กระดานสุขภาพ

ยาคุมกำเนิด
Wass*****3

30 ธันวาคม 2560 16:21:57 #1

คือฉีดยาคุมแบบ 1เดือนมา แต่จะเลิกฉีดแล้วกินยาคุมต่อ คือกำหนดฉีดวันที่ 6นี้ แต่ ประจำเดือนหมดวันนี้ เราต้องกินยาคุมวันไหน เริ่มกินเม็ดไหน กินวันนี้ที่ประจำเดือนหมดเริ่มเม็ดที่1 หรือกินวันที่ครบกำหนดฉีดยาคุม กินแบบแผง28เม็ด
อายุ: 18 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 43 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 16.80 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

1 มกราคม 2561 18:43:46 #2

เรียน คุณ Wassana1103,

ขอตอบคำถามของคุณเป็น 2 ประเด็นนะครับ

1. เนื่องจากคุณไม่ได้ให้ข้อมูลมาว่าฉีดยาวันแรกเมื่อใด และประจำเดือนมาวันแรกเมื่อใด
การเปลี่ยนจากยาคุมกำเนิดชนิดฉีด เป็น ชนิดรับประทานรายเดือนนั้น สามารถเปลี่ยนมาใช้ได้เลย
โดยสามารถเริ่มยาได้ทันที หรือไม่เกินวันที่ครบกำหนดฉีดยา โดยตัวยาจะมีประสิทธิภาพได้ตั้งแต่รับประทานยาเม็ดแรกครบ 24 ชั่วโมง

2. ทั้งนี้การเปลี่ยนมารับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ต้องมีข้อควรระวังเพิ่มเติมด้วย เช่น

- ควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะฮอร์โมนเพศที่เด่นชัด

1. ฮอร์โมนเอสโตรเจนเด่น มักมีรูปร่าง อกเอวชัดเจน ผิวค่อนข้างละเอียด รูขุมขนไม่ค่อยกว้าง ผิวค่อนข้างแห้งหรือผิวผสม ขนไม่ค่อยดก หรือขนบาง รูปแบบการมีประจำเดือนมักมาปริมาณมาก (อาจต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยวันละหลายครั้ง) หรือประจำเดือนมักมานานหลายวัน เช่น 5-7 วัน แบบนี้ควรเลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินเด่นชัด เพื่อให้เกิดสมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกาย

2. ฮอร์โมนโปรเจสตินเด่น มักมีรูปร่างค่อนข้างตรง อกเอวไม่ชัดเจน ผิวค่อนข้างมัน รูขุมขนกว้าง ขนดก(หรือหนา) หน้ามัน เป็นสิวง่าย

รูปแบบการมีประจำเดือน มักมาปริมาณไม่มาก หรือมาน้อยวัน เช่น 2-3 วัน แบบนี้ควรเลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเด่นชัด เพื่อให้เกิดสมดุลฮอร์โมนเพศของร่างกาย

- รับประทานยาให้สม่ำเสมอ ห้ามลืมรับประทานยา โดยควรรับประทานยาในช่วงเวลาก่อนเข้านอนของทุกคืน เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และใกล้เคียงกับช่วงเวลานาฬิกาธรรมชาติที่มีการหลั่งฮอร์โมนตอนกลางคืน

- รับประทานยาด้วยน้ำเปล่าสะอาดเท่านั้น เนื่องจากเครื่องดื่มอื่น ๆ อาจทำให้ตัวยาตกตะกอน ร่างกายไม่สามารถดูดซึมยาได้ เช่น ชา (ชาเขียว ชาแดง ชานม) กาแฟ โกโก้ นม (รวมถึงโยเกิร์ต) น้ำเต้าหู้ น้ำอัดลม โซดา เป็ฯต้น หรือน้ำผลไม้บางชนิด อาจกระตุ้นให้ตับที่เป็นแหล่งกำจัดยา ผลิตเอนไซม์หรือน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น จึงกำจัดยาได้มากหรือเร็วขึ้น เช่น น้ำเกรปฟรุต น้ำส้มคั้น น้ำแอปเปิ้ล น้ำแครนเบอร์รี เป็นต้น

- ก่อนซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นใดมาใช้ร่วมกัน ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา "ยาตีกัน" จนเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ (จากตัวอย่างยาในบทความ ยาลดประสิทธิภาพยาคุมกำเนิด (Common medications that reduce efficacy of birth control medications)

3. จากข้อมูลส่วนบุคคล หากยังไม่ได้แต่งงาน การใช้ถุงยางอนามัยจะเหมาะสมกว่านะครับ เพราะนอกจากช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด ไวรัสเริม ไวรัสตับอักเสบชนิดบี/ซี หรือโชคร้ายสุดคือ ไวรัสเอชไอวี ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด และยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV - human Papillomavirus) ที่เป็นสาเหตุกระต้้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง และหูดหงอนไก่หรือมะเร็งองคชาติในเพศชาย

หรอือาจพิจารณาเลือกใช้ยาฝังคุมกำเนิด โดยสามารถรับบริการได้ฟรีจากสถานบริการของรัฐ สำหรับหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนะครับ

หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรได้ทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไป ไม่ทันการ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

 

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

ยาฉีดคุมกำเนิด (Injectable contraceptive)

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ

สูตินรีแพทย์

การคุมกำเนิด (Contraception)

แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา

สูตินรีแพทย์

ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)

แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา

สูตินรีแพทย์

ยาที่ลดประสิทธิภาพยาคุมกำเนิด (Common medications that reduce efficacy of birth control medications)

ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม

ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant)

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ

สูตินรีแพทย์

Wass*****3

3 มกราคม 2561 08:58:25 #3

ฉีดยาคุมเมื่อวันที่9ธันวาคม เป็นประจำเดือนวันแรก วันที่25ธันวาคม ประจำเดือนหมดวันที่30ธันวาคมค่ะ