาชนะทุกชนิดที่ก่อให้เกิดน้ำขัง ทั้งในบ้าน นอกบ้านและในชุมชน การเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้/กระถาง ทุก 7 วันเพื่อกำจัดลูกน้ำ ไม่รดน้ำต้นไม้มากจนก่อให้เกิดน้ำขัง จัดสวน หรือ ปลูกต้นไม้ให้โปร่ง แสงแดดส่องถึง และการกักเก็บน้ำบริโภคต้องปิดฝามิดชิด ป้องกันยุงวางไข่ เป็นต้น

ก. เบาหวานชนิด 1: เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติหรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน” เนื่องจากเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า “โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น”

ข. เบาหวานชนิด 2: เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน ดังนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า “เบาหวานในผู้ใหญ่”  เป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน พบได้สูงที่สุดประมาณ 90-95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด

ค. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์: พบได้ประมาณ 2-5% ของเบาหวานทั้งหมด กล่าวคือ เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น โดยมารดาไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์

  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน: ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน
  • ขาดการออกกำลังกาย: เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้เซลล์ต่างๆ ไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ หรือช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง
  • พันธุกรรม: คนที่มีครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวานจะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป
  • เชื้อชาติ: คนบางเชื้อชาติ เช่น คนเอเชียและคนผิวดำมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่า
  • อายุ: ยิ่งอายุสูงขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้น
  • มีไขมันในเลือดสูง
  • มีความดันโลหิตสูง

อาการหลักสำคัญของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย นอกจากนั้น เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวแห้งคัน ตาแห้ง อาการชาเท้าหรือรู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้าหรือที่เท้า ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้ เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆ แผลมักหายช้ากว่าปกติโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้

  • เป็นสาเหตุการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ ทุกชนิดในร่างกาย โดยเป็นการอักเสบชนิดที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งที่สำคัญ คือ การอักเสบของหลอดเลือด จึงส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆ ตีบแคบลง ส่งผลถึงการขาดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ จึงเกิดโรคต่างๆ เป็นผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และภาวะเบาหวานขึ้นตา
  • เมื่อเกิดแผลจะหายช้า โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า ซึ่งถ้าดูแลไม่ดีอาจถึงขั้นต้องตัดขา
  • ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆ ลดลงต่ำกว่าคนปกติทั่วไป จึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย และมักรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

 

น้ำตาลในเลือดเมื่องดอาหาร

น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร

คนปกติ

60 - น้อยกว่า 100

น้อยกว่า 140

ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน

100 - น้อยกว่า 126

140 - น้อยกว่า 200

คนเป็นเบาหวาน

126 ขึ้นไป

200 ขึ้นไป

โรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนาไวรัส (Coronavirus ย่อว่า CoV/โควี) ที่ทำให้เกิดโรคในคนมี  7 สายพันธุ์ย่อยหลัก (แต่ละสายพันธ์ย่อยจะแตกเป็นสายพันธ์ย่อยๆ ได้อีกหลายๆสายพันธ์ โดยเชื้อ 4 สายพันธุ์ย่อยหลักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อยและสามารถหายเป็นปกติเองได้ ส่วนอีก 3 สายพันธุ์ย่อยหลักที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ โรคซาร์ส (SARS จากเชื้อชนิด SARS-CoV) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS จากเชื้อชนิด MERS-CoV) และโควิด-19/COVID-19 (จากเชื้อชนิด SARS-CoV-2) ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจรุนแรงที่มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งที่มีวัคซีนและมียาต้านไวรัสรักษาเฉพาะคือ โรค COVID-19

การติดต่อของเชื้อโคโรนาไวรัสเกิดจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสนี้ที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือการสัมผัสกับสิ่ง/สารคัดหลั่งเหล่านี้แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปาก ซึ่งเรียกว่าเป็น Droplets transmission หรือการอยู่อาศัยและสัมผัสใกล้ชิด (Close person-to-person contact) ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ติดโรคได้ เช่น การกอด การจูบ การสัมผัสเนื้อตัว การทักทายโดยการจับมือ การกินอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน การดื่มน้ำ/เครื่องดื่มจากแก้ว/ขวดเดียวกัน เป็นต้น นอกจากนี้สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสจากอุจจาระในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวได้  ดังนั้นการติดต่ออาจเกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยได้ด้วย

ระยะฟักตัวของโรค คือ ตั้งแต่รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการจะประมาณ 2-4 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเพียงเล็กน้อยไม่รุนแรง เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล เชื้อบางสายพันธุ์อาจทำให้มีอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวร่วมด้วยได้  อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันและสามารถหายไปได้เองในที่สุด

ในผู้สูงอายุ เด็กทารก ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีโรคเรื้อรังของปอด และ หัวใจ เชื้ออาจทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เช่น ไข้สูง ไอมาก หายใจหอบเหนื่อย แต่มักจะไม่รุนแรงจนถึงขั้นเกิดภาวะหายใจล้มเหลว

สำหรับเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของปอดอักเสบที่รุนแรง ซึ่งมีอาการ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร แล้วตามมาด้วยอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย/หายใจลำบาก  ปอดอักเสบรุนแรง และอาจเกิดภาวะหายใจล้มเหลวจนกระทั่งเสียชีวิตได้ในที่สุด

  • การติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ยกเว้นสายพันธุ์ย่อยที่ทำให้เกิดโรครุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถหายได้เองเป็นปกติโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • ในผู้สูงอายุ เด็กทารก ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังของปอดและโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน กลุ่มโรคเอนซีดี สตรีตั้งครรภ์ อาจมีอาการค่อนข้างมากได้อันเนื่องจากเชื้อทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จึงเกิดปอดอักเสบที่รุนแรงจนอาจถึงตายได้
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่แออัด ผู้คนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1.5 เมตร
  • หากจำเป็นต้องเข้าไป ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันตนเองจากการสัมผัสกับละอองน้ำมูกน้ำลายจากผู้อื่น
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือโดยเฉพาะก่อนกินอาหารหรือก่อนปรุงอาหาร
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วน พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงและไม่ได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ควรแยกตัวจนกว่าจะหายสนิท ที่สำคัญ เช่น
    • ควรพักอยู่กับบ้าน และป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิดโดย
    • ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก (หน้ากากอนามัย)
    • ใช้ช้อนกลางกินอาหาร
    • แยกของใช้ส่วนตัว
    • ควรแยกห้องนอน

โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ เรบีส์ (Rabies virus) เชื้อนี้จะอยู่ที่น้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อและเข้าสู่ร่างกายของคนทางบาดแผลที่เป็นรอยกัด ข่วน ถลอก หรือจากการหายใจเอาละอองไอน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่ (พบได้น้อยมาก) เช่น การเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาวอยู่กันเป็นล้านๆ ตัว หรือเจ้าหน้าที่ในห้องแลปที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ นอกจากนี้เชื้อยังเข้าสู่คนได้ทางเยื่อเมือกต่างๆ ได้แก่ เยื่อเมือกบุตา เยื่อเมือกบุจมูก และเยื่อเมือกบุช่องปาก เชื้อจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมองทำให้มีอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์หรืออาจสั้นเพียง 5 วัน แต่อาจยาวนานกว่า 1 ปีก็ได้ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างคือ

  • ความรุนแรงของบาดแผล
  • ปริมาณของปลายประสาทที่ตำแหน่งของแผล
  • ระยะทางจากแผลไปยังสมองเช่น แผลที่ใบหน้า ศีรษะ ลำคอ และมือ จะมีระยะฟักตัวสั้น
  • จำนวนและความรุนแรงของเชื้อ เช่น ถูกกัดผ่านเสื้อผ้าจำนวนเชื้อจะลดลง หรือมีการล้างแผลทันทีหลังถูกกัดจะลดจำนวนเชื้อได้มาก

มีอาการนำก่อน (Prodromal symptoms) คือ อาการคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อาการชา เย็น บริเวณที่ถูกกัด และมีอาการอื่นๆ ที่ไม่จำเพาะ เช่น มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องร่วง/ท้องเสีย อาการนำจะมีอยู่ 2-3 วัน ต่อไปจึงมีอาการเฉพาะของโรคซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

  • แบบเอะอะโวยวาย (Furious rabies) - ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 7 วันหลังจากมีอาการกระสับกระส่าย ตื่นเต้น เอะอะโวยวาย และจะมีอาการเฉพาะคือ กลัวน้ำ กลัวลม กลืนลำบาก สำลักน้ำ ไม่ยอมดื่มน้ำ หมดสติ เสียชีวิต
  • แบบเป็นอัมพาต (Paralytic rabies) - จะมีอาการอ่อนแรงของแขนขาที่ถูกสัตว์กัด จะเสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากมีอาการไข้ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีการกระตุกของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ มีการเปลี่ยนแปลงของหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว มีความผิดปกติของความสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
  • เนื่องจากเชื้อถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป เมื่อถูกสัตว์กัดให้ล้างและทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือและสบู่ทันที หรือล้างแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล (Normal saline) และเช็ดแผลโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำยาโพวิดีนร่วมด้วย
  • รีบไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
  • ไม่แหย่หรือรบกวนสุนัขในขณะที่สุนัขกินอาหารหรือนอนหลับ
  • ไม่วิ่งหรือขี่จักรยานผ่านสุนัขอย่างรวดเร็วเพราะจะกระตุ้นให้สุนัขไล่กัด
  • ไม่ควรกักขังสุนัขไว้โดยผูกเชือกหรือล่ามโซ่ตลอดเวลาซึ่งจะทำให้สุนัขมีนิสัยดุร้าย
  • หลีกเลี่ยงที่จะเข้าใกล้สุนัขที่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า
  • สุนัขชอบวิ่งตามวัตถุที่เคลื่อนที่ ดังนั้นไม่ควรวิ่งผ่านสุนัข
  • สุนัขวิ่งเร็วกว่ามนุษย์ จึงไม่ควรให้สุนัขวิ่งไล่
  • เมื่อพบเจอสุนัขควรอยู่นิ่งๆ อย่าร้องเสียงดัง เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้สุนัขอยากไล่ล่าเพราะนึกว่าเป็นเหยื่อ
  • อย่ากอดจูบสุนัข
  • หากจำเป็นต้องเดินไปในที่ที่อาจมีสุนัขดุ ควรถือไม้ยาวไว้ในมือ หากสุนัขวิ่งมาจะไม่วิ่งหนี ให้ทำท่ายกไม้ปราม มันจะวิ่งหนีไป แต่ต้องคอยมองอย่าให้มันกลับมาเล่นทีเผลอด้วย

สาเหตุของโรคคือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่า ‘พลาค (Plaque)’ จึงส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็งหนา (หลอดเลือดแดงแข็ง) ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง และเมื่อพลาคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด หรือผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยการจับตัวเป็นก้อนของเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงอีก เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงอีก จนเกิดเป็น ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด’ และบ่อยครั้งการซ่อมแซมจากร่างกายนี้ ก่อให้หลอดเลือดหัวใจถึงอุดตัน จึงส่งผลให้เกิด ’โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย’ ซึ่งอาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรงจะเป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดทำงานจึงเสียชีวิตได้ทันที

ก. ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันควบคุมได้: เช่น สูบบุหรี่ โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด

ข. ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันควบคุมไม่ได้: เช่น อายุที่มาก  เพศชาย พันธุกรรม

  • ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรคหรือเมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก
  • เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเมื่อออกแรง
  • เจ็บหน้าอก เมื่อเป็นมากจะมีอาการหายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
  • วิงเวียน เป็นลม ง่าย
  • ดูซีด
  • มีความผิดปกติของความดันโลหิต ส่วนใหญ่มีความดันโลหิตสูง แต่พบมีความดันโลหิตต่ำได้
  • มีการผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ ชีพจรผิดปกติ และอาจมีเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ อาจหัวใจเต้นเร็ว หรือ หัวใจเต้นช้า
  • ในระยะท้ายของโรคมักมีอาการบวมน้ำ โดยมักเริ่มที่เท้าก่อน
  • อาจมีอาการเขียวคล้ำของ เล็บ นิ้ว มือ เท้า ริมฝีปาก
  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกินอาหารป้องกันโรคหัวใจ การออกกำลังกาย การเลิกบุหรี่ การผ่อนคลายความเครียด
  • ใช้ยาต่างๆ ตามชนิดของโรค เช่น ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากหัวใจติดเชื้อแบคทีเรีย ยาสลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดความดัน
  • การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ตามชนิดของโรค เช่น เครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (Pacemaker) เป็นต้น
  • หัตถการต่างๆ ทางการแพทย์โรคหัวใจ เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (Heart balloon) การใส่ท่อตาข่ายขยายหลอดเลือด (Stent)
  • การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ซึ่งการผ่าตัดหัวใจมักเลือกใช้เมื่อการรักษาทางยาไม่ได้ผล
  • การรักษาตามอาการ เช่น ยาบรรเทาอาการปวด การให้ออกซิเจน การให้น้ำและสารอาหารทางหลอดเลือด

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle weakness) เป็นอาการไม่ใช่โรค ที่มีสาเหตุเกิดได้จากโรคของหลากหลายอวัยวะที่พบได้บ่อย เช่น

  • สมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง
  • ไขสันหลัง เช่น ไขสันหลังอักเสบหรือมีอุบัติเหตุต่อไขสันหลัง
  • เส้นประสาท เช่น เส้นประสาทอักเสบ/โรคเส้นประสาท
  • โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวานและโรคต่อมหมวกไตทำงานเกินปกติ
  • โรคของตัวกล้ามเนื้อเอง เช่น โรคกล้ามเนื้อฟ่อลีบ โรคของกระดูกและข้อ เช่น โรคคาร์ปาล (Carpal tunnel syndrome)
  • โรคออโตอิมมูน
  • การได้รับสารพิษบางชนิด เช่น สารโบทอก (Botulism) หรือพิษจากโลหะหนักบางชนิด เช่น ตะกั่ว
  • ร่างกายขาดสมดุลของเกลือแร่ เช่น ขาดโพแทสเซียม  
  • การขาดวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน ดี
  • ผลข้างเคียงจากการได้รับวิตามินเสริมอาหารบางชนิดในปริมาณสูงต่อเนื่อง เช่น วิตามินอี
  • โรคของต่อมไทมัส เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis / MG)

โรคเอแอลเอส (Amyotrophic lateral sclerosis / ALS) /โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส / โรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม ไม่ใช้โรคกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เนื่องจากเซลล์ประสาทนำคำสั่งในไขสันหลังส่วนหน้าและมีบางส่วนของเนื้อสมองเสื่อม จึงสูญเสียการนำคำสั่งในการทำงานมายังกล้ามเนื้อ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อขึ้น ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลว่าพบมากน้อยเพียงใด ในยุโรปพบประมาณ 2 รายต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายพบบ่อยกว่าผู้หญิง แต่ไม่พบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แน่ชัด

โรคเอเอฟพี / กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันแบบปวกเปียก (Acute flaccid paralysis / AFP) / กล้ามเนื้ออัมพาตอ่อนปวกเปียกแบบเฉียบพลัน / กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน คือ อาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันกับกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ข้อมูลของประเทศไทยพบโรค AFP นี้ได้ประมาณ 0.18 รายต่อประชากร 100,000 คน พบเพศชายได้บ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis / MG) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อลายที่อยู่ในการควบคุมของสมอง (Voluntary muscle หรือ Striated muscle) ที่ร่างกายใช้ในการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ แขน ขา ดวงตา ใบหน้า ช่องปาก กล่องเสียง และกล้ามเนื้อซี่โครงที่ใช้ในการหายใจ เกิดการอ่อนแรงจนไม่สามารถทำงานหดตัวได้ตามปกติ ทั้งนี้อาการมักเกิดหลังจากที่กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ทำงานซ้ำๆ แต่หากเมื่อได้รับการพักการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะดีขึ้น และกล้ามเนื้อจะฟื้นตัวกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ทั้งนี้ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อนั้นๆ ไม่ได้เกิดจากโรคของสมอง หรือของไขสันหลังอักเสบบาดเจ็บ หรือจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์หรือโรคอัมพาต หรือจากโรคของเส้นประสาท ดังนั้น โรคเอมจี จึงไม่ใช่โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต เป็นโรคพบได้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 10 ราย ต่อประชากร 100,000 คน พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบในพศหญิงมากกว่าในพศชายประมาณ 3:2 เท่า ทั้งนี้พบโรคนี้ในเด็กได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทั้งหมด ในผู้ใหญ่ผู้หญิงมักพบโรคได้สูงในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ในผู้ใหญ่ผู้ชายมักพบโรคได้สูงในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเล็มส์ (Lambert-Eaton myasthenic syndrome / LEMS) เกิดจากความผิดปกติด้านภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายที่มีการสร้างสารต่อต้านการหลั่งสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) เกิดขึ้นจากมีความผิดปกติบริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทต่อกับกล้ามเนื้อ (Neuromuscular junction: NMJ) บริเวณเดียวกับที่เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี พบได้ประมาณ 3% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก ซึ่งความชุกของมะเร็งปอดดังกล่าวประมาณ 5 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ดังนั้นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเล็มส์จึงพบได้น้อยมาก คาดการณ์ว่าในสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยโรคนี้ทั้งประเทศเพียงประมาณ 400 คน พบบ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง พบบ่อยกว่าในวัยกลางคนถึงผู้สูงอายุ

โรคกล้ามเนื้อเสื่อม /โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (Muscular dystrophy) คือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เป็นโรคแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์  เป็นผลให้เส้นใยกล้ามเนื้อลายค่อยๆเสื่อมสภาพ และอ่อนแรงลงเรื่อยๆ ต่อเนื่องเมื่ออายุมากขึ้น พบได้พอควรแต่ไม่ถึงกับบ่อยมาก พบได้ประมาณ 5-90 รายต่อประชากรล้านคน เนื่องจากเป็นโรคความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมเพศ ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดจึงมักเป็นเพศชาย

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและทางชีวกลศาสตร์ภายในข้อและภายในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการถูกทำลาย อาการปวดข้อเรื้อรังที่มักร่วมกับมีการติดขัดเมื่อใช้ข้อ บางครั้งจะกดเจ็บเนื้อเยื่อบริเวณข้อร่วมด้วย อาการเจ็บปวดข้อจะมากขึ้นเมื่อใช้ข้อนั้นๆ ซึ่งพบบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น หรือเคยมีประวัติอุบัติเหตุที่ข้อนั้นๆ พบบ่อยที่ ข้อเข่า ข้อมือ และข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย

ทั้งนี้ การเสื่อมของข้อจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เพราะกระดูกอ่อนผิวข้อนอกจากมีเลือดมาเลี้ยงน้อยแล้วยังไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด ผู้ที่มีข้อเสื่อมในระยะแรกจึงไม่เกิดอาการปวดจนกว่าข้อที่เสื่อมจะเกิดกระบวนการในการอักเสบ มีหลอดเลือดและเส้นประสาทงอกเข้าไป หรือผิวข้อสึกรุนแรงมากจนถึงเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ ผู้ป่วยจึงจะเกิดอาการปวด

  • อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมาก
  • เพศหญิง มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย
  • ระดับการทำกิจกรรมในแต่ละวันสูง การเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมาก
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อนั้นๆ มาก่อน
  • แนวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อผิดรูป เช่น มีเข่าโก่ง
  • กรรมพันธุ์
  • เยื่อบุข้ออักเสบเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงท่าทางที่ส่งเสริมให้มีการเสียดสีของข้อเข่ามากขึ้น เช่น นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ ควรนั่งบนเก้าอี้ขณะทำกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการยืนเดินนานๆ ถ้าจำเป็นอาจจะต้องใช้อุปกรณ์พยุง เช่น ไม้เท้าหรือผ้ารัดข้อเข่าเพื่อลดแรงกระทำที่เกิดขึ้นกับข้อเข่า
  • เลือกการออกกกำลังกายให้เหมาะสม งดการวิ่งหรือออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกเยอะๆ การออกกำลังกายที่แนะนำ เช่น การเดินในน้ำ การเดินช้าๆ บนบก หรือการปั่นจักรยานฟิตเนสเบาๆ เพื่อคงช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อไว้ไม่ให้ติดขัดมากขึ้น นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่า เพื่อให้ช่วยประคองข้อเข่าให้มั่นคงก็เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทำได้โดย
    • การนั่งบนเก้าอี้
    • ใช้ถุงทรายสำหรับออกกำลังกายรัดไว้ที่ข้อเท้าข้างที่ต้องการออกกำลังกาย
    • ออกแรงงอ-เหยียดข้อเข่า ขณะเหยียดข้อเข่าขึ้นตึง ให้ค้างไว้ ร่วมกับค่อยๆ กระดกข้อเท้าขึ้น แล้วค่อยผ่อนข้อเท้าลง งอเข่ากลับลงวางที่พื้น
    • ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต ทำได้วันละ 2 รอบ
    • ถ้ามีอาการปวดเพิ่มขึ้นให้หยุดทำทันที
  • หากมีอาการปวดเข่าร่วมกับมีอาการอักเสบ ซึ่งสังเกตได้จากการมีอาการบวมแดงร้อนร่วมด้วย แนะนำให้ประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าขนหนูประคบไว้ 15-20 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
  • หากมีเพียงอาการปวดเข่าเท่านั้น แนะนำให้ประคบด้วยความร้อน อาจจะใช้แผ่นประคบร้อนไฟฟ้าหรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นอุณหภูมิ 43.5-45.5 องศาสเซลเซียส ประคบไว้ประมาณ 20 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
  • เลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะสามารถช่วยลดแรงกระทำที่จะเกิดขึ้นกับเข่าได้ อาการปวดและการสึกหรอที่มากขึ้นของผิวข้อก็จะลดน้อยลงด้วย โดยรองเท้าที่ดีควรมีพื้นนุ่มสบาย รองรับอุ้งเท้าได้พอดี ไม่รัดหรือหลวมจนเกินไป

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) /โรคสันนิบาต /โรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ

ประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะปรากฏอาการของโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 45 ปี ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรมเป็นหลักที่จะปรากฏอาการเมื่ออายุมากกว่า 60 ปีไปแล้ว

ส่วนปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น เคยมีอุบัติเหตุทางสมอง การสัมผัสกับยาฆ่าแมลง การดื่มน้ำบ่อ การอาศัยอยู่ในเขตทุรกันดาร

ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคพาร์กินสัน คือ อาการแต่ละอาการจะค่อยๆ ปรากฏแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแบ่งอาการออกได้เป็น

  1. อาการเกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการ เป็นอาการหลักที่จะต้องพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ได้แก่ อาการสั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง (Bradykinesia) ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง (Rigidity) และการทรงตัวขาดความสมดุล (Postural instability)
  2. อาการทางจิตประสาท ผู้ป่วยอาจจะเกิดภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า อาการวิตกกังวล อาการทางจิต/โรคจิต เช่น จิตเภท (เห็นภาพหลอน หลงผิด) การนอนหลับผิดปกติ การเรียนรู้ถดถอยลง อาการหลงลืม ความจำเสื่อม
  3. อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน เช่น จากนั่งเป็นยืนแล้วเกิดอาการหน้ามืดแต่จะไม่ถึงกับเป็นลมหมดสติ ท้องผูก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เหงื่อออกมาก เป็นต้น

ผลข้างเคียงจากโรคพาร์กินสันเกิดจากอาการการสั่น เช่น การล้ม ปัญหาในการพูด การเคี้ยว การกลืน การปัสสาวะ การอุจจาระ ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ และเสียชีวิต

เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคพาร์กินสันยังไม่ทราบชัดเจน ดังนั้นจึงไม่อาจทำการป้องกันได้อย่างถูกต้อง แต่บางการศึกษาพบว่า การกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยจำกัดอาหารกลุ่มไขมันและเนื้อแดง (เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) จำกัดอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม กินผักผลไม้เพิ่มขึ้นให้มากๆ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อาจช่วยลดโอกาสเกิดอาการหรือลดความรุนแรงจากอาการของโรคนี้ลงได้บ้าง

ประมาณ 7% มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ ผู้ที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมเหล่านี้จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ที่อายุน้อยกว่าคนที่ไม่ได้มีความผิดปกติทางพันธุกรรม นอกจากนี้พบว่าในผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) ซึ่งมีความผิดปกติคือมีสารพันธุกรรมของโครโมโซมแท่งที่ 21 เกินมา หากมีชีวิตอยู่เกิน 40 ปี จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เหลือไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่พบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ เช่น อายุที่มากขึ้น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ เคยประสบอุบัติเหตุที่สมอง หรือสมองได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคอ้วน เป็นโรคเบาหวาน (เพิ่มความเสี่ยงขึ้นประมาณ 3 เท่า) เป็นโรคความดันโลหิตสูง และเป็นโรคไขมันในเลือดสูง แต่ระดับการศึกษาและระดับสติปัญญาไม่มีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าสารเคมีในธรรมชาติบางตัว เช่น อะลูมิเนียม ปรอท รวมทั้งไวรัสบางชนิด อาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ แต่หลักฐานก็ยังไม่ชัดเจน

อาการของโรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไป และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด โดยคร่าวๆ จะแบ่งอาการเป็น 1. ระยะก่อนสมองเสื่อม 2. สมองเสื่อมระยะแรก 3. สมองเสื่อมระยะปานกลาง และ 4. สมองเสื่อมระยะสุดท้าย

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 8-10 ปี นับตั้งแต่มีอาการ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการดำเนินของโรคเร็วกว่านี้ และบางคนมีอาการดำเนินช้ากว่านี้ได้ ในระยะแรกผู้ป่วยจะรู้สึกลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ในระยะหลังๆ ของโรค ภาระทางการเงินและความลำบากจะตกอยู่กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่จะต้องดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา โดยที่ผู้ป่วยก็ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป เพราะความทรงจำต่างๆ ได้จางหายไปหมดแล้ว อีกทั้งนิสัยและพฤติกรรมก็เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของผู้ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด การรักษาด้วยยาอาจช่วยรักษาอาการที่เป็นได้มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ไม่มียาตัวไหนที่จะสามารถชะลอหรือหยุดการดำเนินของโรคได้ ส่วนการรักษาทางจิตสังคม ได้แก่ การรักษาที่มุ่งเน้นการกระตุ้นสมอง เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด การบำบัดโดยอาศัยสัตว์เลี้ยง หรือการบำบัดด้วยการรำลึกถึงเรื่องราวในอดีต

1. ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการของความจำเสื่อมควรหยุดขับรถด้วยตนเองคนเดียว ไม่ควรไปยังสถานที่ไม่คุ้นเคยเพียงลำพังหรือไปทำธุระคนเดียวโดยเฉพาะหากเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ธุรกรรมทางการเงิน และเมื่อมีอาการมากแล้วจะต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา

2. ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอาการต่างๆ ติดตามการใช้ยา และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

3. ผู้ป่วยควรพกป้ายประจำตัว หรือใส่สายข้อมือที่ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการพลัดหลงหากต้องออกนอกบ้าน หรือเกิดเดินหนีออกนอกบ้านไปคนเดียว

4. ภายในบ้านที่มีผู้ป่วยอยู่ควรมีการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและลดภาระต่อผู้ดูแลได้บ้าง เช่น การล็อกบ้านและรั้วไม่ให้ผู้ป่วยออกนอกบ้านไปคนเดียว การติดป้ายบนเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านให้ชัดเจนโดยระบุว่าคืออะไร ใช้งานอย่างไร การติดป้ายหน้าห้องต่างๆ ให้ชัดเจนว่าเป็นห้องอะไร เป็นต้น

5. ไม่ควรจำกัดกิจกรรมและบริเวณที่ผู้ป่วยอยู่ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเครียด วิตกกังวล ควรหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำ และควรเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้ที่ดูแลและคนที่อยู่ในบ้าน เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ผู้ป่วยสม่ำเสมอ

6. ขณะเดียวกันครอบครัวก็ควรต้องรู้จักดูแลตนเองจากภาระในการดูแลผู้ป่วยด้วย

โรคดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง (Jaundice) เป็นอาการที่เกิดจากมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilurubin สารที่เกิดจากการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งโดยทั่วไปเม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน) ในเลือดสูงขึ้นจากการที่ตับสูญเสียการทำงาน เพราะตับที่มีหน้าที่กำจัดสารตัวนี้ออกทางน้ำดี เมื่อสารสีเหลืองนี้มีปริมาณสูงขึ้น สารตัวนี้จะไปจับตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายที่มองเห็นได้ชัดคือ ผิวหนังและเยื่อตา จึงก่อให้เกิดเป็นอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

โดยโรคที่เป็นสาเหตุให้ตับทำงานผิดปกติ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ โรคมะเร็งตับ โรคตับแข็ง นอกจากนี้บ่อยครั้งสารบิลิรูบินอาจเพิ่มขึ้นจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกตัวตายเร็วกว่าอายุจริงของเม็ดเลือดแดง เช่น ในโรคเลือดบางชนิด (เช่น ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี โรคธาลัสซีเมีย) โรคไข้จับสั่น และโรคฉี่หนู เป็นต้น

ก. อาการจากสาเหตุ: เช่น

  • มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย เมื่อเกิดจากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือ
  • มีไข้สูง หนาวสั่น เมื่อเกิดจากติดเชื้อโรคไข้จับสั่นหรือโรคฉี่หนู หรือ
  • จากภาวะซีด เมื่อเกิดจากโรคเลือด

ข. อาการจากสารบิลิรูบินในเลือดสูง: คือ

  • อาการตัว/ผิวหนังและตาเหลือง ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลือง และอาการคัน จากสารบิลิรูบินก่อการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • ในเด็กทารกเมื่อมีบิลิรูบินในเลือดสูงมาก สารนี้จะซึมเข้าสู่สมอง ก่อให้เกิดโรคสมองอักเสบชนิดไม่ใช่เกิดจากติดเชื้อได้ ทั้งนี้เพราะในทารกสมองยังเจริญได้ไม่ดีพอ สารบิลิรูบินจึงซึมเข้าสู่สมองได้ แต่ในเด็กวัยอื่นๆ และในผู้ใหญ่สมองสามารถป้องกันไม่ให้สารนี้เข้าสู่สมองได้ โดยมีอาการ เช่น ชัก ร้องไห้เสียงสูงผิดปกติ ซึม นอนทั้งวัน ไม่ดูดนม กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หูหนวกถาวร และเมื่อโตขึ้นอาจมีสติปัญญาด้อยกว่าเกณฑ์
  • อาการคันทั่วตัว โดยเฉพาะแขนขา
  • การเสียภาพลักษณ์จากตัว/ตาเหลือง
  • อาการทางสมองที่พบในทารก
  • อาการจากผลข้างเคียงจากโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น
    • ภาวะซีด เมื่อเกิดจากโรคเลือดหรือโรคที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
    • อาจเกิดโรคตับแข็ง เมื่ออาการเกิดจากโรคไวรัสตับอักเสบบี
  • ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
  • จำกัดการดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโรคตับแข็ง
  • ไม่กินปลาน้ำจืดสุกๆ ดิบๆ หรือหมักดอง เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ
  • รักษาและควบคุมโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันโรคธาลัสซีเมียของลูกที่จะเกิดมา

การนอนเป็นผลจากหลายๆ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงการทำงานของวงจรสมอง (สมองส่วนไฮโปธาลามัส สมองใหญ่ส่วนนอก และก้านสมอง) ที่ควบคุมเกี่ยวกับการนอนหลับให้ผิดปกติไปจากเดิม จึงส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ

มีสาเหตุมากมายที่ทำให้นอนไม่หลับ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม อารมณ์/จิตใจ โรคและภาวะผิดปกติต่างๆ ที่พบบ่อย ได้แก่

  • ขาดสุขลักษณะการนอน (Sleep hygiene) เช่น นอนไม่เป็นเวลา กินอาหารมื้อหนักก่อนนอน ดื่มสารคาเฟอีนก่อนนอน
  • มีปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด ซึมเศร้า
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำมูก/ยาแก้แพ้บางชนิด ยาจิตเวชบางชนิด
  • ช่วงเลิกสุรา เลิกบุหรี่
  • โรคเรื้อรังต่างๆ ที่ก่ออาการรบกวนการนอน เช่น โรคเบาหวาน โรคของตอมไทรอยด์ โรคที่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยกลางคืน (เช่น โรคต่อมลูกหมากโต โรคเบาหวาน) อาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดข้อ หรือ ปวดจากโรคมะเร็ง โรคสมองบางชนิด โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ โรคกรดไหลย้อน
  • การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของร่างกาย เช่น วัยใกล้หมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน โรคต่อมไทรอยด์
  • การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ ไม่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อายุ: ยิ่งอายุมากขึ้น จะพบนอนไม่หลับ/การนอนไม่หลับ/อาการนอนไม่หลับ สูงขึ้น ทั้งจากภาวะทางอารมณ์ จิตใจ การเสื่อมของเซลล์สมองและของต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนอนหลับ
  • ส่งผลให้คุณภาพในการทำงาน และ/หรือ การเรียนลดลง
  • เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากง่วงกลางวัน
  • เพิ่มความกังวล ความเครียด (เป็นวงจรกลับไปกลับมา จากเหตุเป็นผล จากผลเป็นเหตุ)
  • ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
  • บางการศึกษาพบว่า อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
  • สร้างเสริมให้ตนเองมีสุขลักษณะการนอน
  • ควบคุม ดูแล รักษาโรคที่เป็นสาเหตุให้ดี
  • ปรึกษาแพทย์ปรับเปลี่ยนยา เมื่อการนอนไม่หลับเกิดจากผลข้างเคียงของยา
  • เลิก/ไม่สูบบุหรี่ และ/หรือดื่มเครื่องสุรา/แอลกอฮอล์
  • พยายามไม่นอนหรือลดระยะเวลานอนในตอนกลางวัน
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ยอมรับชีวิตและรักษาสุขภาพจิต
  • มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน ไม่ออกกำลังกายหักโหม
  • กินอาหารมีสารที่ก่อการตกตะกอนเป็นนิ่วปริมาณสูงต่อเนื่อง เช่น กินอาหารมีออกซาเลตสูง และ/หรือมีสารซีสตีนสูง
  • ดื่มน้ำน้อย
  • กลั้นปัสสาวะเสมอ
  • เคลื่อนไหวร่างกายน้อย เช่น เป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต การใส่สายสวนปัสสาวะตลอดเวลา
  • ไตอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
  • โรคเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลให้ในเลือด/ร่างกายมีสารต่างๆ ที่ก่อนิ่วสูงกว่าปกติ เช่น โรคของต่อมพาราไทรอยด์ โรคเกาต์ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • อาจจากดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์สูง กินวิตามิน ซี วิตามิน ดี และแคลเซียมเสริมอาหารปริมาณสูงต่อเนื่อง
  • พันธุกรรม

อาการที่พบได้บ่อยของนิ่วในไตคือ ไม่มีอาการ แต่จะมีอาการเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน และ/หรือเมื่อก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาการที่พบได้คือ

  • ปวดหลังเรื้อรังด้านมีนิ่ว บางครั้งอาจปวดหลังหรือปวดท้องรุนแรงเมื่อมีก้อนนิ่วหลุดเข้าท่อไต (โรคนิ่วในท่อไต)
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ปัสสาวะขุ่นหรืออาจเป็นหนองเมื่อมีการติดเชื้อรุนแรง
  • บางครั้งอาจมีนิ่วก้อนเล็กๆ ปนมากับปัสสาวะ
  • มีไข้ร่วมกับปวดหลัง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อมีการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย
  • โรคไตอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง ซึ่งอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือเป็นสาเหตุให้ไตเสียการทำงานจึงเกิดโรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะไตวาย ซึ่งเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้เช่นกัน

การป้องกันโรคไต/โรคของไต คือ การกินอาหารจืด จำกัดการกินอาหารเค็ม หลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และ/หรือรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงสำคัญให้ดี เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โรคหัวใจและหลอดเลือด

  • กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพ่อแม่เป็นโรคหืด ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้น
  • สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว เป็นต้น
  • จากการศึกษาพบว่าบ้านที่พ่อและ/หรือแม่สูบบุหรี่ ลูกมีโอกาสเป็นโรคหืดมากกว่าบ้านที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่
  • อาการไอซึ่งมักจะไอแห้งๆ หรืออาจมีเสมหะเล็กน้อย สีขาวใส
  • อาการหอบ
  • หายใจเสียงหวีด

โดยตัวที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคหืดเกิดอาการหอบหืด/หอบเหนื่อย ได้แก่

  • สารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสุนัข ขนแมว ไรฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้
  • การสัมผัสความร้อนเย็น เช่น การรับประทานไอศกรีมหรือเข้าห้องแอร์
  • การออกกำลังกาย
  • การหัวเราะมากๆ
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เครียด
  • การเป็นโรคหวัดหรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก ไซนัส ลำคอ ท่อลม)
  • การกินยาบางตัว เช่น ยากลุ่มแอสไพริน ยาต้านการอักเสบ/ ยาแก้อักเสบในกลุ่มเอ็นเสด และยาลดความดันในกลุ่มบีตาบลอกเกอร์ (Beta-blocker เช่น ยาโปรปาโนโลล (Propanolol) เป็นต้น

โรคหืดอาจแบ่งตามความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระดับ

ความรุนแรงของโรคหืด

อาการหอบกลางวัน

อาการหอบกลางคืน

พีอีเอฟ อาร์

ความผันผวนของพีอีเอฟอาร์

1. Intermittent (ระดับเป็นๆหายๆ)

มีอาการนานนานครั้ง ช่วงที่มีอาการจะมีอาการ<1>

( <2>

(>80%)

(<20>

2. Mild persistent (ระดับรุนแรงน้อย)

มีอาการ>1 ครั้ง/สัปดาห์

( >2/เดือน)

(>80%)

( 20-30%)

3. Moderate persistent(ระดับรุนแรงปานกลาง)

มีอาการเกือบทุกวัน

(>1/สัปดาห์)

(60-80%)

(>30%)

4. Severe persistent(ระดับรุนแรงมาก)

มีอาการตลอดเวลา

บ่อยๆ

(<60>

(>30%)

*PEFR (Peak expiratory flow rate) เป็นการทดสอบสมรรถภาพของปอดด้วยเครื่องมือวัดความเร็วลมที่เป่าออกมาจากปอดอย่างเร็ว โดยค่าที่วัดได้มีหน่วยเป็น L/min. จะบอกให้ทราบถึงสภาวะหลอดลม ณ ขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร

โรคหืดสามารถรักษาจนผู้ป่วยมีชีวิตเช่นคนปกติได้ไม่ยาก โดยการให้ยารักษาซึ่งได้แก่ยาพ่นเสตียรอยด์ ซึ่งเมื่อมีการใช้ยาพ่นเสตียรอยด์เป็นเวลานานๆ เช่น 1-3 ปี จะทำให้การอักเสบของหลอดลมลดลงมาก ทำให้หลอดลมไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ผู้ป่วยก็จะไม่มีอาการหรือที่เรียกว่าโรคหืดอยู่ในระยะสงบ ทั้งนี้ในระยะนี้ผู้ป่วยสามารถหยุดยาได้ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการหอบและผู้ป่วยไม่ต้องใช้ยา ดังนั้นผู้ป่วยจะพูดว่าหายจากโรคหืดแล้ว แต่แพทย์จะไม่เรียกว่าโรคหืดหาย แพทย์จะเรียกว่าโรคหืดอยู่ในภาวะสงบ ซึ่งอาจจะสงบไปนานขึ้นกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและการพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด

เกิดจากการขาดวิตามินบี 2 ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญช่วยการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บเสียหาย โดยเฉพาะเซลล์เยื่อบุผิวของอวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ เซลล์ของเยื่อมุมปาก ของลิ้น ของผิวหนัง ของเยื่อตา และของแก้วตา จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บและการอักเสบขึ้นกับเซลล์เหล่านี้ นอกจากนี้การอักเสบของมุมปาก/ปากนกกระจอกยังสามารถพบได้จากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งที่พบได้บ่อย เช่น

  • ปากแห้งจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาทางจิตเวชบางชนิด ยาขับปัสสาวะ
  • ปากแห้งจากโรคเบาหวาน
  • ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
  • ภาวะขาดสังกะสี
  • การติดเชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย (พบได้น้อย) ที่มุมปาก
  • ในผู้สูงอายุที่ช่องปากแคบลงจากฟันหักทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้เกิดแผลที่มุมปากได้ง่าย
  • ผลข้างเคียงจากได้รับวิตามินเอสูงอย่างต่อเนื่อง
  • ที่พบได้บ่อย แต่ไม่ได้เกิดจากโรคหรือภาวะผิดปกติ คือการที่ปากแห้งมากในฤดูหนาว และใช้น้ำลายเลียริมฝีปากบ่อยๆ ซึ่งจะยิ่งทำให้ปากและมุมปากแห้งและแตกได้ง่าย (มักเป็นความเชื่อที่ว่า ยิ่งใช้น้ำลายเลียริมฝีปาก จะยิ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก)
  • มีโรคเรื้อรังของลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือท้องเสียเรื้อรัง ทั้งนี้เพราะวิตามินบี 2 จะถูกดูดซึมในส่วนของลำไส้เล็ก
  • ขาดอาหารเรื้อรัง จากภาวะทางเศรษฐกิจหรือจากโรคพฤติกรรมผิดปกติในการกิน (Bulimia nervosa)
  • เด็กอ่อนที่กินนมแม่ซึ่งขาดอาหาร
  • ผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล หรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจ
  • หญิงตั้งครรภ์/หญิงให้นมบุตร
  • มีแผลที่มุมปาก มักเกิดพร้อมกันที่มุมปากทั้ง 2 ข้าง แต่อาการแต่ละข้างอาจมากน้อยต่างกัน
  • ลักษณะแผลจะเป็นแผลเปื่อย ร่วมกับมีตุ่มพองแตกเป็นร่อง เจ็บ แผลมีสารคัดหลั่งออกสีเหลือง
  • บางแผลจะตกสะเก็ด
  • แผลค่อนข้างออกสีแดง และมีเลือดออกได้
  • แผลอาจติดเชื้อรา หรือติดเชื้อแบคทีเรียได้
  • แผลอาจเป็นอยู่นาน 3-4 วัน หรือเรื้อรัง ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเวลาของการขาดวิตามินบี 2
  • ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่แผลมุมปาก
  • ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
  • อาจเกิดความรู้สึกเสียภาพลักษณ์ในบางคน
  • ปอดติดเชื้อ (Lung infection): เมื่อปอดได้รับเชื้อโรคเข้าไปเนื้อปอดจะเกิดอักเสบและบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ และมีเสมหะ
  • ปอดอักเสบ (Pneumonitis): โดยความจริงแล้วเมื่อปอดได้รับอันตรายไม่ว่าสาเหตุใดก็ตามจากทั้งเชื้อโรดและที่ไม่ใช่เชื้อโรค เนื้อปอดจะเกิดอักเสบ เมื่อใดที่มีการอักเสบจะมีการบวมเกิดขึ้นร่วมกันเสมอ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ปอดอักเสบ ปอดก็จะบวมด้วยเช่นเดียวกัน
  • ปอดบวม (Pneumonia): เมื่อมีเชื้อโรคหรือปัจจัยอย่างอื่นก็ตามที่ไม่ใช่เชื้อโรคเข้าสู่ปอด ทั้ง 2 สาเหตุนี้ทำให้เนื้อปอดเกิดอักเสบและบวมได้ ทั้งนี้ปอดบวมไม่จำเป็นต้องเกิดจากเชื้อโรคเสมอไป แต่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ เช่น การสำลักน้ำเข้าไปในปอดเวลาคนจมน้ำ การสูดวัสดุที่สัมผัสในที่ทำงานเข้าไปในปอด

ทั้งนี้ ปอดบวมชนิดที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคนี้อาการไม่ได้แตกต่างไปจากปอดบวมชนิดที่เกิดจากเชื้อโรคแต่อย่างใด แต่การรักษานั้นต่างกัน อย่างไรก็ดีปอดบวมมักมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่

  • ไอ มักมีเสมหะ
  • มีไข้
  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย
  • อายุ ในเด็กเล็กๆ และในผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีความบกพร่องในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรค
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และ/หรือกินยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคมะเร็ง (ยาเคมีบำบัด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการกำจัดเชื้อโรค
  • การมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฟันผุ และเหงือกเป็นหนอง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
  • การไม่รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น การขาดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม อยู่อาศัยในสถานที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอ ในที่ที่มีมลภาวะที่ต้องหายใจและสูดมลภาวะเข้าไปในปอด
  • รักษาสุขภาพและอนามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เช่น กินอาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับสภาพและวัย
  • งดและเลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
  • หากมีโรคประจำตัวอยู่ ให้รักษาตามแผนและคำแนะนำของการรักษาโรคนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ป้องกันการรับเชื้อโดยการปิดปากและจมูกเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม และผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ควรป้องกันการแพร่กระจายฝอยละอองไปยังผู้อื่นด้วยการปิดปากและจมูกด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ควรพิจารณาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี เช่น
    • ผู้สูงอายุ
    • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
    • ผู้ได้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง/ยาเคมีบำบัด
  1. อาการนำ: คือ อาการที่เกิดนำก่อนการปวดศีรษะ อาจนำก่อนเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ซึ่งจากลักษณะอาการนำ แบ่งผู้ป่วยไมเกรนได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
  • 1.1  อาการไมเกรนแบบคลาสสิก (Classical migraine): เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการนำแบบออร่า โดยก่อนปวดศีรษะอาการออร่าจะเป็นอยู่นาน 5-20 นาที (ไม่เกิน 60 นาที) แล้วจะเว้นระยะไปพักหนึ่งก่อนปวดศีรษะ ซึ่งอาการออร่าแบ่งได้เป็นอาการทางตา ทางประสาทรับความรู้สึก และทางประสาทสั่งการ หรือหลายๆ อาการร่วมกัน  เช่น การเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นจุดๆ การเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ผิวหนังมีความรู้สึกผิดปกติ คัน ชา ซ่า หรือแสบร้อน รู้สึกหนักที่แขนขา เหมือนไม่มีแรง แต่ไม่ใช่อัมพาตจริงๆ
  • 1.2 อาการไมเกรนแบบพบบ่อย (Common migraine): เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการนำแบบออร่า แต่มีอาการนำอื่นๆ แทน หรืออาจไม่มีการนำก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการนำก่อนที่จะปวดศีรษะได้นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ได้แก่ รู้สึกไวกับแสงเสียงหรือกลิ่นมากกว่าปกติ รู้สึกเพลีย หาวบ่อย หิวบ่อย กินจุ หิวน้ำบ่อย ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
  1. อาการปวดศีรษะ: ที่เกิดตามมาหลังอาการนำในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะมีลักษณะปวดศีรษะข้างเดียว เป็นข้างไหนก็ได้ และแต่ละครั้งที่ปวดอาจจะย้ายข้างได้ ลักษณะปวดเป็นแบบตุ๊บๆ ความรุนแรงปานกลางหรืออาจปวดรุนแรง โดยมากจะปวดบริเวณขมับ ศีรษะด้านหน้าและรอบลูกตา ต่อมาอาการปวดจะลามไปด้านหลังของศีรษะและในที่สุดอาจปวดทั้งศีรษะ อาการปวดศีรษะจะเป็นอยู่นาน 4 - 72 ชั่วโมง
  2. อาการอื่นๆ: ที่อาจพบร่วมกับอาการปวดศีรษะ คือ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตากลัวแสง กลัวเสียง มึนศีรษะ เจ็บหนังศีรษะ

ก. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น:

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้อาการปวดศีรษะกำเริบขึ้น ได้แก่ ความเครียด การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไป การเจอแสงแดดจ้าหรือแสงไฟสว่างเกินไป กลิ่นที่รุนแรง เช่น น้ำหอม กลิ่นน้ำมันเครื่อง บุหรี่ อาหารบางอย่างก็อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ เช่น เนย โยเกิร์ต กล้วย ช็อคโกแลต ไส้กรอก ลูกเกด ถั่วต่างๆ ซีอิ๊ว น้ำส้มสายชู ผักดอง ผงชูรส สารให้ความหวานแทนน้ำตาล สารกันบูด ชา กาแฟ แอลกอฮอล์
  • ช่วงวงรอบประจำเดือน สภาพอากาศที่เย็นเกินไป หรือที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน ติดเชื้อเจ็บป่วยไม่สบาย เมารถ เมาเรือ
  • ทั้งนี้ในผู้ป่วยแต่ละคน ปัจจัยกระตุ้นจะไม่เหมือนกัน และบางคนอาจจะไม่ทราบสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจน ผู้ป่วยไมเกรนจึงต้องสังเกตตัวกระตุ้นอาการเสมอเพื่อการหลีกเลี่ยง

ข. ใช้ยารักษา: มีหลักการคือ การใช้ยาเพื่อบรรเทาขณะมีอาการปวดศีรษะ การใช้ยาในระหว่างที่ไม่ได้มีอาการปวดศีรษะเพื่อป้องกันและลดความถี่ลดความรุนแรงในการกำเริบของอาการ และการใช้ยารักษาอาการร่วมต่างๆ นอกเหนือจากการปวดศีรษะ

ค. ใช้วิธีทางการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ: เช่น การใช้หลักทางจิตวิทยามาร่วมรักษา การสะกดจิต การฝึกโยคะ การฝังเข็ม การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้น เป็นต้น

  • ผู้ป่วยโรคไมเกรนแบบมีออร่าเป็นอาการนำ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (เช่น โรคหัวใจขาดเลือด) และโรคหลอดเลือดสมอง (เช่น หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก) มากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า
  • ส่วนผู้ป่วยไมเกรนแบบไม่มีออร่าเป็นอาการนำ อาจมีความเสี่ยงของโรคดังได้กล่าวเหล่านี้เพิ่มขึ้นได้บ้าง
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการขณะปวดศีรษะบางตัวบ่อยเกินไป แทนที่จะช่วยบรรเทาอาการ อาจกลับทำให้อาการรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นโรคปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง (Chronic migraine) คือมีอาการปวดศีรษะในแต่ละครั้งยาวนานมากกว่า 15 วัน และอาการนี้เป็นอยู่นานมากกว่า 3 เดือน

ก. โรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ของผิวหนังเอง ซึ่งรวมทั้งเซลล์ของต่อมต่างๆ ของผิวหนังด้วย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการเฉพาะผิวหนัง ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

ข. อาการทางผิวหนังจากโรคทางร่างกายอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจะมีทั้งอาการทางผิวหนังร่วมกับอาการของโรคต้นเหตุ เช่น

  • มะเร็งหลอดอาหารกระจายมาผิวหนังโดยคลำได้เป็นปุ่มก้อนเนื้อที่ผิวหนัง ซึ่งนอกจากมีปุ่มก้อนเนื้อกระจายที่ผิวหนังแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของมะเร็งหลอดอาหารร่วมด้วย เช่น กลืนลำบาก ผอมลงมาก น้ำลาย/เสลดอาจมีเลือดปน
  • มีผื่นที่ผิวหนัง เช่น จากโรคหัด หรือผื่นจากการแพ้ยา หรือจากฝุ่นละออง ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคนั้นๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตัวเมื่อผื่นเกิดจากโรคหัด หรือมีอาการจาม มีน้ำมูก เมื่อผิวขึ้นผื่นจากแพ้ฝุ่นละออง หรือมีประวัติผื่นขึ้นหลังกินยา/ใช้ยา
  • ต่อมต่างๆ ของผิวหนังอุดตันและ/หรือติดเชื้อ เช่น เป็นสิว สิวอุดตัน
  • การติดเชื้อซึ่งติดเชื้อได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เช่น ฝีต่างๆ กลาก เกลื้อน โรคเริม โรคงูสวัด โรคไฟลามทุ่ง
  • จากโรคออโตอิมมูน/ภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง) เช่น โรคพุ่มพวง/โรคลูปัส-โรคเอสแอลอี
  • จากโรคภูมิแพ้ เช่น ผื่นคันจากการสัมผัส ขนสัตว์ หรือเกสรดอกไม้
  • จากการแพ้สารต่างๆ เช่น ผื่นจากการแพ้ยา
  • จากการขาดวิตามินบางชนิดเช่น ภาวะขาดวิตามินบี3
  • จากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง ผิวหนังจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเอดส์
  • จากโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผิวหนัง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) และ โรคแผลเป็นนูน
  • จากผลของฮอร์โมน เช่น การขึ้นฝ้าในคนท้อง
  • จากสูงอายุ (เซลล์ผิวหนังเสื่อมตามอายุ) เช่น กระผู้สูงอายุ
  • ไฝต่างๆ
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น ปานผิวหนังชนิดต่างๆ (เช่น ปานแดงในเด็กเล็ก)
  • จากการถูกแสงแดดจัดเรื้อรัง ซึ่งนอกจากเป็นปัจจัยให้เซลล์ผิวหนังเสื่อมก่อนวัยแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังด้วย

อาการของโรคผิวหนังขึ้นกับสาเหตุ ที่อาจพบได้ เช่น ผิวหนังขึ้นผื่น เป็นจุดหรือเป็นดวง เป็นปื้น เป็นผื่นนูน เป็นแผ่น เป็นตุ่ม เป็นติ่งเนื้อ เป็นถุงน้ำ เป็นแผล ภาวะหลอดเลือดฝอยพอง ปาน ไฝ หูด (โรคหูด) บวม แดง คัน และ/หรือ สีของผิวหนังผิดปกติ และโรคผิวหนังอาจเกิดร่วมกับอาการต่างๆของโรคทุกระบบอวัยวะ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ เช่น

  • อาการของการติดเชื้อ: เช่น มีไข้ มีได้ทั้ง ไข้สูง ไข้ต่ำ ไอ เจ็บคอ ตาแดง
  • อาการของภูมิแพ้: เช่น ตาแดง มีน้ำตาไหล น้ำมูก
  • โรคเลือด: เช่น จุดเลือดออก หรือจ้ำห้อเลือด
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น ผิวชื้น เหงื่อออกมาก ผมร่วง คันทั้งตัวโดยไม่มีผื่น หรือเป็นลมพิษง่าย เล็บเปราะ
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดเรื้อรัง เพราะเป็นต้นเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคผิวหนังหลายชนิด รวมทั้งมะเร็งผิวหนัง
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน เพื่อความแข็งแรง และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
  • ดูแลรักษาความสะอาดผิวหนังเสมอ
  • สังเกตและหลีกเลี่ยงสารต่างๆ ที่ก่อการระคายเคืองหรือก่ออาการแพ้ต่อผิวหนัง

โรคหนองใน เกิดจากการสัมผัสเยื่อบุผิวของ ช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาต (อวัยวะเพศชาย) โดยอาจมีหรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจติดจากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอดได้ และที่เยื่อตาติดได้จากมือที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศที่ติดเชื้อนี้แล้วมาสัมผัสตา

อาการของโรคหนองใน หากมีอาการมักจะปรากฏใน 1-14 วัน หลังจากสัมผัสคนที่เป็นโรค (ระยะฟักตัวของโรค) โดยอาการที่พบบ่อย คือ 

ก. ในชาย: บางคนอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อมีอาการ อาการพบบ่อย ได้แก่

  • ปัสสาวะแสบขัด
  • มีหนองไหลจากปลายองคชาต
  • บางรายมีอาการปวดและบวมของถุงอัณฑะ

ข. ในหญิง: ไม่มีอาการได้เช่นกัน หรืออาการไม่มาก อาการมักน้อยกว่าในผู้ชาย โดยถ้ามีอาการ อาการที่พบบ่อย คือ

  • อาจมีปัสสาวะแสบขัด
  • ตกขาว
  • มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน/รอบประจำเดือน

อนึ่ง หญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อนี้ที่มักรุนแรงมากกว่าชาย ไม่ว่าจะมีอาการติดเชื้อหนองในมากหรือน้อยก็ตาม

ค. ทั้งในชายและในหญิง:

  • หากติดเชื้อในทวารหนัก: อาจมีอาการ คัน ปวดทวารหนัก โดยเฉพาะเวลาขับถ่าย
  • หากติดเชื้อในช่องคอ: อาจมีอาการเจ็บคอ
  • อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อในตำแหน่งใดๆ ก็ตาม อาจไม่มีอาการเลยก็ได้

ก. ในหญิง:

  • มักทำให้มีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน/ ช่องท้องน้อย (การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน) ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย มีไข้
  • อาจทำให้เกิดถุงหนองในช่องท้องน้อยที่รักษาหายยาก แล้วอาจทำให้มีอาการปวดท้องเรื้อรังโดยเฉพาะในช่องท้องน้อย
  • มีการทำลายเนื้อเยื่อของปีกมดลูก จนทำให้มีภาวะมีบุตรยาก หรืออาจตั้งครรภ์/ท้องนอกมดลูกที่มีอันตรายถึงชีวิตได้

ข. ในชาย:

  • อาจทำให้เกิดการอักเสบของอัณฑะ (อัณฑะอักเสบ) และของท่อ/ถุงเก็บนำอสุจิ (ถุงเก็บอสุจิอักเสบ) ทำให้มีบุตรยาก

ค. ทั้งในหญิงและในชาย:

  • เชื้อโรคอาจแพร่กระจายเข้าสู่ ข้อกระดูก และ/หรือ กระแสเลือด ซึ่งอาจมีอันตรายต่อชีวิตได้
  • อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่จะติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์ (AIDS) ได้ ซึ่งคนที่เป็นโรคหนองใน จะติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เป็นหนองใน

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อได้อย่างรวดเร็วมาก แต่น้อยกว่าโรคหัด ทั้งนี้เกิดจากการสัมผัสเชื้อจากผู้ป่วยทั้งจากละอองเชื้อในอากาศ จากละอองการไอ จาม การหายใจ และจากการสัมผัสเชื้อผู้ป่วยโดยตรง เช่น สัมผัสผื่นที่ผิวหนัง และ/หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำของโรค รวมไปถึงการสัมผัสเสื้อผ้า สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ของผู้ป่วย

ทั้งนี้ โรคอีสุกอีใสมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อได้ในช่วงประมาณ 2-5 วันก่อนขึ้นผื่น ยาวไปจนถึงเมื่อตุ่มน้ำแห้งแตกเป็นสะเก็ดหมดแล้ว (การสัมผัสสะเก็ดแผลไม่ติดโรค) ดังนั้นระยะแพร่เชื้อในโรคอีสุกอีใสจึงนานได้ถึง 7-10 วันหรือนานกว่านี้ในผู้ใหญ่ จึงเป็นสาเหตุให้เป็นโรคติดต่อระบาดได้อย่างกว้างขวางถ้าไม่แยกผู้ป่วยให้ดี

มีไข้ได้ทั้งไข้สูงหรือไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เจ็บคอ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สบาย ประมาณ 1-2 วันหลังจากอาการดังกล่าว ไข้จะลง อาการต่างๆ ดังกล่าวดีขึ้น

  • แต่ผิวหนังจะขึ้นผื่นอย่างรวดเร็ว โดยผื่นจะขึ้นบริเวณใบหน้าและลำตัวก่อน ต่อจากนั้นจึงขึ้นไปที่หนังศีรษะ ที่แขนขา โดยผื่นขึ้นหนาแน่นในส่วนใบหน้าและลำตัว และอาจขึ้นในเยื่อบุช่องปากและผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอก
  • ผื่นมีลักษณะเป็นผื่นแดง เม็ดเล็กๆ คันมาก
  • ต่อจากนั้นภายใน 1 วัน ผื่นจะกลายเป็นตุ่มพอง มีน้ำใสๆในตุ่ม (อาจเป็นหนองเมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย) อาจมีตุ่มพองทยอยเกิดต่อเนื่องได้อีกภาย ใน 3-6 วัน และ
  • ต่อจากนั้น ผื่นจะแห้งตกสะเก็ดภายใน 1-3 วัน และสะเก็ดแผลจะค่อยๆ ลอกจางหายไปกลับเป็นปกติภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

โดยทั่วไปโรคอีสุกอีใสเป็นโรคไม่รุนแรง/มีการพยากรณ์โรคที่ดี รักษาได้หาย ถึงแม้จะติดต่อได้รวดเร็วก็ตาม ดูแลรักษาหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ไปจนตลอดชีวิตคือไม่ติดโรคนี้อีก ยกเว้นเมื่อเกิดภาวะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี

ตุ่มพองติดเชื้อแบคทีเรียกลายเป็นตุ่มหนองซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดแผลเป็นได้ โรคปอดบวม โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ นอกจากนี้ เมื่อโรคหายแล้วเชื้อบางส่วนอาจยังไม่หมดไป แต่จะแฝงตัวอยู่ตามปมประสาทต่างๆ โดยเฉพาะลำตัว เมื่อแก่ตัวลงหรือมีภูมิต้านทานคุ้มกัน โรคต่ำจะก่อให้เกิดเป็นโรคงูสวัดได้

เมื่อฉีดวัคซีนอีสุกอีใสแล้ว เมื่อสัมผัสเชื้อนี้อีก มีโอกาสเป็นอีสุกอีใสได้ประมาณ 2-10% นอกจากป้องกันโรคได้แล้ววัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสยังช่วยลดโอกาสเกิดแผลเป็น และช่วยลดความรุนแรงของโรคเมื่อเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสหลังฉีดวัคซีนแล้ว อย่างไรก็ตาม มีข้อห้ามไม่ให้ฉีดวัคซีนอีสุกอีใสใน

  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ต่างๆ ควรต้องปรึกษาแพทย์ เพราะอาจแพ้วัคซีนได้ (การแพ้ยา)
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เพราะวัคซีนเป็นชนิดวัคซีนเชื้อเป็น จึงอาจก่อการติดเชื้อรุนแรงได้ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีโรคเรื้อรังต่างๆ คนที่กินยากดภูมิคุ้มกัน หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจก่อให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อนี้ และเกิดความพิการแต่กำเนิดได้
  • เคยแพ้วัคซีนต่างๆ มาแล้วและ/หรือแพ้วัคซีนอีสุกอีใสเข็มแรกมาแล้ว

จากการวัดเชิงสถิติ

  • ค่าดัชนีมวลกาย/ดรรชนีมวลกาย (Body mass index / BMI) มีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป (ในคนเอเชีย)
  • อัตราส่วนระหว่างเอวกับสะโพก (Waist-hip ratio / WHR เป็นการวัดรอบเอวและหารด้วยรอบสะโพก) ในผู้ชายค่ามากกว่า 0.9 และในผู้หญิงค่ามากกว่า 0.85

จากการสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ

  • การที่เสื้อผ้าเดิมๆ ใส่คับขึ้น
  • น้ำหนักขึ้นเสมอจากการชั่งน้ำหนัก
  • รู้สึกอึดอัดและเหนื่อยง่ายกว่าเดิม

เพราะการมีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต) โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea) โรคมะเร็งหลายโรค (เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น) และมักเป็นโรคซึมเศร้า

  • การควบคุมปริมาณและประเภทอาหาร
  • การออกกำลังกาย
  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric surgery)
  • ต้องตระหนักถึงความสำคัญของโทษของโรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน
  • มีอุตสาหะในการควบคุมน้ำหนัก เช่น
    • กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆ ทยอยลดน้ำหนักตัว เพราะถ้าลดฮวบฮาบจะทนหิวไม่ได้
    • ไม่กินจุบจิบ จำกัดอาหาร แป้ง หวาน และไขมัน เพิ่ม ผักและผลไม้
    • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหว/เคลื่อนไหวน้อย เช่น ลดการดูทีวี โดยทำงานบ้านทดแทน
    • พยายามหาทางให้ร่างกายใช้พลังงาน เช่น ลงรถเมล์ก่อนถึงป้ายที่ทำงาน 1 ป้าย หรือ ใช้ลิฟต์เฉพาะเมื่อจำเป็น
    • พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
    • ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์
  • การควบคุมน้ำหนักต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะในเรื่องอาหาร เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้าน
  • ไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น เบื่ออาหารมากจนกินได้น้อยจนขาดอาหาร ท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน หงุดหงิดง่าย เป็นต้น
  • ประมาณ 70-80% ของต่อมทอนซิลอักเสบทั้งหมด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • ประมาณ 15-20% เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ประมาณ 5% เกิดจากการติดเชื้อรา

ต่อมทอนซิลอักเสบสามารถติดต่อได้เช่นเดียวกับในโรคหวัดทั่วไปและในโรคไข้หวัดใหญ่ จากการ ไอ จาม การหายใจ การสัมผัสสารคัดหลั่งจากจมูกและช่องปากผู้ป่วย (น้ำมูก น้ำลาย) และจากใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น

  • เจ็บคอ กลืน/ดื่มเจ็บ กดเจ็บบริเวณคอตรงตำแหน่งของต่อมทอนซิล มีกลิ่นปาก
  • มีไข้ได้ทั้งไข้สูง หนาวสั่น หรือไข้ต่ำ ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค เช่น ติดเชื้อไวรัสไข้สูงกว่าจากติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อาจมีตาแดง
  • คัดจมูก มีน้ำมูกแต่ไม่มาก น้ำมูกมักใส
  • อาจร่วมกับปวดหู เพราะการอักเสบของคอมักส่งผลถึงการอักเสบของหู
  • อาจร่วมกับมีเสียงพูดเหมือนอมอะไรอยู่ จากมีต่อมทอนซิลโตคับในช่องคอ
  • ต่อมทอนซิลอาจโตเล็กน้อยหรือโตมาก มักโตทั้งสองข้าง แดง อาจมีสารคัดหลั่งสีเหลืองๆปกคลุม หรือมีจุดขาวๆเหลืองๆ คล้ายหนองกระจายทั่วไป
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าลำคอส่วนบนโตทั้งสองข้าง คลำได้และเจ็บเมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าจากเชื้อไวรัสมักเป็นต่อมน้ำเหลืองด้านหลังลำคอใกล้กกหู โต คลำได้ แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามากจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นโรคไม่รุนแรง รักษาหายได้ภายในประมาณ 7 - 10 วัน ยกเว้นเมื่อเกิดผลข้างเคียง ซึ่งได้แก่

  • การอักเสบที่อาจรุนแรงจนเกิดต่อมทอนซิลและเนื้อเยื่อรอบๆ ต่อมทอนซิลเป็นหนอง ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล
  • เมื่อเกิดจากติดเชื้อสเตรป และได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง อาจมีผลข้างเคียงเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือโรคลิ้นหัวใจได้
  • ในกรณีของต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่มีต่อมทอนซิลโต อาจเป็นสาเหตุให้เกิด ภาวะนอนกรน และ/หรือ โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้มากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อร่างกายแข็งแรงลดโอกาสติดเชื้อรุนแรงและลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
  • แยกของใช้ส่วนตัวโดยเฉพาะ แก้วน้ำ และช้อน
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
  • กินยาลดไข้ ควรเป็นยาพาราเซตามอล ไม่ควรกินแอสไพรินเพราะอาจเกิดแพ้ยาแอสไพรินได้
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ (Normal saline) บ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาดช่องปากและเพื่อให้ช่องปากชุ่มชื้น
  • อมยาบรรเทาอาการเจ็บคอ
  • เมื่อมีไข้เจ็บคอและมีต่อมทอนซิลโต (ส่องกระจกและอ้าปากดูจะเห็นต่อมทอนซิลอยู่ด้าน ข้างลำคอใกล้โคนลิ้นทั้งสองข้าง) ควรรีบพบแพทย์ 

โรคฉี่หนูเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์มาสู่คน โดยสามารถติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้หลายชนิด เช่น หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น เข้าสู่ร่างกายคนผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีรอยขีดข่วน หรืออาจไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ หรือไชเข้าทางเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตา จมูก ปาก ดังนั้นการดื่มน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคก็อาจติดเชื้อได้ นอกจากนี้การสูดหายใจเอาละอองปัสสาวะที่มีเชื้อโรคก็อาจจะติดเชื้อได้อีกด้วย

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาประมาณ 2-26 วัน (เฉลี่ย 1-2 สัปดาห์) จึงจะปรากฏอาการ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีอาการแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

1. ไม่มีอาการ: ประมาณ 15-40% ของคนที่ติดเชื้อ ไม่แสดงอาการให้ปรากฏ

2. อาการแสดงแบบไม่รุนแรง: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อและมีอาการจะอยู่ในกลุ่มนี้

  • ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ และอาการปวดกล้ามเนื้อที่เป็นลักษณะจำเพาะของโรคนี้คือ ปวดน่องขาทั้ง 2 ข้าง อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังและท้องร่วมด้วยได้ อาการอื่นๆ เช่น เยื่อบุตาบวม มีเลือดออกที่เยื่อบุตา มีผื่นที่อาจเป็นจุดแดงราบ จุดแดงนูน หรือจุดเลือดออก ตากลัวแสง มีอาการสับสน ไอเป็นเลือด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ และ/หรือรักแร้โต ตับ ม้ามโต อาจมีตัวเหลืองเล็กน้อย ปวดท้องจากตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ หรือถุงน้ำดีอักเสบ ปวดตามข้อ อุจจาระร่วง อาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์แล้วหายไป
  • ประมาณ 1-3 วันต่อมา อาการจะกลับมาเป็นอีก ซึ่งอาการจะค่อนข้างหลากหลายกว่าอาการช่วงแรก แต่มีความรุนแรงที่น้อยกว่า เช่น อาจจะปวดกล้ามเนื้อที่น่องเพียงเล็กน้อย แต่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของอาการในช่วงที่ 2 คือ เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการต้นคอแข็ง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน บางรายอาจไม่มีอาการ แต่ถ้าตรวจน้ำไขสันหลังจะพบมีเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นสูง อาการอาจจะเป็นอยู่ 2-3 วัน หรืออาจนานหลายสัปดาห์ แต่ในที่สุดอาการจะหายไปโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

3. อาการแสดงแบบรุนแรง (Weil’s syndrome): อาการจะเหมือนผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ซึ่งจะเป็นอยู่ 4-9 วัน ต่อมาจะมีตัวเหลือง ตาเหลืองมาก นอกจากนี้เชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดเล็กๆ ในอวัยวะต่างๆ แบบรุนแรง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำออกจากหลอดเลือด นำมาสู่ภาวะช็อก และเกิดภาวะไตวายฉับพลัน อาจเกิดภาวะเลือดออกง่าย เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดออกในปอดซึ่งอาจทำให้ไอเป็นเลือดรุนแรงได้ หอบเหนื่อยมาก จนกระทั่งเกิดภาวะหายใจล้มเหลว มีเลือดออกในลำไส้ทำให้อุจจาระเป็นเลือด มีจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว นอกจากนี้อาจเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวาย และในที่สุดก็ทำให้อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายเกิดภาวะล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

เมื่อร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคขึ้นมาแล้ว เชื้อเลปโตสไปร่าก็จะถูกกำจัดไปจากร่างกาย ยกเว้นที่ตากับท่อไตเล็กๆ ที่เชื้อโรคอาจจะยังคงอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน การที่เชื้อโรคยังคงอยู่ในตา จึงมีโอกาสที่ทำให้ผู้ป่วยบางคนเกิดอาการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุภายในลูกตา (Chronic uveitis) หรือม่านตา (Iritis) ได้

  1. ควบคุมกำจัดหนูในบริเวณที่อยู่อาศัยของคน โดยเฉพาะในบริเวณ บ้านพักอาศัย สถานที่ทำงาน ร้านอาหาร ตลาด แหล่งพักผ่อน และสถานที่ท่องเที่ยว
  2. หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืนโดยไม่มีภาชนะปกปิด เพราะอาจมีหนูมากินได้
  3. ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือยาง ถุงเท้ายาง เมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่อาจมีเชื้อโรค หรือ ต้องทำงานในน้ำ หรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลน
  4. รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากสัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์ที่อาจมีเชื้อโรค หรือแช่/ย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
  5. หลีกเลียงการใช้น้ำ หรือลงไปว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปน เปื้อนอยู่ เช่น แหล่งน้ำนั้นเป็นที่กินน้ำของ วัว ควาย หมู

เกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ที่มากเกินไปของฝ่าเท้า ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บสะสมซ้ำๆ ของพังผืด เช่น การเดินหรือยืนนานๆ การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม การเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม น้ำหนักตัวมาก/โรคอ้วน นอกจากนี้ยังมักพบร่วมกับภาวะที่มีกล้ามเนื้อน่องตึงผิดปกติด้วย

อาการหลักคือ พบจุดกดเจ็บใต้ฝ่าเท้าบริเวณใกล้กับส้นเท้าหรือกลางฝ่าเท้า นอกจากนี้ลักษณะสำคัญที่พบได้บ่อยๆ คือ อาการเจ็บนี้จะเป็นมากที่สุดหลังจากตื่นนอน แล้วลงมาเดินในก้าวแรกๆ แต่อาการจะทุเลาขึ้นเมื่อเดินหรือทำกิจกรรมไปสักระยะ นอกจากนี้เมื่อนั่งพัก อาการจะยิ่งดีขึ้น แต่เมื่อทำกิจกรรมที่มีการลงน้ำหนักเท้า เช่น ยืน เดิน หรือวิ่งนานๆ อาการก็จะค่อยๆ กลับมาแย่ลงอีก

มีทั้งการบำบัดรักษาอาการ และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ซึ่งได้แก่ การรักษาตามอาการ การทำกายภาพบำบัด และการรักษาบำบัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ (เช่น การใช้อุปกรณ์ยืดเหยียดเอ็นฝ่าเท้าในช่วงเวลานอนกลางคืน การฉีดยาเข้าฝ่าเท้าบริเวณที่มีอาการเจ็บ การผ่าตัดรักษาการบาดเจ็บ/อักเสบของพังผืดฝ่าเท้า)

  1. การใช้คลื่นกระแทก (Shockwave Therapy): เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมตัวเองใหม่อีกครั้งของเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบเรื้อรัง ขณะรักษาผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดตื้อๆ ในบริเวณที่ทำการรักษา
  2. การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในการรักษา (Ultrasound therapy): เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดความปวด ขณะทำการรักษาด้วยวิธีผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกใดๆ หรือในบางรายอาจรู้สึกอุ่นสบายเท่านั้น
  3. การรักษาด้วยมือ (Manual Therapy): นักกายภาพบำบัดอาจจะเลือกใช้เทคนิคการรักษาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การกดและคลึงที่จุดกดเจ็บเบาๆ  
  4. การออกกำลังกายเพื่อการรักษา (Exercise Therapy)
  5. การรักษาด้วยการติดเทป (Taping): เพื่อเพิ่มหรือยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถลดการบวมและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการบาดเจ็บได้ด้วย
  1. ยืดกล้ามเนื้อน่อง
  2. แช่เท้าข้างปวดในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาทีทุกเช้าหลังจากตื่นตอน
  3. เหยียบลูกเทนนิสหรือวัสดุกลิ้งได้
  4. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ ในฝ่าเท้า เช่น สอดแผ่นกระดาษเข้าไประหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเท้าข้างที่มีอาการปวดออกแรงหนีบ หรือใช้เท้าข้างที่มีอาการปวดขยุ้มผ้าเช็ดหน้าแล้วยกขึ้นให้ลอยจากพื้น ทำค้างไว้ 30 วินาที ทำ 3 รอบต่อวัน
  5. หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  6. ปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม

โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis = NF) คือ โรคผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดเนื้องอกเส้นประสาทหลายก้อนทั่วร่างกายร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ ในหลายระบบอวัยวะทั้งภายนอกและภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง สมองไขสันหลัง กระดูก เนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งเนื้องอกเหล่านี้จะค่อยๆ เจริญใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตลอดชีวิต จนเกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำกระจายมากมายที่ผิวหนังทั่วร่างกายเห็นได้ชัดเจน

เป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย เพราะเป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรม การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ซึ่งได้แก่

  • ผ่าตัดก้อนเนื้อที่ก่อให้เกิดอาการ เช่น ก้อนเนื้อที่กดเส้นประสาทที่ก่ออาการ เจ็บปวด ชา หรือกดประสาทหู ทำให้ไม่ได้ยิน หรือเกิดหูอื้อ
  • การฉายรังสีรักษาที่ก้อนเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการและชะลอการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อไม่ให้ก่ออาการรุนแรง เช่น การฉายรังสีรักษาเนื้องอกเส้นประสาทหู
  • อธิบายผู้ป่วยและคนในครอบครัวให้เข้าใจธรรมชาติของโรคเพื่ออยู่กับโรคให้ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตเพราะเป็นโรคยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย และมักส่งผลถึงภาพลักษณ์

ผลข้างเคียงหลักที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของโรคท้าวแสนปม คือ ปัญหาด้านความสวยงาม และผู้ป่วยโรคนี้มักถูกรังเกียจจากกลัวว่าเป็นโรคติดต่อ ซึ่งแท้จริงแล้วโรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ว่าจะด้วยการสัมผัส การหายใจ หรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ จะขึ้นกับว่าเกิดเนื้องอกกับอวัยวะใด เช่น

  • ปัญหาทางการได้ยินเมื่อเกิดเนื้องอกเส้นประสาทหู
  • เกิด ชา เจ็บ เมื่อเกิดเนื้องอกเส้นประสาท แขน ขา
  • เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงเมื่อเกิดเนื้องอกไขสันหลัง

เนื้องอกในโรคท้าวแสนปมทุกชนิด เกือบทั้งหมดเป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็ง แต่มีรายงานประมาณ 3-5% ของเนื้องอกในกลุ่มโรคนี้ทุกชนิด เป็นมะเร็งตั้งแต่แรกหรือกลายเป็นมะเร็งในระยะหลัง ซึ่งเมื่อเป็นมะเร็งจะจัดอยู่ในมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน

  • ปฏิบัติตาม แพทย์ พยาบาล แนะนำ
  • เข้าใจและยอมรับในธรรมชาติของโรค
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอเมื่อต้องการแต่งงานและมีบุตร

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรควิตกกังวล แต่สามารถสรุปได้ว่าอาจเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก

  • กรรมพันธุ์ เช่น ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรควิตกกังวล โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้สูงขึ้น หรือลักษณะพื้นอารมณ์แบบไม่แสดงออก (Behavioral Inhibition)
  • สิ่งแวดล้อม เช่น เด็กเลียนแบบพฤติกรรมหลีกเลี่ยงอุปสรรค (Harm Avoidance) จากพ่อแม่ ทำให้เด็กกลัวการเข้าสังคม
  • อาการทางกาย ซึ่งเกิดจากการตอบสนองทางระบบประสาทอัตโนมัติมากเกิน ไป เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจเร็ว ปวดท้องเกร็ง ในผู้ป่วยโรคแพนิกบางรายอาจมีอาการรุนแรงขนาดทำให้เกิดภาวะมือจีบ (การเกร็งของนิ้วมือ) และหมดสติได้ อย่างไรก็ตามอาการทางกายมักเป็นแค่ชั่วคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีตัวกระตุ้น
  • กลุ่มอาการทางความคิดหมกมุ่น ซึ่งมักเป็นเรื้อรังมากกว่า ทั้งที่ผู้ป่วยรู้ตัวดีว่าความคิดไร้เหตุผล แต่ก็ไม่สามารถกำจัดความคิดเหล่านั้นออกไปได้ มีความกังวลล่วงหน้าในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

ในทางการแพทย์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนอย่างหนึ่งว่าอาการวิตกกังวลนั้น “มากกว่าปกติ” คือ ให้ดูที่การทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าอาการวิตกกังวลนั้นส่งผลทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างเคย เช่น สมาธิในการทำงานเสียไป ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแย่ลง นอกจากนี้ ถ้ามีอาการทางกายชัดเจน เช่น ใจสั่น นอนไม่หลับ ปวดท้องบ่อยๆ ร่วมด้วย ก็ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินโรควิตกกังวล

เนื่องจากอาการวิตกกังวลประกอบด้วย อาการทางกายและทางความคิด การปรับความคิดอาจทำได้ยากกว่าการควบคุมร่างกายตัวเอง ดังนั้นการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อและควบคุมการหายใจ จะเป็นการผ่อนคลายความวิตกกังวลในเบื้องต้น สามารถเริ่มทำได้โดยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวน หายใจเข้าออกช้าๆ นับ 1–10 ต่อการหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ทำร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถทำได้โดยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนที่สบาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ เมื่อสามารถทำตามวิธีดังกล่าว จะทำให้ร่างกายตอบสนองลดลงต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งนี้ควรทำอย่างสม่ำเสมอวันละ 10–15 นาที

  • ก่อนอื่นต้องย้ำเตือนตัวเองบ่อยๆว่า อาการที่เกิดขึ้นแม้จะน่ากลัว แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
  • ฝึกควบคุมการหายใจ โดยการหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ เมื่อเวลาเกิดอาการ ไม่ต้องตกใจ หาที่นั่งสบายๆ นั่งลง จากนั้นหายใจเข้าออกช้าๆ ตามที่ฝึกมา ให้ใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก อย่าไปสนใจกับอาการที่เกิดขึ้น ทำจนกว่าอาการใจสั่น ชาตามตัว หรืออาการอื่นๆ จะหายไป และทุกครั้งที่มีอาการก็ให้ใช้วิธีควบคุมการหายใจนี้สู้กับอาการที่เกิดขึ้น

มะเร็งปอดมีหลากหลายชนิดย่อย ที่พบบ่อยมี 2 ชนิดหลัก คือ

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโต: พบบ่อยกว่าชนิดเซลล์ตัวเล็ก มักลุกลามอยู่ในปอดและในเนื้อเยื่อข้างเคียงก่อน ต่อจากนั้นจึงลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดและในช่องอก แล้วจึงแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก: พบน้อยกว่าชนิดเซลล์ตัวโต แต่รุนแรงกว่า เมื่อตรวจพบโรคมักลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายสู่กระแสเลือดแล้ว
  • การสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่ (สูบบุหรี่มือสอง) โดยเฉพาะเมื่อสูบจัดต่อเนื่องตั้งแต่วันละ 1 ซองขึ้นไป
  • จากการได้รับ ฝุ่นแร่ ควันพิษ บางชนิดต่อเนื่องทางการหายใจ เช่น จากการทำเหมืองแร่ต่างๆ เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) แร่ยูเรเนียม (Uranium) ควันจากการเผาไหม้สารดีเซล
  • ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารหนูในปริมาณสูงต่อเนื่อง
  • พันธุกรรมบางชนิดผิดปกติ
  • การตรวจภาพปอดด้วยการ  เอกซเรย์ปอด ซีทีสแกน เอมอาร์ไอ และ/หรือ เพทสแกน 
  • จากน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด จากการดูด/เจาะก้อนเนื้อในปอดผ่านทางเข็มเจาะผ่านผนังหน้าอกเพื่อนำเซลล์มาตรวจทางเซลล์วิทยา
  • ส่องกล้องในปอดเพื่อนำเซลล์จากก้อนเนื้อ สารคัดหลั่ง ในปอดตรวจหาเซลล์มะเร็งทั้งทางเซลล์วิทยา และ/หรือ ทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจลมหายใจออกของผู้ป่วย (Exhaled Breath Test) การตรวจจับสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยออกจากการเจริญของเซลล์ซึ่งสารนี้จะปนอยู่ในลมหายใจออก (Volatile organic compounds /VOCs)    

ก. ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค

ข. ต่อเมื่อโรคลุกลามจึงเกิดอาการที่พบบ่อย คือ

  • ไอเรื้อรัง อาจมีเสมหะปนเลือด หรือ ไอเป็นเลือด
  • อาจมีเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
  • อาจมีเสียงแหบเรื้อรังเมื่อโรคลุกลามเข้าเส้นประสาทกล่องเสียงส่วนที่อยู่ในช่องอก
  • ผอมลง น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมักลดลงเกิน10% ของน้ำหนักตัวเดิมในระยะเวลา 6 เดือน
  • ใบหน้า ลำคอ แขนบวม มักพบเกิดกับแขนด้านขวามากกว่าด้านซ้าย ร่วมกับหอบเหนื่อย เมื่อโรคลุกลามหรือก้อนมะเร็งกดเบียดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องอก
  • อาการจากโรคแพร่กระจาย ซึ่งขึ้นกับอวัยวะที่มีโรคแพร่กระจาย เช่น
    • ปวดหลังมาก กรณีโรคแพร่กระจายเข้ากระดูกสันหลัง
    • ปวดหัวรุนแรงต่อเนื่อง อาจร่วมกับอาเจียนรุนแรง และ/หรือ แขน/ขาอ่อนแรง เมื่อมีโรคแพร่กระจายสู่สมอง
  • กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อลำไส้ อาจทำงานตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ โดยถ้าลำไส้ตอบสนองมากเกินไปต่ออาหาร/เครื่องดื่มที่บริโภค จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น จึงเกิดท้องเสีย แต่ถ้าลำไส้เคลื่อนไหวลดลง จะเกิดท้องผูก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการกลั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่อยู่ร่วมด้วย
  • เยื่อบุลำไส้ อาจตอบสนองไวต่ออาหาร/เครื่องดื่มบางชนิดสูงกว่าคนปกติ จากการกระตุ้นด้วยอาหาร/เครื่องดื่มบางชนิด เช่น คาเฟอีน จึงส่งผลให้เกิดท้องเสียเมื่อกิน/ดื่ม อาหารที่มีสารตัวกระตุ้นเหล่านี้ ส่วนบางคนก็ไวเกินต่ออาหารที่มีใยอาหารสูง ในขณะที่บางคนไวต่ออาหารที่ใยอาหารต่ำ
  • มีตัวกระตุ้นสมองให้หลั่งสารบางชนิด เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ร่วมกับอาการท้องเสีย เช่น ปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
  • อาจเกิดจากร่างกายสร้างสารต้านการติดเชื้อของลำไส้ เพราะในผู้ป่วยบางรายพบเกิดโรคนี้ตามมาภายหลังมีการอักเสบติดเชื้อของลำไส้/โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
  • อาจเกิดจากสมองทำงานแปรปรวน จึงส่งผลต่อการแปรปรวนของลำไส้
  • อาจเกิดจากการทำงาน หรือมีปริมาณแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora) ในลำไส้ผิดปกติ
  • ปวดท้องเรื้อรัง แบบปวดบีบ โดยอาการปวดท้องมักดีขึ้นหลังขับถ่ายหรือผายลม ซึ่งจัดเป็นอาการสำคัญที่ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคนี้
  • ท้องผูกหรือท้องเสียโดยเฉพาะหลังกินอาหาร หรือเมื่อตื่นนอนต้องรีบขับถ่าย หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นๆ หายๆ บ่อยครั้งอุจจาระคล้ายมีมูกปน แต่ไม่มีเลือดปน
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมมากในท้อง
  • มีอาการคล้ายถ่ายอุจจาระไม่หมด/ไม่สุด
  • กลั้นอุจจาระไม่อยู่ เมื่อปวดอุจจาระต้องเข้าห้องน้ำทันที
  • กินอาหาร หรือ ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น นม เครื่องดื่มกาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต และ/หรือ ผัก ผลไม้ บางชนิด
  • บางคนการกระตุ้นอาการเกิดจากกินอาหารมีใยอาหารสูง ขณะบางคนตัวกระตุ้นคืออาหารใยอาหารต่ำ
  • กินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมาก
  • ช่วงมีประจำเดือน
  • ช่วงมีความเครียด ความวิตกกังวล
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาล กินยา/ใช้ยาที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง ไม่หยุดยาเอง
  • เข้าใจในโรค ยอมรับความจริงของชีวิต รักษาสุขภาพจิต
  • สังเกต อาหาร และเครื่องดื่ม ต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการ หรือที่ทำให้อาการรุนแรงขึ้น เพื่อการหลีกเลี่ยง หรือจำกัดปริมาณ อาหาร/เครื่องดื่มเหล่านั้น
  • กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง กินอาหารที่ย่อยง่าย และรสไม่จัด
  • อาจลองกินอาหารในกลุ่ม โปรไบโอติก (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต เพื่อปรับสมดุลของแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้
  • ดื่มน้ำสะอาดเพิ่มกว่าเดิม ประมาณอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียจากท้องเสีย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเพื่อป้องกันท้องผูก

โรคขนคุด (Keratosis pilaris / KP) ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratinization) ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขนมีการอุดตันของรูขุมขนด้วยสารเคอราตินที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Keratin plug ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง

โรคขนคุด เกิดในคนทุกอายุทุกเชื้อชาติ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาจเป็นโรคเดี่ยวๆ หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น Atopic dermatitis (โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง) Ichthyosis (โรคผิวหนังเกล็ดปลา/ผิวหนังแห้งมากจนตกสะเก็ด) โดยมักพบในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน และอาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็นและแห้ง

จากการสะสมของโปรตีนเคอราตินอุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังออกมาได้ตามปกติ จึงเกิดเป็นตุ่มตามรูขุมขนมากมาย ทำให้ผิวหนังดูสากคล้ายกระดาษทรายหรือหนังไก่ บริเวณที่พบได้ คือ ต้นแขนด้านนอก ต้นขาด้านนอก บริเวณใบหน้าก็สามารถเกิดได้เช่นกันซึ่งมักพบในเด็ก และอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสิว ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) และมีสีออกสีเนื้อ พบได้บ้างที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขนและมีอาการคันร่วมด้วย

โรคขนคุด ไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่โรคก็มีโอกาสที่จะหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น การรักษาเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ หลักคือการใช้ยาทา เพื่อให้โปรตีนเคอราตินที่อุดตันรูขุมขนหลุดออก ซึ่งอาการมักกลับมาเมื่อหยุดการดูแลรักษา ทั้งนี้ ผลการรักษาที่ดีขึ้น เริ่มสังเกตได้หลังการรักษาตั้งแต่ประมาณ 3-4 สัปดาห์จนถึง 2-3 เดือน ซึ่งมีวิธีการรักษา เช่น

  • ทายาสเตียรอยด์ เช่น 0.1% triamcinolone cream เพื่อลดการอักเสบ ร่วมกับทายากลุ่ม urea เพื่อให้เซลล์ผิวหนังผลัดตัวเร็วขึ้น
  • กินยาแก้แพ้ แก้คันร่วมด้วย ในกรณีที่คันมาก

ปัจจุบันอาจมีทางเลือกอื่น เช่น การทำเลเซอร์ชนิด long pulsed NdYAG ที่มีความยาวคลื่น 1064 นาโนเมตร เพื่อทำลายขนบริเวณนั้นๆ ทำให้ขนบริเวณนั้นไม่ขึ้นอีกหรือรูขุมขนดีขึ้นได้ แต่อาจจำเป็นต้องทำหลายครั้ง

โรคขนคุด ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด แต่อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ และความสวยงาม

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน หรือน้ำอุ่นจัด แนะนำอาบน้ำธรรมดา
  • ใช้สบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็กอ่อน หรือใช้สบู่ที่มี pH5 เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น
  • ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์หลังอาบน้ำทันที หลีกเลี่ยงครีมกลุ่มที่มีน้ำหอม เพราะจะทำให้ผิวหนังระคายเคือง

เนื่องจากสาเหตุการเกิดโรคขนคุด มีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม ดังนั้นจึงไม่สามารถป้อง กันโรคนี้ได้ แต่การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังจะช่วยลดการเกิดของอาการได้

  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • การติดเชื้อของฟัน: โดยเฉพาะฟันกรามน้อยและฟันกรามแถวบน
  • โรคติดเชื้ออื่นๆ ของระบบทางเดินหายใจ: เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคไอกรน
  • การว่ายน้ำ ดำน้ำ: ซึ่งอาจเกิดการสำลักน้ำเข้าไปในจมูกและในไซนัสได้ จึงอาจมีเชื้อโรคเข้าไปด้วยทำให้เกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้สารคลอรีนในสระว่ายน้ำยังเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุไซนัสได้
  • การกระทบกระแทกอย่างแรงบริเวณใบหน้า: อาจทำให้ไซนัสโพรงใดโพรงหนึ่งแตกหัก ช้ำบวม หรือมีเลือดออกภายในโพรง ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้
  • มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก: เช่น เมล็ดผลไม้ ซึ่งก่อการอุดตันโพรงจมูก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อทั้งในโพรงจมูก และในไซนัส
  • จากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศรอบๆ ตัวทันที (Barotrauma หรือ Aero sinusitis): เช่น ขณะเครื่องบินขึ้นหรือลงจอด และการดำน้ำลึก เป็นต้น
  • มีน้ำมูกข้นในจมูกหรือมีน้ำมูก/สารคัดหลั่งไหลลงคอ (เป็นอาการที่สำคัญที่สุดของไซนัสอักเสบเรื้อรัง) น้ำมูกบางครั้งอาจมีสีเหลืองเขียวหรือเป็นสีน้ำตาลก็ได้ มักจะมีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นคาวด้วย มักพบมากหลังตื่นนอนเช้า
  • คัดจมูก: เกิดจากการบวม หรือหนาตัวของเยื่อจมูก หรืออาจเกิดจากการที่มีหนองข้นค้างอยู่ในโพรงจมูก หรืออาจมีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย
  • จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง
  • เจ็บคอ ระคายคอ ไอ และเสียงแหบ: เกิดจากการที่หนอง/สารคัดหลั่งไหลผ่านลงไปในคอเป็นประจำต่อเนื่อง ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียง และหลอดลม
  • อาการปวดศีรษะ: พบบ่อยในกรณีมีการอักเสบชนิดเฉียบพลัน 
  • อาการทางหู: เช่น ปวดหู หูอื้อ พบได้ในบางราย เป็นผลจากการอุดตันของท่อยูสเตเชียน (ท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับลำคอ) ซึ่งเกิดตามมาจากลำคออักเสบ มักพบบ่อยในเด็ก

ทั้งนี้​ ไซนัสอักเสบมีอาการคล้ายกับหลายโรค แพทย์จึงต้องวินิจฉัยแยกจากโรคเหล่านั้น เช่น โรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคหวัดเรื้อรัง (เช่น โรคภูมิแพ้หูคอจมูกและริดสีดวงจมูก เป็นต้น) โรคที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวและ/หรือปวดบริเวณจมูกและใบหน้า (เช่น โรคของฟัน/เหงือก โรคของข้อขากรรไกร โรคของประสาทสมองเส้นที่ 5 โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองที่ทำให้เกิดหลอดเลือดอักเสบ โดยเฉพาะหลอดเลือดของศีรษะ/หลอดเลือดขมับอักเสบ) โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น

  • คออักเสบและ/หรือกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง จากการที่หนองไหลลงลำคอต่อเนื่อง
  • การกระจายของการติดเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น
    • กระดูกส่วนที่เป็นผนังของไซนัส: ก่อให้เกิดกระดูกอักเสบติดเชื้อ
    • อาจอักเสบลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้า: เกิดเนื้อเยื่ออักเสบ หรือเกิดเป็นฝีได้
    • อาจอักเสบทะลุมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นช่องติดต่อระหว่างผิวหนังกับไซนัสได้
    • อาจอักเสบติดเชื้อลุกลามเข้ากะโหลกศีรษะ ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบได้
  • โรคแทรกซ้อนที่เกิดบริเวณฟัน: มักเกิดตามหลังการถอนฟันกรามน้อย โดยเกิดรูทะลุเข้าไปในไซนัส ทำให้มีหนองระบายออกมาที่รูที่ถอนฟัน
  • เกิดเป็นถุงเมือกต่างๆ ในไซนัส (Mucocele และ  Pyocele): เมื่อถุงนี้มีขนาดใหญ่จะดันผนังของไซนัสส่วนที่ไม่แข็งแรงให้โป่งออกช้าๆ ส่งผลให้ลูกตาถูกดันออกไปอยู่ผิดที่ คือไปอยู่ด้านล่างและด้านข้าง
  • โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับตา เช่น หนังตาบวม การอักเสบติดเชื้อของหนังตาและของเนื้อเยื่อรอบๆ ลูกตา
  • การกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำ ร่วมกับอาหารใยอาหารต่ำ (ขาดผักและผลไม้)
  • บริโภคเนื้อแดงที่รวมถึงที่แปรรูปในปริมาณสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ
  • เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเรื้อรัง /โรคติ่งเนื้อเมือกลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นเนื้องอก
  • สูบบุหรี่/ดื่มสุรา ต่อเนื่อง
  • โรคอ้วน
  • พันธุกรรม
  • อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
  • ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็น
  • อุจจาระเป็นเลือด เป็นมูก และ/หรือ เป็นมูกเลือด
  • ท้องผูกสลับท้องเสียที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
  • ซีดโดยหาสาเหตุไม่ได้ จากการมีเลือดออกทีละน้อยเรื้อรังจากแผลมะเร็งโดยไม่รู้ตัว
  • อาจมีท้องผูกมากผิดปกติ หรือ ปวดท้องเรื้อรัง หรือ ทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระจะรู้สึกเหมือนอุจจาระไม่สุด ทั้งนี้เนื่องจากมีก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินอุจจาระ

การรักษาหลัก คือ การผ่าตัดลำไส้ส่วนเป็นมะเร็ง ส่วนเมื่อโรคมีการลุกลามแล้ว การรักษามักเป็นผ่าตัดลำไส้ส่วนเป็นมะเร็งออกไปร่วมกับยาเคมีบำบัด หรือ ผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ ขึ้นกับ ตำแหน่ง และระยะของโรค และอาจให้ รังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีนำก่อน แล้วจึงตามด้วยผ่าตัด หรือ อาจผ่าตัดก่อน แล้วจึงตามด้วยรังสีรักษาและ/หรือ ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการของผู้ป่วย ระยะโรค และตำแหน่งของโรค

  • การผ่าตัด: เช่น การสูญเสียเนื้อเยื่อ/อวัยวะ การเสียเลือด แผลผ่าตัดติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการดมยาสลบ
  • ยาเคมีบำบัด: อาการ คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ภาวะซีด และการติดเชื้อจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • รังสีรักษา: ผลข้างเคียงต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ได้รับรังสีรักษา
  • ยารักษาตรงเป้า / ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง: ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากยารักษาตรงเป้า คือ การเกิดสิวขึ้นทั่วตัวรวมทั้งใบหน้า และยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย แผลติดยากเมื่อเกิดบาดแผล และอาจเป็นสาเหตุให้ผนังลำไส้ทะลุได้

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อตรวจติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ ซึ่งเมื่อพบติ่งเนื้อเมือกลำไส้ใหญ่ การรักษา คือ การผ่าตัดติ่งเนื้อซึ่งเป็นการรักษาที่อันตรายน้อยมาก เพราะไม่ใช่การผ่าตัดลำไส้ออกไป

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus mutans ร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและน้ำตาลในอาหารที่ตกค้างบนฟันหรือคราบจุลินทรีย์ ทำให้เป็นกรดที่สามารถสลายแร่ธาตุซึ่งเป็นโครงสร้างของฟัน ทำให้ฟันผุกร่อน ทั้งนี้ หากอยู่ในสภาวะที่สภาพน้ำลายในช่องปากค่อนข้างเป็นกลาง จะไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน

หากไม่ได้รับการรักษาเชื้อแบคทีเรียจะลุกลามสู่เนื้อฟันและเข้าสู่โพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอาการอักเสบโพรงประสาทฟัน ก่อให้เกิดอาการ ปวด บวม และการอักเสบอาจลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ รากฟัน หรือลุกลามต่อไปยังเหงือกและกระดูกขากรรไกร เกิดการเป็นหนอง และ/หรือ การอักเสบที่รุนแรง ก่อการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือเป็นสาเหตุของเยื่อบุหัวใจอักเสบ

  • ธรรมชาติพื้นผิวของฟัน ถ้าฟันเป็นร่องหลุมมาก อาหารตกค้างง่าย จะก่อให้เกิดฟันผุได้ง่าย
  • เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ซึ่งมีในปากทุกคน แต่มากน้อยต่างกัน คนที่มีมากฟันผุง่าย
  • มีภาวะปากแห้งจากน้ำลายน้อย

ระยะของฟันผุมี 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1: กรดเริ่มทำลายเคลือบฟัน อาจเห็นเป็นรอยสีขาวขุ่นบริเวณที่เป็นผิวเรียบของฟันหรือหลุมร่องฟัน ยังไม่มีอาการ การแปรงฟันให้สะอาดและใช้ฟลูออไรด์ทาเฉพาะที่จะช่วยการคืนกลับแร่ธาตุสู่ฟัน ช่วยยับยั้งการลุกลามของโรคฟันผุได้

ระยะที่ 2: การกัดกร่อน ลึกลงไปถึงชั้นเนื้อฟัน มีสีเทาดำ เห็นรูผุ มีเศษอาหารติด การผุจะลุกลามเร็วกว่าระยะแรก เนื่องจากชั้นเนื้อฟันแข็งแรงน้อยกว่าชั้นเคลือบฟัน จะเริ่มมีอาการเสียวฟันเมื่อถูกของร้อน เย็น หรือหวานจัด ระยะนี้จำเป็นต้องพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยการอุดฟัน

ระยะที่ 3: เป็นขั้นรุนแรงขึ้น มีการทำลายลึกถึงโพรงประสาทฟัน มีการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน มีอาการปวด อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นพักๆ มีการตกค้างของเศษอาหาร มีกลิ่น เมื่อฟันผุทะลุถึงโพรงประสาทฟันแล้ว การอุดฟันตามปกติทำไม่ได้ ต้องรักษาคลองรากฟันก่อน หากติดเชื้ออาจรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก่อนการรักษาคลองรากฟัน

ระยะที่ 4: เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันจะถูกทำลายลุกลามไปที่ปลายราก จะเจ็บๆ หายๆ เป็นช่วงๆ เกิดฝีหนองบริเวณปลายราก มีอาการบวม หรือมีฝีทะลุมาที่เหงือก ฟันโยก เชื้อโรคลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และระบบน้ำเหลืองของร่างกาย การรักษาจำเป็นต้องถอนฟัน และหลังการถอนฟันควรต้องใส่ฟันเทียมทดแทนเพื่อความสวยงาม เพื่อการบดเคี้ยว และเพื่อป้องกันฟันข้างเคียงไม่ให้ล้มเอียง

มีหลักฐานจากการวิจัยว่าในเด็กเล็กที่มารดาหรือคนเลี้ยงที่มีฟันผุจะส่งผ่านเชื้อ Streptococcus mutants มายังทารก ทำให้ฟันผุได้มาก เพราะเชื้อจะทำให้แป้งและน้ำตาลในปากเปลี่ยนเป็นกรดมาทำลายชั้นเคลือบฟันให้เริ่มผุ ทำลายฟันจนเป็นรูและกร่อนแตกหักได้  ดังนั้น กรณีทั่วไปควรป้องกันด้วยการใช้ช้อนกลางและควรแปรงฟันหลังอาหาร

เป็นภาวะที่แก้วตาเสื่อม แทนที่จะใสกลับขุ่น แก้วตาที่ขุ่นลงนี้ส่งผลให้กำลังหักเหของแสงผิดไป ตลอดจนขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา จึงมองเห็นภาพไม่ชัด นั่นคือโรคที่เรียกกันว่า “ต้อกระจก”

80% หรือมากกว่าของคนเป็นต้อกระจกเกิดจากวัยชรา ที่เหลือประมาณ 20% อาจพบจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยชรา เช่น

  1. ต้อกระจกชนิดเกิดแต่กำเนิดที่รู้จักกันทั่วไปคือ ในเด็กทารกที่เกิดจากแม่ซึ่งเป็นหัดเยอรมันในช่วงระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ตลอดจนโรคต้อกระจกแต่กำเนิดชนิดกรรมพันธุ์ที่ไม่ทราบสาเหตุ และโรคต้อกระจกในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  2. ในวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว อาจเป็นต้อกระจกจากการได้รับผลกระทบกระเทือนบริเวณลูกตาอย่างแรง เช่น การเล่นกีฬา อุบัติเหตุทางรถยนต์ อาการเหล่านี้แม้ว่าจะให้การรักษาอุบัติเหตุระยะต้นถูกต้องแล้วก็ตาม แต่อาจเป็นต้อกระจกได้ใน 2 - 3 ปีต่อมา
  3. วัยกลางคน อาจเป็นต้อกระจกเนื่องจากมีโรคอื่นๆ ในร่างกาย ที่สำคัญคือ โรคเบาหวาน

นอกจากนี้ ต้อกระจกอาจเกิดโรคอื่นๆ ในลูกตา เช่น ม่านตาอักเสบเรื้อรัง หรือจากการใช้ยาบางตัวเป็นประจำในการรักษาโรคทางกายบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

  • อาการเด่นของต้อกระจกคือ ตาค่อยๆ มัวลงอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างไร อาการตามัวจะเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า เช่น เมื่อออกแดด แต่กลับมองเห็นเกือบเป็นปกติในที่มืดสลัวๆ หรือเวลาพลบค่ำ
  • บางคนอาจสังเกตว่า การมองเห็นผิดไป เช่น ตอนกลางคืนเห็นพระจันทร์ 2 ดวงหรือหลายดวง แม้ดูด้วยตาข้างเดียวก็ยังเห็น 2 ดวง ทั้งนี้เพราะแก้วตาที่ขุ่นมัวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการหักเหของแสงไม่เท่ากัน
  • ผู้สูงอายุเวลาอ่านหนังสือต้องใช้แว่นสายตาช่วยเป็นปกติอยู่แล้ว แต่อยู่ๆ พบว่าอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น นั่นเป็นอาการเริ่มมีการเสื่อมของแก้วตาทำให้การหักเหแสงเปลี่ยน จึงกลับมาเป็นคนสายตาสั้นเมื่อแก่
  • เห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตาในผู้ที่ต้อกระจกสุกเต็มที่แล้ว

หลังผ่าตัดส่วนที่ขุ่นของแก้วตาที่บังแสงออก ดวงตาจะยังไม่สามารถหักเหแสงให้ตกที่จอตาได้ จึงยังมองเห็นได้ไม่ชัด จะต้องหาเลนส์ที่มีกำลังการหักเหใกล้เคียงแก้วตาใส่แทนที่ ซึ่งอาจทำได้โดย

  • ใช้เลนส์แว่นตา
  • ใช้เลนส์สัมผัส (Contact lens)
  • ฝังเลนส์แก้วตาเทียม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ เพราะโดยทั่วไปผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการฝังแก้วตาเทียม ได้แก่ ผู้ที่เป็นเบาหวาน (เบาหวานขึ้นตา) ผู้ที่มีต้อหินร่วมด้วย ผู้ที่มีโรคจอตาหลุดลอกเพราะสายตาเสียถาวรไปแล้ว  โรคกระจกตาเสื่อม และโรคม่านตาอักเสบ รวมทั้งในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เพราะตาเด็กยังต้องเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ สายตาของเด็กจึงต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีแก้วตาเทียมที่จะปรับไปตามการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้

สาเหตุของโรคข้อรูมาตอยด์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น

  • พันธุกรรม 
  • การติดเชื้อบางชนิดที่มีอยู่ทั่วไป โดยเชื้อที่สันนิษฐานมีทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินผิดปกติโดยเฉพาะที่ข้อต่างๆ เซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น และหลั่งสารเคมีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง และส่งผลทำให้เนื้อเยื่อปกติถูกทำลายในที่สุด
  • อาจเกิดจากฮอร์โมนเพราะโรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

เริ่มต้นจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ตามด้วยอาการที่เกิดจากข้ออักเสบที่เป็นลักษณะของโรคข้อรูมาตอยด์

  • ปวดบวมตามข้อโดยพบที่ข้อขนาดเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อนิ้วเท้า และฝ่าเท้า มากที่สุด ส่วนข้ออื่นๆ ที่พบได้ เช่น ข้อมือ ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อเท้า ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ แต่จะไม่พบที่ข้อปลายนิ้วมือและที่ข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว
  • ลักษณะอาการปวดตามข้อที่จำเพาะต่อโรคนี้คือ จะมีอาการที่ตำแหน่งข้อเหมือนกันทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ความปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อนั้นๆ และเมื่อพักการใช้ข้อนานๆ เช่น หลังตื่นนอนจะมีอาการข้อยึดแข็ง ขยับไม่ได้เป็นเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง
  • เมื่อการอักเสบดำเนินต่อไปเป็นระยะเวลาหลายสิบปี กระดูกอ่อนที่เป็นส่วนประกอบของข้อจะถูกทำลาย กระดูกที่อยู่รอบข้อเหล่านั้นจะบางลง และในที่สุดจะเกิดพังผืดขึ้นมาแทนที่ ดึงรั้งให้ข้อเสียรูปร่าง ใช้งานไม่ได้ เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อที่ทำหน้าที่พยุงข้อไว้ก็จะเสียไป เส้นเอ็นที่เกาะอยู่ที่ข้อจะถูกทำลายและส่งผลทำให้กล้ามเนื้อทำงานไม่ได้ตามปกติ

นอกจากอาการจะเกิดกับข้อต่างๆ แล้ว ยังสามารถตรวจพบความผิดปกติที่อวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย โดยจะพบเฉพาะกับผู้ป่วยที่ตรวจเลือดพบสารภูมิต้านทาน (Antibody) ของโรคนี้ที่เรียกว่า Rheumatoid factor เท่านั้น ความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดปุ่มเนื้อที่เรียกว่า Rheumatoid nodules (สามารถเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อชนิดใดและอวัยวะใดก็ได้) กล้ามเนื้อเกิดการฝ่อลีบ หลอดเลือดอักเสบทั่วร่างกาย โรคกระดูกพรุน เป็นต้น

การดำเนินโรคค่อนข้างจะหลากหลาย ไม่แน่นอน แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน โดยส่วนใหญ่อาการปวดบวมของข้อจะเป็นๆหายๆ แต่การทำลายของข้อจากการอักเสบก็ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้มีการผิดรูปร่างของข้อและใช้งานไม่ได้มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยผู้ป่วยเฉลี่ย 50% ที่มีอาการมาแล้วประมาณ 10 ปีจะไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ในขณะที่ผู้ป่วยประมาณ 15% จะมีอาการปวดบวมจากการอักเสบของข้อเป็นอยู่ไม่นาน ไม่มีความพิการของข้อให้เห็น และสามารถทำงานได้เหมือนปกติ

  1. การรักษาจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  2. การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวได้เต็มองศา ช่วยลดความปวดและอาการอ่อนเพลีย โดยการออกกำลังกายในน้ำหรือว่ายน้ำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะไม่ทำให้ข้อได้รับการกระทบกระเทือนจากการลงน้ำหนัก
  3. ไม่ควรนั่งยืนหรืออยู่ในอิริยาบถใดๆ ที่ไม่เกิดการเคลื่อนไหวของข้อใดข้อหนึ่งนานๆ เพราะจะทำให้ข้อแข็ง ขาดความยืดหยุ่น เกิดข้อยึดได้เร็วขึ้น ควรขยับข้อต่างๆ บ่อยๆ แต่ไม่ควรฝืนทำกับข้อที่กำลังมีอาการบวมและปวดอยู่
  4. หลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่งผลให้ข้อได้รับความกระทบกระเทือน เช่น ไม่ยก ไม่แบกของหนัก โดยพยายามใช้ข้อใหญ่ในการทำงานก่อน เช่น ถ้าต้องยกของก็พยายามใช้ข้อมือหรือข้อศอกในการออกแรง ใช้แรงจากข้อนิ้วให้น้อยที่สุด เป็นต้น
  5. ถ้ามีน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วนควรต้องลดน้ำหนัก

โรคเกาต์ (Gout) มีสาเหตุเกิดจากมีกรดยูริคในเลือดสูง จนส่งผลให้เกิดการตกผลึกของกรดยูริค (Uric acid crystal) ในข้อต่างๆ จึงเป็นผลให้ข้ออักเสบ เกิดอาการ บวม แดง ร้อน ปวด และเจ็บเมื่อสัมผัสถูกต้อง โดยปัจจัยเสี่ยงของโรคเกาต์ที่พบบ่อย ได้แก่ปัจจัยที่ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูง เช่น

  • กินอาหารมีสารพิวรีนสูงต่อเนื่องเป็นประจำ / กินอาหารที่หมักด้วยยีสต์
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์ / เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล Fructose สูง
  • เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคเหล่านี้มีความผิดปกติในการสันดาปสารต่างๆ จึงมักส่งผลให้มีกรดยูริคในเลือดสูง
  • เป็นโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด เพราะส่งผลให้มีกรดยูริคในเลือดสูง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ส่งผลให้ไตขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะน้อยลง เช่น ยาขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ
  • โรคไต เพราะไตทำงานต่ำลง จึงขับกรดยูริคออกน้อยลง
  • อาจเกิดจากพันธุกรรม (พบโรคในผู้ชายได้สูงกว่าในผู้หญิง)

โรคเกาต์มักเกิดอาการกับข้อเพียงข้อเดียว อาการจะค่อยดีขึ้นภายหลังการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่เมื่อควบคุมโรคได้ไม่ดี โรคจะย้อนกลับมาอีก และเป็นๆ หายๆ กลายเป็นการอักเสบเรื้อรังของข้อ โดยอาการพบบ่อยของโรคเกาต์ ได้แก่

  • มักเกิดอาการกับข้อเพียงข้อเดียว (แต่สามารถเกิดได้กับหลายๆ ข้อ)
  • ข้อที่เกิดโรค อักเสบ บวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อสัมผัสถูกต้อง (มีข้อบวมเพียงด้านเดียวของร่างกาย-ซ้ายหรือขวา)
  • ข้อที่เป็นโรคเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้เพราะเจ็บ ซึ่งการอักเสบมักเกิดอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งวัน (การอักเสบเฉียบพลัน)
  • ช่วงมีข้อบวมอาจมีไข้ได้
  • อ่อนเพลีย
  • เมื่อกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ผลึกของกรดยูริคอาจเข้าไปจับรอบๆ ข้อ และ/หรือ ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ไม่ใช่ข้อ เกิดเป็นก้อน/เป็นปุ่ม เช่น ที่ใต้ผิวหนัง และที่ใบหู เรียก ว่า ‘ปุ่มโรคเกาต์ (Tophus หรือ Tophi)’

เกาต์เทียม (Pseudogout) คือ โรคที่เกิดจากการสะสมผลึกสารเคมีชื่อ ‘Calcium pyrophosphate’ ในข้อต่อต่างๆ โดยยังไม่ทราบสาเหตุเกิดโรคที่ชัดเจน โรคนี้มีอาการคล้ายโรคเกาต์ (แต่โรคเกาต์เกิดจากการสะสมผลึกของกรดยูริค) ปัจจัยเสี่ยงของโรคเกาต์เทียมที่พบบ่อย ได้แก่

  • โรคที่มีฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์สูงผิดปกติ
  • โรคที่มีการสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากผิดปกติ (Hemochromatosis)
  • โรคที่มีฟอสฟอรัสในเลือดต่ำกว่าปกติ
  • โรคที่มีแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypomagnesemia)
  • โรคอื่นๆ ที่พบว่าอาจทำให้มีโอกาสเป็นเกาต์เทียมได้มากขึ้น เช่น โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบนโครโมโซมแท่งที่ 5 หรือ 8 (เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชาย)

ผู้เป็นโรคนี้ มีทั้งผู้ที่ไม่มีอาการ หรือ ที่มีอาการของข้ออักเสบเฉียบพลันเหมือนกับโรคเกาต์ชนิดเฉียบพลัน หรือมีอาการปวดข้อแบบเรื้อรังก็ได้ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่จะต้องตระหนัก คือ

  • ผู้ป่วยอาจเป็นทั้งข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์เทียมและจากโรคเกาต์ร่วมกันได้
  • อาจเป็นโรคข้อเสื่อมอยู่แล้วและเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์เทียมขึ้นมาก็ได้
  • สูงอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • ภาวะขาดฮอร์โมนเพศ (ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน)
  • ขาดอาหารสำหรับการสร้างกระดูก (โปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี)
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุให้ขาดอาหาร
  • มีโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
  • มีพันธุกรรมที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ถ้าเกิดในวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่ายที่ปลายกระดูกแขน/กระดูกข้อมือ และเกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังและ/หรือกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง
  • ส่วนกระดูกพรุนจากสูงอายุ มักเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

ผลข้างเคียงสำคัญของโรคกระดูกพรุนคือ กระดูกหักง่ายและอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นโรคเรื้อรังที่ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมากจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเมื่อกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอาจสูงถึง 50% ภายในหนึ่งปีแรก ถ้าไม่ได้รับการรักษา ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ถ้าไม่สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวด้วยตนเอง หรือโดยคนอื่นทำให้ ก็จะเกิด

  • แผลกดทับ
  • ปอดบวม
  • ทางเดินปัสสาวะอักเสบ/โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ลำไส้ไม่ทำงาน ท้องผูก

แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนคือ เพิ่มการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและหยุดหรือลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูกเช่น การกินวิตามินเกลือแร่เสริมอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียม วิตามินดี การใช้ยาต้านการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก การให้ยาฮอร์โมนต่างๆ เพื่อเพิ่มการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก การออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ การใช้ยาต่างๆ ควรต้องเป็นการแนะนำจากแพทย์ เพราะในผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการใช้ ชนิดยา ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยาต่างๆ เหล่านี้ยังมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้

โรคขี้เต็มท้อง/โรคอุจจาระอุดตัน (Fecal impaction) คือโรคที่มีอุจจาระแข็งและแห้งปริมาณมากมายคั่งค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะส่วนไส้ตรง (ส่วนปลายลำไส้ใหญ่ที่ใช้กักอุจจาระก่อนปล่อยออกนอกร่างกาย) จนท้นเข้าในลำไส้ใหญ่ส่วนอื่นๆ ที่ต่อเนื่องกับไส้ตรง จนในที่สุดกักค้างในทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ จนก่ออาการเรื้อรังผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดท้องผูกเรื้อรังหรือกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบีบตัวมีหลายปัจจัย ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ: เพราะเซลล์ผนังลำไส้จะเสื่อมตามธรรมชาติ/ตามวัย จึงทำงานถดถอย
  • การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ลำไส้จึงบีบตัวเคลื่อนไหวลดลงต่อเนื่อง
  • กินอาหารที่มีใยอาหารน้อย เช่น ขาดผักผลไม้ ส่งผลให้ขาดตัวกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว
  • ดื่มน้ำน้อยส่งผลเกิดภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ก้อนอุจจาระจึงแห้งแข็งเคลื่อนที่ลำบาก
  • มีโรคสมองหรือโรคไขสันหลังที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ เช่น โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อม อุบัติเหตุที่ไขสันหลัง
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่ใช้เป็นประจำซึ่งส่งผลให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวลดลง เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาจิตเวชบางชนิด เป็นต้น
  • โรคต่างๆ บางโรค เช่น โรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังบางโรค โรคภูมิต้านตนเอง ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนโรคเบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งไส้ตรง
  • ผลข้างเคียงจากผ่าตัดลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะบริเวณไส้ตรงที่ส่งผลให้ลำไส้ใหญ่ตีบ
  • ท้องอืด แน่นท้อง  ร่วมกับ ปวดท้องแบบปวดบีบ
  • ท้องเสียเป็นน้ำเป็นครั้งคราว โดยเกิดจากอุจจาระใหม่ที่ยังเป็นน้ำอยู่ไหลซึมผ่านก้อนอุจจาระที่แข็งออกมา
  • ปวดเบ่งเมื่อถ่ายอุจจาระ / ปวดอุจจาระตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง แห้ง ลำอุจจาระขนาดเล็กผิดปกติ อุจจาระเป็นเลือด
  • ปัสสาวะบ่อย มักร่วมกับปัสสาวะเล็ด หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะก้อนอุจจาระในลำไส้กดเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • อื่นๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลดผิดปกติ ปวดหลังช่วงล่าง จากการเพิ่มแรงดันของก้อนอุจจาระในท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน
  1. การกำจัดอุจจาระออกจากลำไส้ใหญ่: เช่น ใช้ยาแก้ท้องผูก สวนอุจจาระ ผ่าตัดลำไส้ เป็นต้น
  2. ป้องกันการสะสมกักค้างของอุจจาระ: ที่สำคัญที่สุด คือ  ป้องกันท้องผูก ซึ่งดูแลรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ชนิดของอาหารน้ำดื่ม การขับถ่าย การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการใช้ยาตามแพทย์แนะนำ
  3. ดูแลรักษาโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากโรคขี้เต็มท้อง

โรคอุจจาระอุดตัน/โรคขี้เต็มท้อง ถ้าได้รับการรักษา โรคมักจะหายเป็นปกติเสมอ แต่ต้องใช้ระยะเวลารักษา อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่รีบดูแลรักษา เมื่อเกิดผลข้างเคียง อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงถึงตายได้ถ้ารักษาไม่ทันหรือการรักษาไม่ได้ผล ซึ่งผลข้างเคียง เช่น ภาวะลำไส้อุดตันจากก้อนอุจจาระ ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้ทะลุจากการขยายยืดจนบางของผนังลำไส้ร่วมกับแรงดันของก้อนอุจจาระ ริดสีดวงทวาร ฝีคัณฑสูตร เป็นต้น

ภาวะขาดไอโอดีน มักเกิดจากในอาหารที่บริโภคประจำทุกวันขาดหรือมีไอโอดีนต่ำ หรือร่างกายมีภาวะต้องการไอโอดีนสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อย คือ

  • อาศัยอยู่ในที่สูงหรือที่ห่างไกลจากทะเล เพราะแหล่งอาหารสำคัญของไอโอดีน คือ อาหารทะเลและเกลือทะเล
  • คนที่ใช้เกลือสินเธาว์/เกลือจากดินเค็มเป็นประจำ ทั้งนี้เพราะในดินจะมีไอโอดีนต่ำกว่าในทะเลมาก
  • การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการไอโอดีนสูงขึ้นเพื่อการเจริญพัฒนาทุกเซลล์โดยเฉพาะเซลล์สมองตั้งแต่ทารกในครรภ์และช่วยในการสร้างน้ำนม
  • ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนไปใช้ไม่ได้ เพราะอาหารหรือยาบางชนิดที่บริโภคต่อเนื่องมีคุณสมบัติต้านการจับกินไอโอดีนของเซลล์ต่อมไทรอยด์ (Goitrogen) จึงทำให้ต่อมไทรอยด์ขาดไอโอดีน จึงสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนลดลง จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการของการขาดไอโอดีน
  • ยาที่มีผลข้างเคียงเป็น Goitrogen เช่น ยาโรคไทรอยด์บางชนิด ยาจิตเวชบางชนิด
  • อาหารที่มีสารกลุ่ม Goitrogen เช่น กะหล่ำ ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง หัวผักกาด ข้าวฟ่าง ข้าวเดือย (แต่การบริโภคอาหารเหล่านี้ด้วยการปรุงสุกจะทำลายสารตัวนี้ลงได้)
  • สำหรับทารกในครรภ์ ร่างกายและสมองเจริญเติบโตช้าซึ่งจะก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด (แคระแกรน ตาเข หูหนวก เป็นใบ้ กล้ามเนื้อชักกระตุก) และภาวะปัญญาอ่อน
  • กรณีขาดไอโอดีนในเด็กหลังคลอด จะพบว่าเด็กเจริญเติบโตช้า มีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ และอาจมีต่อมไทรอยด์โต (คอพอก)
  • ส่วนอาการจากการขาดไอโอดีนในผู้ใหญ่ที่สำคัญ คือ ต่อมไทรอยด์โต และอาจมีอาการของภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น อ้วนฉุ เชื่องช้า หัวใจเต้นผิดปกติ บวมน้ำ เป็นต้น

การขาดไอโอดีนในช่วงเป็นทารกในครรภ์และในวัยเด็กถือว่าสำคัญมาก เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและต่อสมอง/ภาวะเชาว์ปัญญา แต่การขาดไอโอดีนในผู้ใหญ่มักเป็นภาวะที่รักษาได้

สามารถป้องกันภาวะขาดไอโอดีนได้โดยการกินอาหารที่มีไอโอดีนสมบูรณ์ การเลือกใช้เกลือและน้ำปลาที่ทำจากเกลือทะเลหรือเกลือที่เสริมไอโอดีน โดยเฉพาะในเด็ก วัยรุ่น ภาวะตั้งครรภ์ และภาวะให้นมบุตร และเมื่อมีการตั้งครรภ์ควรพบแพทย์เพื่อการดูแล และควรเพิ่มอาหารที่สมบูรณ์ด้วยไอโอดีนตามคำแนะนำของแพทย์

อนึ่ง เนื่องจากร่างกายต้องการไอโอดีนในปริมาณไม่มาก จึงไม่ควรกินไอโอดีนในรูปแบบของยาเกลือไอโอดีนเสริมอาหารโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะการกินไอโอดีนเสริมอาหารปริมาณสูงๆ ต่อเนื่องอาจมีโทษได้ เช่น เกิดผื่นคัน หรือบางคนอาจแพ้ถึงช็อกได้ บางคนอาจทำให้เป็นสิวมากขึ้น กล้ามเนื้อมือและเท้าชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจมีสับสน อาจเกิดได้ทั้งโรค/ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (เพราะไอโอดีนที่มากเกินไปจะไปยับยั้งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน) หรือภาวะ/โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (จากต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนมาสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มผิดปกติ) ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบ และโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองของต่อมไทรอยด์

วิตามินบี-1 มีมากในธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี/ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole grain) หรือซีเรียล/อาหารเช้าที่เสริมวิตามินบี-1/วิตามินบีรวม เนื้อสัตว์ ปลา เป็ด ไก่ ไข่ นมและผลิตภัณฑ์นมโดยเฉพาะที่เสริมวิตามิน บี-1/วิตามินบีรวม ผักใบเขียวต่างๆ โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง ถั่วกินฝัก ถั่วเหลือง ลูกนัท พืชกินหัว มันฝรั่ง มะเขือเทศ และส้ม

วิตามินบี-1 ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแอลกอฮอล์ สารบางชนิด (เช่น Tannin) ในชาและกาแฟ และจากความร้อนในการหุงต้มมากกว่าจากการปิ้งย่าง รวมทั้งการเก็บแหล่งอาหารนี้ไว้ในตู้เย็นนานๆ และเนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายน้ำ จึงถูกกำจัดจากร่างกายได้ง่ายทางปัสสาวะ ดังนั้นจึงลดโอกาสเกิดการสะสมในร่างกายจนก่อโทษ

ก: ประโยชน์ของวิตามินบี 1: เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ (Enzyme) สำคัญในการใช้พลังงานของร่างกายจากไขมัน โปรตีน และโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อทั่วไป และเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของเซลล์สมองและเซลล์ปลอกประสาท (Myelin sheath) ซึ่งมีหน้าที่รับส่งสัญญาณต่างๆ ระหว่างสมองกับเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดวิตามิน บี-1 จึงส่งผลถึงการทำงานของทุกอวัยวะโดยเฉพาะหัวใจ สมอง ตับ ไต และกล้ามเนื้อ และเป็นสาเหตุให้เกิดหัวใจวายและตายได้

ข. โทษของวิตามินบี 1: เนื่องจากวิตามินบี1 เป็นวิตามินที่ละลายน้ำ ร่างกายจึงกำจัดส่วนเกินได้ง่ายออกทางปัสสาวะ ดังนั้นจนถึงปัจจุบัน จึงยังไม่มีรายงานถึงผลข้างเคียงหรือโทษจากการกินวิตามินบี-1

  • ภาวะขาดอาหารที่มีวิตามินบี-1
  • ภาวะที่ลำไส้ลดการดูซึมวิตามินบี-1 เช่น โรคลำไส้อักเสบ ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารลดการดูดซึมวิตามินบี-1 (เช่น กาเฟอีน) สูบบุหรี่ หรือในผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารรักษาโรคอ้วน
  • ร่างกายมีโรคหรือมีภาวะที่ทำให้สูญเสียวิตามินบี-1เพิ่มขึ้น เช่น ท้องเสียเรื้อรัง หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ร่างกายมีโรคหรือภาวะที่ต้องการวิตามินบี-1 เพิ่มขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน

ก. อาการทั่วไป: เป็นอาการที่ไม่จำเพาะพบได้ในเกือบทุกโรค รวมทั้งโรคจากภาวะขาดอาหารด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องผูก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริวง่าย และไม่มีสมาธิ

ข. อาการ Wet beriberi (โรคเหน็บชาแบบเปียก): เป็นอาการขาดวิตามินบี-1 ที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ อาการ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก บวมเท้าและขา หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ และอาการชา แขน ขา มือ เท้า

ค. อาการ Dry beriberi (โรคเหน็บชาแบบแห้ง): เป็นอาการขาดวิตามินบี-1ที่มีผลต่อเซลล์สมอง และเซลล์ประสาทโดยเฉพาะในส่วนปลอกประสาท ส่งผลให้มีอาการ เช่น ชาทั่วตัว แต่มักเป็นมากที่มือและเท้า สับสน พูดช้า ไม่มีสมาธิ มีลูกตาเคลื่อนผิดปกติ/ตากระตุกแก่วง (Nystagmus) กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงจึงกลั้นน้ำลายไม่ได้ มีน้ำลายไหล และอาเจียน

ง. อาการขาดวิตามินบี1ในเด็กอ่อน (Infantile beriberi): เป็นอาการพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มักพบในช่วงอายุ 2-6 เดือน โดยเด็กจะมีอาการ เช่น หายใจลำบาก อาการเขียวคล้ำร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลว อาจพบมีเสียงแหบ น้ำหนักตัวลด อาเจียนบ่อย ท้องเสีย ผิวหนังซีด เนื้อตัวบวม ชีพจรเต้นเร็ว และอาจมีอาการชัก

จ. อาการอื่นๆ: เช่น อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้องเรื้อรัง คลื่นไส้อาเจียนเรื้อรัง และอาจมีภาวะเลือดเป็นกรดจากมีสาร Lactate (สารที่เกิดจากการใช้พลังงานของเซลล์) ในเลือดสูงที่เรียกว่า Lactic acidosis ซึ่งมีอาการเช่น อ่อนเพลีย และคลื่นไส้

การพยากรณ์โรค/ความรุนแรงของภาวะขาดวิตามินบี-1 คือ เป็นภาวะรุนแรงโดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการชนิดเปียก (Wet beriberi) เพราะสามารถเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว แต่เมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันทวงที ก็เป็นภาวะที่รักษาให้หายได้ แต่อาการต่างๆ ก็ย้อนกลับเป็นซ้ำได้อีกเมื่อยังคงมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง

คือ ภาวะ/โรคที่ร่างกายหรือเลือดมีเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ จึงส่งผลให้ทุกเซลล์/เนื้อเยื่อ/อวัยวะในร่างกายขาดเลือด (ขาดออกซิเจนที่ได้จากเม็ดเลือดแดงเพื่อใช้ก่อพลังงานในการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ) ทุกๆ เซลล์/เนื้อเยื่อ/อวัยวะจึงขาดพลังงาน ส่งผลให้ ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็นเด็กจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์อีกด้วย

โรคซีด/ ภาวะซีด /เลือดจาง เกิดได้จาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ จากการเสียเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด จากไขกระดูกลดการสร้างเม็ดเลือด และจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ (ปกติทั่วไปเม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 100-120 วัน)

  • ถ้าซีดไม่มาก มักไม่มีอาการ แต่อาจรู้สึกอ่อนเพลียง่ายกว่าคนปกติ มือเท้าเย็นง่าย
    • แต่เมื่อซีดมากขึ้น อาการที่อาจพบได้ เช่น ริมฝีปาก ผิวหนัง ใบหน้า เยื่อตา มือ เท้า เล็บ ซีด
    • เหนื่อยง่าย ใจสั่น จากหัวใจเต้นเร็ว เพื่อทำงานมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนจากเลือดมากขึ้น บวมตามร่างกาย วิงเวียน เป็นลมง่าย
  • เมื่อซีดรุนแรง มักมี
    • ภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย (หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อย/ หอบเมื่อออกแรง หัวใจโต บวมใบหน้า มือ และเท้า)
    • ติดเชื้อต่างๆ ง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคลดลง
  • เมื่อซีดมากและเรื้อรัง อาจมีปัญหาทางสมองได้ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง สติปัญญาด้อยกว่าเกณฑ์ ขาดสมาธิง่าย ความจำลดลง จากสมองขาดออกซิเจนเรื้อรัง
  • คุณภาพชีวิตด้อยลง เช่น
    • เหนื่อยง่าย
    • สติปัญญาลดลง
    • คุณภาพงานและการเรียนด้อยลง
  • ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย จากมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ต่ำลง
  • โรคหัวใจ ที่อาจรุนแรงจนถึงขั้นหัวใจวาย/ภาวะหัวใจล้มเหลว

ความรุนแรงของ ภาวะซีด/ โรคซีด/ เลือดจาง ขึ้นกับ สาเหตุ เช่น ไม่รุนแรงเมื่อเกิดจากขาดอาหาร แต่ความรุนแรงสูงเมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง

  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ครบทุกมื้ออาหารและในทุกๆ วัน เพื่อป้องกันภาวะซีดจากขาดอาหาร
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อดูความเสี่ยงของโรคเลือดต่างๆ ทางพันธุกรรมที่อาจเกิดกับลูก เช่น โรคธาลัสซีเมีย
  • เมื่อมีเลือดออกเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติบ่อยๆ หรืออุจจาระเป็นเลือดเรื้อรัง หรืออุจจาระเป็นเลือดในปริมาณมาก เช่นจากโรคริดสีดวงทวาร
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุโรคซีด

โรคสังคัง (Tinea Cruris) เป็นโรคเชื้อราผิวหนังที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นผื่นอักเสบที่มีสีแดงและเป็นขุย มักมีอาการคัน และ/หรือแสบ มักเกิดในบริเวณขาหนีบ และอาจลามมาที่อวัยวะเพศ เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม Dermatophyte โดยเป็นโรคที่พบได้มากในภูมิอากาศร้อนชื้น พบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงเป็น 3 เท่า

หลังจากติดเชื้อราโรคสังคัง เหงื่อและความอับชื้นจะทำให้เชื้อราเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้นโรคนี้จึงจึงพบได้บ่อยในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ร่างกายและซอก/รอยพับต่างๆ อับชื้น เช่น นักกีฬาที่เหงื่อออกมาก หมักหมมเป็นเวลานาน ในผู้ป่วยเบาหวาน ในคนอ้วน

  • ยาทา เช่น ยา Ketoconazole, Clotrimazole โดยทาผื่นให้ทั่วหลังอาบน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์
  • ยารับประทาน ใช้ในกรณีที่รอยโรคมีขนาดกว้าง โรคเป็นเรื้อรัง และ/หรือไม่ตอบสนองต่อยาทา ซึ่งควรต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาให้ ยาที่ใช้ในการรักษาเช่น Griseofluvin, Ketocona zole, Itraconazole, Terbinafine ซึ่งยาแต่ละตัวมีผลข้างเคียง (เช่น ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน นอนไม่หลับ ตับอักเสบ และแพ้ยา) และระยะเวลาในการรักษาต่างกัน จึงจำเป็นต้องสั่งยาโดยแพทย์ โดยทั่วไประยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-4 สัปดาห์

ผลข้างเคียง เช่น อาการคันในร่มผ้า แผลถลอกเกิดติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน หรือติดเชื้อราชนิดแคนดิดาซ้ำซ้อน ทำให้เจ็บที่ผื่น อาจมีหนอง มีรอยดำของผื่นหลังการอักเสบ ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปหลังการรักษา

โรคสังคังรักษาได้ ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อรา แต่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้เสมอ หากมีการอับชื้นอีก การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคสังคัง ได้แก่

  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู กรรไกรตัดเล็บ หวี
  • ใส่เสื้อผ้าที่โปร่งระบายอากาศได้ดี ไม่รัดตัวมาก
  • ในรายที่มีเชื้อราที่เท้าร่วมด้วย เมื่อแต่งตัวแนะนำให้สวมถุงเท้าก่อนสวมกางเกงชั้นใน เพื่อป้องกันการพาเชื้อราจากเท้าไปที่บริเวณขาหนีบ
  • หลังอาบน้ำ ให้เช็ดบริเวณขาหนีบให้แห้งด้วยผ้าขนหนูแยกชิ้นจากที่เช็ดบริเวณอื่น แล้วจึงค่อยทายา
  • ในรายที่สาเหตุของความอับชื้นมาจากความอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนักด้วย เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำๆ
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู กรรไกรตัดเล็บ หวี
  • ใส่เสื้อผ้าที่โปร่งระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่น
  • ล้างมือบ่อยๆ เป็นประจำ
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม ผ้าปูที่นอน ด้วยการซักและตากแดดจัด

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งที่พบบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียชนิด สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) โดยเชื้อแบคทีเรียอาจเข้าสู่ผิวหนังทางรอยแยกแตกของผิวหนังที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีการบาดเจ็บ/แผล รอยแยกของผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา รอยแมลงกัด บริเวณผิวหนังที่บวมเรื้อรัง (เช่น มือ เท้า แขน ขา ที่บวม) บริเวณผิวหนังที่มีเนื้อตายอยู่เดิม (เช่น แผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน)

  • ผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้รับประทานยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (เช่น ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ) ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว (เช่น โรคเบาหวาน)
  • ผู้ป่วยที่มีการการอุดตันของหลอดเลือดดำจากลิ่มเลือด (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ)
  • มีท่อน้ำเหลืองอุดตัน เช่น แขนบวมจากฉายรังสีรักษาและ/หรือจากผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม
  • การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน เช่น ผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก
  • เคยผ่าตัดหลอดเลือดดำขา เช่น โรคหลอดเลือดดำขอด
  • ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ เช่น ในผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังของขา
  • ผิวหนังที่เกิดโรค มีลักษณะเป็นผื่นใหญ่ แดงสด บวม เจ็บ คลำดูที่ผื่นจะร้อน ขอบผื่นยกนูนจากผิวหนังปกติชัดเจน
  • อาจพบเป็นตุ่มพองร่วมด้วย
  • โดยผื่นที่เกิดมักลุกลามอย่างรวดเร็ว และผิวหนังที่แดงอักเสบบวม จะตึงมีลักษณะคล้ายเปลือกส้มหรือหนังหมู
  • อาการที่มักพบเกิดร่วมด้วย คือ อาการไข้ที่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และในรายรุนแรงมักเป็นไข้สูงหนาวสั่น
  • ประมาณ 90% ของผู้ป่วยไฟลามทุ่ง พบการติดเชื้อที่บริเวณ ขา เท้า ส่วนประมาณ 2.5-10% มีการติดเชื้อที่บริเวณใบหน้า หรือ ที่ผิวหนังส่วนอื่นๆ
  • การติดเชื้อลุกลามจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง กลายเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ)
  • การติดเชื้อจากผิวหนังลุกลามไปตามระบบน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลือง เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น บวม เจ็บ
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังเองที่ลุกลามรุนแรง เกิดเป็น แผล หนอง และ หลอดเลือดอักเสบ

ด้วยการสังเกตและระวังการเกิดแผลอันเป็นทางเข้าสู่ผิวหนังของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว (โดยเฉพาะที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน ที่มักมีอาการขาหรือแขนบวมเรื้อรัง) เพราะอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่นำไปสู่โรคไฟลามทุ่งได้ง่าย ซึ่งถ้าพบมีแผล ต้องรีบรักษาความสะอาด และ/หรือรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลถ้าแผลไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังการดูแลตนเอง

โรคหัด (Measles / Rubeola) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ มอร์บิลลิไวรัส (Morbillivirus) โดยการ ไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ ซึ่งผู้ติดเชื้อจะเกิดโรคเกือบทุกราย โดยคนที่เคยติดเชื้อมาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต และโรคนี้มีวัคซีนป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงเกือบ 100%

อาการของโรคหัดแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะก่อนออกผื่นและระยะที่เป็นผื่น

  • ระยะก่อนออกผื่น เริ่มต้นด้วยมีไข้สูง ต่อมามีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ตาแดง หรือตาแฉะ (3 อาการหลัก) อาการอื่นๆ คือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะเป็นอยู่ประ มาณ 2-4 วัน ก่อนที่จะออกผื่น 1-2 วัน ถ้าสังเกตุให้ดี จะเห็นจุดขาวๆ เล็กๆ เหมือนเกลือป่น มีขอบสีแดง อยู่ภายในกระพุ้งแก้ม ส่วนบริเวณติดฟันกราม ซึ่งเรียกว่า ตุ่มโคปลิค (Koplik spots ) เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด ซึ่งจะไม่พบในโรคติดเชื้ออื่นๆ เลย และเมื่อผื่นขึ้นแล้ว จุดเหล่านี้จะหายไป
  • ระยะออกผื่น จะเริ่มขึ้นบริเวณใบหน้าชิดขอบผม หลังใบหู ก่อนที่จะกระจายไปตามลำตัว แขนขา ลักษณะผื่นเป็นแบบนูนแดง อาจติดกันเป็นปื้นๆ ใหญ่ เป็นผื่นแบบไม่คัน เมื่อผื่นขึ้นมาประมาณ 2-3 วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง ผื่นในระยะแรกมีสีแดง ต่อมามีสีเข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลแดง ซึ่งคงอยู่นาน 5-6 วัน กว่าจะจางหายไปหมด กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุยได้

ผู้ป่วยหัดจะมีเชื้อไวรัสในลำคอและแพร่เชื้อได้ในระยะจาก 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ (3 ถึง 5 วันก่อนผื่นขึ้น) ไปถึงระยะหลังผื่นขึ้นแล้วประมาณ 4 วัน

  • ระบบทางเดินหายใจ (พบได้บ่อย) เช่น หูส่วนกลางอักเสบ (พบบ่อยสุดในเด็กเล็ก) กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ (มักพบในผู้ใหญ่) อาจทำให้วัณโรคที่เป็นอยู่กำเริบขึ้นมาได้
  • ระบบทางเดินอาหาร พบอุจจาระร่วงจากลำไส้อักเสบได้บ่อย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ ส่วนในระบบอื่นๆ ของทางเดินอาหาร เช่น ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องอักเสบ
  • ระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ ภาวะเนื้อสมองอักเสบ ทำให้เป็นโรคลมชักและสติปัญญาด้อยลง
  • ในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาการจะรุนแรงและอาจทำให้ตาบอด

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย โดยแยกผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหัดจนถึงประมาณ 4 วันหลังผื่นขึ้น แต่ทั้งนี้วิธีที่ดีที่สุด คือ ฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่อเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เกิดจากเชื้อไวรัสคนละตัว โดยโรคหัด (Measles / Rubeola) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ มอร์บิลลิไวรัส (Morbillivirus) ส่วนโรคหัดเยอรมัน (German measles / Rubella) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ รูบิไวรัส (Rubivirus)

โรคหัดเยอรมันหรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “เหือด” ติดต่อกันง่ายแต่น้อยกว่าโรคหัด เป็นโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ถ้ามีอาการจะมีไข้และออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าหัด และมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ที่สำคัญคือ ถ้าเกิดการติดเชื้อโรคหัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้เกิดการพิการได้

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease ย่อว่า KD) คือ โรคที่ทำให้เกิดหลอดเลือดอักเสบโดยเฉพาะหลอดเลือดแดงขนาดกลาง พบบ่อยในเด็กทั่วโลก แต่พบมากในเด็กเอเชีย เฉลี่ยอายุประมาณ 2-3 ปี โดยประมาณ 80% พบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และที่ควรทราบ คือ 20-25% ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา จะมีความผิดปกติของหลอดเลือดแดงหัวใจ (Coronary arteries) คือมีการโป่งพองของหลอดเลือด (Aneurysm)

หากไม่มีการรักษา โรคคาวาซากิจะมีธรรมชาติ/การดำเนินของโรคเป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะไข้เฉียบพลัน (Acute febrile phase): จะมีไข้สูงและมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โรคระยะนี้กินเวลา 1-2 สัปดาห์
  2. ระยะกึ่งเฉียบพลัน (Subacute phase): ในระยะนี้จะมีการลอกของผื่น มีเกล็ดเลือดสูง (Thrombocytosis) และในระยะนี้อาจมีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงหัวใจ (Coronary aneurysms) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยอาจตายได้ในช่วงนี้จากภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโป่งพอง ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
  3. ระยะพักฟื้น (Convalescent phase): ระยะนี้อาการต่างๆ รวมทั้งความผิดปกติของเลือด/ซีบีซี กลับคืนสู่ปกติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังจากเริ่มอาการของความเจ็บป่วยจากโรคนี้
  1. ไข้สูง: ไข้ในโรคคาวาซากิจะสูงมากกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์ (Fahrenheit) หรือ 38.3 องศาเซลเซียส (Celsius) และไข้สูงไม่ลดลงแม้จะให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งหากไม่ได้รักษาไข้จะสูง 1-2 สัปดาห์ และอาจมีไข้สูงนานถึง 3-4 สัปดาห์
  2. นอกจากอาการไข้ จะมีอาการสำคัญหลักๆอีก 5 อาการ ได้แก่
    • ตาแดงโดยไม่มีขี้ตาทั้งสองข้าง (Non-exudative bulbar conjunctival injection)
    • ริมฝีปาก คอและเยื่อบุปาก แดง ลิ้นเป็นตุ่มแดงนูนดูคล้ายผิวสตรอเบอร์รี (Strawberry tongue) และริมฝีปากแตก
    • ในประมาณสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ปลายมือเท้าอาจลอก
    • มีผื่นลักษณะต่างๆ กันขึ้นตามตัวและอาจขึ้นมากบริเวรขาหนีบ
    • ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ โต คลำได้ ขนาดต่อมน้ำเหลืองมักโตมากกว่า 1.5 ซม. ไม่เจ็บหรือเจ็บแต่น้อย

นอกจากนั้น อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ในโรคคาวาซากิ เช่น    

ก. อาการทางหัวใจและหลอดเลือด: เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว  มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ของเยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจผิดปกติ มีความผิดปกติที่หลอดเลือดแดงหัวใจ มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงขนาดกลาง มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า) ทำให้ปลายนิ้วขาดเลือดไปเลี้ยง

ข. อาการทางระบบทางเดินหายใจ: เช่น น้ำท่วมปอด/ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ปอดอักเสบ/ ปอดบวม

ค. อาการทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก: เช่น ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ

ง. อาการทางระบบทางเดินอาหาร: เช่น ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง การทำงานของตับผิดปกติ มีน้ำและมีอาการบวมในถุงน้ำดี (Hydrops of gallbladder)

จ. อาการทางระบบประสาท: เช่น มีอาการหงุดหงิดกระสับกระส่ายอย่างมาก มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ (Aseptic meningitis) สูญเสียการได้ยิน/หูดับ

ฉ. อาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น มีการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ

ช. อาการอื่นๆ: เช่น ตัวแดง ม่านตาอักเสบ มีผื่นลอกของผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ มีการบวมนูนของบริเวณที่เคยฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG/วัคซีนป้องกันวัณโรค)

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคคาวาซากิ จึงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่เป็นโรคที่รักษาได้ การรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว จะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งที่สำคัญ คือ หลอดเลือดแดงหัวใจโป่งพองได้มาก ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์ให้เข้าใจธรรมชาติของโรคเพื่อการร่วมมือกันในการรักษาผู้ป่วย

โรคไต หรือ โรคของไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ/ทำงานลดลง จึงก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ/ของเสีย/สารอาหารและ/หรือธาตุอาหารส่วนเกิน ซึ่งในภาวะปกติร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะโดยผ่านการกรองของไต ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย โรคไต/โรคของไต แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  • โรคไตเฉียบพลัน: คือโรคไตที่เกิดจากสาเหตุเฉียบพลัน ซึ่งพบได้น้อยและมักสามารถรักษาได้หายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ ไตติดเชื้อแบคทีเรีย (กรวยไตอักเสบ) เป็นต้น
  • โรคไตเรื้อรัง: ที่พบได้สูงและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในปัจจุบันของทุกประเทศ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตเรื้อรังคือโรคต่างๆ ในกลุ่มโรคเอนซีดี ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ก. โรคไตเฉียบพลัน: อาการสำคัญ คือ อาการที่เกิดอย่างเฉียบพลัน ที่พบบ่อยเช่น

  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติมาก
  • ไม่มีปัสสาวะ

ข. โรคไตเรื้อรัง: เมื่อเริ่มเป็น จะไม่มีอาการ จะมีอาการต่อเมื่อโรคเป็นมากแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมื่อผู้ป่วยที่มาพบแพทย์จึงมักป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่รุนแรงแล้ว โดยอาการที่พบบ่อยจากโรคไตเรื้อรัง เช่น

  • ปัสสาวะผิดปกติ: อาจปริมาณมาก ปริมาณน้อย ไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะอาจขุ่นหรือใสเหมือนน้ำ อาจสีเข้ม เป็นฟองมาก มีเลือดปน และ/หรือ มีกลิ่นผิดปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป ทั้งนี้เป็นเพราะของเสียที่สะสมในร่างกายส่งผลต่อต่อมรับรสชาติและ/หรือประสาทรับรสชาติ
  • คลื่นไส้อาเจียน จากการสะสมของของเสียเช่นกันที่มีผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมอาการนี้ รวมถึงมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
  • คันโดยไม่ขึ้นผื่น จากของเสียต่างๆ ในเลือดก่อการระคายเคืองต่อผิวหนัง  
  • ซีด: เพราะปกติเซลล์ไตจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งซึ่งจะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก ดังนั้นเมื่อเซลล์ไตเสียไป ฮอร์โมนชนิดนี้ก็ถูกสร้างลดลงไปด้วย จึงส่งผลถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูกให้ต่ำลงจนเกิดโรคซีด
  • มีน้ำในร่างกายมาก เพราะไตขับออกไม่ได้ จึงเกิดอาการบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบตาก่อน
  • เมื่อเป็นมาก จะเกิดอาการของไตวาย เช่น สับสน โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การป้องกันโรคไต คือ การกินอาหารจืด จำกัดการกินอาหารเค็ม และการหลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ป้องกันและรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า โรคจิตชนิดต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีเพียงคำอธิบายกว้างๆ ในการอธิบายสาเหตุไว้ว่า

  1. เกิดจากความกดดันหรือความเครียดที่รุนแรงของชีวิต
  2. เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของระบบสมองและพันธุกรรม
  3. เกิดจากยาหรือสารเคมีที่ผู้ป่วยเสพเข้าไป
  1. โรคจิตเภท (Schizophrenia): เป็นโรคจิตที่มีอาการรุนแรงที่สุด มีความเรื้อรังและทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสื่อมของบุคลิกภาพและความสามารถทั่วๆ ไปได้มากที่สุด ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะต้องรับการรักษาตลอดไป อาการที่พบจะพบได้ทั้งอาการหลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน และความคิดที่ไม่เป็นระบบ
  2. โรคหลงผิด (Delusional Disorder): อาการที่พบในโรคนี้ก็คือการมีความหลงผิดๆ ในบางเรื่อง เช่น หลงผิดว่าถูกปองร้ายโดยใครบางคน แต่มักจะไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ในโรคนี้บางครั้งจะดูลักษณะภายนอกของผู้ป่วยไม่ออกเพราะทุกอย่างจะดูปกติดี แต่เมื่อได้ฟังความคิดในเรื่องที่ผู้ป่วยหลงผิดก็จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ไม่ยาก
  3. โรคจิตที่เกิดจากยาและสาร/ยาเสพติด
  4. โรคจิตที่เกิดจากความกดดันหรือความเครียดของชีวิต
  1. การใช้ยารักษาอาการทางจิต: เป็นการรักษาที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง ดังนั้นการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ำเสมอจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  2. การทำจิตบำบัด: โดยเฉพาะโรคจิตที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดและโรคจิตที่เกิดจากความเครียดของชีวิต เพราะอาการทางจิตเป็นเพียงผลของปัญหา การบำบัดทางจิตเพื่อขจัดต้นตอของปัญหาย่อมมีความจำเป็น จิตแพทย์จะให้การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการทางจิตดีขึ้นแล้ว และมักจะให้การรักษาร่วมกับการใช้ยาเสมอ
  3. การทำครอบครัวบำบัด: คือ การทำให้ญาติมีความเข้าใจกับปัญหาและความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมากขึ้น ช่วยทำให้ญาติสามารถจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น มีความรู้สึกเครียดกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยน้อยลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยในระยะยาว

1. ในช่วงแรกๆผู้ป่วยมักจะปฏิเสธการรักษา ปฏิเสธการกินยา เพราะผู้ป่วยไม่คิดว่าตนเองป่วย ญาติจึงจําเป็นต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ําเสมอ

2. ยารักษาอาการทางจิตโดยส่วนใหญ่มักก่อให้เกิดอาการข้างเคียงคือ อาการตัวแข็ง ลิ้นแข็ง น้ำลายไหล และมักเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไม่อยากกินยาต่อไปอีก การบอกเล่าอาการให้แพทย์ทราบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะช่วยทําให้ผู้ป่วยร่วมมือในการรักษามากขึ้น

3. โรคจิตบางชนิดมีอาการเรื้อรัง ต้องใช้เวลารักษานานหรืออาจจะตลอดชีวิต การให้กําลังใจ การให้คําแนะนําในเรื่องการรักษาตัวเองหรือแม้แต่ในเรื่องทั่วๆ ไป จะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายเกิดกําลังใจที่จะต่อสู้กับความเจ็บป่วยต่อไป

4. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ จะมีความสามารถในการทํางานได้ตามปกติ ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทําหน้าที่ของตนเองต่อ

  1. หลีกเลี่ยงยาหรือสารเสพติด
  2. ออกกําลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. เรียนรู้วิธีผ่อนคลาย วิธีลดความเครียด และนํามาใช้เมื่อเกิดความเครียด

โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคทางจิตเวชที่เรื้อรังและจัดว่ารุนแรง เป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในความคิด ความรู้สึก และความประพฤติ จิตเภทเป็นโรคพบได้ทั่วโลกประมาณ1% ของประชากรทั่วโลก พบในทุกอายุ  แต่อายุช่วงที่พบโรคนี้ได้สูง คือ 20-40 ปี โดยพบในผู้ชายสูงเป็น 1.4 เท่าของผู้หญิง โรคจิตเภทแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการ ได้แก่

ก. อาการทางบวก (Positive symptoms) คือ อาการที่จะไม่เกิดในคนปกติ เช่น ประสาทหลอน หลงผิด (เช่น เชื่อแบบหลงผิดว่าตนเองเป็นเทพเจ้า) ความคิดอ่านผิดปกติ (เช่น คิดอ่าน พูดจาไม่เป็นเรื่องเป็นราว) พฤติกรรมผิดปกติ (เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ เคลื่อนไหว/ทำท่าทางแปลกๆ เดี่ยวพูด เดี๋ยวหัวเราะ พูดคุยคนเดียว)

ข. อาการทางลบ (Negative symptoms) คือ อาการที่ขาดหายไปจากอาการของคนปกติ เช่น ไม่มีการแสดงความรู้สึกใดๆ ไม่พูด ไม่มีอารมณ์ยินดียินร้าย

ค. อาการทางการรู้คิด (Cognitive symptoms) คือ ไม่มีสมาธิเป็นอย่างมาก จำอะไรไม่ได้ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ถึงแม้จะเป็นปัญหาที่ง่ายมากก็ตาม

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุโรคนี้ที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าเกิดจากความผิดปกติของสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง และ อาจจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เพราะพบโรคนี้ได้สูงขึ้นในคนครอบครัวเดียวกัน รวมไปถึงอาจมีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่สมอง การมีปัญหาในการคลอดที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ภาวะขาดอาหารตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ หรือมีปัญหาทางชีวิต/สังคมในครอบครัวตั้งแต่ในครรภ์หรือตั้งแต่แรกเกิด

แนวทางการรักษาโรคจิตเภท คือ การใช้ยาทางจิตเวช ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับยาตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังมีการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy =  ECT) และการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดศีรษะกรณีมาอาการปวดศีรษะ เป็นต้น การแนะนำ/ดูแล/สอนให้ผู้ป่วย และให้ครอบครัวดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตพื้นฐานประจำวันได้ด้วยตนเอง เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดภาระต่อครอบครัว

อย่างไรก็ดีการดูแลที่จำเป็นที่สุด คือ ต้องไม่ให้ผู้ป่วยขาดยา และต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามแพทย์นัดเสมอ หรือก่อนแพทย์นัดในกรณีผู้ป่วยเริ่มมีอาการผิดปกติ/อาการแปลกไปจากเดิม หรืออาการเริ่มกลับมาเลวลง

G6PD คือ เอนไซม์ที่มีความสำคัญในการช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ ซึ่งภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หรือภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency / Glucose-6-phosphatase dehydroge nase deficiency) จะมีผลให้ผู้เป็นโรคนี้มีเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งจากภาวะติดเชื้อต่างๆ การได้รับยา อาหาร และสารระเหยบางชนิด

โรค/ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องรู้จักระวังตัว เพื่อหลีกเลี่ยงจากได้รับสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น เรียนรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นถ้าได้รับสิ่งกระตุ้น และเรียนรู้การแก้ไขเบื้องต้นก่อนรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป

เมื่อมีการติดเชื้อหรือได้รับยาหรือสารเคมีที่ทำให้เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยจีซิกพีดีแตก โดยเฉพาะที่พบบ่อยคือ เม็ดเลือดแดงแตกแบบเฉียบพลันซึ่งจะเกิดใน 24- 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน/ท้องเสีย มีไข้ต่ำๆ ปวดหลัง ตามมาด้วย ปัสสาวะสีโคล่า ตาเหลืองเล็กน้อย และ มีภาวะโลหิตจาง/โรคซีด

เนื่องจากภาวะโลหิตจางในผู้ที่ขาดเอนไซม์จีซิกพีดีแบบเฉียบพลัน จะเกิดภายในเวลาไม่กี่วัน ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการ เหนื่อย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ในเด็กอาจจะไม่เล่น ไม่กินอาหาร เพราะเหนื่อยอ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร อาการภาวะโลหิตจางจะหายไปในระยะเวลาประมาณ 3-6 สัปดาห์

  • ผู้ป่วยอาจมีโลหิตจางมากจนหัวใจวาย/ ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • หากมีสารฮีโมโกลบินที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกไปค้างอยู่ในท่อไตปริมาณมากในสภาวะปัสสาวะเป็นกรด สารนี้จะตกตะกอนอุดกั้นทางเดินปัสสาวะหรือท่อไต ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
  • การแตกของเม็ดเลือดแดงทำให้สารโพแทสเซียม (Potassium) ซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดแดงเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดมาก ซึ่งเมื่อสารนี้สูงมากเกินไป อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น
  1. ยารักษาโรค: เช่น ยาแอสไพริน ยาโรคหัวใจ ยารักษามาเลเรีย ยาซัลฟา เป็นต้น เมื่อเกิดเจ็บป่วย ผู้มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD จึงไม่ควรซื้อยากินเอง ควรพบแพทย์และต้องแจ้งแพทย์ทราบว่าเป็นโรคนี้อยู่ หรือกรณีซื้อยากินเองต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ ร่วมกับต้องแจ้งเภสัชกรว่าตนเองเป็นโรคนี้
  2. อาหาร: ผู้เป็นโรคนี้ห้ามกิน ถั่วปากอ้า ในปัจจุบันพบว่า ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ “อาจ”มีผลต่อเม็ดเลือดแดงได้เช่นกัน เช่น บลูเบอร์รี่ ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว มะรุม โทนิค โซดาขิง เป็นต้น โดย”อาจ”มีผลต่อผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ผู้เป็นโรคนี้จึงจำเป็นต้องสังเกตและเรียนรู้ด้วยตัวเองว่ามีอาการผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่ เมื่อกินอาหารชนิดนั้นๆ /อาหารต่างๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ถ้ามีก็ควรหลีกเลี่ยงในการบริโภคโอกาสต่อไป
  3. สารระเหยเพื่อช่วยดับกลิ่น: เช่น ลูกเหม็น การบูร พิมเสน เป็นต้น
  4. ภาวการณ์ติดเชื้อต่างๆ (โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ): อาจเป็นได้ทั้งจาก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อสัตว์เซลล์เดียว เช่น เป็นโรคหวัด/ไข้หวัด (จากเชื้อไวรัส) หลอดลมอักเสบ (อาจจากแบคทีเรียหรือไวรัส) มาลาเรีย (จากสัตว์เซลล์เดียว) ก็ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้

ปัสสาวะบ่อย/ ฉี่บ่อย (Frequent urination) เป็นอาการไม่ใช่โรค เป็นอาการปวดปัสสาวะที่ทำให้ต้องรีบเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าที่เคยเป็น เกิดได้ทั้งในเวลากลางวันและ/หรือกลางคืน ทั้งนี้ ปัสสาวะบ่อยไม่ขึ้นกับปริมาณน้ำปัสสาวะที่มากเท่านั้น แต่เป็นได้ทั้งจาก ปริมาณปัสสาวะปกติ น้อยกว่าปกติ หรือมากกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์การปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่จะประมาณไม่เกิน 8 ครั้งในช่วงกลางวัน และไม่ควรเกิน 1 ครั้งในช่วงกลางคืน ซึ่งถ้าบ่อยกว่านี้ถือว่าเป็น ‘ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ’ พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยเพศหญิงมักเกิดในวัยหมดประจำเดือน ส่วนเพศชายมักเกิดจากมีต่อมลูกหมากโต

  • โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยจากมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำและมักเป็นโรคที่ก่อการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อของปลายประสาทต่างๆ รวมถึงของกระเพาะปัสสาวะ จึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากผิดปกติ
  • ภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง เพราะการขาดฮอร์โมนเพศ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงกระเพาะปัสสาวะขาดการยืดหยุ่น แห้ง และติดเชื้อได้ง่าย จึงเป็นสาเหตุให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง มีการบีบตัวผิดปกติ และติดเชื้อได้ง่าย
  • การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี
  • ในผู้ชายสูงอายุจากการมีต่อมลูกหมากโตจึงอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ/ท่อปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด น้ำปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจะก่อการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ และเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำปัสสาวะที่กักคั่งในกระเพาะปัสสาวะ จึงกระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะบ่อย
  • การตั้งครรภ์ เพราะขนาดครรภ์จะกดเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจึงเก็บน้ำปัสสาวะได้น้อยลง และยังก่อการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ จึงเกิดอาการปัสสาวะบ่อย
  • ปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด จะกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยขึ้น จึงเกิดอาการปัสสาวะบ่อย
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน/กาเฟอีนในปริมาณมาก เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มประเภทโคลา จะกระตุ้นไตให้ขับปัสสาวะมากขึ้น และบางรายงานพบว่าสารคาเฟอีนกระตุ้นกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัวมากขึ้น จึงกักเก็บปัสสาวะได้น้อยลง ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย
  • ดื่มน้ำมาก
  • จะไม่รุนแรง เมื่อสาเหตุมาจากความเครียด หรือจากการกินยาขับปัสสาวะ หรือจากภาวะหมดประจำเดือน
  • แต่ความรุนแรงจะสูงมากเมื่ออาการเกิดจากมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะบ่อยจะมีผลต่อคุณภาพชีวิต เพราะผู้ที่มีอาการนี้มักปฏิเสธที่จะเข้าสังคม หรือมักมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม และอาจรวมถึงในการงานด้วย

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ไม่ดื่มน้ำมากเกินไป และ ไม่ดื่มน้ำประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • เลิก/ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/สุรา เพราะจะเพิ่มปริมาณน้ำปัสสาวะ
  • ฝึกการทำงานของเนื้อเยื่อ/กล้ามเนื้อต่างๆ ของอุ้งเชิงกราน (การขมิบช่องคลอด /Kegel exercise) เป็นประจำตั้งแต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ไม่ต้องรอจนมีอาการ
  • ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ปัสสาวะรดที่นอน/ฉี่รดที่นอน (Bedwetting หรือ Enuresis หรือ Nocturnal enuresis) เป็นภาวะหรืออาการผิดปกติที่เกิดจากการควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ ส่งผลให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอนในช่วงนอนหลับตอนกลางคืน หรืออาจปัสสาวะรดเสื้อผ้าในช่วงกลางวัน หรือเกิดขึ้นทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน ทั้งนี้ปัสสาวะรดที่นอนจะถือเป็นภาวะปกติ เมื่อเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 4 ปี เพราะเป็นช่วงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งระบบสมองและระบบประสาทซึ่งควบคุมการปัสสาวะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เด็กวัยก่อน 5 ปีจึงไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้

ทั้งนี้ เมื่อเด็กปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่เกิด และยังคงปัสสาวะรดที่นอนต่อเนื่องจนถึงอายุ 5 ปีขึ้นไป ไม่เคยมีช่วงที่ปัสสาวะปกติเลย เรียกว่า ปัสสาวะรดที่นอนปฐมภูมิ (Primary enuresis) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยประมาณ 75-85% ของภาวะนี้ทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อช่วงเด็กเล็กปัสสาวะรดที่นอน แต่อาการหายไปจนสามารถควบคุมการปัสสาวะได้เป็นปกติติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนแล้วกลับมามี อาการซ้ำใหม่อีก เรียกว่า ปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมิ (Secondary enuresis) ซึ่งพบได้ประมาณ 15-25% ซึ่งปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมินี้จะพบได้สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

ก.ปัสสาวะรดที่นอนปฐมภูมิ: ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของปัสสาวะรดที่นอนปฐมภูมิ แต่จากการศึกษาเชื่อว่าน่าเกิดจากหลายสาเหตุ หรือหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • สมอง และ/หรือระบบประสาทที่ควบคุมการปัสสาวะเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กทั่วไป
  • อาจมีการสร้างฮอร์โมนควบคุมปริมาณน้ำปัสสาวะในช่วงกลางคืนลดลงกว่าปกติ จึงส่งผลให้ปริมาณน้ำปัสสาวะสูงกว่าคนทั่วไปในช่วงนอนหลับกลางคืน
  • อาจมีกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าคนทั่วไป
  • กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอาจทำงานลดลงในช่วงนอนหลับ
  • อาจมีโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ทำให้นอนหลับลึก เมื่อปวดปัสสาวะจึงไม่รู้สึกตัว

ข. ปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมิ สาเหตุของปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมิ ได้แก่

  • ท้องผูกเรื้อรัง เพราะก้อนอุจจาระจะส่งผลถึงการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะด้วย
  • โรคของกระเพาะปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ หรือการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติจากโรคทางประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคของต่อมไร้ท่อ ที่ส่งผลให้ลดการสร้างฮอร์โมนควบคุมปริมาณปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะจึงสูงขึ้น
  • โรคเบาหวาน (ในเด็กและในวัยรุ่น) เพราะส่งผลให้เกิดกระเพาะปัสสาวะ หรือประสาทควบคุมกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่าย
  • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
  • มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น หลับลึกจนไม่รู้ตัวว่าปวดปัสสาวะ หรือโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ  
  • โรคลมชัก
  • มีพยาธิเข็มหมุด ซึ่งกระตุ้นการบีบตัวของทวารหนัก ส่งผลกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัวผิดปกติด้วย
  • มีปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ เช่น ปัญหาจากโรงเรียน หรือ ปัญหาครอบครัว

ปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่ดูแลรักษาให้หายได้เสมอ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่แก้ไข อาจก่อผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ ต่อเด็ก จนอาจส่งผลถึงการเรียน บุคลิกภาพ และความประพฤติของเด็กได้

ปัสสาวะไม่ออก หรือ ฉี่ไม่ออก(Urinary retention) คือ อาการหรือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้หมดตามปกติ ส่งผลให้อาจไม่มีปัสสาวะออกเลยทั้งๆ ที่ปวดปัสสาวะ/เบ่งปัสสาวะเต็มที่แล้ว หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งปริมาณน้อยกว่าปกติมาก ลำปัสสาวะไม่พุ่ง ปวดปัสสาวะ/เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน บางคนอาจมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วย ปัสสาวะไม่ออกมี 2 ชนิด คือ

  1. ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน: อาการปัสสาวะไม่ออกเกิดทันที มักเกิดร่วมกับปวดปัสสาวะมากและปวดท้องน้อยมากเสมอ และอาจคลำได้ก้อนเนื้อซึ่งคือกระเพาะปัสสาวะที่ขยายใหญ่จากมีน้ำปัสสาวะคั่งที่อยู่ตรงกลางเหนือกระดูกหัวหน่าว จัดเป็น’อาการรุนแรง/ภาวะฉุกเฉิน’ ที่ต้องรีบนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที พบได้ทุกเพศทุกวัย
  2. ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง: เป็นอาการไม่รุนแรง อาการจะค่อยๆ เกิดแต่ต่อเนื่องที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิต เช่น ปัสสาวะบ่อยเพราะปัสสาวะแต่ละครั้งมักปริมาณไม่มาก มักไม่มีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย และลักษณะลำปัสสาวะจะแตก ไม่พุ่ง บางครั้งอาจไหลซึมออกมาเอง หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีการอุดกั้น/อุดตัน/กดเบียดทับ กระเพาะปัสสาวะส่วนต่อกับท่อปัสสาวะ และ/หรือภายในในท่อปัสสาวะ และ/หรือที่ปากท่อปัสสาวะ
  • การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและ/หรือของท่อปัสสาวะ:
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด: เช่น ยาแก้แพ้ ยากลุ่มแอนตี้มัสคารินิก ยารักษาโรคซึมเศร้า (TCAs) ยากลุ่มโอปิออยด์ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • อุบัติเหตุต่อกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และ/หรือ ระบบประสาทควบคุมเนื้อเยื่อ/อวัยวะในท้องน้อย เช่น ท้องน้อยถูกกระแทกรุนแรง
  • มีโรคสมอง หรือโรคไขสันหลัง หรือโรคเส้นประสาท ที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ: เช่น อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ไขสันหลังอักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ผลข้างเคียงจากการตรวจและ/หรือการรักษาโรค: เช่น หลังส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ หลังผ่าตัดในช่องท้อง/ช่องท้องน้อย การผ่าตัดอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ หลังใส่ท่อปัสสาวะหรือคาท่อไว้เป็นระยะเวลานาน
  • ปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ/โรคจิตเวช ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ต้องการปัสสาวะจึงกลั้นปัสสาวะตลอดเวลา
  • กรณีมีน้ำปัสสาวะกักคั่งมากในกรณีปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน การรักษาโดยนำน้ำปัสสาวะออกต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ร่างกายอาจเสียน้ำและ/หรือเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ จนอาจมีผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำจนอาจถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้
  • กรณีปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเพิ่มความดันในระบบทางเดินปัสสาวะจนอาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
  • การใส่สายสวนปัสสาวะ อาจเป็นสาเหตุเกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ ได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดปัสสาวะไม่ออก โดยใช้ยาแต่เท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่งและควรรู้จักผลข้างเคียงหลักของยาทุกชนิดที่ใช้
  • กินอาหารมีกากใยสูงเพื่อป้องกันท้องผูกเรื้อรัง
  • สตรีทุกคนโดยเฉพาะที่มีบุตรควรฝึกกายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้อในช่องท้องน้อย ’ขมิบช่องคลอด’เพื่อลดโอกาสเกิดมดลูกหย่อน/กะบังลมหย่อน
  • ปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ เมื่อเริ่มรู้ตัวว่ามีปัญหาในการขับถ่าย

โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่งซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวอาจแสดงอาการในหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบประสาท ผิวหนัง ตา กระดูก ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

โรคซิฟิลิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema pallidum) เชื้อชอบอยู่ในที่มีความชื้นและตายได้ง่ายในที่มีความแห้ง ถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 2 - 4 สัปดาห์หรืออาจนานถึง 3 เดือน

ระยะที่ 1: เมื่อได้รับเชื้อ บริเวณที่ได้รับเชื้อ เช่น บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ริมฝีปาก ลิ้น ต่อมทอนซิล หัวนม

  • จะเริ่มมีตุ่มเล็กๆ ขนาดประมาณ 2 - 4 มิลลิเมตร
  • จากนั้น ตุ่มจะเริ่มขยายออกมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และจะแตกออกกลายเป็นแผลที่กว้างขึ้น เป็นรูปไข่หรือวงรี ขอบมีลักษณะเรียบและแข็ง แผลมีลักษณะสะอาด บริเวณก้นแผลแข็งมีลักษณะคล้ายกระดุม ไม่มีอาการเจ็บ ปวด
  • ต่อจากนั้น เชื้อจะเข้าไปอยู่ที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ส่งผลให้มีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต
  • เมื่อทิ้งไว้แผลที่เกิดขึ้น สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา ระยะนี้เป็นระยะที่ยังไม่แสดงอาการ

ระยะที่ 2: จะพบหลังการเป็นโรคระยะแรก 2 - 3 สัปดาห์ เชื้อซิฟิลิสจะเข้าไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย เช่น บริเวณหลังหู หลังขาหนีบ และขาพับ และเข้าไปสู่กระแสเลือด รวมทั้งกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้

  • เกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย หรือเรียกว่า “ระยะออกดอก” ผื่นที่พบมีความแตกต่างจากผื่นลมพิษทั่วไป เพราะผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นที่บริเวณฝ่ามือด้วย และจะไม่มีอาการคัน ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มนูน และอาจพบมีเนื้อตายจากผื่นเป็นหย่อมๆ และพบเนื้อเน่าหลุดออกมา มีน้ำเหลือง และในน้ำเหลืองจะมีเชื้อซิฟิลิส
  • ระยะนี้เป็นระยะที่ติดต่อได้โดยง่าย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีผื่นขึ้นเลย แต่อาจจะมีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามข้อ ผมร่วงทั่วศีรษะหรือร่วงเป็นหย่อมๆ
  • เมื่อทำการตรวจเลือดในระยะนี้ จะพบว่ามีผลบวกของเลือดสูงมาก ถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษา โรคจะอยู่ใน “ระยะสงบ” โดยเชื้อจะไปหลบซ่อนตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและจะไม่แสดงอาการได้นานหลายปี เพียงแต่ตรวจเลือดให้ผลบวกเท่านั้น

ระยะที่ 3: เป็นระยะสุดท้ายของโรค หรือ ‘ระยะแฝง’ เมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่ 3 ประมาณ 3 - 10 ปีหลังจากระยะที่ 1 โดยมีอาการตามระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตาบอด เนื้อจมูกถูกทำลายจนเป็นรอยโหว่ หูหนวก ใบหน้าผิดรูป กระดูกผุบาง อาจมีสติปัญญาเสื่อม บางรายอาจมีการแสดงออกที่ผิดปกติคล้ายคนเสียสติ ถ้าเชื้อไปอยู่ที่หัวใจก็จะทำให้หัวใจมีความผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจมีลักษณะโป่งพอง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้ ถ้าเชื้อเข้าไปอยู่ที่ไขสันหลังก็จะทำให้เป็นอัมพาตและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้ในระยะที่ 1 และ
  • ถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคนี้ในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็มีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน
  • ในทารกที่ได้รับเชื้อผ่านมาจากมารดาโดยตรงโดยผ่านจากทางรก ก็จะมีอาการแสดงแต่กำเนิด
  • ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ

เชื้อซิฟิลิส สามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกแรกคลอด โดยทารกจะมีภาวะซิฟิลิสแต่กำเนิด ซึ่งพบความพิการผิดปกติ เช่น ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ตาบอด สมองเล็ก ตัวบวมน้ำ กระดูก ฟัน และจมูกยุบ นอกจากนี้ทารกจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในช่วงแรกคลอดจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ซาร์ส หรือ SARS ย่อมาจาก Severe acute respiratory distress syndrome หรือบางคนเรียกว่า กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง คือโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ SARS coronavirus โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งอาจรุนแรงจนมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง

โรคซาร์สติดต่อได้โดยการอยู่อาศัยและสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย โดยหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้ แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปาก ซึ่งเรียกโดยรวมว่าเป็น การแพร่เชื้อผ่านละอองเล็กๆ (Droplets transmission) เป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อ นอกจากนี้สันนิษฐานว่าการหายใจเอาเชื้อที่มีอยู่ในอากาศ (Air borne transmission) ก็อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้

การอยู่อาศัยและสัมผัสใกล้ชิดที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ ได้แก่ การเป็นผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคซาร์ส การอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์กัน การกอด การจูบ การสัมผัสเนื้อตัว การกินอาหารร่วมกัน การดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน การได้พูดสนทนาร่วมกันในระยะที่ใกล้กว่า 3 ฟุต ส่วนการเดินผ่าน การนั่งอยู่ในสถานที่เดียวกันโดยสถานที่นั้นไม่ได้เป็นระบบปิด ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อ

ระยะฟักตัวของเชื้อโรคซาร์ส คือตั้งแต่รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งแสดงอาการ คือ ประมาณ 2-7 วัน ในบางรายอาจนานถึง 10 วัน อาการที่จะปรากฏในผู้ป่วยทุกคนคือ ไข้สูงมาก กว่า 38 องศาเซลเซียส อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วยได้แก่ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร บางคนอาจมีถ่ายอุจจาระเหลว อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-7 วัน แล้วจะตามมาด้วยอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และหากตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือดก็จะพบว่ามีค่าลดลง (Hypoxemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง คือเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด

จากสถิติผู้ป่วยและผู้ที่เสียชีวิต(ตาย)จากโรคซาร์สทั่วโลก เฉลี่ยแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 9.6% หรือประมาณ 1 ใน 10 คน แต่หากแยกตามอายุจะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก โดยอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 24 ปีมีน้อยกว่า 1% แต่ถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50% นอกจากนี้การมีโรคประจำตัวบางอย่างก็ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หรือเป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคซาร์สที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากระบบหายใจเกิดล้มเหลว/ระบบหายใจล้มเหลวจากเชื้อไวรัสที่ไปทำลายปอดนั่นเอง ส่วนผู้ป่วยที่รอดชีวิต ในบางรายพบว่า หากทดสอบการทำงานของปอด อาจยังมีผิดปกติบ้าง หรือเอกซเรย์ปอดยังพบความผิดปกติเล็กน้อยได้นานถึงประมาณ 12 เดือน

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression ( PPD) / Perinatal depression (PND) คือ โรค/ภาวะผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดได้ทั้งกับมารดาและ/หรือบิดา หลังทารกคลอด หรืออาจเกิดในช่วงตั้งครรภ์ก่อนคลอดก็ได้ โดยเป็นอารมณ์ที่รุนแรงที่มักเกิดต่อเนื่องจากอาการมาม่าบลู (ในมารดา) หรือเบบี้บลู (ในบิดา) แต่เป็นอาการที่เกิดยาวนานและรุนแรงกว่า ซึ่งอาการต่างๆ มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนแท้จริงของโรคซึมเศร้าหลังคลอด แต่เชื่อว่าน่ามาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่  

ก. ปัจจัยทางชีวภาพ: มีหลากหลาย ที่สำคัญ เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงทั้งชนิดและระดับฮอร์โมนต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งในช่วงก่อนคลอดและช่วงหลังคลอด
  • พันธุกรรมที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า โรค/ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ อาการมาม่าบลู หรือ เบบี้บลูในผู้ชาย โดยเฉพาะที่เคยเกิดในครรภ์ก่อนๆ
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และ/หรือ ใช้สาร/ยาเสพติด
  • มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
  • มารดา บิดา อายุน้อย มักต่ำกว่า 20 ปี
  • ทารกที่เกิดมีปัญหาด้านสุขภาพหรือพิการแต่กำเนิด ซึ่งมักก่อให้เกิดความเครียดในครอบครัวโดยเฉพาะมารดาบิดา

ข. ปัจจัยทางจิตเวช: มีหลากหลายเช่นกัน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล นอนไม่หลับ/นอนน้อย ไม่มีเวลาส่วนตัว ไม่มีใครเข้าใจ ประวัติเคยมีอาการซึมเศร้า เคยมีอาการ มาม่าบลู หรือ เบบี้บลูในผู้ชาย ในครรภ์ก่อนๆ มีวิกฤติชีวิตช่วงตั้งครรภ์ เช่น หย่าร้าง ตกงาน สูญเสียคนที่รักผูกพัน ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น

อาการซึมเศร้าหลังคลอด/โรคซึมเศร้าหลังคลอดมีหลากหลายอาการ ทั่วไปเป็นอาการเกิดหลังคลอด แต่หลายคนอาจเกิดในช่วงก่อนคลอด ซึ่งลักษณะ/รูปแบบอาการที่สำคัญของโรค เช่น ซึมเศร้ารุนแรง ร้องไห้โดยไร้เหตุผลบ่อย เหนื่อยล้า หมดแรง สับสน กระวนกระวาย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิ โกรธง่าย ซึ่งอาการต่างๆ มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีอาการต่อเนื่องเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป (อาการอาจเกิดได้ตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด แต่ทั่วไปประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังคลอด กรณีที่เกิดกับบิดาอาจเกิดช่วง 3-6 เดือนหลังคลอด)

  1. มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21) ปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง โดยมาจากแม่และพ่อคนละ ครึ่ง แต่ผู้ป่วยที่เป็น Trisomy 21 นี้จะมีโครโมโซม 47 แท่ง สาเหตุคือ รังไข่ของแม่มีการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้ได้ไข่ที่มีโครโมโซม 24 แท่ง โดยมีแท่งของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาอีก 1 แท่ง การเกิด Trisomy 21 นี้ เป็นสาเหตุของ Down’s syndrome ประมาณ 94%
  2. มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา แต่จำนวนแท่งของโครโมโซมไม่เพิ่มขึ้นคือยังเป็น 46 แท่ง เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะมีการสับเปลี่ยน หรือการเคลื่อนย้ายโครโมโซมผิดปกติ (Translocation Down’s syndrome) สาเหตุเกิดจากการที่พ่อหรือแม่มีโครโมโซมผิดปกติ คือบางส่วนของแท่งโครโมโซมที่ 21 ย้ายไปติดอยู่กับโครโมโซมแท่งอื่น (ที่พบบ่อยคือไปติดอยู่กับแท่งของโครโมโซมที่ 14) และทำให้มีจำนวนโครโมโซมเหลือเพียง 45 แท่ง เรียกว่าเกิดการสับเปลี่ยน หรือเคลื่อนย้ายโครโมโซมแบบ Robertsonian translocation โดยการเกิดการเคลื่อนย้ายตำแหน่งโครโมโซมแบบ Robertsonian trans location นี้ เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 3 - 4%
  3. การที่มีเซลล์ในร่างกายบางเซลล์มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง คือมี 47 แท่ง แต่ในขณะที่บางเซลล์มีโครโมโซม 46 แท่งเหมือนปกติ (Trisomy 21 mosaicism) สาเหตุการเกิดเหมือนกับ Trisomy 21 แต่เมื่อเซลล์ตัวอ่อนที่เป็น Trisomy 21 นี้ แบ่งเซลล์เพื่อเติบโต กลับเกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติ คือเซลล์เริ่มต้นที่มีโครโมโซม 47 แท่ง เมื่อแบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์แล้ว เซลล์หนึ่งเกิดสูญเสียโครโมโซมแท่งที่ 21 ไป ทำให้เกิดเซลล์ลูกที่กลับมามีโครโมโซมเป็นปกติ คือ 46 แท่ง แต่ขณะที่เซลล์ลูกอีกเซลล์ยังมีโครโมโซม 47 แท่งเหมือนเซลล์เริ่มต้น ตัวอ่อนจึงมีเซลล์อยู่ 2 แบบ และเซลล์ทั้ง 2 แบบนี้ก็กลายเป็นเซลล์เริ่มต้นแบ่งตัวเจริญเติบโตต่อไป ให้เซลล์ลูกๆ ที่มีโครโมโซมเหมือนมัน ในที่สุดเมื่อตัวอ่อนพัฒนากลายเป็นทารกที่สมบูรณ์ ร่างกายจึงมีเซลล์ทั้ง 2 แบบ ตัวอย่างคือ ในขณะที่เซลล์ผิวหนังมีโครโมโซม 46 แท่ง เซลล์ของตับกลับมี 47 แท่ง เป็นต้น ซึ่งจะไม่เหมือนกันในแต่ละคน โดยการเกิด Trisomy 21 mosaicism นี้ เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 2 - 3%

ผู้ป่วยเป็น Trisomy 21 หรือเป็น Translocation Down’s syndrome จะมีความผิดปกติที่เหมือนๆกัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็น Trisomy 21 mosaicism ความผิดปกติจะมากหรือน้อยขึ้น กับสัดส่วนของเซลล์ที่โครโมโซม 47 แท่งในร่างกาย ยิ่งมีสัดส่วนมาก ความผิดปกติก็จะเหมือนกับผู้ป่วย Trisomy 21 แต่ถ้ามีสัดส่วนน้อย อาจแทบไม่พบความผิดปกติของรูปร่างหน้า ตาและอวัยวะต่างๆ เลยก็ได้ ความผิดปกติของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ ได้แก่

  1. รูปร่างหน้าตา: เช่น มีดวงตาเฉียงขึ้นเล็กน้อยม่านตามีจุดสีขาวเกิดขึ้น ส่วนของสันจมูกแบน ปากเปิดออก และลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก และรอยพับของหูมีมากกว่าปกติ มือสั้นและกว้าง นิ้วก้อยเอียงเข้าหานิ้วนาง นิ้วมืออ่อนสามารถดัดไปด้านหลังได้มาก ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน เป็นต้น
  2. พัฒนาการของร่างกาย: มักจะตัวเตี้ยกว่าคนในเชื้อชาติเดียวกัน และส่วนใหญ่จะอ้วน
  3. พัฒนาการของสมอง: ระดับของสติปัญญาจะอยู่ในขั้นปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงปานกลาง  
  4. พฤติกรรม: เป็นคนสุภาพ อดทน ยอมคน ไม่แข็งกร้าว ร่าเริง ยิ้มง่าย อบอุ่น ใจดี  
  5. ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ: จะเกิดความผิดปกติได้หลากหลาย บางอย่างพบเจอตั้งแต่วัยทารก บางอย่างอาจแสดงอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว เช่น ระบบหัวใจ (ผนังกั้นห้องหัวใจระหว่างห้องซ้ายและขวามีรูรั่ว) ระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหารตัน) ระบบฮอร์โมน (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์ โมน) เม็ดเลือด (โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว) ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (ติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย) ตา (สายตาสั้น ตาเข ต้อกระจกตั้งแต่แรกเกิด เยื่อบุตาอักเสบ) หู (การได้ยินลดลง) กะโหลกศีรษะและกระดูก (คอเอียง การเดินผิดปกติ) ผิวหนัง (ผิวแห้ง หนา แข็ง) ระบบประสาทและสมอง (อัลไซเมอร์ สมาธิสั้น ออทิสติก ) แต่ถ้าในวัยผู้ใหญ่แล้ว มักจะเป็นโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ
  6. ร่างกายแก่ก่อนวัย และทำให้มีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าคนปกติ
  • สะสมน้ำตาล
  • สร้างน้ำย่อยอาหาร
  • สร้างฮอร์โมนช่วยสร้างเกล็ดเลือดของไขกระดูก
  • สร้างสารช่วยการแข็งตัวของเลือด
  • สันดาป/สังเคราะห์โปรตีน และไขมัน
  • และที่สำคัญ คือ ทำลายและกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อย่าง ไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
  • การติดเชื้ออื่นๆ นอกเหนือจากเชื้อไวรัส เช่น เชื้อแบคทีเรีย (เช่น ฝีตับ) เชื้อรา พยาธิใบไม้ตับ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเกิดจากท่อน้ำดีในตับ
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด (เช่น ยาบางชนิดที่ใช้รักษาวัณโรค ยาพาราเซตามอล) หรือสารพิษบางชนิด (เช่น เห็ดพิษ หรือสมุนไพรบางชนิด)
  • โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
  • โรคมะเร็ง ทั้งชนิดที่เกิดจากเซลล์ตับเอง (โรคมะเร็งตับ) และจากโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ที่แพร่กระจายมาตับ เช่น โรคมะเร็งเต้านม แล้วแพร่กระจายตามกระแสโลหิตมาสู่ตับ
  • พันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก และมักพบเกิดตั้งแต่เป็นเด็ก เช่น โรค Hemochromatosis คือ โรคที่มีธาตุเหล็กไปจับในตับมากเกินปกติ จนเป็นสาเหตุให้ตับสูญเสียการทำงาน เป็นต้น

อาการจากโรคตับ มีได้หลากหลายอาการ ขึ้นกับสาเหตุ แต่อาการโดยรวมที่มักคล้ายคลึงกันในทุกสาเหตุและทำให้แพทย์คิดถึงโรคของตับ ได้แก่

  • เจ็บใต้ชายโครงขวา หรือเจ็บ/ปวดท้องด้านขวาตอนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
  • ตัว/ตาเหลือง (โรคดีซ่าน)
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข็ม ร่วมกับอุจจาระสีซีด
  • มีน้ำในท้อง หรือท้องมาน มักร่วมกับอาการบวมเท้า
  • เมื่อเป็นมาก ลมหายใจอาจมีกลิ่นออกหวาน (กลิ่นของสารตกค้างในร่างกาย เช่น สารที่เรียกว่า Ketone) สับสน อารมณ์แปรปรวน มือ เท้า กระตุก และมือสั่น
  • ภาวะตัวตาเหลือง (โรคดีซ่าน)
  • การมีน้ำในช่องท้อง
  • ภาวะตับวาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิตที่วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท (mmHg) ขึ้นไป ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท โดยโรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 ชนิด/กลุ่ม คือ

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (Essential hypertension หรือ Primary hypertension) ซึ่งพบได้สูงประมาณ 90-95%ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ซึ่งเชื่อว่าน่าเกิดจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ที่สำคัญคืออิทธิพลของเอนไซม์และฮอร์โมนที่เรียกว่ากระบวนการ ‘Renin-Angiotensin system’ นอกจากนั้นยังขึ้นกับพันธุกรรม เชื้อชาติ การกินอาหารเค็ม/อาหารมีแกลือโซเดียมสูง
  • ชนิดทราบสาเหตุ (Secondary hypertension) พบได้ประมาณ 5-10% ของโรคนี้ มักเกิดจากโรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อหลอดเลือด ต่อหัวใจ ต่อสมดุลของฮอร์โมน และ/หรือเกลือแร่ในร่างกายที่พบบ่อย เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงไต การติดสุรา หรือจากฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายที่ผิดปกติ
  • พันธุกรรม: โอกาสมีความดันโลหิตสูง จะสูงขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • โรคเบาหวาน: เพราะก่อให้เกิดการอักเสบที่ต่อเนื่องเป็นการตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งของไต
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน: เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่างๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด (โรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
  • โรคไตเรื้อรัง: เพราะจะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  • โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
  • สูบบุหรี่: เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตัน ของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดไต และหลอดเลือดหัวใจ
  • การติดสุรา: ซึ่งการศึกษาต่างๆ ให้ผลตรงกันว่า คนที่ติดสุราจะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 50% ของผู้ติดสุราทั้งหมด
  • กินอาหารเค็มสม่ำเสมอ/ต่อเนื่อง
  • ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

ความสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงคือเป็นโรคที่มักไม่มีอาการ แพทย์บางท่านจึงเรียกโรคความดันโลหิตสูงว่า “เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ ถ้ามีอาการส่วนใหญ่ ได้แก่ อาการปวดศีรษะต่อเนื่อง มึนงง วิงเวียน สับสน

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่สำคัญ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดย

  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน และจำกัดอาหาร ไขมัน แป้ง น้ำตาล และอาหารเค็ม เพิ่มผักและผลไม้ชนิดไม่หวานให้มากๆ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาสุขภาพจิต
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่ม/จำกัดสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจสุขภาพประจำปี