กระดานสุขภาพ

ปรึกษาเรื่องcalcium
Poop*****4

5 กุมภาพันธ์ 2561 09:43:14 #1

คือมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ คือคุณพ่ออายุ65ชอบซื้อcalcium ที่ร้านขายยาทั่วไปมากินกระปุก 50-60บาท กินมาประมาณสองปี-สามปี แต่คุณพ่อไม่เคยตรวจร่างกายว่าเป็นกระดูกพรุนหรือร่างกายขาดcalciumหรือเปล่านะคะ แล้วที่หนูเคยอ่านมาค่ะว่าถ้ากินcalcium carbonate เป็นเวลานานมันสามาตกค้างแล้วเป็นนิ่วที่ไตได้ใช่ไหมคะแล้วถ้าเราจะเสริมcalciumให้ผู้สูงอายุต้องกินcalciumแบบไหนและมียี้ห้อไหนแนะนำบ้างคะ แล้วcalciun l-threonate อันนี้ร่างกายมันสามารถดูดซึมได้ดีและไม่ก่อให้เกิดนิ่วเหมือนcalcium carbonate จริงหรือเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ
อายุ: 65 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 77 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 30.08 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

6 กุมภาพันธ์ 2561 20:31:09 #2

เรียน คุณ poopae1904,


จากคำถามของคุณ แยกตอบเป็น 2 ประเด็นนะครับ คือ

1. ประเด็นเรื่อง Calcium เพื่อใช้ในการบำรุงกระดูก แตกต่างกันในเรื่องการละลายในทางเดินอาหาร และสัดส่วนของแคลเซ๊ยมที่ได้รับเท่านั้น

เช่น Calcium carbonate ปริมาณ 1 กรัม หรือ 1,000 มิลลิกรัม เมื่อเทียบเป็นสารสำคัญแคลเซียมจะได้ 400 มิลลิกรัม โดยมีหลายข้อบ่งใช้ คือ ถ้าเพื่อเสริมแคลเซียม ควรรับประทานยาหลังอาหาร เนื่องจากต้องอาศัยน้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหารในการช่วยละลาย

แต่หากต้องการรับประทานเพื่อจับของเสีย ฟอสเฟตในผู้่ป่วยโรคไต ควรรับประทานยาพร้อมอาหาร
ส่วน Calcium acetate ปริมาณ 1 กรัม เทียบเท่ากับปริมาณเกลือแร่แคลเซียม 253 มิลลิกรัม ถ้าเป็นรูปแบบเกลือนี้ อาหารไม่มีผลต่อการละลาย เนื่องจากสามารถละลายน้ำได้ดี

ส่วนเรื่องภาวะกระดูกพรุนนั้น ในเพศชายจะมีความเสีย่งสูงกว่าในเพศหญิง แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว เพศหญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนสูงกว่า (เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน) หากจะบอกได้ ต้องมีการตรวจความหนาแน่นของกระดูกครับ จึงจะบอกได้

2. การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรับประทานแคลเซียมเสริมนั้น การรับประทานเสริมจากอาหารนั้น สามารถรับประทานได้ โดยควรดื่มน้ำสะอาดมาก ๆระหว่างวัน ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน หากไม่มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังจากแพทย์ (เช่น ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจวาย ปอดบวม ฯ)

หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่นปัสสาวะปวดเบ่ง หรือมีสีของปัสสาวะขุ่น ที่อาจเป็นอาการของความผิดปกติระบบทางเดินปัสสาวะ


แต่ในเพศชายก็อาจเกิดจากภาวะต่อมลูกหมากโตก็ได้ จึงควรมีการตรวจร่างกายประจำปี ความเสี่ยงในการเกิดนิ่วนั้น เกิดได้กับแคลเซียมทุกเกลือนะครับ เมื่อร่างกายมีการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย จะมีการกำจัดแคลเซียมส่วนเกินออกทั้งทางปัสสาวะและอุจจาระ ไม่มีตัวใดเสี่ยงมากกว่ากัน เพียงแต่จะพบมากขึั้นในผู้ป่วยที่ดื่มน้ำสะอาดน้อย หรือรับประทานอาหารที่มีออกซาเลตสูงปริมาณมากๆหรือรับประทานบ่อย ๆเป็นประจำ เช่น มะเฟือง ตะลิงปลิง หน่อไม้ ฯ เนื่องจากผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะเป็นรูปเข็ม การละลายน้ำต่ำมาก จึงเสี่ยงต่อการตกตะกอนที่ไตหรือตามข้อต่อต่างๆ

จากข้อมูลส่วนบุคคล หากเป็นไปได้ ควรลดน้ำหนักลงอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดแรงกดต่อข้อต่อ โดยเฉพาะข้อเข่า จะลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดข้อเข่าได้


หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกรร้านยาใกล้บ้านได้ทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไป ไม่ทันการ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้


เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล


แนะนำบทความดีๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

  • โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • แคลเซียม เกลือแร่แคลเซียม (Calcium)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • ความหนาแน่นมวลกระดูก (BONE MINERAL DENSITY)
  • นายแพทย์ สามารถ ราชดารา
  • แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์