กระดานสุขภาพ

ไวรัสตับซี
Anonymous

1 กรกฎาคม 2560 09:40:36 #1

สวัสดีค่ะ ดิฉันทุกข์ใจมาก เนื่องจากแฟนบอกเคยบริจาคเลือดแต่มีจดหมายมา และได้ไปตรวจซ้ำ พบว่าเป็นพาหะไวรัสตับซี แฟนบอกว่าหมอบอกว่าให้งดเหล้า พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะหายไปเอง ตอนนี้ผ่านมาประมาณ 13 ปีแล้วไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น ตัวดิฉันเองบริจาคเลยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ไม่มีจดหมายใดๆจากสภากาชาด ตอนนี้แฟนได้รับการตรวจสุขภาพ พบว่า ค่าตับสูง SGOT(SERUM) 32 และ SGPT(SERUM)62 จึงฉุดคิดว่ามาเคยเจอไวรัสตับซีเมื่อ 13 ปีก่อน มันไม่ได้หาย หมอนัดอีก 6 เดือน anti HCV anti HBC anti HBs กลัวมาก กลัวติดจากแฟน กลัวลูกติด กลัวคนในบ้านติด จะทำอย่างไรดีคะ
อายุ: 38 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 63 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.80 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

2 กรกฎาคม 2560 15:15:38 #2

ก่อนอื่นขออนุญาตแนะนำก่อนว่า ค่าการทำงานของตับ ที่ส่งมาให้ไม่ได้เป็นค่าที่สูงผิดปกติใดๆนะคะ ในส่วนต่อไปจะขอแนะนำเรื่องไวรัสตับอักเสบซีค่ะ

ไวรัสตับอักเสบ ซี (Viral hepatitis C) เป็นโรคในกลุ่มไวรัสตับอักเสบซึ่งมีหลายสายพันธุ์ย่อย แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อย คือ เอ บี และ ซี

ไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่งทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย โดยพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ พบในผู้หญิงและในผู้ชายได้ใกล้เคียงกัน

โรคไวรัสตับอักเสบ ซี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ ไวรัสตับอักเสบ ซี(Hepatitis C vi rus/HCV) เป็นการติดต่อจากคนสู่คน โดยเป็นการติดเชื้อจากเลือดสู่เลือด ซึ่งอาจจากการให้เลือด ติดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ติดเลือดได้ เช่น เข็มฉีดยา เจาะหู กรรไกรตัดเล็บ การสักลาย แผลสัมผัสแผล สารคัดหลั่งที่มีเลือดปน ทางเพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูกขณะคลอด (พบได้น้อยกว่า เกิดจากโรคไวรัสตับอักเสบ บี มากกว่า) ดังนั้น การติดต่อจึงเป็นวิธีการเดียว กับโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นไวรัสกำจัดได้ยากด้วยวิธีธรรมดา เช่น การต้มเดือด เพียงทำให้จำ นวนไวรัสลดลงเท่านั้น มักไม่หมดไป ต้องกำจัดด้วยวิธีการทางการแพทย์

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี คือ

  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดผู้ป่วย
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เช่น ผู้เสพสารเสพติด
  • ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี
  • คนที่ได้รับเลือด หรือ ชิ้นส่วนของเลือด เช่น เกล็ดเลือด ก่อนปี คศ. 1992 (พ.ศ. 2535) เพราะการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี ช่วงนั้นยังไม่ดีพอ
  • ผู้ที่ใช้เครื่องมือบางชนิดที่สัมผัสเลือดผู้อื่น และรักษาความสะอาดได้ไม่ดีพอ เช่น การสักผิวหนัง เจาะหู เจาะร่างกายต่างๆ
  • บุตรที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • ผู้ป่วยที่ฟอกไตอย่างเรื้อรังเป็นระยะเวลานานๆ

ไวรัสตับอักเสบ ซี เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะอยู่ในกระแสเลือดและในตับ จึงเป็นสาเหตุให้เซลล์ตับเกิดอักเสบ จึงเกิดเป็นโรคตับอักเสบขึ้น โดยโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 15-160 วัน
โรคไวรัสตับอักเสบ ซี ก่อให้เกิดการอักเสบของตับได้ทั้ง

  • การอักเสบเฉียบพลัน (โรคหายภายในไม่เกิน 6 เดือน)
  • และการอักเสบเรื้อรัง (มีอาการเป็นๆหายๆ หรือ ยังตรวจพบไวรัสในเลือดได้นานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป)

ซึ่งโรคนี้ต่างจากโรคไวรัสตับอักเสบ เอ และโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่พบการอักเสบเฉียบพลันน้อยมาก โดยประมาณ 80-90% จะเป็นการอักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 60-70% มักไม่มีอาการ การตรวจพบมักโดยบังเอิญจากตรวจเลือดวินิจ ฉัยโรคอื่นๆ ส่วนผู้ที่มีอาการ 20-30% มีอาการตัว/ตาเหลือง (ดีซ่าน) โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย และเพียง 10-20% ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด (มีไข้ มีได้ทั้งไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ ปวดศีรษะ อ่อนเพลียปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ อาเจียน) นำก่อน 2-7 วันก่อนตัว/ตาเหลืองซึ่งจะคงอยู่ประ มาณ 2-8 สัปดาห์

ผู้ป่วยที่มีการอักเสบแบบเรื้อรัง มักเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ ตามมาในระยะเวลาประมาณ 20 ปี หรืออาจเร็ว หรือช้ากว่านี้ โดยปัจจัยเสี่ยงสูงขึ้น เมื่อผู้ติดเชื้ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เป็นผู้ชาย ดื่มแอลกอฮอล์ มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ และ/หรือ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ร่วมด้วย

แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ชนิดเฉียบพลัน คือ รักษาประคับประคองตามอาการ เช่นเดียวกับในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบทุกชนิด (ไม่จำเป็นต้องได้ยาปฏิชีวนะ เพราะยาปฏิชีวนะฆ่าได้แต่เชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อไวรัสไม่ได้) ที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนเต็มที่ นอกจากนั้น คือ

 

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และลดการแพร่เชื้อ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้มากกว่าปกติอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เพื่อขับสารที่ทำให้ตัว/ตาเหลืองออกทางปัสสาวะมากขึ้น
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบในทุกๆวัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำลายเซลล์ตับโดยตรง

 

แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ชนิดเรื้อรัง คือ การรักษาด้วยยาต้านไวรัส อย่างน้อยเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับการทำงานของตับ และปริมาณเชื้อไวรัสที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆไป

ปัจจุบัน การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก แพทย์สามารถตรวจได้ละเอียดขึ้นกว่าเดิมว่า ผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์ใด และยังมีตัวยาต้านไวรัสที่มีประ สิทธิภาพสูงกว่าเดิมตามสายพันธุ์ย่อยของไวรัส นอกจากนั้น การรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัส 2 ชนิดร่วมกัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการแบ่งตัวของไวรัสได้สูงขึ้น จากเดิมที่เคยควบคุมโรคได้ประมาณ 10-20% เป็นควบคุมโรคได้ประมาณ 70-80% ยกเว้นในบางสายพันธุ์ย่อย ที่ควบคุมโรคได้ประมาณ 45-70% และขณะนี้ยังมีการศึกษาวิธีรักษาควบคุมโรคนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ยาต้านไวรัส 3 ชนิดร่วมกัน เป็นต้น

ในส่วนของการติดเชื้อ ตามข้อมูลที่ให้ไปในข้างต้น คือการติดต่อจากเลือดสู่เลือด หากคุณและลูกมีความเสี่ยง สามารถไปตรวจเลือดได้ว่า เคยมีการติดเชื้อหรือไม่ ได้นะคะ ไม่ต้องเป็นกังวล เนื่องจากโดยมากคนที่ติดเชื้อก็หายได้เองในระยะเวลา 6 เดือนค่ะ

J253*****2

2 กรกฎาคม 2560 16:30:17 #3

ขอบคุณ คุณหมอมากๆนะคะ แฟนของดิฉันจำไม่ได้ว่าเคยได้รับการรักษาหรือไม่ ได้ตรวจยืนยันหรือยัง เพราะความจำไม่ดี เนื่องจากเคยอุบัติเหตุแล้วต้องผ่าสมอง แต่ดิฉันอยากทราบว่าตอนแฟนผ่าตัดสมอง ตอนดิฉันผ่าคลอด และบริจาคเลือด ไดัผ่านการตรวจโรคไวรัสตับ ซี และบี หรือไม่ เพราะไม่มีการแจ้งใดๆเลย แฟนและดิฉันติดเชื้อ ปล.ตอนนี้ยังทำใจไปตรวจไม่ได้ กลัวรับความจริงไม่ไหว ขอบคุณที่ให้คำปรึกษานะคะ
J253*****2

2 กรกฎาคม 2560 16:32:37 #4

ขอบคุณ คุณหมอมากๆนะคะ แฟนของดิฉันจำไม่ได้ว่าเคยได้รับการรักษาหรือไม่ ได้ตรวจยืนยันหรือยัง เพราะความจำไม่ดี เนื่องจากเคยอุบัติเหตุแล้วต้องผ่าสมอง แต่ดิฉันอยากทราบว่าตอนแฟนผ่าตัดสมอง ตอนดิฉันผ่าคลอด และบริจาคเลือด ไดัผ่านการตรวจโรคไวรัสตับ ซี และบี หรือไม่ เพราะไม่มีการแจ้งใดๆเลยว่า แฟนและดิฉันติดเชื้อ ปล.ตอนนี้ยังทำใจไปตรวจไม่ได้ กลัวรับความจริงไม่ไหว ขอบคุณที่ให้คำปรึกษานะคะ