กระดานสุขภาพ

ลูกป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
Gn2y*****g

26 กุมภาพันธ์ 2561 05:55:48 #1

ลูกชายป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบตอนอายุ 7 เดือนครึ่ง หลังกลับจากไปเที่ยวสังขละบุรี ต้องฉีดยาฆ่าเชื้อนาน 14 วันถึงจะหาย ตอนนี้ลูก อายุ 8 เดือน จำเป็นจะต้องกลับไปอีก ลูกจะกลับมาเป็นอีกมั้ยคะ มีวิธีป้องกันยังไงบ้างคะ กลัวมากค่ะแต่ก้อต้องไป รบกวนคุณหมอด้วยค่ะ
อายุ: 8 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 8 กก. ส่วนสูง: 64ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.53 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

27 กุมภาพันธ์ 2561 07:31:10 #2

เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) เป็นเนื้อเยื่อบางๆแต่แข็งแรง เป็นเนื้อเยื่อที่หุ้มสมองทุกส่วน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสมอง ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อนี้จะทำให้เกิดเป็นโรคที่เรียกว่าโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ ที่พบบ่อยที่สุดคือ จากเชื้อไวรัส และที่รองลงไปคือ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้บ้างคือ จากเชื้อราและจากสัตว์เซลล์เดียว (โปรตัวซัว Proto zoa) แต่บางครั้งแพทย์อาจตรวจไม่พบเชื้อได้

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบได้เช่น

  • - เชื้อเอนเทโรไวรัส (Enterovirus) ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก และไข้หวัดทั่วไป
  • - เชื้อวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) ที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
  • และเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps virus) ที่ทำให้เกิดโรคคางทูม

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบได้เช่น

  • - เชื้อนัยซ์ซีเรีย เมนิงไจติดิส (Neisseria meningitidis)
  • - เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ที่ทำให้เกิดโรควัณโรค
  • - และเชื้อเลปโตสไปรา (Leptospira) ที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองโดยผ่านทางกระแสโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุบ่อยที่สุด นอกจากนั้นที่พบน้อยกว่ามากคือ จากเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงเยื่อหุ้มสมองมีการอักเสบติดเชื้อ แล้วเชื้อลุกลามเข้าเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วยเช่น จากมีการอักเสบติดเชื้อในหู หรือในโพรงไซนัสต่างๆ และจากการที่เยื่อหุ้มสมองได้รับเชื้อโดยตรงเช่น จากอุบัติเหตุทางสมองก่อบาดแผลและการติดเชื้อโดยตรงต่อเยื่อหุ้มสมอง

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยทางการหายใจ ไอ จาม อุจจาระ ปัสสาวะ และตุ่มแผลที่มีเชื้อโรคเจือปน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้แก่

  • ในผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น เด็ก (โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 5 ปีลงมา) ผู้สูงอายุ (โดย เฉพาะอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อ รัง โรคตับแข็ง และโรคเอดส์
  • การอยู่กันอย่างแออัดเช่น ในชุมชนแออัดและในค่ายทหาร
  • ผู้ติดสุราเพราะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  • ผู้ป่วยผ่าตัดม้ามเช่น ในการรักษาโรคธาลัสซีเมียเพราะม้ามเป็นอวัยวะสร้างภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรค
  • ผู้ป่วยผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลังเช่น ในผู้ป่วยทางเดินน้ำไขสันหลังอุดตันจากมะเร็ง จึงผ่าตัดระบายน้ำไขสันหลังเข้าสู่ช่องท้อง เชื้อโรคจากช่องท้องจึงเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองและเข้าสู่สมองจากทางระบายนี้ได้ง่าย
  • ผู้ป่วยโรคหูติดเชื้อหรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • คนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อซึ่งคือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) นอกจากนั้นคือ

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ และออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพทุกวัน เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง
  • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
  • ปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ ที่มีวัคซีนเมื่ออยู่ในถิ่นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด วัคซีนโรคคางทูม และวัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นต้น