กระดานสุขภาพ

ระดับน้ำตาล
Anonymous

15 มกราคม 2557 08:02:47 #1

ทำไมระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงในช่วงบ่าย

อายุ: 48 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 67 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.74 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

16 มกราคม 2557 02:34:36 #2

เรียน คุณ 185bf

รบกวนคุณ ช่วยให้รายละเอียดเพิ่มเติมด้วยคะว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงแค่ไหน รู้ได้อย่างไรขอรายละเอียดค่ะ จะได้ประเมินได้ว่าปกติไหม ตรวจกี่ครั้ง

Anonymous

17 มกราคม 2557 03:36:01 #3

ผมใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว  หลังงดน้ำอาหาร 20.00 น. เจาะเลือดในเวลา 06.00 น. ระดับน้ำตาล 115 ทานข้าวเช้า 07.00 น. หลังทานข้าว 2 ช่ัวโมง  ระดับน้ำตาล  140   ทานข้าวเที่ยง 12.00 น.  หลังทานข้าวเที่ยง 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาล 190

ผ*****

20 มกราคม 2557 07:18:15 #4

ผู้ชายอายุ 48 ปี BMI = 23.7 ซึ่งในคนเอเซียถือว่าน้ำหนักเกิน ไม่บอกว่ามีประวัติเบาหวานในครอบครัวหรือไม่

1. ผลการตรวจน้ำตาลเมื่องดอาหาร 8-12 ชั่วโมง 115 มก/ดล (คนปกติงดอาหารน้ำตาล น้อยกว่า 100, คนเป็นเบาหวาน น้ำตาล 126 ขึ้นไป) ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

2. หลังอาหาร 2 ชม.เช้า 140, เที่ยง 190 (คนปกติน้อยกว่า 140, คนเป็นเบาหวาน 200 ขึ้นไป) ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

3. น้ำตาลหลังอาหารแต่ละมื้อในคนปกติจะน้อยกว่า 140 เนื่องจาก ไม่ว่าเราจะกินอาหารมากเท่าไร ตับอ่อนก็มีประสิทธิภาพสร้างอินซูลินมาพากลูโคสเข้าเซลได้สมดุลตลอด สำหรับคุณ ประสิทธิภาพตับอ่อนเสื่อมลง

4. น้ำตาลหลังอาหารแต่ละมื้อของคุณที่แตกต่างกันขึ้นกับ

  1. น้ำตาลก่อนอาหารที่แตกต่าง
  2. ปริมาณอาหารที่กินโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต
  3. ปริมาณอินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อน
  4. ประสิทธิภาพของอินซูลิน

5. คุณเดินทางไกลเกินครึ่งทางของถนนสายเบาหวานแล้ว จำเป็นต้องเร่งรีบปรับพฤติกรรมอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันโรคเบาหวานในอนาคตอันใกล้นี้

Anonymous

23 มกราคม 2557 03:43:33 #5

การออกกำลังกายช่วยให้ระดับน้ำาลในเลือด ลดลงได้ไหมครับ  และภาวะตับอ่อนเสื่อมต้องทำอย่างไร  ( บิดาเป็นเบาหวาน )

ผ*****

28 มกราคม 2557 12:09:56 #6

เบาหวานกับการออกกำลังกาย

สามารถทำให้น้ำตาลสูงหรือต่ำก็ได้ ขึ้นกับระดับ insulin ณ เวลาที่ออกกำลังกาย ในคนที่ฉีด insulin ขึ้นกับตำแหน่งและเวลาที่ฉีด และอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากหลายปัจจัยดังนี้

1.1 อินซูลินที่ฉีดจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อจับน้ำตาลเข้าเซลล์ และห้ามมิให้ตับสร้างน้ำตาล
1.2 การออกกำลังกายจะเพิ่มอุณหภูมิ และการหมุนเวียนของเลือด ทำให้อินซูลินดูดซึมจากตำแหน่งได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะถ้าฉีดที่แขน ขา

ในทางกลับกัน การออกกำลังกายอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ โดยเฉพาะในคนที่คุมเบาหวานไม่ได้ (น้ำตาลในเลือดเกิน 250 มก/ดล) และอินซูลินในเลือดต่ำ

ในผู้ป่วยเบาหวานที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกมาเป็นเวลานาน 6-24 สัปดาห์มักเกิดผลดีต่อผู้เป็นเบาหวานดังนี้

1.1 เพิ่ม activity of mitochondrial enzymes ซึ่งเพิ่มพลังงานของกล้ามเนื้อ
1.2 เพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลิน (insulin sensitivity)
1.3 ลดค่าเบาหวานสะสม (HbA1c) ประมาณ 0.5-0.7 %

ดังนั้นเนื่องจากแต่ละคนแตกต่างกันจึงควรทดลองตรวจเลือดก่อนและหลังออกกำลังกาย ก็จะได้คำตอบสำหรับตนเอง และเพื่อจะได้เตรียมตัวก่อนออกกำลังกายได้ดีขึ้น

ภาวะตับอ่อนเสื่อม

ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ซึ่งพบบ่อยในผู้ดื่มสุราเรื้อรัง หรือภาวะทางกรรมพันธุ์อื่นๆ แต่ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องเบาหวาน เช่น อ้วน หรือ กรรมพันธ์เบาหวาน ความดัน ไขมันผิดปกติ พวกนี้เริ่มต้นจะมีภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเป็นจำนวนมาก จึงจะสามารถพาน้ำตาลเข้าเซลล์ได้ จนน้ำตาลในเลือดปกติตลอดเวลา ตับอ่อนต้องทำงานหนักจนล้า และเสื่อมลง ผลิตอินซูลินได้น้อยลง ซึ่งต่อมาจะตรวจพบน้ำตาลหลังอาหารผิดปกติก่อน เป็นเวลาหลายปี จนตับอ่อนเสื่อมไปครึ่งหนึ่ง จึงสามารถตรวจพบน้ำตาลสูงเมื่องดอาหาร ดังนั้นทำให้วินิจฉัยเบาหวาน ได้ช้ากว่าความเป็นจริงหลายปี

การชะลอภาวะตับอ่อนเสื่อม คือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังเช่น แอลกอฮอร์ ภาวะดื้ออินซูลิน เช่น อ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันดีต่ำ