วันที่ 10 กันยายน 2014 เวลา 23:27 น.
#2
หากมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน และ มีประวัติประจำเดือนขาดไปจากวันที่ควรจะมา ก็ควรตรวจการตั้งครรภ์นะครับ ซึ่งผลหากปกติไม่ตั้งครรภ์ สาเหตุส่วนใหญ่ในช่วงอายุนี้ที่มีผลทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือขาดหายไป ไม่ตรงกำหนดนอกเหนือจากการตั้งครรภ์ ก็มักเกิดจากมีสาเหตุบางประการที่ทำให้มีทำให้ไข่ไม่ตก หรือ ตกไม่สม่ำเสมอ เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่เป็นเวลา นอนดึกติดต่อกัน น้ำหนักเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หรือ กำลังลดน้ำหนัก ออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือ พร่องฮอร์โมน ทานยาหรือสารบางอย่างที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน เช่น ยาสตรีต่างๆ ยาขับเลือด เป็นต้นครับ ซึ่งหากตรวจการตั้งครรภ์ในช่วงที่ประจำเดือนไม่มาหรือขาดหายไปประมาณ 1 สัปดาห์ ถือว่าผลที่ได้จะน่าเชื่อถือครับ หากผลเป็นเพียงขีดเดียว ก็ถือว่า ไม่ตั้งครรภ์ครับ
ส่วนการทานยาในกลุ่มที่กล่าวมานั้น ซึ่งตามความเห็นของหมอแล้ว ยาที่กล่าวมานั้นมีตัวยาเป็นยาที่มีประโยชน์ครับ แต่อาจมีส่วนผสมของสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนผู้หญิง (Phytoestogen) ซึ่งการควบคุมปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนที่ต้องการมารักษาอาการผิดปกตินั้น ทำได้ยากมาก ไม่สามารถทำให้คงที่ แน่นอนในแต่ละครั้งที่ทาน และยังมีความแตกต่างในด้านส่วนประกอบในแต่ละชนิดยาอีกด้วย ดังนั้น การที่จะนำมาเพื่อการรักษาอาการเลือดประจำเดือนผิดปกติ หรือ มาใช้เพื่อควบคุมปรับรอบประจำเดือนนั้น ยังอาจนำมาใช้ค่อนข้างยากลำบากครับ เนื่องจากมีผลต่อการตกไข่ ทำให้ไม่มีการตกไข่ ซึ่งมีผลต่อทำให้ไม่มีประจำเดือน หรือ ประจำเดือนเลื่อนออกไปได้ครับ และ อาจยังทำให้เลือดประจำเดือนมาผิดปกติได้ อาจมาปริมาณมาก กะปริดกะปรอยได้อีกด้วย ดังนั้น ในความเห็นของหมอ หมอคิดว่า ไม่ควรทานยาประเภทนี้เพื่อการรักษาเรื่องประจำเดือนผิดปกตินะครับ เพราะ นอกจากจะไม่รักษาที่สาเหตุแล้ว ยังอาจทำให้สับสนได้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่นั้น เกิดจากอะไร
ดังนั้น ในความคิดเห็นของหมอ หมอไม่แนะนำให้ทานยาที่กล่าวมานะครับ ควรตรวจการตั้งครรภ์อย่างที่หมอกล่าวไปก่อน และ ลองสังเกตอาการผิดปกติดู หากประจำเดือนมาไม่มาหรือขาดหายไปประมาณ 2 สัปดาห์แล้ว หรือ มาเป็นรอบ ไม่สม่ำเสมอ กะปริดกะปรอยมาก ก็ควรมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธีนะครับ
|