กระดานสุขภาพ

สงสัยว่าตัวเองจะเป็นไทรอยด์หรือเปล่าคะ
Art3*****2

8 กรกฎาคม 2561 04:53:24 #1

มีอาการ - นอนหลับยาก - หัวใจเต้นผิดปกติ / หายใจสั่น - รู้สึกสั่นบางครัั้ง - ประจำเดือนมาน้อย
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 162 กก. ส่วนสูง: 54ซม. ดัชนีมวลกาย : 555.56 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

9 กรกฎาคม 2561 09:16:49 #2

จากอาการที่ปรึกษามา มีอาการที่เข้าได้กับอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน แต่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ค่ะ อาจเป็นภาวะอื่นๆได้อีกมาก แนะนำให้พบแพทย์ค่ะ เพื่อตรวจวินิจฉัย

ไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอใน ส่วนหน้าต่อลูกกระเดือกหรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประ กอบด้วย 2 กลีบใหญ่คือ กลีบด้านซ้ายและกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ต่อมไทรอยด์ปกติของผู้ใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 18 -30 กรัม แต่ละกลีบของต่อมไทรอยด์ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร (ซม.) ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 2 - 3 ซม. และส่วนที่หนาสุดประมาณ 0.8 - 1.6 ซม. ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถคลำพบได้

ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิดคือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์ โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมนจึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น

ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมากคือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหารและจากออกซิเจนหรือที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism หรือกระบวนการแปรรูปอณู) ของเซลล์ต่างๆเพื่อการเจริญเติบโต การทำงาน และการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนินมีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล

โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อยคือ ภาวะหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะหรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคคอพอก โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ และโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

1.ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

อาการจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบบ่อยได้แก่ ผอมลงทั้งๆที่กินจุ หัวใจเต้นเร็วและแรง ทนอากาศร้อนไม่ได้ เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อแขนและขาลีบ อุจจาระบ่อยขึ้น/ท้อง เสีย ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผมเปราะแห้ง ผมร่วง มือสั่น หงุดหงิดง่าย กังวลเกินเหตุ อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อาจมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อมและอาจร่วมกับมีตาโปนทั้ง 2 ข้างเมื่อเกิดจากโรคเกรวฟส์ อาจมีปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์เมื่อเกิดจากคอพอกเป็นพิษ หรืออาจมีต่อมไทรอยด์โตเจ็บ อาจร่วมกับมีไข้เมื่อเกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสบ

2.ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)

ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติหรือเสียหายจากสาเหตุต่างๆเช่น จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จึงส่งผลให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย/ในเลือดต่ำกว่าปกติ จึงก่ออาการต่างๆขึ้น ซึ่งที่พบบ่อยได้แก่ ทนหนาวไม่ได้ หนาวเกินเหตุ ท้องผูก ประจำเดือนแต่ละครั้งมามากผิดปกติ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อ้วนฉุ เฉื่อย ช้า เสียงแหบ พูดได้ช้าลง ผิวหนังดูหนากว่าปกติ ผิวแห้ง เล็บแตกง่าย ใบหน้า รอบดวงตา มือ เท้าบวมโดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน ซึมเศร้า

3.โรคคอพอก (Goiter หรือ Goitre)

โรคต่อมไทรอยด์โต อาจโตเรียบทั่วทั้งสองกลีบ โตเรียบเพียงกลีบเดียว โตแบบเป็นตะปุ่มตะป่ำ หรือเป็นปุ่มก้อนเนื้อ อาจเกิดเพียงก้อนเนื้อเดียวหรือ หลายๆก้อน เกิดกับต่อมไทรอยด์เพียงกลีบใดกลีบหนึ่ง หรือกับทั้งสองกลีบพร้อมกัน ดังนั้นคอพอกจึงเป็นคำกลางๆหมายความถึงมีต่อมไทรอยด์บวมโต ซึ่งผู้ป่วยอาจ

• มีไทรอยด์ฮอร์โมนปกติ จึงไม่มีอาการผิดปกติใดๆยกเว้นเพียงต่อมไทรอยด์โต โดยมักมีสาเหตุจากขาดเกลือแร่ไอโอดีน ต่อมไทรอยด์จึงเพิ่มปริมาณเซลล์ให้มากขึ้น ต่อมจึงมีขนาดโตขึ้นหรือเกิดเป็นตะปุ่มตะป่ำ

• หรือมีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนสูงขึ้น จึงเกิดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินหรือไทรอยด์เป็นพิษ

• หรืออาจมีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ จึงเกิดอาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีไทรอยด์ฮอร์โมนปกติ สูง หรือต่ำ ขึ้นกับสาเหตุของคอพอก

4.โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)

ปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นปุ่มเนื้อที่ไม่ ใช่เนื้องอกมะเร็ง โดยปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 3 ชนิดตามการจับไอโอดีนของเซลล์ปุ่มเนื้อ คือ

• เมื่อเซลล์ปุ่มเนื้อจับไอโอดีนได้ตามปกติเรียกว่า วอร์มโนดูล (Warm nodule) ปุ่มเนื้อชนิด นี้มักเกิดจากร่างกายขาดเกลือแร่ไอโอดีน และเป็นปุ่มเนื้อที่ไม่กลายเป็นโรคมะเร็ง

• เมื่อเซลล์ปุ่มเนื้อจับไอโอดีนได้สูงกว่าปกติเรียกว่า ฮอตโนดูล (Hot nodule) ซึ่งปุ่มเนื้อชนิดนี้เป็นชนิดพบได้น้อย มักทำให้มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน และมีรายงานเปลี่ยนเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ประปรายน้อยมากๆ

• เมื่อเซลล์ปุ่มเนื้อไม่จับไอโอดีนเรียกว่า โคลด์โนดูล (Cold nodule) ปุ่มเนื้อชนิดนี้โดยทั่ว ไปเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง และจะยุบหายได้เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาไทรอยด์ฮอร์โมนเรียก ว่า ไทรอยด์อะดีโนมา (Thyroid adenoma) อย่างไรก็ตามพบปุ่มเนื้อโคลด์โนดูลเกิดจากโรค มะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ประมาณ 5 - 10% ดังนั้นเมื่อปุ่มเนื้อชนิดนี้มีขนาดโตขึ้นหรือไม่ยุบลงหลังได้ยาฮอร์โมนดังกล่าว การรักษามักเป็นการเจาะ/ดูดเซลล์จากปุ่มเนื้อเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็ง เพื่อการรักษาได้ถูกต้องต่อไป

5.โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer)เป็นโรคมะเร็งพบบ่อยชนิดหนึ่งของคนไทย เป็นโรคมะเร็งของผู้ใหญ่ แต่พบได้ตั้งแต่ในเด็กโตไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้หญิงพบเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ชายถึงประมาณ 3 - 4 เท่า เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือการได้รับรังสีในบริเวณต่อมไทรอยด์โดยเฉพาะในช่วงเป็นเด็ก และอาการสำคัญคือ ต่อมไทรอยด์โตมอง เห็นได้และคลำได้ก้อนเนื้อหรือปุ่มเนื้อในต่อมไทรอยด์ และในโรคระยะลุกลามอาจคลำได้ต่อม น้ำเหลืองลำคอโตด้านเดียวกับที่มีก้อนเนื้อในต่อมไทรอยด์