กระดานสุขภาพ

astaxanthin กับ ฮอร์โมนเพศชาย
Anonymous

20 พฤศจิกายน 2561 20:31:09 #1

สวัสดีครับ  ผมอยากทราบว่า ตัว astaxanthin มีผลต่อฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ลดลงมั้ยครับ   ผมอ่านเจอในเว็บๆหนึ่งว่า  สารตัวนี้ไปยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนนเพศชาย อาจทำให้ฮอร์โมนลดลงครับ  จริงหรือมั้ยครับ  และมีผลต่อ ตัวอสุจิหรือน้ำกามด้วยมั้ยครับ

 

ปล กำลังซื้อตัวนี้มาทานครับ เพราะต้านอนุมูลอิสระบำรุงทั่วๆไปครับ  แต่ผมกังวลว่าทานแล้วจะก่อผลกระทบยังฮอร์โมนเพศชายและสมรรถภาพทางเพศด้วยครับ  

 

ขอบคุณครับ

อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.48 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

24 พฤศจิกายน 2561 17:07:10 #2

เรียน คุณ e6169, 

เนื่องจากคุณไม่ได้ให้ข้อมูลมาว่าเป็นเว็บใด มีรายละเอียดข้อมูลไว้ว่าอย่างไร

สาร astaxanthine จากการทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรงกว่าสารอื่น ๆเช่น วิตามิน ซี หรือวิตามิน อี
แต่ในธรรมชาติ ร่างกายไม่จำเป็นต้องได้รับสารที่แรงที่สุดเสมอไป เนื่องจากในบางครั้งหากได้รับมากเกินความต้องการ หรือนานติดต่อกันมากเกินไป จะทำให้เกิดอนุภาคอิสระ หรือ free radical ซึ่งอนุภาคนี้อาจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ให้มีการเจริญผิดรูปไปได้ เช่นเป็นเนื้องอก หรือ มะเร็ง ได้

ดังนั้น หากสามารถรับประทานอาหารได้เอง การรับประทานผักสด หรือผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด ก็สามารถให้วิตามิน ซี หรือการรับประทานปลาทะเลก็จะได้รับวิตามิน อี ร่วมกับน้ำมันปลา ที่กรดไขมันจำเป็นที่อยู่ในรูปไม่อิ่มตัว ก็จะมีการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้กากใยอาหารยังช่วยป้องกันการเกิดท้องผูก ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย

กลับมาที่คำถามของคุณ จากที่มีการสืบค้นข้อมูล ไม่พบว่ามีรายงานการลดฮอร์โมนเพศชายนะครับ มิฉะนั้นผู้ที่ได้รับวิตามิน ซี หรือวิตามิน อี ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือจากอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีน (แครอท มะเขือเทศ ทีบทิม มะละกอ ฯ) ก็ต้องมีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว

มีหนึ่งการวิจัยที่กล่าวถึงว่า astaxanthine รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ ยับยั้งการเปลี่ยนจากฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน ไม่ให้กลายเป็น DHT หรือ dihydroxytestosterone ซึ่ง DHT นี้เป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดผมร่วงแบบเพศชาย หรือมีความเสี่ยงในการเกิดต่อมลูกหมากโตได้

สรุป หากรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ได้มีเหตุให้ต้องขาดสารอาหาร หรือต้องมีการป้อนอาหารทางสายยาง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาใช้ให้เปลืองค่าใช้จ่าย สู้การได้รับสารอาหารตามธรรมชาติจะดีกว่าครับ


เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

  • อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ (Free radical and Antioxidant)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • แอนตี้ออกซิแดนท์ (ตอนที่ 1)