กระดานสุขภาพ

ความเสี่ยงติดเชื้อ hiv
Anonymous

30 ธันวาคม 2560 17:24:26 #1

สวัสดีครับคุณหมอ เนื่องจากวันที่25 ธันวา ผมได้มี เพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ ระหว่างที่กำลังมีเพศสัมพันธ์นั้น ผมสวมถุงยางอนามัยนะครับ แต่ว่ามันเกิดแตกขึ้นทีปลาย เหมือนลูกโป่งแตกนะครับ ทีนี้ทันทีทีีหนังจากที่ถุงยางแตกแล้ว ผมก็ชักอวัยวะเพศของผมออกมาทันที แต่ไม่ได้เช็ดหรือล้างทำความสะอาด แต่มีเพศสัมพันธ์ ต่อโดยไม่มีการสอดใส่เป็นการใช้มือผมช่วยจนสำเร็จความใคร่ อยากถามว่าเหตุการณ์แบบนี้ถือว่าเสี่ยงมากไหมครับ และหลังจากนั้น วันที่ 26 ธันวาคม ผมก็เข้าไปตรวจเลือดคนเดียวที่คลินิคนิรนาม เจ้าหน้าที่ก็จ่ายยาต้านPEP ฉุกเฉินมาให้ผมทานทันที โดยโดสแรกที่ได้รับคือวันต่อมาหลังมี เพศสัมพันธ์ทันที อยากจะถามว่า ในกรณีนี้ ผมปฏิบัตอถูกต้องแล้วใช่ไหมครับ ประสิทธิภาพของยาต้านฉุกเฉินนี้ได้ผลดีแค่ไหนครับ ตอนนี้สภาวะจิตใจค่อนข้างแย่ครับเพราะผมเครียดเรื่องนี้มากๆ ขอขอบคุณคุณหมอล่วงหน้านะครับ
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 72 กก. ส่วนสูง: 173ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.06 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคผิวหนัง

1 มกราคม 2561 18:36:32 #2

สำหรับการติดต่อของโรคเอดส์ 1. มีการร่วมเพศโดยไม่ใช้ถุงยางกับคนที่ติดเชื้อเอดส์ 2. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนที่ติดเชื้อเอดส์ 3. ได้รับเลือดบริจาคที่มีเชื้อเอดส์ และ 4 ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ขณะตั้งครรภ์ สำหรับการติดต่อโดยเพศสัมพันธ์นั้น โดยหลักการคือต้องมีการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือดที่มีเชื้อเอดส์อยู่ เชื้อเอดส์จะเข้าสู่ร่างกายผ่านเซลล์ที่อยู่บริเวณหนังที่เป็นเยื่อบุอ่อนแล้วมีการแบ่งตัวเข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีการติดเชื้อเกิดขึ้น ปัจจัยหลักคือปริมาณเชื้อที่สัมผัส ระยะเวลาที่สัมผัส ถ้ามากและนานก็จะมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น สำหรับความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์นั้น มีการศึกษาโอกาสของการติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ 1 ครั้ง จากมากไปน้อยดังนี้

  • ชายหรือหญิงเป็นฝ่ายถูกสอดใส่ทางทวารหนัก 0.5%
  • หญิงเป็นฝ่ายถูกสอดใส่ทางช่องคลอด 0.1%
  • ชายเป็นฝ่ายสอดใส่ทางทวารหนัก 0.065%
  • ชายเป็นฝ่ายสอดใส่ช่องคลอด 0.05%
  • ชายหรือหญิงที่เป็นฝ่ายทำออรัลเซ็กส์ 0.01% ชายหรือหญิงเป็นฝ่ายถูกทำออรัลเซ็กส์0.005% อย่างไรก็ตามโอกาสจะเพิ่มขึนถ้าเป็นกามโรคหรือมีแผลด้วย ในกรณีของคุณทีมีการสอดใส่ทางช่องคลอดโดยใช้ถุงยางแต่ถุงยางฉีกขาดซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงประมาณ 0.05% สำหรับการกินยาป้องกันหลังมีความเสี่ยงนั้น (POst Exposure Prophylaxis) จะต้องกินให้เร็วที่สุดและไม่ควรเกิน 72 ชม. หลังสัมผัสเชื้อ ส่วนประสิทธิภาพนั้น ถ้ากินสม่ำเสมอจนครบ4 อาทิตย์ จะป้องกันได้มากกว่า 90% โดยบางการศึกษาได้ผลถึง 99%