คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)

สารบัญ

ทั่วไป

ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ถูกสังเคราะห์ขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1976 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันและรักษาการติดเชื้อราทางผิวหนัง มีการนำยานี้มาใช้รักษาเชื้อรากับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง หรือผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด รูปแบบของยาที่มีวางขายตามร้านขายยาและสถานพยาบาล เช่น แชมพูขจัดรังแค ยาครีมทาผิวหนัง ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

ยานี้สามารถดูดซึมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด จึงมีการแนะนำไม่ให้รับประทานยาพร้อมกับยาลดกรดด้วยทำให้การดูดซึมลดลง

ยาคีโตโคนาโซลถูกขับออกจากร่างกายทางน้ำดีและทางปัสสาวะ มีการทดสอบการใช้ยากับสัตว์ทดลองที่ตั้งครรภ์พบว่าก่อให้เกิดความพิการของตัวอ่อนในครรภ์ จึงห้ามใช้ยาคีโตโคนาโซลชนิดรับประทานในหญิงมีครรภ์ ด้วยอาจก่อให้เกิดความพิการต่อทารกหรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาควรต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น

ยาคีโตโคนาโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาคีโตโคนาโซล มีสรรพคุณใช้รักษาโรคเชื้อราทางผิวหนังเช่น กลาก (Tinea) เกลื้อน (Pityriasis versicolor) เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal candidiasis)

ยาคีโตโคนาโซลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาคีโตโคนาโซล ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์สารอาหารในเชื้อรา พร้อมกับลดการลำเรียงสารอาหารที่ผนังเซลล์ของเชื้อรา จนทำให้เชื้อราขาดสารอาหารและหยุดการเจริญ เติบโตในที่สุด

ยาคีโตโคนาโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาคีโตโคนาโซล มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบของยารับประทานที่เป็นยาเม็ด ยาครีมทาผิวหนัง และยาน้ำในรูปแบบของแชมพูสระผม

ยาคีโตโคนาโซลมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ขนาดของยาคีโตโคนาโซล ที่รับประทานในผู้ใหญ่สำหรับการรักษาโรคเชื้อรามีขนาดสูง สุดไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 14 วัน แต่ความเหมาะสมในการปรับขนาดรับประทานต้องให้แพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้นเป็นผู้แนะนำและสั่งจ่ายการใช้ยากับผู้ป่วย

ส่วนยาครีมทาผิวหนัง และยาน้ำในรูปแบบแชมพูสระผม

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้ง ยาคีโตโคนาโซล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติการแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว ขึ้นผื่น คลื่นไส้มาก หรือ แน่นหายใจติดขัด
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือ เกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านรกและเข้าสู่ทารกจนก่อผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา รวมทั้ง ยาคีโตโคนาโซล สามารถรับประทานทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลารับประทานใกล้เคียงกับการกินยาในมื้อถัดไปไม่จำเป็นต้องใช้ยาเป็นสองเท่า

ยาคีโตโคนาโซลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงของยาคีโตโคนาโซล คือ

  • อาการทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดภาวะผื่นคัน และยาทา ยาแชมพู ยังอาจก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยตรงได้
  • ในรูปแบบยารับประทาน อาจทำให้รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหารโดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สามารถก่อให้เกิดเพิ่มความดันในศีรษะ ส่งผลให้มีอาการ ปวดศีรษะ มึนงง/ วิงเวียน ตามมาได้

อนึ่ง

การใช้ยาคีโตโคนาโซลทุกรูปแบบ ถ้าซื้อยาใช้เอง และอาการไม่ดีขึ้น ในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังใช้ยา หรือ เมื่ออาการเลวลง ควรต้องพบแพทย์เสมอ เพราะการใช้ยาต่อเนื่อง นอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังอาจเกิดผลไม่พึงประสงค์จากยาได้

มีข้อควรระวังการใช้ยาคีโตโคนาโซลอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาคีโตโคนาโซล คือ

  • ระวังการใช้ยาในผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคตับ
  • ห้ามใช้ยาชนิดรับประทานในหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยานี้
  • ควรปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ

ยาคีโตโคนาโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

การรับประทานยาคีโตโคนาโซล ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดอา การ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และผื่นคัน ได้ การใช้ยาคีโตโคนาโซล ร่วมกับยารักษาอาการวิตกกัง วล สามารถทำให้ระดับของยาดังกล่าวอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานมากขึ้น และอาจนำไปสู่ภา วะ ง่วงซึม อ่อนล้า ยารักษาอาการวิตกกังวล ที่กล่าวถึง เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) การใช้ยาคีโตโคนาโซล ร่วมกับยาลดกรด สามารถทำให้การดูดซึมของ ยาคีโตโคนาโซลต่ำลงและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา ยาลดกรดที่กล่าวถึง เช่น อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide)

ควรเก็บรักษายาคีโตโคนาโซลอย่างไร?

ยาคีโตโคนาโซลชนิดรับประทานให้เก็บที่อุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส (Celsius) ส่วนชนิดทาผิวหนังให้เก็บภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส

ยาคีโตโคนาโซลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่อทางการค้าและบริษัทที่ผลิตยาไตรแอมซิโนโลน ในประเทศไทย เช่น

ชื่อการค้า ผู้ผลิต
AC-FA (แอค-ฟา) Phamasant Lab
Chintaral (ชินตารอล) Chinta
Chintoral (จินโตรอล) Chinta
Dandril (แดนดริล) Osoth Interlab
Dezor (ดึซอร์) HOE Pharmaceuticals
Diazon (ไดเอซอน) Unison
Diazon Cream (ไดเอซอน ครีม) Unison
Fungazol (ฟังกาซอล) Biolab
Fungiderm-K (ฟังจิเดอร์ม-เค) Greater Pharma
Fungiderm-K Tablet (ฟังจิเดอร์ม-เค แทปเลท) Greater Pharma
Funginox (ฟังจินอก) Charoen Bhaesaj Lab
Funginox Solution (ฟังจินอก โซลูชั่น) Charoen Bhaesaj Lab
Fungizin (ฟังจิซิน) Utopian
Kandex (แคนเดกซ์) Burapha
Kandex Shampoo (แคนเดกซ์ แชมพู) Burapha
Kara Shampoo (คารา แชมพู) Polipharm
Katsin (แคทซิน) M&H Manufacturing
Kazinal (คาซินอล) Asian Pharm
Kenazol (คีนาซอล) Pharmasant Lab
Kenoral (คีโนรอล) General Drugs House
Kenoral Tablet (คีโนรอล แทปเลท) General Drugs House
Ketazon (คีตาซอน) Siam Bheasach
Ketazon Tablet (คีตาซอน แทปเลท) Siam Bheasach
Ketocine (คีโตซิน) Medicine Products
Ketoconazole GPO (คีโตโคนาโซล จีพีโอ) GPO
Ketoconazole T P (คีโตโคนาโซล ที พี) T P Drug
Ketolan (คีโตแลน) Olan-Kemed
Ketomed (คีโตเมด) Medifiveb
Ketonazole (คีโตนาโซล) Polipharm
Ketonazole Cream (คีโตนาโซล ครีม)) Polipharm
Ketopac (คีโตแพค) Inpac Pharma
Ketoral (คีโตรอล) Community Pharm PCL
Kotoral Cream (คีโตรอล ครีม) Community Pharm PCL
Ketozal (คีโตซอล) Pond’s Chemical
Kezole (คีโซล) Pharmahof
Kezon (คีซอน) Osoth Interlab
Konaz (โคแนซ) Utopian
Konazol (โคนาซอล) P P Lab
Larry (ลาร์รี) Unison
Liquimed (ไลควิเมด) Greater Pharma
Manoketo (มาโนคีโต) March Pharma
Manoketo Tablet (มาโนคีโต แทปเลท) March Pharma
Masarol (มาซารอล) Masa Lab
Mizoco (ไมโซโค) Farmaline
Mizoron (ไมโซรอน) Milano
Mycella (มายเซลลา) Silom Medical
Myco-Shampoo (มายโค-แชมพู) T. Man Pharma
Mycoral (มายโครอล) T. Man Pharma
Mycoral Tablet (มายโครอล แทปเลท) T. Man Pharma
Nazole (นาโซล) Medicpharma
Ninazol (ไนนาซอล) T. O. Chemicals
Ninazol Tablet (ไนนาซอล แทปเลท) T. O. Chemicals
Nizoral Cream (ไนโซรอล ครีม) Janssen-Cilag
Nizoral Cool Cream (ไนโซรอล คูล ครีม) Janssen-Cilaga
Nizoral Shampoo (ไนโซรอล แชมพู) Johnson & Johnson
Nizoral Shampoo (ไนโซรอล แชมพู) Johnson & Johnson
Nizoral Tablet (ไนโซรอล แทปเลท) Janssen-Cilag
Nora (นอรา) Thai Nakorn Patana
Nora Cream (นอรา ครีม) Thai Nakorn Patana
Nora Shampoo (นอรา แชมพู) Thai Nakorn Patana
Pasalen (พาซาเลน) Pharmaland
SP-Keto Cream (เอสพี-คีโต ครีม) Impac Pharma
SP-Keto Tablet (เอสพี-คีโต แทปเลท) Impac Pharma
Sporaxyl Cream (สโพราซิล ครีม) Bangkok Lab & Cosmetic
Sporoxyl (สโพราซิล) Bangkok Lab & Cosmetic

บรรณานุกรม

  1. Drug Information Handbook 20th edition with Charles Flacy RPh. Ms, Pharm D FCSHP , Lora L.Armstrong RPh, PharmD BCPS , Morton P.Goldman, RPh, PharmD BCPS,FCCP , Leonard L. RPh. BSPharm [2013,Jan25].
  2. http://www.mims.com/Hongkong/drug/info/ketoconazole/?type=full&mtype=generic#Dosage