กระดานสุขภาพ

มันคือการแพ้ฟรือโรคครับ
Chat*****e

26 มิถุนายน 2561 20:29:01 #1

ผมมาทำงานที่ กทม.ครับ ทำงานเกี่ยวกับอะไหล่รถยนต์ ผมทำได้ประมาณ1ครับ แล้วมือผมเปื่อน ไปล้างมือโดยใช้เจลล้างมือ แล้วอยู่ดีๆ หลังมือทั้งสองข้างของผม เป็นร้อนๆ แล้วเปนสีขาว แล้วผมเอามือไปขูดมันลอกครับ แต่ก่อนวันจะเป็น ผมได้ซักผ้าโดยใช้ไฮเตอร์แต่ซักมือ แต่วันที่ซักผ้าก็ไม่เปนอะรัยอะครับ แล้วหลังจากวันที่เป็นมาแค่อาบน้ำ ก้อยังลอกเรยครับ แบบไม่ถึงนาที บางทีไปอออกกำลังกาย เหงื่อออก มือทั้งสองข้างก็ซีดไปเรยอะครับ สาเหตุคืออะไรครับ วิธีแก้มีทางไหมครับ ตอบผมมที่ครับคุณหมอ
อายุ: 18 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 63 กก. ส่วนสูง: 172ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.30 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

30 มิถุนายน 2561 06:55:04 #2


โรคผื่นแพ้สัมผัสคือ โรคผื่นผิวหนังที่ก่อการอักเสบและอาการคัน โดยเป็นปฏิกิริยาทางภูมิ คุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายต่อสารที่ก่ออาการแพ้/สารก่อภูมิแพ้ต่อผิวหนัง โดยการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ครั้งแรกนั้นจะยังไม่เกิดอาการผื่นแพ้สัมผัส แต่จะเป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันฯของร่าง กายให้เกิดการรู้จักและจดจำสารนั้นๆไว้ ครั้งต่อๆไปเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆก็จะเกิดปฏิกิริยาผื่นแพ้สัมผัสขึ้นกับผิวหนังส่วนที่แพ้สารก่อภูมิแพ้นั้นๆ

ผื่นแพ้สัมผัสมักพบบริเวณใบหน้า มือ เท้า เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีการสัมผัสกับสารก่อภูมิ แพ้ได้บ่อย แต่ก็สามารถเกิดได้กับผิวหนังทุกบริเวณ ตัวอย่างเช่น ผื่นแพ้สัมผัสบริเวณรอบตาที่เกิดจากการแพ้เครื่องสำอางทาตา ผื่นแพ้สัมผัสที่ริมฝีปากจากการแพ้ลิปสติก เป็นต้น

อาการของผื่นแพ้สัมผัสนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยโรคระยะเริ่มแรก ผิวหนังที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้จะมีผื่น แดง คัน ผิวหนังบวมคัน ต่อมาเกิดเป็นตุ่มน้ำใส ต่อมาอาการบวมลดลง ตุ่มน้ำแตก ออก แห้ง กลายเป็นผื่นที่ตกสะเก็ด สุดท้ายหากกลายเป็นผื่นแพ้สัมผัสเรื้อรัง ผิวหนังส่วนเป็นผื่นจะหนาขึ้น แห้ง คัน และเป็นสะเก็ด

การรักษาหลักในโรคผื่นแพ้สัมผัสที่สำคัญคือ การเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดการแพ้/สารก่อภูมิ แพ้ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่แพ้โลหะนิกเกิล (Nickel, โลหะสีเงินที่ใช้เคลือบเครื่องประดับ) ก็ควรเลี่ยงการสัมผัสโลหะนิกเกิลที่อยู่ในเครื่องประดับนั้นๆเช่น ตุ้มหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล หัวเข็มขัด กระดุม

นอกจากนั้น ผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดขึ้นจะมีอาการคัน การรักษาอาการคันคือ รักษาตามอาการ ด้วยการให้ทายาสเตียรอยด์ที่บริเวณรอยผื่น และให้รับประทานยาแก้แพ้ในกลุ่ม Antihistamine

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคผื่นแพ้สัมผัสที่สำคัญคือ

ในผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่าตนเองแพ้สารใดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารนั้นเช่น ผู้ที่แพ้โลหะนิก เกิลควรสวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากโลหะอื่นแทนเช่น เงิน เป็นต้น

นอกจากนั้น ผู้เป็นโรคนี้ทุกคน ทั้งที่รู้ว่าแพ้สารอะไรหรือไม่รู้ว่าแพ้สารอะไร ต้องสังเกตตน เอง เมื่อมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใหม่หรือมีกิจกรรมที่สัมผัสสารเคมีเช่น การล้างห้องน้ำ การทำ งานอดิเรกต่างๆ (เช่น ปลูกต้นไม้) ว่ามีอาการผื่นแพ้สัมผัสเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อให้รู้ว่าแพ้สารอะไร หรือแพ้สารอะไรเพิ่มเติม จะได้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเหล่านั้นได้

อนึ่ง ขณะเกิดผื่นแพ้สัมผัส การดูแลตนเองคือ

• ต้องพยายามไม่เกาผื่น เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผื่น (แผลเกิดหนอง) ซึ่งการดูแลตนเองได้แก่ การรักษาความสะอาดเล็บและตัดเล็บให้สั้น

• ถ้าคันมาก ใช้การประคบเย็นที่รอยโรคจะช่วยลดอาการคันลงได้

• ลดการระคายเคืองต่อรอยโรคโดยการใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำและผลิตภัณฑ์ซักเสื้อผ้าเครื่อง ใช้ชนิดที่อ่อนโยนเช่น ชนิดที่ใช้กับเด็กอ่อน

• รักษาความชุ่มชื้นของรอยโรคด้วยการใช้โลชั่นสำหรับผิวที่แพ้ง่าย

• สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ก่อการระคายผิวหนังหรือที่ไม่ทำให้เหงื่อออกมากเช่น เสื้อผ้าที่หลวม ไม่รัดตัวเกินไป และเป็นผ้าฝ้าย

• รู้จักใช้ถุงมือยาง รองเท้ายาง เมื่อต้องทำงานสัมผัสสารเคมี

• พบแพทย์ตามนัด/ไปโรงพยาบาลเสมอกรณีแพทย์นัด

การป้องกันผื่นแพ้สัมผัสทำได้โดย

• กรณีรู้ว่าอะไรคือสารก่อภูมิแพ้สำหรับตน ก็ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ

• กรณีไม่รู้ว่า อะไรคือสารก่อภูมิแพ้หรือเป็นสารก่อภูมิแพ้ตัวใหม่ ก็ต้องคอยสังเกตเสมอว่า ตนจะแพ้อะไรเช่น กรณีเปลี่ยนยี่ห้อเครื่องสำอาง สบู่ แป้ง สารทำความสะอาดบ้าน น้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ ฯลฯ เพื่อการหลีกเลี่ยง

• กรณีมือ เท้า ต้องสัมผัสสารเคมีต่างๆ ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงมือยาง รองเท้ายาง

• เมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารเคมี ควรต้องรีบล้างออกให้เร็วที่สุด

• เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ซักผ้า ที่อ่อนโยนต่อผิวเช่น สำหรับเด็กอ่อนหรือที่ไม่ใส่สารกันบูด

• บำรุงรักษาผิวหนังให้มีสุขภาพที่ดีด้วยการทำความสะอาดด้วยสบู่ที่อ่อนโยนและใช้ครีมบำ รุงผิวที่อ่อนโยนเช่นกัน เช่น สำหรับที่ใช้กับเด็กอ่อน