กระดานสุขภาพ

ยา amittriptyline 10 mg. นอนกระตุก
Anonymous

31 พฤษภาคม 2560 22:22:00 #1

คือเป็นข้อต่อขากรรไกรอังเสบค่ะเลยทำให้กล้ามเนื้อที่หน้าอักเสบไปด้วย คุณหมอเลยให้ arcoxia 90 mg ใาทานวันละ 1 เม็ด ร่วมกับ ยาคลายกล้ามเนื้อ myonal และ ยาคลายเครียด amittriptyline 10 mg วันละเม็ดก่อนนอน เพิ่งทานไปเม็ดแรก คืนแรกมึนงง แต่หลับดีค่ะ คืนที่สองเลยตัดสินใจไม่ทาน เลยทำให้นอนไม่หลับในคืนนั้น มีอาการเครียดร่วมด้วยเล็กน้อยค่ะ คืนที่สามเลยตัดสินใจทานแค่ครึ่งเม็ด แต่ปรากฏว่า ก็นอนไม่หลับแต่ง่วงนะคะ จะหลับที่ไร ตัวสะตุ้งทุกทีค่ะ สะดุ้งเบาบ้าง แรงบ้างแต่ไม่มากค่ะ แล้วก็หลับต่อไม่ได้เลยค่ะ แต่อาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบดีขึ้นแล้วค่ะ แต่เป็นอาการกระตุกตอนนอนที่เพิ่มเข้ามา อาการที่เป็นเกี่ยวกับยา amittriptyline หรือเปล่าคะ หยุดกินแล้วจะหายไหมคะ เพลียมากเลย ไม่ได้นอนเลยค่ะกลัวจะเป็นโรคร้ายแรง แล้วเป็นจากการขาดแร่ธาตุหรือสารอาหารบางตัวหรือป่าวคะ เพราะช่วงขากรรไกรอักเสบ ไม่ค่อยได้ทานอะไรค่ะ ขอบคุณค่ะ
อายุ: 27 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 40 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 15.63 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

3 มิถุนายน 2560 04:07:15 #2

เรียน คุณ 559bb,


ตัวยาที่คุณสอบถามมานั้น มีหลายกลไกในการรักษานะครับ
- etoricoxib (Ar...) เป็นยาต้านอาการอักเสบบวมของกล้ามเนื้อและข้อต่อ (เป็นการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย) มีข้อดี คือรับประทานสะดวกเพียงวันละ 1 ครั้ง มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารค่อนข้างต่ำกว่ายารุ่นเดิม ข้อเสีย คือราคาค่อนข้างสูง และอาจเกิดอาการบวมน้ำจากยาได้
- eperisone (Myo....) เป็นยาบรรเทาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อหรือเอ็น ข้อดีคือไม่ค่อยพบอาการไม่พึงประสงค์ด้านระคายเคืองทางเดินอาหาร แต่ข้อเสียคือมักทำให้เกิดอาการง่วงซึม หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ เช่นน่อง หรือแขน
- amitriptylline เป็นยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้า แต่นำมาใช้ได้หลายกรณี เช่น นอนไม่หลับ มีอาการปัสสาวะรดที่นอน ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ หรือช่วยลดสารสื่อประสาทที่ทำให้เกิดอาการปวด เป็นต้น
ส่วนใหญ่ต้องใช้เป็นระยะเวลาหนึ่ง (1-2 สัปดาห์) จึงจะปรับสารสื่อประสาทในสมอง และเริ่มเห็นผลในการรักษา ต่างจากการใช้ยาช่วยให้นอนหลับ ที่ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ที่ออกฤทธิ์เร็ว
นอกจากไม่ช่วยในเรื่องความเครียดแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะพึ่งยา (หรือติดยา) ได้
ดังนั้นแนะนำให้รับประทานยาในขนาดที่แนะนำต่อนะครับ อาการไม่พีึงประสงค์จะค่อย ๆดีขึ้นเอง เมื่อสมองปรับเข้ากับระดับยาได้ แต่หากปรับตามนี้แล้ว อาการต่าง ๆยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการเลวลง
ควรกลับไปปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นยาอื่นต่อไป เนื่องจากพบในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเครียดและกัดฟันขณะหลับ ทำให้เกิดภาวะเสียวฟัน (เคลือบฟันบาง สึกกร่อน) หรือกล้ามเนื้อขากรรไกรล็อก
หรืออักเสบได้
ส่วนเรื่องกล้ามเนื้อขากระตุกจากภาวะขาดแร่ธาตุ ก็อาจเป็นได้ครับ เนื่องจากแร่ธาตุแม้ร่างกายจะต้องการเพียงปริมาณเล็กน้อย แต่ก็อาจส่งผลได้ เช่น ขาดโซเดียม แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกได้ ตัวอย่างในนักกีฬาที่สูญเสียแคลเซียม อาจส่งผลให้เป็นตะคริวได้ แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ แต่ให้ครบ 5 หมู่นะครับ เพื่อปรับส่วนที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ก่อน
หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประจำสถานพยาบาลที่ไปรับการรักษาทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานการรักษา และอาจไม่ตรงกับข้อสงสัยที่ต้องการสอบถาม


เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล


แนะนำบทความดีๆจากกองบรรณาธิการของเราที่
ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline)
เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร