กระดานสุขภาพ

เสพยาไอซ์แล้วหายใจไม่อิ่มท้อง
Neni*****e

24 พฤษภาคม 2561 06:55:10 #1

คือเรื่องมีอยู่ว่า เป็นครั้งแรกที่ได้ลองเสพยาไอซ์ค่ะ แล้ว 4-5 ชม. แรกหลังจากการเสพ อาการข้างเคียงก็เมื่อคนเสพยาทั่วไป แต่พอผ่านไปสักพักอาการเริ่มเป็น อ่อนเพลีย ใจเต้นแรง มือเท้าชามือเท้าเหลือง ปากแห้ง เหมือนคนจะเป็น ลมอ่ะค่ะ พอลุกอาบน้ำก็สดชื่นสักพัก แล้วก้อเริ่มมีอาการเปลี่ยนไปเป็น หายใจลึกๆด้วยปอดไม่ได้ แบบพยายามสุดลึกให้สดชื่น แต่แน่นที่กลางหน้าอก หายใจทางปากก็เหนื่ยเร็วมาก อาการแบบนี้อยากไปหาหมอแต่ไม่รู้จะไปหาที่ไหนหมอทางด้านอะไร แล้วคือใช้แรงมากก็หายใจไม่ทันเลยค่ะ กลัวขาดใจตายมาก ช่วยบอกอะไรหน่อยนะค่ะ
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 43 กก. ส่วนสูง: 156ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.67 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

27 พฤษภาคม 2561 08:58:15 #2

ก่อนอื่นต้องขอแนะนำให้ไปพบแพทย์และหยุดการเสพสารเสพติดค่ะ อาการที่เป็น เป็นผลข้างเคียงของการเสพยาไอซ์ค่ะ

ยาไอซ์เป็นยาเสพติดให้โทษที่ร้ายแรงและผิดกฎหมาย โดยผลกระทบทางร่างกาย ได้แก่ ภาวะเบื่ออาหาร จิตใจไม่สงบ ลุกลี้ลุกลน นอนไม่หลับ รูม่านตาห่าง สายตาพร่า หน้าแดง มีสิวฝ้า ผิวหนังแห้งและคัน ซีดเผือก ปากแห้ง ปวดศีรษะ เวียนหัว มีไข้สูง เหงื่อท่วม อุจจาระร่วง อาการท้องผูก ไร้ความรู้สึก (เย็นชา) ร่างกายสั่นระริก กล้ามเนื้อกระตุกและเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (เร็วและช้ากว่าปรกติ) ความดันโลหิตสูงและต่ำกว่าปรกติ หรือเป็นโรคหัวใจล้ม โรคหลอดเลือสมอง และตาย [ในที่สุด]

ส่วนผลกระทบทางจิตวิทยา ได้แก่ ภาวะครึ้มใจและเคลิ้มสุข ความกังวล ความต้องการทางเพศสูง การเพิ่มขึ้นในการตื่นตัว สมาธิ และพลังงาน ความเชื่อมั่นในตนเอง การเข้าสังคมง่ายขึ้น ความหงุดหงิด ความก้าวร้าว ประสาทหลอน (Hallucination) ความผิดปรกติของกายเหตุจิต (Psychosomatic disorders) ความรู้สึกมีอำนาจล้นฟ้าจนหลงผิดคิดตนเขื่อง (Grandiosity) และพฤติกรรมยึดติดซ้ำซากจนเป็นโรคจิตหวาดระแวง (Paranoia)

กลุ่มอาการถอนพิษยาส่วนใหญ่ประกอบด้วยความเหนื่อยล้าและอาการซึมเศร้า แต่กินอาหารได้มากขึ้น และอาจรวมความกังวล หงุดหงิด ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย การหลับลึกและยาวนาน ความฝันที่สดใส และการสร้างจินตนาการฆ่าตัวตาย กลุ่มอาการนี้อาจคงค้างอยู่เป็นเวลาหลายวัน สำหรับผู้เสพติดเป็นครั้งคราว และหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน สำหรับผู้เสพจนเรื้อรัง กล่าวคือ ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณที่เสพ