กระดานสุขภาพ

การใช้ยาผิดประเภท
Anonymous

6 พฤศจิกายน 2558 16:24:32 #1

สวัสดีคะ...คือดิฉันเป็นเริมที่อวัยวะเพศ..มีตุ่มสองสามตุ่มไม่ได้เป็นเยอะคะปรกติจะหายเอง..คือวันนั้นรู้สึกเจ็บแสบคะ..เลยเอายาป้ายปากร้อนในมาทาที่เป็น..แล้วรู้สึกว่าดีขึ้นคะแล้วแผลก็หายเร็วด้วย..ทาทุกทีที่มีอาการคะ แต่รู้มาว่ายาป้ายปากมีตัวยาชาแล้วก้อสเตรียรอยจิงไหมคะ ใช้แบบนี้จะเป็นอันตรายไหมเพราะใช้ไม่ถูกที่..เริ่มใจไม่ดีแล้วคะ
อายุ: 28 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 45 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.58 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

12 พฤศจิกายน 2558 16:53:48 #2

เรียน คุณ 3e67f,

ก่อนตอบคำถามของคุณ ไม่ทราบได้รับคำแนะนำจากใครหรือว่าทดลองใช้เองครับ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของรูปแบบยาแต่ละประเภท แตกต่างกันในแต่ละแบบ และข้อบ่งใช้ หากนำไปใช้งานไม่ถูกต้องแล้ว นอกจากอาการป่วยไม่ดีขึ้นแล้ว ยังอาจเลวลงจนอาจเกิดความพิการถาวรได้ เช่น การนำยาขี้ผึ้งที่ไม่ได้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาทาบริเวณแผลเปิด นอกจากไม่ช่วยให้แผลดีขึ้นแล้ว ยังทำให้เป็นแผลแฉะ แผลแห้งยาก และอาจกัดกินเนื้อเยื่อลงไปถึงด้านในชั้นกล้ามเนื้อได้ และเช่นเดียวกันกับกรณีของคุณ ตัวยาป้ายปกถูกออกแบบมาเป็นขึ้ผึ้งเหนียว เพื่อช่วยคลุมแผล ลดการระคายเคืองจากการเคี้ยวอาหาร หรือน้ำย่อยในน้ำลาย และมีส่วนผสมของตัวยาชา และสเตียรอยด์ จึงช่วยลดอาการปวดแสบร้อนได้ แต่การทายาสเตียรอยด์จะทำให้กดภูมิต้านทานของร่างกาย จะทำให้เชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียาที่ออกฤทธิ์ฆ่าไวรัส มีแต่ลดปริมาณเชื้อไวรัส และอาศัยภูมิต้านทานโรคของร่างกายในการลดปริมาณลงจนไม่ทำให้เกิดโรค
แต่เชื้อไวรัสเริม งูสวัด เป็นเชื้อที่ไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้หมด มักจะไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาท เมื่อภูมิต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอลง ก็จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และมักเป็นรุนแรงมากขึ้น

ดังนั้นการใช้ยาผิดรูปแบบ และข้อบ่งใช้ โดยไม่มีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพียงแต่ช่วยบรรเทาอาการจากฤทธิ์ของยาชาเท่านั้น แต่จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นจากสารสเตียรอยด์และอาจกระตุ้นให้กลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยกว่าเดิม หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จนอาจติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จนถึงกับเสียชีวิตได้

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน "ก่อน" เริ่มต้นการใช้ยา/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ เนื่องจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง อาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยา ยากับอาหาร หรือยากับโรค จนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

เริม (Herpes simplex) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes) รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วรลักษณ์ สมบูรณ์พร สูตินรีแพทย์

อะไซโคลเวียร์ (Aciclovir) เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร