กระดานสุขภาพ

อาเจียน+มองอะไรเบลอๆและหูอื้อ
Anonymous

8 มีนาคม 2561 23:42:37 #1

วันก่อนอาเจียนไปค่ะ แล้วพอตื่นมาอีกวันรู้สึกเบลอมากมองอะไรก็เบลอมองไม่ชัดเลยค่ะแล้วก็หูอื้อด้วยค่ะ อยากทราบว่าเป็นอาการของโรคอะไรรึเปล่าคะ
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 49 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.88 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

11 มีนาคม 2561 08:48:17 #2

น่าจะเป็นอาการวิงเวียน และร่วมกับมีคลิ่นไส้อาเจียน

แนวทางการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน คือ การบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ

1.การบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน มักเป็นยากิน กินตามเวลา (โดยกินก่อนเกิดอาการ) เช่น ทุก 12 ชั่วโมง ก่อนอาหาร แต่ถ้าอาการรุนแรงมาก จะเป็นยาฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือดดำ

2.การรักษาสาเหตุ เช่น
การให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ
การรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน เมื่อสาเหตุเกิดจากปวดศีรษะไมเกรน
หรือปรับเปลี่ยนชนิดของยา เมื่อสาเหตุเกิดจากยา เป็นต้น

3.การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้สารอาหาร หรือ น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเมื่ออาเจียนมากจนกินไม่ได้ หรือ จนขาดน้ำ (ภาวะขาดน้ำ) หรือ ให้การรักษาทางการแพทย์สนับสนุน เช่น การฝังเข็มในผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องได้ยาเคมีบำบัดและมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก เป็นต้น

การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อคลื่นไส้ อาเจียน ได้แก่

  • การพักผ่อนเต็มที่
  • ในขณะมีอาการ ไม่ควรนอนราบ ควรนอนเอนตัว เพื่อป้องกันการสำ ลักอาหารจากอาเจียนเข้าหลอดลม และปอด
  • ระมัดระวังไม่ให้ขาดน้ำ โดยจิบน้ำ หรือ น้ำผลไม้บ่อยๆ
  • กินอาหารครั้งละน้อยๆ โดยเพิ่มมื้ออาหาร ไม่ควรกินในช่วงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาหารควรเป็นอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว หรืออาหารน้ำ (ประเภทอาหารทางการแพทย์) ขึ้นกับว่ากินอาหารประ เภทไหนได้บ้าง เลือกประเภทอาหารที่ไม่มีกลิ่น และไม่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  • ควรอยู่ในสถานที่ถ่ายเทอากาศได้ดี สะอาด ไม่มีกลิ่น ไม่สว่างมาก ไม่ร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะเวลานอน และขณะรับประทานอาหาร
  • สังเกตตัวกระตุ้นอาการเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยง
  • สังเกตลักษณะของอาเจียน เช่น ขมจากมีน้ำดีปน หรือมีเลือดปน เพื่อแจ้งแพทย์ พยาบาล เพราะแพทย์ใช้เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยอาการ เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง
  • กินยาบรรเทาอาการ ตามที่แพทย์แนะนำ เช่น กินตรงตามเวลา โดยไม่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร (เช่น ทุก 6 ชั่วโมง เป็นต้น) หรือ กินก่อนอาหาร
  • รีบพบแพทย์เมื่อ
    • อาการอาเจียนไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังดูแลตนเอง
    • กิน หรือ ดื่มได้น้อย
    • มีอาการของการขาดน้ำ ดังกล่าวแล้ว
    • กังวลในอาการ
  • พบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อคลื่นไส้อาเจียน ร่วมกับ
    • มีไข้สูง
    • ปวดท้องมาก
    • อาเจียนเป็นเลือด
    • ปวดศีรษะมาก คอแข็ง แขนขา อ่อนแรง (อาการของโรคทางสมอง)