กระดานสุขภาพ

เราต่างมีเหตุผล ที่เลือกจะหายไปจากชีวิตใครสักคน
Anonymous

24 กันยายน 2561 16:44:21 #1

ถ้ากินยาคุมฉุกเฉิน 3ครั้ง จะเป็นอะไรมั๊ยค่ะ
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 75 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 29.30 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

24 กันยายน 2561 19:52:21 #2

3 ครั้ง ที่ว่า ขอทราบระยะเวลาการกินยาคุมฉุกเฉินหน่อยค่ะ ว่ากินห่างกันกี่วัน กินวันไหนบ้าง

Thun*****i

25 กันยายน 2561 05:30:14 #3

กินครั้งที่2เมื่อวันที่26ธันวา 60 และครั้งที่3วันที่25ก.ย61 จะมีผลต่อสุขภาพมั๊ยค่
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

29 กันยายน 2561 14:55:00 #4

เรียน คุณ 6b851,

ก่อนตอบคำถามของคุณ ขออนุญาตให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินก่อนนะครับ ในทางการแพทย์นั้นจะแนะนำให้ใช้ก็ต่อเมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ หรือการใช้ถุงยางอนามัยผิดพลาดเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้แทนการคุมกำเนิดปกติ เนื่องจากตัวยามีอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง คือ 8-15 เปอร์เซ็นต์ (ยาคุมกำเนิดทั่วไป อัตราเสี่ยงน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนั้นยังมีปริมาณฮอร์โมนเพศค่อนข้างสูง คือ 1,500 ไมโครกรัม เมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดรายเดือน ที่มีเพียง 50-75 ไมโครกรัม

กลไกการออกฤทธิ์หลักมี 3 ประการ คือ

1. ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ลดโอกาสที่ตัวอสุจิจะผ่านเข้าไปพบกับไข่

2. ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวน้อยลงหรือช้าลง ลดโอกาสที่ไข่จะผ่านมาพบกับตัวอสุจิ

3. ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง จนตัวอ่อนไม่สามารถมาฝังตัวต่อไปได้ (หากมีการผสมของไข่กับตัวอสุจิ)

การรับประทานยาที่ถูกต้อง อาจทำได้ 2 แบบ คือ

1. รับประทานยา 1 เม็ดทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมง เนื่องจากยิ่งทิ้งเวลานาน ยิ่งเพิ่มอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ จากนั้นอีก 12 ชั่วโมง ให้รับประทานยาเม็ดที่สอง

ข้อดี อาการไม่พีงประสงค์จากการใช้ยา ด้านคลื่นไส้ อาเจียน จะน้อยกว่าอีกวิธี / ถ้ามีเพศสัมพันธ์ซ้ำอีก ก่อนจะถึงเวลารับประทานยาเม็ดที่สอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นในการคุมกำเนิดเพิ่มเติม

ข้อเสีย มักลืมรับประทานยาเม็ดที่สอง หรือรับประทานยาเร็ว หรือ ล่าช้ากว่า 12 ชั่วโมง ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้

2. รับประทานยาพร้อมกัน 2 เม็ดทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมงเช่นกัน

ข้อดี ระดับยาในเลือดสูงขึ้นทันที ลดความเสี่ยงในการลืมรับประทานยาเม็ดที่สอง หรือรับประทานยาล่าช้า

ข้อเสีย อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาด้านเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน สูงกว่าวิธีแรก และหากจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ซ้ำอีกหลังจากรับประทานยา ต้องใช้การสวมถุงยางอนามัยร่วมแทนการรับประทานยาอีก 1 ชุด

อาการไม่พีงประสงค์จากการใช้ยา : เวียนศีรษะ มึนงง คัดตึงเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด ประจำเดือนผิดปกติ (มาล่าช้า หรือไม่มีประจำเดือน)

ข้อควรระวังพิเศษ : ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ หรือถุงน้ำดีอุดตัน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (น้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่ หรือมีโรคเบาหวานร่วมด้วย)

และ ไม่ควรรับประทานยาเกิน 2 กล่อง ต่อเดือน เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูก ในบางรายอาจเกิดการฉีกขาด ตกเลือดในช่องท้อง จนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

กลับมาที่คำถามของคุณ ในทางการแพทย์ให้ใช้ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่มีข้อมูลเป็นข้อห้ามใช้พิเศษ แต่จากข้อมูลการรายงานพบว่า สตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากเกินกว่า 3 ชุด ตลอดชีวต มีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่างๆมากกว่าสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดปกติ เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งมดลูก/รังไข่
จากข้อมูลส่วนบุคคล หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ การสวมถุงยางอนามัยจะสะดวกและเหมาะสมมากกว่านะครับ เพราะนอกจากช่วยในการคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน (หนองในเทียม) พยาธิในช่องคลอด ไวรัสเริม ไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ซี ไวรัสเอชไอวี ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV - human Papillomavirus) ที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง และหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาติในเพศชายได้อีกด้วย

แต่หากคุณแต่งงานแล้ว สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเลือกการคุมกำเนิดที่สะดวกและเหมาะสมกับคุณได้
กรณีมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกรร้านยาใกล้บ้านได้ทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรืออาจช้าเกินไป ไม่ทันการ เสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์หรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดีๆ จากกองบรรณาธิการของเราที่

  • ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)
  • แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา
  • สูตินรีแพทย์
  • ยาลดประสิทธิภาพยาคุมกำเนิด (Common medications that reduce efficacy of birth control medications)
  • ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
  • การคุมกำเนิด (Contraception)
  • แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา
  • สูตินรีแพทย์
  • ถุงยางอนามัยชาย (Male Condom)
  • นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์
  • สูตินรีแพทย์