กระดานสุขภาพ

เหงื่อออกฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีอาการปวดและบวมร่วมด้วยบางครั้ง
Anonymous

16 กุมภาพันธ์ 2561 18:08:04 #1

อยากสอบถามว่า มี มีอาการเหงื่อออกที่ฝ่ามือฝ่าเท้ามาก ไม่มีอาการแทรกซ้อนร่วม ไม่สัมพันธ์กับอากาศ เหงื่ออกจนรู้สึกปวดมือ บางครั้งมีอาการปลายนิ้วบวมไม่ทราบสาเหตุ สักพักก็จะหายเอง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เป็นแบบนี้มา 2-3 ปีแล้วค่ะ
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 43 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.11 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Arma*****i

17 กุมภาพันธ์ 2561 10:46:47 #2

มาแชร์เรื่องเหงื่อออกตามมือตามเท้าครับ ผมเองก็เป็น เท่าที่จำความได้ ผมเป็นมาประมาณปี 2522

ปัจจุบันอายุเดือนเมษายนนี้ก็ 52 ครับ ผมจะเป็นแบบออกแทบทุกวัน วันละเยอะมากกกกกกกกกกก

เรียกว่าถ้าผมไม่กำทิชชู่เอาไว้ละก็ เหงื่อจะไหลหยดจากปลายนิ้วเลยทีเดียว รองเท้าเซฟตี้ที่ผมใส่นี่

ด้านข้างจะขึ้นเป็นคราบเกลือเลยทีเดียว และจะออกทุกวันไม่ว่าร้อนหรือหนาว

 

และเท่าที่ผมสังเกตุ อาการนี้จะหายไปตอนผมนอนหลับ แต่หลังจากที่ผมอาบน้ำและแต่งตัวไปทำงาน

เจ้าเหงื่อที่ว่าก็จะออกจนผมทำงานได้ลำบากมากๆ แต่ก็มีบ้างเหมือนกัน ที่บางวันทั้งวันไม่มีออกที่มือ

และเท้าเลย ตอนที่เป็นใหม่ๆ ผมเคยไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดหลายครั้ง แต่ก็ไม่ดีขึ้น จนผมเบื่อที่จะกินยา

ตอนนั้นไปหาหมอต้องจ่ายค่ายาเอง เนื่องจากประกันสังคมยังไม่มี เมื่อมันรักษาไม่หาย เราก็ต้องเรียนรู้

ที่จะอยู่กับมัน เวลาไปทำงาน ผมจะซือทิชชู่แบบแผ่นเลือกชนิดที่เนื้อเหนียวๆ เก็บไว้ที่ทำงานประจำก็พอช่วยได้ครับ

ผมเพิ่งสมัครสมาชิกเมื่อวาน ยังไม่ทราบรายละเอียดการโพส พอดีมาเห็นคนที่เป็นแบบเดียวกันเลยเข้าใจ

ความรู้สึกของคนที่เป็นดี หากผิดระเบียบหรืออะไรต้องขออภัยด้วยครับ

 

พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

21 กุมภาพันธ์ 2561 08:30:05 #3

  • ภาวะ Primary hyperhidrosis ภาวะเหงื่อออกมากไม่ทราบสาเหตุ
  • Primary hyperhidrosis เป็นภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แพทย์บางท่านสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมเกี่ยวกับเหงื่อที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และรักแร้ทำงานเกินปกติ แต่ก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ อาการมักมีเพียงมีเหงื่ออกมากผิดปกติบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และรักแร้ แต่บางคนมีเพียงบริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า ซึ่งกลุ่มนี้ อาจมีประวัติทางพันธุกรรมว่าคนในครอบครัวก็มีอาการนี้ได้ เป็นภาวะที่พบได้ประมาณ 1-3% ของประชากรทั้งหมด มักพบตั้งแต่ในวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้เท่าๆกัน การรักษา คือ ไม่จำเป็นต้องรักษา ถ้าอาการไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต แต่ถ้ากังวล ก็พบแพทย์ ซึ่งจะมียาช่วยให้เหงื่อออกลดลงได้ (แพทย์ทั่วไป แพทย์โรคผิวหนัง หรือแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ ก็ได้)