กระดานสุขภาพ

rectoceleอันนี้เป็นอันเดียวกับ Diverticulitis รึป่าวคะ
Anonymous

7 ตุลาคม 2561 05:51:51 #1

เหมือนกันไหมคะ
อายุ: 28 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.03 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

9 ตุลาคม 2561 08:56:10 #2

  • Rectocele หรือกระเปาะทวารหนัก คือการที่ผนังด้านหน้าของทวารหนักยื่นเป็นถุงเข้าไปทางช่องคลอด เกิดจากกล้ามเนื้อหรือผนังที่กั้นระหว่างช่องคลอดกับทวารหนักฉีกขาดหรืออ่อนแอจากการคลอดบุตรหรือจากการเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน ๆ หรือเป็นความอ่อนแอของกล้ามเนื้อเองโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถุงเนื้อยื่นเข้าไปในช่องคลอดมากขึ้นและใหญ่ขึ้นในระหว่างการเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้อุจจาระที่ออกมาแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งผ่านไปทางทวารหนักได้ อีกส่วนหนึ่งเข้าไปตกค้างอยู่ที่บริเวณถุงหรือกระเปาะ ทำให้เกิดความรู้สึกตุงบริเวณทวารหนัก ยิ่งเบ่งถ่ายมากก็จะมีอุจจาระไปตกค้างมาก ทำให้รู้สึกถ่ายไม่สุด ปวดถ่ายตลอดเวลา ถ้าเอามือไปกดรอบ ๆ ทวารหนัก จะทำให้อุจจาระบางส่วนไหลออกมาจากถุง กลับเข้าสู่ทวารหนัก และถ่ายออกมาได้ พบในสุภาพสตรีวัยระหว่าง 30-50 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคยมีบุตรหลายคน มีอาการปวดถ่ายอุจจาระเหมือนเช่นคนปกติ แต่เมื่อเข้าไปถ่ายอุจจาระ มีความรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระช้ามาก ต้องเบ่งถ่ายอย่างมาก หรือถ่ายไม่สุด บางครั้งต้องใช้มือกดท้อง กดรอบ ๆ รูทวารหนักเข้าช่วย บางคนต้องเอามือล้วงอุจจาระออกมา นอกจากนี้ยังมีอาการถ่ายบ่อย ๆ ถ่ายเสร็จแล้วก็มีความรู้สึกเหมือนมีอุจจาระตุงอยู่ที่ก้น และอยากจะเข้าไปถ่ายอุจจาระใหม่ เป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ จนเป็นการกลัวการถ่ายอุจจาระ ไปตรวจมาหลายแห่งแล้วก็ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ไม่มีเนื้องอกหรือเนื้อร้ายมาขวางทางอุจจาระ
  • โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticulosis หรือ Diverticular disease) คือโรคที่ผนังลำไส้ใหญ่มีการโป่งพองออกเป็นถุงขนาดต่างๆ อาจทั้งเล็กและใหญ่ และอาจมีถุงเดียวหรือหลายถุง ทั้งนี้ช่องหรือโพรงของถุงยังคงติดต่อ ต่อเนื่องกับช่องทางเดินอาหารของลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อถุงนี้เกิดการติดเชื้อ จะก่อให้เกิดการอักเสบ เรียกว่า “โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)
  • ถุงผนังลำไส้ใหญ่ อาจพบได้เพียงถุงเดียว หรือหลายๆถุง (พบได้สูงกว่าการเกิดเพียงถุงเดียว) อาจเป็นสิบๆถุง หรือเป็นร้อยถุง โดยทั่วไปมักจะเป็นถุงเล็กๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประ มาณ 5-10 มิลลิเมตร (มม.) แต่อาจใหญ่ถึง 2 เซนติเมตร (ซม.)ได้ และเคยมีรายงานว่ามีขนาดใหญ่ได้ถึง 25 ซม.
  • โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ พบได้ในผู้หญิงและในผู้ชายใกล้เคียงกัน พบได้สูงขึ้นในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุเพิ่มขึ้น โอกาสเกิดก็ยิ่งสูงขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่า พบโรคได้น้อยกว่า 10% เมื่ออายุต่ำกว่า 40 ปี แต่พบโรคได้ประมาณ 50-66% เมื่ออายุมากกว่า 80 ปี
  • โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่พบเกิดในคนตะวันตกมากกว่าในคนเอเชีย มีรายงานพบโรคนี้ในคนจีนในสิงคโปร์ 0.14 รายต่อประชากร 1 ล้านคน แต่พบโรคนี้ได้ในคนยุโรป 5.41 รายต่อประชา กร 1 ล้านคน ทั้งนี้ในคนเอเชีย มักเกิดโรคนี้กับลำไส้ใหญ่ด้านขวา แต่ในคนตะวันตกมักเกิดโรคนี้กับลำไส้ใหญ่ด้านซ้ายโดยเฉพาะ ลำไส้ใหญ่ส่วนที่ เรียกว่า ลำไส้คด (Sigmoid colon)