กระดานสุขภาพ

ยาฮอร์โมนแบบเดียวกับยาคุมกำเนิด
Pear*****o

16 กุมภาพันธ์ 2561 05:03:36 #1

คือหนูมีปัญหาเรื่องประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอถุงน้ำในรังไข่ตอนแรกรักษาด้วยการทานยาฮอร์โมนแบบเดียวแล้วคุณหมอได้แนะนำให้ทานยาคุมดีกว่า หนุได้ไปหาข้อมูลเขาบอกยาคุมมันจะทำให้กระตุ้นก่อนเนื้อเต้านมคือหนูเคยเปนแต่ได้เอาออกไปแล้ว (แบบนี้ถ้าเกิดจะกลับมาทานแบบเดียวเพื่อรักษาได้ไหมคะ) หรือทานยาคุมจะดีกว่าแบบเดียวคะ มันจะกระตุ้นก้อนที่นมขึ้นไหมคะ
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 65 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.49 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

18 กุมภาพันธ์ 2561 17:04:47 #2


เรียน คุณ pearko,

คำถามของคุณแยกตอบเป็น 2 ประเด็นนะครับ คือ

1. การรักษาถุงน้ำในรังไข่ ต้องมีการปรับปริมาณฮอร์โมนเพศในร่างกาย โดยต้องให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น หรือให้ยาที่ต้านฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย โดยอาจให้เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม หรือให้ฮอร์โมนโปรเจสตินเป็นระยะเวลา 10-14 วัน (คล้ายกับช่วงท้ายของรอบเดือน) เมื่อหยุดยาก็จะมีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก เหมือนมีประจำเดือนได้

ซึ่งการรับประ่ทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ก็จะมีปริมาณฮอร์โมนคล้ายกับในธรรมชาติ ช่วยปรับให้มีประจำเดือนตามปกติ ลดอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายสูงด้วย เช่น หน้ามัน เป็นสิว ขนดกได้ด้วย

ส่วนการเลือกชนิดของยาคุมกำเนิด สามารถปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาคุณได้โดยตรง ว่าแต่ละตัวยามีค่าใช้จ่าย ข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไปอย่างไร

2. ปัญหาเรื่องก้อนที่เต้านม เกิดได้จากมากมายหลายสาเหตุ ทั้งจากความผิดปกติของระบบฮอร์โมนเพศของร่างกาย จากการรับประทานอาหาร การได้รับสารแปลกปลอมจากสิ่งแวดล้อม ภาวะเครียด เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ได้เกิดจากการรับประทานยาคุมกำเนิดแต่เพียงอย่างเดียว

เช่นดาราหญิงบางคน แม้ว่าไม่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดมาก่อน ก็พบก้อนเนื้อที่เต้านมได้บ่อย ๆ แม้ว่าจะทำการตัดออกไปแล้ว

    • - ควรทำใจให้สบาย
    • - เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักสด ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เลือกรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อย เลี่ยงอาหารหมักดอง (รวมถึงไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ) เน้นโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา หรือ เนื้อไก่ (ไม่เอาหนัง)
    • - เลือกวิธีการปรุงอาหารที่เป็นการนึ่ง ต้ม แทนการปิ้งย่างหรือทอด เพื่อลดการรับสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ
    • - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่โอบกระชับเต้านมได้ดี ไม่คับแน่น หรือหลวมเกินไป โดยควรเป็นการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) อย่างน้อยวันละ 30 นาทีและอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือด และเร่งการกำจัดของเสียออกทางเหงืื่อ
    • - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง และไม่ควรนอนดึกเกินกว่า 23.00 น. เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเครียดจากการอดนอน หรือนอนดึก และช่วงเวลาที่ร่างกายหลับสนิท ต่อมใต้สมอง จะมีการหลั่ง Growth Hormone ที่ช่วยซ่อมแซมส่วน่ที่สึกหรอของร่างกาย และช่วยเรื่องการพัฒนาความทรงจำระยะยาว
    • - ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน เพื่อป้องกันการดูดกลับของเสียในลำไส้ใหญ่ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
    • - หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกวัน ในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากแต่ละช่วงเวลาก็อาจส่งผลต่อการคลำเต้านมได้

หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกรได้ทันที "ก่อน" เริ่มต้นการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นใด ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไป ไม่ทันการ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพถึงแก่ชีวิตได้


เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล


แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

  • พีซีโอเอส หรือ พีโอเอส: กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (PCOS หรือ POS : Polycystic ovarian syndrome)
  • รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ
  • สูตินรีแพทย์
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)
  • แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา
  • สูตินรีแพทย์