กระดานสุขภาพ

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีอะไรกัน
Pang*****1

22 กรกฎาคม 2556 03:50:55 #1

1.การมีเพศสัมพันธ์ตอนเมนส์ยังไม่มา จะท้องมั๊ย

2.ยาคุมกำเนิดมีผลอย่างไรแล้วใช้อย่างไร

3.ถุงยางช่วยไม่ให้ท้องได้จิงเหรอ

4.ทำแท้งดีหรือไม่ดี

(ปล.ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ^^)

อายุ: 12 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 32 กก. ส่วนสูง: 147ซม. ดัชนีมวลกาย : 14.81 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Pang*****1

27 กรกฎาคม 2556 02:18:35 #2

ตอบหน่อยค่าาาาาาาาาาาา

หลายวันแล้วค่าาาาาาาาาา

อยากรู้ค่าาาาาาาาาาาาาาา

Haamor Admin

(Admin)

29 กรกฎาคม 2556 10:42:35 #3

ถึง คุณ panggang_2121

การตอบคำถามของทีมคุณหมอขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ความยากของคำถาม ความสะดวกของคุณหมอ ฯลฯ คุณหมอบางท่านติดภารกิจในบางครั้งไม่สามารถตอบในทันทีได้ บางคำถามอาจต้องรอหลายวันหน่อย ดังนั้นหากรอได้ทุกคำถามมีคำตอบให้แน่นอนค่ะ

Pang*****1

29 กรกฎาคม 2556 12:44:11 #4

ค่ะแต่ขอให้ตอบสองข้อนี้ได้มั๊ยคะ

มีเพศสัมพัรธ์ตอนช่วงไม่มีเมนส์จะท้องมั๊ย

ยาคุมกับถุงยางป้องกันการท้องได้หรือเปล่า

Haamor Admin

(Admin)

30 กรกฎาคม 2556 09:52:32 #5

ถึง คุณ panggang_2121

อย่างที่เรียนให้ทราบแล้วนะคะ ว่าในบางครั้งคุณหมอบางท่านอาจติดภารกิจทำให้ไม่สามารถตอบในทันทีได้ ดังนั้นขอให้ใจเย็นๆนะคะ ถ้ายังไง admin ขอแนะนำให้อ่านบทความจากเว็บไซต์ของเรา ตามลิ้งด้านล่างนี้นะคะ ซึ่งบทความน่าจะพอให้คำตอบในเบื้องต้นแก่คุณได้บ้างคะ

  1. http://haamor.com/th/การตั้งครรภ์/
  2. http://haamor.com/th/ถุงยางอนามัยชาย/
  3. http://haamor.com/th/ยาเม็ดคุมกำเนิด/
พ*****

4 สิงหาคม 2556 14:58:22 #6

1. ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด คือการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันตกไข่ ซึ่งแต่ละคนจะไม่ตรงกันขึ้นกับรอบประจำเดือนของแต่ละคน โดยปกติการตกไข่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ก่อนการมีประจำเดือนรอบถัดไปมา การนับวันปลอดภัย หน้า 7 หลัง 7 หมายถึง ก่อนประจำเดือนรอบถัดไปมา 7 วันจนถึงภายใน 7 วันนับจากการมีประจำเดือนมาวันแรก ถือเป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ครรภ์น้อยเพราะห่างจากช่วงตกไข่ แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้เพียงวิธีเดียวในการคุมกำเนิดถ้าหากยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ เพราะมีโอกาสที่การตกไข่ในแต่ละรอบของเรานั้นไม่สม่ำเสมอ ไข่ตกก่อนหรือหลังจากวันที่คาดคะเนและมีโอกาสทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูง และเหมาะกับผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือนและรอบห่างมากกว่า 28-30 วันเท่านั้น หากไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ควรใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เช่น ถุงยางอนามัย โดยอาจจะใช้ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมยรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพค่ะ

2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
ข้อดีคือ มีประโยชน์ในแง่การควบคุมรอบประจำเดือนให้สม่ำเสมอ ลดอาการปวดประจำเดือน ลดปริมาณประจำเดือน ยาเม็ดคุมกำเนิดบางยี่ห้อสามารถลดเรื่องสิว ผิวมัน ขนดก หรือกลุ่มอาการก่อนเป็นประจำเดือน เช่น อาการหงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เมื่อใช้ในระยะยาวสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หลังหยุดรับประทานยามักจะมีไข่ตกได้เร็ว มีข้อเสียคือ ต้องรับประทานยาทุกวัน หากลืมรับประทานจะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง มีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ ไม่ควรใช้ในรายที่น้ำหนักตัวเกิน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันจึงไม่ควรใช้ในรายที่อายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ ห้ามใช้ในโรคตับ ผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมน

หลักการเลือกใช้การคุมกำเนิดนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ เช่น อายุ น้ำหนักตัว โรคประจำตัว การแพ้ยา และขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการคุมกำเนิด และการวางแผนการมีบุตร ส่วนข้อดี ข้อเสีย และข้อห้ามใช้ยาสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทความสุขภาพของเว็บไซด์ และควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และเลือกการคุมกำเนิดที่เหมาะสมค่ะ

การรับประทานยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง คือ

  1. ต้องมั่นใจว่าไม่ตั้งครรภ์
  2. เริ่มรับประทานเมื่อเป็นประจำเดือนไม่เกิน 5 วันนับจากการเป็นประจำเดือนวันแรก โดยที่จะต้องมั่นใจว่าเลือดที่ออกเป็นประจำเดือนที่ปกติ ไม่ไช่เลือดออกกะปริบกะปรอย หรือเลือดที่ออกระหว่างรอบประจำเดือนจริง
  3. ต้องรับประทานยาสม่ำเสมอทุกวัน ควรรับประทานตรงเวลา
  4. หากลืมรับประทานยา 1 เม็ดให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้และรับประทานเม็ดต่อไปตามเดิม
  5. ยาปฏิชีวนะบางชนิด มีผลลดประสิทธิภาพการคุมกำเนิดของยาได้ ก่อนรับประทานยาจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน
  6. เมื่อจะเริ่มรับประทานยาแผงถัดไป สำหรับยาคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ดให้เริ่มแผงถัดไปในวันรุ่งขึ้นหลังจากยาเม็ดสุดท้ายหมด ส่วนชนิด 21 เม็ดให้เว้นไม่เกิน 7 วันหลังจากยาเม็ดสุดท้ายหมดแล้วเริ่มแผงถัดไปโดยไม่ต้องสนใจว่าประจำเดือนจะเริ่มมาวันใด

ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนสูงถึง 99 เปอร์เซนต์ในทางทฤษฎี แต่โดยทางปฏิบัติเมื่อใช้จริงกับประชากรทั่วไปอาจจะลดลงเป็นประมาณ 92-97 เปอร์เซนต์ แปลว่าถึงแม้จะรับประทานยาอย่างถูกต้องก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ค่ะแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม

3. ถุงยางอนามัยมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ และยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ ด้วย ในกลุ่มประชากรทั่วไปอาจมีโอกาสตั้งครรภ์จากการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ได้ถึง 18-20% แต่ถ้าหากใช้อย่างถูกวิธี สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง สวมก่อนการสอดใส่ และสวมตลอดการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่สารหล่อลื่นใดๆที่มีผลสลายยาง และตรวจสอบทุกครั้งหลังการใช้งานว่าไม่มีการแตกรั่ว โอกาสตั้งครรภ์ก็จะน้อยมากค่ะ

4. การทำแท้ง ตามกฎหมายสามารถทำให้เมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คือ เมื่อการตั้งครรภ์นั้นมีผลต่อสุขภาพของมารดา เช่น มารดามีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่นโรคหัวใจ ที่เมื่อตั้งครรภ์ต่อไปอาจทำให้มารดาเสียชีวิตได้ ก็สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยแพทย์ และทำให้สถานพยาบาล อีกกรณีหนึ่งคือ การตั้งครรภ์นั้นเกิดการการข่มขืนก็สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยทั่วไปมี 2 วิธีในการยุติการตั้งครรภ์คืิ การดูดหรือขูดมดลูก และการใช้ยา ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และสภาวะของสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทำได้ค่อนข้างปลอดภัยหากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความชำนาญ แต่หากกระทำโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ หรือการทำแท้งเถื่อน มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก เช่น มดลูกทะลุ ตกเลือด มดลูกติดเชื้อ ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวาย การทำแท้งจึงไม่ใช่เรื่องเล่น และหากมีความจำเป็นหรือมีข้อบ่งชี้ๆควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เท่านั้น