กระดานสุขภาพ

ปรึกษาเรื่อง ยาCarbamazepine ครับ
Sick*****i

7 ตุลาคม 2561 22:20:23 #1

ทุกวันนี้ผม ทานยาCarbamazepine 200mg ครับ อยากทราบว่า 

ยานี้ส่งผลต่อกลิ่นตัวหรือเปล่าครับ  

 .

ขอบคุณล่วงหน้าครับผม 

อายุ: 24 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 73 กก. ส่วนสูง: 174ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.11 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

9 ตุลาคม 2561 19:24:59 #2

เรียน คุณ sicksickskii,

เนื่องจากคุณไม่ได้ให้ข้อมูลมาว่ารับประทานยานี้ตัวเดียว รับประทานขนาดยาเท่าใด รับประทานยาวันละกี่ครั้ง รับประทานยาติดต่อกันมานานเพียงใด

แต่จากการสืบค้นข้อมูล ไม่พบว่ามีรายงานเกียวกับกลิ่นตัวนะครับ

เท่าที่่มีการรายงาน คือ วิงเวียน มึนงง ง่วงซึม ใจสั่น ไข้ หนาวสั่น ความดันโลหิตสูง/ต่ำ ใจสั่น เม็ดเลือดขาว/เกล็ดเลือดลดต่ำลง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ตับอ่อนอักเสบ ปากแห้ ผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแพ้แสงแดด เป็นต้น
หากยังคงมีอาการผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษานะครับ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป ในช่วงต้นนี้ แนะนำให้คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ง่าย หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อย ๆ (หากมีการเปียก อับชื้น)

กรณีมีกลิ่นจากรักแร้ อาจพิจารณาเลือกใช้ลูกกลิ้งระงับเหงื่อ หรือชนิดที่มีสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เพื่อลดการเกิดกลิ่น

หรือมาจากกลิ่นเท้า ก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจเกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับ โรคเบาหวาน เชื้อรา ฯ

กรณีมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา / ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกรประจำสถานพยาบาลได้ทันทีนะครับ ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจต้องมีการสอบถามข้อมูลอื่น ๆเพิ่มเติม เช่น ยาที่ใช้ร่วมด้วย โรคประจำตัวอื่น ๆ ภาวะการทำงานของตับ/ไต

หรือในบางครั้งอาจช้าเกินไป ไม่ทันการ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

  • ยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine)
  • เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
  • กลิ่นตัว (Body smell)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • ภาวะหลั่งเหงื่อมาก (Hyperhidrosis)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • กลิ่นตัว กลิ่นเต่า (ตอนที่ 1)
  • โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
  • สารระงับกลิ่นกาย หรือ สารระงับกลิ่นตัว (Deodorant)
  • พรลภัส บุญสอน
Sick*****i

10 ตุลาคม 2561 10:46:32 #3

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ขอสอบถามอีกครั้งครับ หรือว่าเป็นไปได้ไหมครับว่า ยาcarbamazepine ไปยับยั้งหรือส่งผลต่อfmo3 เลยทำให้เกิดกลิ่นตัว.. ขอบคุณล่วงหน้าอีกรอบครับผม
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

13 ตุลาคม 2561 06:48:15 #4

เรียน คุณ sicksickskii,

ไม่ทราบได้รับข้อมูลเรื่องยีนส์กำจัดสารเคมี FMO3 มาจากไหนครับ ยีนส์ตัวนี้ หากมีความแปรผัน ก็จะทำให้การทำงานในการย่อยอาหารผิดปกติไปตั้งแต่แรกนะครับ ดังนั้นคุณจะต้องมีปัญหาเรื่องกลิ่นตัวตั้งแต่ก่อนรับประทานยา
เอนไซม์นี้ถูกสร้างที่ตับ มีหน้าที่รับผิดชอบในการย่อยสาร Trimethylamine ที่ได้จากการรับประทานอาหารและมีการย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ จำพวกถั่ว ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ไข่ ตับ และปลา

สาร Trimethylamine นี้เองที่มีกลิ่นคาวคล้ายปลา Enzyme FMO3 (Flavin-monooxygenase 3) มีส่วนในการย่อยสารที่เกิดการหมักในลำไส้นี้ ให้กลายเป็นสารที่ไม่มีกลิ่นและถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ

carbamazepine นี้ถูกกำจัดส่วนใหญ่โดยเอนไซม์ CytochromeP450 หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า CYP ประเภท 3A4 ที่พบได้มากและเกิดการแปรผันของยีนส์ได้น้อยในคน (สรุปง่าย ๆคือมีเอนไซม์มากและทำหน้าที่ได้เร็ว หรือหากเกิดการแปรผัน เป็น CYP3A5 ก็ยังคงมีประสิทธิภาพในการเผาผลาญและกำจัดยาได้ใกล้เคียงกับ CYP3A4)
carbamazepine นี้ เมื่อรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง มีคุณสมบัติเป็น Enzyme Inducer ของหลายเอนไซม์ในตับ ดังนั้นหากคุณสงสัยทฤษฏีดังกล่าว ตัวยาก็จะกระตุั้นให้ FMO3 ทำงานได้มากและเร็วขึ้น การทำลายสารที่เกิดการหมักหมมในลำไส้จากอาหาร ก็ควรจะถูกกำจัดได้มากและเร็วขึ้น โอกาสที่จะมีสารที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวออกทางเหงื่อก็ต้องน้อยลง ซึ่งยังไม่มีการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานี้

แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนัง เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไปนะครับ รวมถึงการงดรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น หอม กระเทียม กุ้ยช่าย เพราะอาหารพวกนี้พบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้มากกว่า

รวมถึงการควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดการอับชื้น การอาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียกเหงื่อ ก็จะลดโอกาสที่แบคทีเรียบนผิวหนังจะมีการหมักหมมและก่อให้เกิดกลิ่นกายได้มากกว่าครับ

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล