กระดานสุขภาพ

มีเรื่องสงสัยคะ
Anonymous

15 มีนาคม 2558 09:27:12 #1

หนูได้ทานยาคุมฉุกเฉินไปวันที่20แล้วรอบเดือนมาวันที่21-27  พอผ่านไปได้อาทิตย์หนึ่งก็เริ่มมีความรู้สึกเจ็บหน้าอก ทั้งสองอาการมันเป็นความผิดปกติไหมคะ

อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 169ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.01 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

19 มีนาคม 2558 07:15:43 #2

เรียน คุณ 6a970,

ก่อนอื่นขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ว่าในทางการแพทย์นั้นให้ใช้ต่อเมื่อไม่สามารถใช้การคุมกำเนิดปกติได้ เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือเมื่อถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่วซึม ไม่แนะนำให้ใช้แทนการคุมกำเนิดทั่วไป เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์สูงกว่าปกติ (8-15 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับชนิดปกติ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) และตัวยามีปริมาณฮอร์โมนค่อนข้างสูง คือ 1500 ไมโครกรัมเทียบกับชนิดปกติ คือ 50-75 ไมโครกรัม กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ

- ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียวเพิ่มขึ้น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่อสุจิจะผ่านเข้าไปพบกับไข่

- ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวช้าลง ลดโอกาสที่ไข่จะเดินทางมาพบกับอสุจิ

- ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวหรือบางลง จนตัวอ่อนมาฝังตัวได้ยาก (หากมีการผสมของไข่กับอสุจิ)

ดังนั้น เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ประมาณ 3-4 วันจะมีเลือดออกจากช่องคลอด ที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก (กลไกที่ 3) แต่ไม่ใช่เลือดประจำเดือนตามรอบปกติ ดังที่แจ้งไปก่อนหน้า ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะมีปริมาณฮอร์โมนเพศค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดอาการคัดตึงเต้านม คลื่นไส้อาเจียน หรือปวดมวน แน่นท้องได้
ส่วนใหญ่ จะกลับเป็นปกติได้เอง หลังจากรับประทานยาประมาณ 10-14 วัน

จากข้อมูลปริมาณฮอร์โมนเพศสูงของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน บริษัทยาจึงแนะนำไม่ให้รับประทานยาเกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก จนอาจเสียชีวิตจากการตกเลือดในช่องท้องได้ แต่จากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่าสตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มากเกินกว่า 3 ครั้งตลอดชีวิต จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆสูงหลายเท่าเมื่อเทียบกับสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดปกติ เช่นมะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก/รังไข่ หรือมะเร็งตับ เป็นต้น

หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน และจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้ใช้วิธีรับประทานยาคุมกำเนิดปกติ หรือหากไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆแนะนำให้ใช้วิธีการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งนอกจากช่่วยป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด ไวรัสเริม ตับอักเสบ ชนิด บี/ซี หรือโชคร้ายสุด คือเอชไอวี ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV - Human Papilloma Virus ) ที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากช่องคลอด หรือหูดหงอนไก่ / มะเร็งองคชาติในเพศชาย

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเรา การคุมกำเนิด (Contraception) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา
สูตินรีแพทย์