กระดานสุขภาพ

ความแน่นอนของการตรวจ
Anonymous

20 พฤษภาคม 2559 17:16:33 #1

อยากทราบว่าการตรวจซิฟิลิสจากเลือดและตรวจหนองในแท้เทียมด้วย NATT(จากฉี่) หลังจากเกิดความเสี่ยงด้วยการถูกออรัลเซ็กโดยไม่มีการป้องกัน มาแล้ว 37 วัน มีความแน่นอนแค่ไหนครับถ้าผลเป็นลบและไม่มีอาการแสดงในอนาคต จะสบายใจได้แล้วใช่ไหมครับ และทั้งสองโรคข้างต้นในการออรัลเซ็กนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดมากน้อยขนาดไหนครับ

อายุ: 21 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 63 กก. ส่วนสูง: 180ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.44 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

21 พฤษภาคม 2559 09:30:36 #2

แล้วหนองในเทียมนี่เกิดจากเชื้อได้หลายตัวใช่ไหมครับ และการตัว NATT ตัวได้แค่ คลาไมเดีย แล้วตัวอื่นก็ยังมีโอกาสติดอยู่ถูกไหมครับ คือผมมีอาการอาจจะมีน้ำซึมบ้างหลังฉี่ไปสักพัก คิดว่าเป็นฉี่มากกว่า ไม่มีหนองหรืออะไรทำนองนั้นอะครับ ตอนไปตรวจก็เลยไม่ได้ตรวจตัวหนองเป็นตรวจฉี่แทน

Anonymous

21 พฤษภาคม 2559 10:27:55 #3

มูกของหนองในเทียมนี่จะหนืดๆเลยใช่ไหมครับ

Anonymous

21 พฤษภาคม 2559 11:43:42 #4

Ureaplasma urealyticum มีความจำเป็นต้องตรวจไหมครับและตรวจอย่างไร กลัวเป็นแล้วไม่ได้รักษาจะเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาภายหลังครับ

Anonymous

21 พฤษภาคม 2559 13:40:39 #5

ต่อจากข้างบนไปตรวจที่ไหนและค่าใช้จ่ายในการตรวจประมาณเท่าไหร่ครับ

Anonymous

21 พฤษภาคม 2559 13:42:26 #6

เพิ่มเติม NATT ดังกล่าวคือ NATT CT/NG

Anonymous

22 พฤษภาคม 2559 13:08:49 #7

เสริมอาการคือผมมีอาการแสบตรงท่อปัสสาวะบ้าง แต่ไม่เป็นตอนฉี่ก็เลยไม่รู้ว่าเพราะกังวลหรือไม่ ผมเคยตั้งกระทู้ไปแล้วใน http://haamor.com/webboard/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/28287/ ครับ

Anonymous

22 พฤษภาคม 2559 13:21:14 #8

ผมควรไปตรวจเม็ดเลือดขาวในฉี่เพื่อดูว่าท่อปัสสาวะอักเสบจริงไหมหรือเปล่าครับและค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ครับ

นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคผิวหนัง

24 พฤษภาคม 2559 03:39:13 #9

ระยะฟักตัวของโรคซิฟิลิสคือ 10-90 วัน จึงแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือนหลังมีความเสี่ยง ส่วนหนองในเทียมนั้น เนื่องจากมีหลายสาเหตุและอาจจะเป็นหรือติดเชื้อโดยไม่มีอาการก็ได้ จึงต้องมีการตรวจเพื่อดูว่ามีการอักเสบของท่อปัสสาวะหรือไม่ การตรวจเชื้อโดยวิธี NAAt หรือการเพาะเชื้อนั้น มีค่าใช้สูง ในกรณีขแงคุณที่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อหนองในและคลามัยเดีย ถ้าไม่ได้มีการร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน ก็เชื่อถือได้ แต่สาเหตุของหนองในเทียมอาจจะเกิดจากเชื้อชนิดอื่น เช่น ยูเรียพลาสมาหรือมัยโคพลาสมา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาหนองในเทียมสามารถรักษาได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้สาเหตุ แต่ต้องมีการตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นหนองในเทียม วิธีที่ใช้กัน คือใช้ไม้พันสำลีหรือลวด เก็บมูกจากท่อปัสสาวะ ย้อมสีและนับจำนวนเม็ดเลือขาว ถ้าพบมากกว่าค่าปกติ และไม่พบเชื้อหนองใน ก็วินิจฉัยว่าเป็นหนองในเทียม รักษาให้ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ)ที่ได้ผลดีคือ ด็อกซี่ซัยคลีน หรือ อิริโทรมัยซิน กินประมาณ 2 อาทิตย์ ในปัจจุบันอาจมียาที่กินครั้งเดียว คือ อะซิโทรมัยซิน 1 กรัม แต่จะได้ผลน้อยกว่า ในกรณีที่เป็นๆหายๆ โดยทั่วไปมักเกิดจากการไปติดเชื้อใหม่ จากคู่นอน ซึ่งในผู้หญิงไม่ค่อยมีอาการผิดปกติและไม่รู้ว่าเป็นโรค เพราะฉะนั้นต้องรักษาทั้งคู่ครับ หรือในกรณีที่มีการดื้อยา ก็ อาจจะใช้ยาในกลุ่มควิโนโลนชนิดใหม่ๆบางตัว สามารถตรวจได้ที่รพ.บางรักซึ่งเป็นของกรมควบคุมโรค ถนนสาธรใต้ เป็นคลินิกเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์