กระดานสุขภาพ

อาการผิดปกติเกรงว่าจะเป็นโรคไต
Sata*****9

13 ตุลาคม 2560 14:43:54 #1

หลังจากนอนโรงบาลก็ได้ยาฆ่าโปรโตซัว,ยาฆ่าแบตทีเรียมาทานและต้องทาน1อาทิตย์ ตอนนี้ เริ่มรู้สึกแปลกๆคือปวดเอวตุ๊บๆแบบปวดร้าวเป็นช่วงๆ เบื่ออาหาร ผะอืดผะอม เหนื่อยง่าย (อาจเป็นเพราะเปนคนไม่ออกกำลังกาย)เวียนหัวเหมือนจะวืบๆ แค่ไม่กี่วินาที แต่เป็นพักๆ แต่การฉี่ผมว่าก็ปกตินะ ไม่ฉี่บ่อยไม่กระหายน้ำ ฉี่พุ่งปกติ ไม่มีแสบขัด. แต่ผมก็ไม่ไว้ใจ คุณหมอช่วยประเมินให้หน่อยคับว่าผมจะเป็นโรคไตไหม
อายุ: 28 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 40 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 14.69 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

16 ตุลาคม 2560 08:32:20 #2

โรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติจึงส่งผลให้เกิดของเสีย และ/หรือ สารอาหาร และ/หรือธาตุอาหารส่วนเกินที่ปกติร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะโดยผ่านการทำงานของไต ซึ่งเมื่อเกิดโรคไต ไตจะทำงานได้ลดลง จึงก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการเหล่านั้น ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนในที่สุดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย ถ้าไม่ได้รับการล้างไต หรือไม่ได้รับการปลูกถ่ายไตในช่วงเวลาที่เหมาะสม

โรคไต เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่งทั่วโลก พบเกิดได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจน ถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย

โรคไต แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

โรคไตเฉียบพลัน คือโรคไตที่เกิดจากสาเหตุเฉียบพลัน ซึ่งพบได้น้อยและมักสามารถรักษาได้หายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
และโรคไตเรื้อรังที่พบได้สูง และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรตไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ ดังนั้นสถิติของการเกิดโรคไตเรื้อรังจึงขึ้นกับสถิติของโรคดังกล่าวด้วย โดยรายงานจากสหรัฐอเมริกา ในช่วง ปีพ.ศ. 2542-2549 พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ประมาณ 26 ล้านคน (13% ของประชากร) และในจำนวนนี้ ประมาณ 60% มีอาการเข้าขั้นรุนแรง และในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โรคไตเป็นอันดับ 9 ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั้งหมด

โรคไตที่พบได้บ่อย คือ โรคไตเรื้อรัง (ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง โรคไต ทั่วไปจึงมักหมายถึง โรคไตเรื้อรัง) ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ และ/หรือ การขาดเลือดของเซลล์ไตส่วนโรคอื่นๆที่พบได้ เช่น โรคไตจาก โรคนิ่วในไต โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อ โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง โรคถุงน้ำหลายๆถุงในไตทั้งสองข้าง (Polycystic kidney disease) และโรคมะเร็งไต ส่วนโรคไตเฉียบพลันซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น จากไตขาดเลือดทันที (เช่น การเสียเลือดมาก) ภาวะขาดน้ำ หรือ อุบัติเหตุที่ไต จากแพ้ยาบางชนิด (เช่น จากยาปฏิชีวนะบางชนิด หรือการแพ้สารทึบแสง/สี ที่ฉีดในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอ

ในโรคไตเฉียบพลัน อาการสำคัญ คือ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติมาก หรือไม่มีปัสสาวะ

ในโรคไตเรื้อรังเมื่อเริ่มเป็น จะไม่มีอาการ จะมีอาการต่อเมื่อโรคเป็นมากแล้ว ซึ่งเป็นสา เหตุให้เมื่อผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคไต จึงมักป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่รุนแรงแล้ว อาการที่พบได้บ่อยจากโรคไตเรื้อรัง คือ

ปัสสาวะผิดปกติ อาจปริมาณมาก ปริมาณน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะอาจขุ่น หรือใสเหมือนน้ำ หรือสีเข้ม เป็นฟองตลอดเวลา มีเลือดปน และ/หรือมีกลิ่นผิด ปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป ทั้งนี้จากผลของมีของเสียสะสมในร่างกาย
  • คลื่นไส้ อาเจียน จากการสะสมของของเสียเช่นกัน
  • คัน จากการระคายเคืองผิวหนังจากของเสียต่างๆ
  • ซีด ทั้งนี้เพราะเซลล์ไตจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งซึ่งจะช่วยการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก ดังนั้นเมื่อเซลล์ไตเสียไป ฮอร์โมนชนิดนี้ก็ถูกสร้างลดลงไปด้วย จึงส่งผลถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก
  • มีน้ำในร่างกายมาก เพราะไตขับออกไม่ได้ จึงเกิดอาการบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบดวงตาก่อน
  • เมื่อเป็นมาก จะเกิดอาการของไตวาย เช่น สับสน โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

แพทย์วินิจฉัยโรคไตได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆทั้งในอดีตและในปัจจุ บัน ประวัติการใช้ยา การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือดดูการทำงานของไต (เช่น สาร Creatinine ย่อว่า Cr, Blood urea nitrogen ย่อว่า BUN, และ Glomerular filtration rate ย่อว่า GFR ) และของเกลือแร่ต่างๆ (เช่น Sodium, Potassium, Calcium, และ Phosphorus) และอาจมีการตรวจต่างๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผิดปกติของผู้ป่วย สิ่งผิด ปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพไตด้วย อัลตราซาวด์ เอกซ เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อจากไตเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

ในเบื้องต้นยังไม่ได้คิดถึงว่าคุณมีภาวะไตเสื่อม แต่หากกังวลควรพบแพทย์ค่ะ