กระดานสุขภาพ

เสี่ยงติดเชื้อ HIV หรือไม่
Anonymous

7 ธันวาคม 2561 00:12:29 #1

สวัสดีครับ

  ได้ไปมีเพศสัมพันกับหญิงบริการโดยมีการสวมถุงยางและหญิงสาวได้ทำการออรัส แล้วสอดใส่ช่องคลอด ทำกิจกรรมสักพักแล้วก็ยกเลิกการสอดใส่ ต่อมาหญิงสาวได้ช่วยถอดถุงยางแล้วใช้มือนั้นมาช่วยผมประมาณ 2-3 นาที แล้วผมก็ได้เข้าห้องน้ำล้างอวัยวะเพศด้วยน้ำเปล่า

1. เหตุการณ์แบบข้างต้นนี้เสี่ยงติดเชื้อ HIV หรือไม่ครับ?

2. หลังจากมีเพศสัมพันกับหญิงบริการแล้วประมาณ 30 นาที ได้ไปมีเพศสัมพันกับหญิงอื่นที่ไม่มีเชื้อ HIV โดยไม่สวมถุงยาง หญิงคนนี้จะติดเชื้อ HIV หรือไม่ครับ?

2. เนื่องจากไม่มั่นใจเลยได้ไปขอรับยาต้าน HIV ฉุกเฉิน PEP มาทานประมาณ 48 ชม. หลังเสี่ยง โอกาสไม่ติดเชื้อกี่เปอร์เซ็นครับ

ขอบคุณครับ

อายุ: 27 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 54 กก. ส่วนสูง: 162ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.58 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
รศ.พญ. สายฝน ชวาลไพบูลย์

(สูติ-นรีแพทย์)

8 ธันวาคม 2561 01:13:03 #2

การมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ โดยที่ไม่ได้สวมใส่ถุงยางอนามัย อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของการ ติดเชื้อ hiv ได้ค่ะ เพราะถ้าหญิงบริการมีเชื้ออยู่ในตัวเมื่อมีการสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในช่องคลอด อาจจะทำให้เกิดรอยถลอกและทำให้มีบาดแผล ถ้ามีเชื้อเอชไอวีก็จะผ่านมาที่ตัวเรา และทำให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกันค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีการสวมใส่ถุงยางอนามัยด้วยก็ตาม ที่บริเวณผิวภายนอกก็ยังมีร่องรอยของการสัมผัสกัน ซึ่งอาจจะมีรอยถลอกเล็กๆโดยที่เราไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในขณะเสียดสีหรือการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีโดยการทานยาต้านเชื้อไวรัสฉุกเฉิน อาจจะสามารถลดปริมาณไวรัสในเลือดได้แต่ก็คงไม่สามารถตอบได้ 100% ว่าคุณจะมีความปลอดภัย ดังนั้น ถ้าไม่สบายใจแนะนำว่าคุณควรไปทำการตรวจเลือดเพื่อดูเชื้อ HIV ว่ามีอยู่ในกระแสเลือดหรือไม่ โดยสามารถทำการตรวจได้หลังจากมีความเสี่ยงในการรับเชื้อ ประมาณ 48 ชั่วโมง ซึ่งก็น่าจะตรวจเจอ หรืออาจจะตรวจเลือดเพื่อดูแอนตี้บอดี้ของเชื้อเอชไอวีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายไปแล้วประมาณ 3 เดือน การที่คุณไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่คุณมั่นใจว่าไม่มีเชื้อ HIV แต่คุณไม่มั่นใจว่าตัวเองมีเชื้อ HIV หรือไม่ ย่อมทำให้หญิงนั้นมีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ด้วยได้เช่นกัน ตอนนี้ก็คงต้องรอเวลาเพื่อตรวจพิสูจน์ในเรื่องของความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์จนกว่าจะมีการตรวจเลือด หรือตรวจหาเชื้อเอชไอวีในร่างกายของคุณค่ะ