กระดานสุขภาพ

การป่วยเป็นวัณโรครอบสอง
Anya*****a

19 เมษายน 2562 08:58:03 #1

สวัสดีค่ะ เมื่อปี2561 หนูเริ่มรักษาวัณโรคปอดในเดือนกุมภาพันธ์ และสิ้นสุดการรักษาเดือนสิงหาคม 2561 แต่ปัจจุบันนี้พบว่าตนเองมีอาการตัวร้อนและเหงื่อออกตอนกลางคืน เหนื่อยง่าย คล้ายกับตอนที่เป็นวัณโรคในปี2561 แต่ไม่ไอค่ะ และมีอาการเพิ่มเติมที่ต่างไปจากเดิมคือหัวใจเต้นเร็วมาก วัดได้ 90-120 ในช่วงพักค่ะ จึงอยากสอบถามว่า หนูมีโอกาสกลับมาเป็นวัณโรคปอดรอบที่สองใช่ไหมคะ และการรักษาในครั้งนี้ต้องใช้สูตรยาที่ต้านวัณโรคดื้อยา หนูอยากทราบว่ายาที่ใช้มีผลข้างเคียงเยอะมากไหมคะ หนูมีโอกาสหายจากโรคนี้ไหม หนูไม่ได้เป็นHIVนะคะ แต่ทำไมถึงเป็นวัณโรคดื้อยาได้
อายุ: 23 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 52 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.10 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

20 เมษายน 2562 16:56:41 #2

อาการสำคัญของวัณโรคปอดคือ ไอเรื้อรังโดยเฉพาะอาการไอที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ ขึ้นไป โดยจะเริ่มจากไอแห้งๆ ต่อมาจะมีเสมหะจนอาจมีไอเป็นเลือดได้

อาการอื่นๆที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเหงื่อออกกลาง คืน

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยวินิจฉัยวัณโรคได้แก่

เอ็กซเรย์ปอด ลักษณะผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคปอดเช่น พบการอักเสบของปอดที่ ปอดกลีบบน

การย้อมเชื้อวัณโรคจากเสมหะ ควรทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคเพื่อช่วย ยืนยันการวินิจฉัย โดยจะเก็บเสมหะตอนเช้าหลังตื่นนอน 3 วันติดต่อกัน จะรู้ผลภายในประมาณ 30 นาที แต่มีข้อเสียคือ วิธีนี้มีโอกาสตรวจพบเชื้อวัณโรคได้เพียงประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย เท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะก็ยังอาจเป็นโรควัณโรคปอดได้

การเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะ ข้อดีคือ วิธีนี้สามารถตรวจพบเชื้อได้สูงถึง 80 - 90% ของผู้ป่วย แต่ต้องใช้เวลาประมาณสองเดือนจึงทราบผล

อนึ่ง เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรคเช่น ไอเรื้อรัง มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด แพทย์จะส่งทำเอ็กซเรย์ปอด ซึ่งถ้าพบลักษณะผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคปอด แพทย์จะให้ผู้ ป่วยเก็บเสมหะตรวจย้อมเชื้อวัณโรค ซึ่งถ้าพบเชื้อวัณโรคก็จะวินิจฉัยได้แน่นอน แต่บางครั้งผู้ ป่วยมีอาการและเอ็กซเรย์ปอดเข้าได้กับวัณโรคแต่ย้อมไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะ แพทย์อาจ ให้การวินิจฉัยและให้การรักษาแบบวัณโรคปอดได้ แต่ต้องติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด