กระดานสุขภาพ

หยุดยา lexapro
Anonymous

31 กรกฎาคม 2558 03:56:02 #1

พ่อป่วยเป็นหลอดเลือดสมองตีบเมื่อต้นเดือนมีนาปีนี้(2558) อัมพฤกษ์ซึกขวา หาหมอรักษาอยู่ ขณะเดียวกันก็รักษาทางด้านกายภาพด้วยค่ะ ปัญหาคือหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู ให้ยามาบอกว่าจะทำให้การกลืนดีขึ้น คือยาlexapro 10 mg. ชื่อสามัญ escitalopram กินก่อนนอนวันละ1 เม็ด กินมาได้ประมาณเกือบ 2 เดือน ก็ถึงวันหมอนัดอีกครั้ง ครั้งนี้หมอก็ให้ยาเพิ่มอีก 1 ตัวคือ.trazodel 50 mg ชื่อสามัญ traxodone พอกินไปได้ 2 วัน พ่อมีอาการซึม ง่วงตลอดเวลา รู้สึกสงสัย เลยเช็คชื่อยาในเน็ต พบว่าทั้ง2ตัวเป็นยารักษาโรควิตกกังวล แล้วยาทั้ง 2 นี้มีคุณสมบัติช่วยให้การกลืนดีขึ้นหรือไม่ จึงอยากจะรบกวนสอบถามค่ะว่า ยา2ตัวนี้มีคุณสมบัตอย่างไร ควรจะหยุดกินยาหรือไม่ ถ้าหยุดควรหยุดอย่างไรค่ะ

อายุ: 73 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 70 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 29.14 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

4 สิงหาคม 2558 13:26:32 #2

เรียน คุณ 4b5e7,

แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษานะครับ เนื่องจากยา 1 ตัวอาจมีข้อบ่งใช้ได้มากกว่า 1 อย่าง สิ่งที่พิมพ์ไว้เป็นสิ่งที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยา แต่สำหรับทางการแพทย์จะใช้ได้มากกว่า 1 โรค เช่น ใช้ปรับสารเคมีในสมอง เพื่อให้การทำงานของระบบเส้นใยประสาททำงานเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น หรือใช้เพื่อปรับวงจรการนอน เพื่อให้กลับมาใกล้เคียงกับธรรมชาติ หรือใช้เพื่อลดอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเครียด ซึ่งคนเรามักไม่ค่อยรู้ตัวว่าเครียด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหว การพูด หรือการกลืนลำบาก โดยกลไกร่างกายเมื่อเกิดภาวะเครียด จะมีการหลั่งสารเคมีแห่งความเครียด คอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำพวกสเตียรอยด์ คอร์ติซอลนี้จะเก็บกักสารอาหารที่ร่างกายคิดว่าจำเป็น แต่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น เกลือโซเดียม (เกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูง บวมน้ำ) น้ำตาล (เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน) แคลเซียม (ดึงแคลเซียมออกจากกระดูก - เสี่ยงต่อภาวะกระดูกบาง) ไขมัน (เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง) ณ เบื้องต้น แนะนำให้ลดขนาดยา trazodone ลงครึ่งหนึ่งก่อน หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ จึงค่อยปรับเพิ่มเป็นขนาดที่แพทย์สั่งให้ใช้ เนื่องจากอาการง่วงซึมเป็นอาการที่สามารถหายไปได้เอง เมื่อร่างกายปรับตัวให้เข้ากับตัวยาได้แล้ว

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประจำโรงพยาบาลที่คุณพ่อคุณไปรับการรักษา ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ ซึ่งอาจช้าไม่ทันการ หรือว่าไม่ตรงกับอาการเจ็บป่วย จนอาจเสี่ยงเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล