กระดานสุขภาพ

สอบถามเรื่องการติดเชื้อเฉียบพลันคะ
Anonymous

30 พฤษภาคม 2561 00:21:17 #1

ปกติทานยา prep อยู่เพื่อป้องกันการติดเชื้อค่ะ แต่พอดีเกิดมีอาการไปเสี่ยงโดยการทำออรัล (ทำแบบไม่หลั่งในปาก) ในขณะนั้นดูว่าผู้ชายแทบไม่มีน้ำหล่อลื่นออกมาเลย แต่ดิชั้นมีกาถอนฟันและตัดไหมเป็นเวลา 9-10 วัน ขณะทำออรัลไปได้ 5 นาทีจึงกังวล และหยุดทำและรีบไปบ้วนปาก และรีบแปรงฟัน (อาจมีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟันนิดหน่อยเป็นปกติ) หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ เหมือนมีตุ่มคล้ายยุงกัดไม่กี่เม็ด แต่ไม่คัน (ไม่ทราบว่าตุ่มนี้เกิดเพราะยุงมั้ย เพราะเกิดขึ้นหลังเดินทางไปต่างจังหวัด และตอนกลางคืนไปช่วยญาติปลูกต้นไม้ข้างบ้านซึ่งติดกับป่าและยุงชุมพอสมควรเป็นเวลานานหลายชั่วโมง) พอมีตุ่มไม่คันขึ้นมาจึงกังวลมาก พอครบ 18 วันจึงไปปรึกษาหมอที่เกี่ยวกับเอดส์ โดยเฉพาะ เค้าบอกไม่น่าจะเป็นไร และให้ตรวจด้วยน้ำยา gen4 ถ้าผลออกมาเป็นลบถือว่าไม่เสี่ยงแล้ว แต่ปัญหาก็เกิดเครียดขึ้นมาอีก ในวันเดียวกันตอนเช้าก่อนไปตรวจเลือด ได้ทานยำวุ้นเส้นแบบค้างคืนและเผ็ดมาก หลังจากนั้น ก็มวลท้องถ่ายเหลว และกลับมาตอนเย็นทานไส้กรอกอีสาน คราวนี้ท้องเสียคืนแรก 1 รอบ และตอนเช้าเสียอีก 3-4 รอบ (ปกติไม่เคยท้องเสียเวลาทานของพวกนี้ค่ะ) โดยในวันเดียวกัน ผลเลือดออกมาเป็นลบ แต่มันมามีอาการแบบนี้ จึงกังวัลใจมาก แบบนี้ถือว่าผลพอเชื่อถือได้รึยังคะ
อายุ: 34 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.70 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

30 พฤษภาคม 2561 00:27:29 #2

เพิ่มเติมคะ แล้วเคยอ่านมาว่าท้องเสียเป็นอาการของการติดเชื้อเอดส์เฉียบพลันนั้น สาเหตุของท้องเสียเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ หรือท้องเสียต้องเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุเช่นการทานของแสลงคะ ขอบพระคุณค่ะ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

2 มิถุนายน 2561 07:39:52 #3

ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จะมีอาการ และความผิดปกติแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

1 ระยะตั้งต้นเมื่อติดเชื้อไวรัสใหม่ๆ หรือ ระยะติดเชื้อปฐมภูมิอาการผิดปกติของผู้ป่วยในระยะแรกนี้จะมีน้อย และสามารถหายไปเองได้ในเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มี ไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเล็กน้อย ถ่ายอุจจาระเหลว ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอาการของ โรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้วินิจฉัยถูกต้องได้ยาก ระยะแรกนี้ยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์

(Primary infection) เป็นระยะที่ไวรัสเข้าไปใน “ทีเซลล์” และทำให้เซลล์เหล่านี้ตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ “ทีเซลล์” ในเลือดลดจำนวนลง เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต้านทานที่สร้างแอนติบอดี ให้สร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสขึ้นมาภายในเวลา 3 ถึง 7 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ซึ่งแอนติบอดีนี้สามารถตรวจพบได้จากเลือด และเป็นสิ่งที่ใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ชัดเจนมาก

2 ระะยะติดเชื้อเรื้อรังการติดเชื้อฉวยโอกาส อย่างรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจจะมีเชื้อราขึ้นที่ลิ้น หรือมี วัณโรค ปอดกำเริบ โรคเริม หรือโรคงูสวัด เกิดขึ้นได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงมาก และมักจะรักษาโรคเหล่านี้ได้ผล ระยะนี้ของโรคก็ยังไม่เรียกโรคเอดส์ เช่นกัน (Chronic infection) หรือระยะสงบทางคลินิก (Clinical latency) ระยะนี้ เชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และในม้าม และจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในอวัยวะทั้งสองนี้เป็นส่วนใหญ่ ปริมาณของ CD 4 positive T-cell ในเลือด จะค่อยๆลดจำนวนลงอย่างช้าๆ ระบบภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคของร่างกาย จะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ เพราะ CD 4 positive T-cell จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ ระยะนี้ส่วนใหญ่จะกินเวลานาน 7-10 ปี โดยที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน นอกจากนั้นการได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ในระยะนี้ได้ยาวนานยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนสมัยที่ยังไม่มีการค้นพบยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งในระยะนี้ เซลล์ CD 4 positive T-cell ยังไม่ต่ำมากจนเป็นสาเหตุ

3. ระยะที่เป็นโรคเอดส์ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นประจำ ปริมาณของ CD 4 positive T-cell จะต่ำมาก ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร และจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาส ในอวัยวะสำคัญอย่างรุนแรง เช่น ปอด มีอาการทางสมอง และมีมะเร็งชนิดต่างๆเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะนี้เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกทำลายเกือบทั้งหมดโดยเชื้อไวรัสนี้ ปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีไข้เรื้อรังนานเป็นเดือนๆ อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

สรุป ก็คือระยะที่ 1 และ 2 ของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ยังไม่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ เราจะเรียกระยะที่ 3 ของโรคว่าเป็นโรคเอดส์เท่านั้น

เมื่อใดก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนที่ไม่รู้จัก ไม่ใช่สามี ภรรยา การเที่ยวสถานบริการทางเพศโดยไม่ใช้ถุง ยางอนามัย ถุงยางฉีกขาดขณะร่วมเพศ ให้สงสัยไว้ก่อนว่ามีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับการตรวจได้เลย ซึ่งแพทย์อาจจะนัดตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง เพราะในระยะ 3-7 สัปดาห์หลังได้ รับเชื้อ อาจยังตรวจไม่พบแอนติบอดี เพราะร่างกายยังสร้างไม่ทัน อาจต้องตรวจเลือดซ้ำหลังจากนั้น

ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง และเกิดมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำ เหลืองโต ท้องเสีย ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคในระยะที่หนึ่งได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที

• เมื่อน้ำหนักลดมากและรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรพบแพทย์

• เมื่อมีไข้ต่อเนื่องเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์โดยไม่ทราบสาเหตุ ควรพบแพทย์

• เมื่อท้องเสีย ถ่ายเหลวเรื้อรังเป็นสัปดาห์ ควรพบแพทย์

• เมื่อต่อมน้ำเหลืองที่คอ หรือขาหนีบ มีขนาดโตกว่าปกติ ควรพบแพทย์เช่นกัน

การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี วิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจเลือดว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในเลือดหรือไม่ หรือตรวจว่ามีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (แอนติบอดี) เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามี เรียกว่าเลือดบวกต่อการตรวจไวรัสเอชไอวี (HIV – POSITIVE) แสดงว่าติดเชื้อแล้ว เราไม่ควรเรียกว่าเลือดบวกเฉยๆ อย่างเดียว เพราะการตรวจเลือดว่า มีผลบวก หรือลบ ในทางการ แพทย์นั้นสามารถตรวจได้หลายโรค เช่น โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่งถ้ากล่าวเพียงสั้นๆว่า เลือดบวก จะไม่ทราบว่าเลือดบวกต่อโรคอะไร อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ ถ้าตรวจแล้วไม่พบเชื้อเอชไอวีเราเรียก ว่าผลเลือดเป็นลบต่อการตรวจไวรัสเอชไอวี (HIV – NEGATIVE) ในผู้ที่ตรวจเลือดครั้งแรกได้ผลบวก โดยมากแพทย์จะให้ตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยใช้วิธีที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR-polymerase chain reaction) เพื่อให้มั่นใจแน่นอนว่าเลือดให้ผลบวกแน่นอน

การเจาะเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด “ทีลิมโฟซัยท์ที่มีซีดี 4 เป็นบวก” จะพบว่าจำนวนลดลงมาก เพราะเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในเซลล์ชนิดนี้ และจะทำลายเซลล์ชนิดนี้ไปเรื่อยๆ

การตรวจวิธีอื่นๆ เช่น เอ๊กซเรย์ ตรวจชิ้นเนื้อ (การตรวจทางพยาธิวิทยา) จะไม่สามารถให้การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีได้

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก จะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ต่อ มาเมื่อโรคเป็นมากขึ้นจึงจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว น้ำหนักจะลดลงเรื่อยๆ ดังนั้น อาการต่างๆ เช่น อาการไข้ น้ำหนักลด ลิ้นเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา ซึ่งเป็นอาการของโรคที่อยู่ในระยะเป็นโรคเอดส์ แล้ว หรือมี การติดเชื้อฉวยโอกาส แล้ว จะไม่ช่วยการวินิจฉัยว่าติดเชื้อในระยะเริ่มต้นได้

การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี มีหลายวิธี ได้แก่

1 เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่สามี หรือภรรยาของตัวเอง ต้องใช้ถุง ยางอนามัยเสมอ ฝ่ายชายจะมีเพศสัมพันธ์กับใครต้องใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นนิสัยโดยไม่มีข้อยกเว้น ฝ่ายหญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับชายใด ต้องให้ฝ่ายชายใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งโดยไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน ถ้าฝ่ายชายไม่ยอมใช้ ต้องปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์โดยเด็ดขาด รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางปากและทางทวารหนักด้วย ก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเช่นกัน

2 ฝ่ายชายไม่ควรใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิงที่ไม่ใช่ภรรยา เพราะอาจมีเชื้อไวรัสในน้ำเมือกจากช่องคลอดของฝ่ายหญิงได้ ถ้าเข้าปากฝ่ายชายแล้วอาจทำให้ฝ่ายชายติดเชื้อได้ เคยมีรายงานการติดเชื้อโดยวิธีนี้แล้วถึงแม้จะไม่มากเท่าการติดเชื้อจากน้ำอสุจิของฝ่ายชายก็ตาม

3 หลีกเลี่ยงการจูบปากกับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ทราบว่าเป็นพาหะนำเชื้อหรือไม่ ถึงแม้ว่าในน้ำลายจะมีโอกาสน้อยที่จะมีเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ก็ไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าบังเอิญมีแผลภายในช่องปากก็อาจเป็นทาง เข้าของเชื้อไวรัสได้

4 อย่าใช้การฉีดยาเสพติดชนิดเข้าเส้น อย่าใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วม กับคนอื่น

5 หลีกเลี่ยงการสักตามผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆของร่างกายเพราะสถานบริการบางแห่งอาจรักษาความสะอาดของเครื่องมือไม่ดีพอ

6 บุคคลากรทางการแพทย์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุเข็มตำต้องรีบแจ้งหน่วยที่ดูแลทางการติดเชื้อ เพื่อรับยาต้านไวรัสอย่างทันท่วงที วิธีนี้สามารถป้อง กันการติดเชื้อได้มาก

7 ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ ยังอยู่ในระยะของการศึกษาวิจัย ยังไม่มีการผลิตออกมาใช้ในวงกว้าง ในระยะใกล้นี้ จึงไม่สามารถใช้วัคซีนในการป้องกันได้

8 ต้องเตือนตนเองไว้เสมอว่า เราไม่สามารถรู้ว่าใครติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการดูลักษณะภายนอก คนที่ดูภายนอกสวยงาม หรือหล่อเหลาสะอาดสะอ้านเพียงใด ก็ไม่สามารถไว้ใจได้ว่า เขาหรือเธอจะไม่ใช่พาหะนำโรคไวรัสเอชไอวีมาสู่เรา จึงต้องป้องกันไว้ก่อนเสมอ

9 ก่อนแต่งงานกับใคร ต้องตรวจเลือดของผู้ที่จะมาแต่งงานกับเราก่อนเสมอทั้งหญิงและชายว่า มีเชื้อโรคอะไร หรือเป็นพาหะของโรคใด ทั้ง นี้ไม่เฉพาะโรคเอดส์ แต่รวมถึง โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบ และโรคธาลัสซีเมีย ด้วย