กระดานสุขภาพ

เลือดออกขณะทานยา povera 5mg.
Nutc*****9

23 มีนาคม 2561 16:39:22 #1

มีอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติค่ะ ประจำเดือนรอบปกติ 10-16 ม.ค. แต่มีประจำเดือนอีกที 27 ม.ค - 14 กพ. เลยไปพบคุณหมอ คุณหมอจึงให้ยาห้ามเลือดมาทาน และนัดไปตรวจ อีกที วันที่ 15มีนา ตั้งแต่ได้ทานยาหยุดเลือดก็ประจำเดือนไม่มา คุณหมอเลยให้ยา Fsh provera (Medroxyprogesterone 5mg) มาทานวันละ2เม็ดก่อนนอน คือตั้งแต่ได้ยามาก็ทานต่อเนื่องนะคะ แต่จู่ๆประจำเดือนก็มาก่อนที่จะทานยาหมด ยาเหลือ อีก 4เม็ดจึงจะหมด แต่ประจำเดือนมา เพราะปกติต้องกินยาให้หมดก่อน แล้วรอ2-3ประจำเดือนจึงค่อยมา อยากทราบว่าอาการอย่างนี้เป็นปกติไหมคะ ปล. -ระหว่างที่กินยานี้เป็นคนนอนดึกมาก นอนตี4-5 ในบางวัน การนอนแบบเวลาไม่สม่ำเสมออาจทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลงหรือป่าวค่ะ -ไม่เคยลืมทานยาสักวันค่ะ
อายุ: 19 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 51 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.92 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

24 มีนาคม 2561 18:00:45 #2

เรียน คุณ nutcham719,

  • จากที่คุณให้ข้อมูลมานั้น โดยปกติเป็นผู้ที่ประจำเดือนมาผิดปกติอยู่แล้วนะครับ อาการดังกล่าวหลังจากรับประทานยา medroxyprogesterone แล้วประจำเดือนมาก่อนกำหนด 2-3 วัน เป็นไปได้ครับ ทั้งนี้หากไม่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องน้อย คัดตึงเต้านมมาก ประจำเดือนเป็นก้อน หรือมีสีดำคล้ำกว่าปกติ ฯ ก็ไม่ต้องกังวลไปครับ
  • ส่วนเรื่องการนอนน้อย เข้านอนดึก หรืออดนอนบ่อย ๆก็มีผลกับร่างกายนะครับ ทั้งการหลั่ง Growth Hormone จากต่อมใต้สมอง และฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียด จากต่อมหมวกไต ไม่ได้มีผลต่อการออกฤทธิ์ของตัวยานะครับ แต่ฮอร์โมนคอร์ติซอล จะทำให้ระบบฮอร์โมนเพศในร่างกายมีการปรวนแปร เนื่องจากร่างกายเมื่อเกิดภาวะเครียด ทั้งที่รู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม คอร์ติซอลจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ให้เหลือแต่เพียงการดำรงชีวิตได้ เช่น เก็บกักน้ำตาล (เพื่อใช้เป็นพลังงาน) เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน / เก็บกักเกลือโซเดียม เพื่อลดการขับถ่ายน้ำจากร่างกาย (เสี่ยงต่อโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคไต) / ดึงแคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อใช้ในการทำงานของกล้ามเนื้อ (เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน)
  • ลดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เหลือเพียงระบบประสาทอัตโนมัติ (ลดการเกิดความทรงจำระยะยาว) / เกิดการฝ่อของคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ฯ
  • ดังนั้นหากเป็นไปได้ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย วันละ 6-8ั ชั่วโมงต่อวัน และควรเข้านอนก่อนเวลา 23.00 น. เนื่องจากช่วงที่ร่างกายหลับสนิท เวลาเที่ยงคืนถึงตีสอง ต่อมใต้สมองจะมีการหลั่ง Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เกิดการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท เพื่อสร้างความทรงจำระยะยาว (Long-term Memory) ลดการทำลายของคอลลาเจนและอีลาสติน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักสด ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เลือกโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อปลา (ปลาทะเล ก็จะได้น้ำมันปลา ช่วยเรื่องการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศได้อีกด้วย ปลาทูก็ได้ครับ ไม่ต้องแซลมอน) เนื้อไก่ (ไม่เอาหนัง)
  • กรณีมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกรร้านยาใกล้บ้านได้ทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไป ไม่ทันการ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้


เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล


แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

  • ประจำเดือนผิดปกติ (Menstrual disorder)
  • รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ
  • สูตินรีแพทย์
  • เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone)
  • เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร