เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 2 – สาเหตุแห่งโรค (2)

 

เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 2 – สาเหตุแห่งโรค (2)

 

นายแพทย์ ไอแซค เจ็นนิ่งส์ (Isaac Jennings, M.D.) เป็นผู้ให้กำเนิด (Founder) ปรัชญา “สุขอนามัยตามธรรมชาติ” (Natural hygiene) ซึ่งเป็นชุดของหลักการ (Set of principles) ที่กล่าวว่า ผู้คนตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ได้ดำเนินการ (Practice) เพื่อให้บรรลุ และดำรงไว้ ซึ่งสุขภาวะสมบูรณ์ (Optimum health) หลักการดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสนองตอบความต้องการของร่างกายตามธรรมชาติ

นายแพทย์ จอห์น เอช ทิวเด้น (John H. Tilden, M.D.) กล่าวว่า “ผมได้สั่งยา (Prescribe) ในรักษาผู้ป่วยมาเป็นเวลา 25 ปี และมิได้สั่งยาในรักษาผู้ป่วยมาเป็นเวลา 33 ปี ทำให้ผมเชื่อว่า ยาเป็นสิ่งไม่จำเป็น และในกรณีส่วนมากเป็นอันตราย (Injurious) แต่มีคุณค่า (Worth) บางอย่างแก่ผู้ที่อยากรู้ความจริง”

อย่าลืมว่า เราไม่อาจวางยาพิษ (Poison) ให้ร่างกาย เพื่อให้แข็งแรงขึ้น

แล้วโรค (Disease) เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สรุปง่ายๆ (Nutshell) ก็คือ เชื้อโรคเกิดขึ้นเมื่อผู้คนยอมให้ร่างกายตนเอง ลดพลังงานประสาท (Nerve energy) ลง ผลที่ตามมา (Consequence) ก็คือ อวัยวะกำจัด (Organ of elimination) ไม่สามารถทำงาน (Function) ได้ตามปรกติ ของเสีย (Waste) จึงได้สะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อของเสียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกินกว่าจุดที่ร่างกายจะยอมรับได้ (Toleration) วิกฤตการณ์ก็เกิดขึ้น เพื่อหักล้าง (Offset) ปริมาณเกิน (Over-abundance) ของสิ่งที่เป็นพิษ (Poisonous matter) เหล่านี้ ร่างกายก็เริ่มตอบโต้ ผลจากปฏิกิริยา (Reaction) นี้ คือสิ่งที่เราเรียกว่า “โรคภัยไข้เจ็บ”

ร่างกายมนุษย์ เกิดจากการสร้างที่วิเศษ (Marvelous creation), การเผาผลาญเชื้อเพลิง (Fuel) อย่างต่อเนื่อง, การกำจัดของเสียจากการสันดาป (Combustion), และการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (Tissue re-building) โดยการทดแทน (Replace) เซลล์ที่ตายแล้วด้วยเซลล์ใหม่

ทุกๆ 7 ปี เซลล์ทุกๆ ตัวในร่างกายของเรา จะถูกทดแทน ซึ่งหมายความว่า ในช่วงเวลา 7 ปี จำนวนเซลล์ที่ตายหลายร้อยกิโลกรัม จะถูกกำจัดทิ้งโดยตัวมันเอง ซึ่งต้องอาศัยพลังงานมากของร่างกายในการรับมือ (Handle) กับมัน

นอกจากนี้ เนื่องจากการขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ, หรือปราศจากน้ำ, หรือความพยายามที่จะย่อย (Digest) อาหารขยะ (Junk food), หรือผลทำลาย (Damaging effect) ของการบริโภคเกินปริมาณ (Over-eating) ซึ่งล้วนสร้างของเสียจำนวนมหาศาล (Enormous) ให้เป็นภาระแก่ร่างกาย

เมื่อภาระเกินกำลัง (Over-load) ที่ร่างกายจะรับมือได้ จึงเกิดมีสารพิษ (Toxin) เข้าสู่ร่างกายมากกว่าออกจากร่างกาย การสะสม (Accumulation) ของสารพิษดังกล่าว ทำให้ร่างกายสูญเสียความแข็งแกร่ง (Integrity)

แหล่งข้อมูล:

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Disease [2021, October 12].
  3. John H. Tilden - https://en.wikipedia.org/wiki/John_Henry_Tilden [2021, October 12].