กระดานสุขภาพ

Cytomegalovirus Ab IgG Positive ช่วยตอบที่ครับ
Anonymous

2 มีนาคม 2560 04:06:05 #1

อย่างที่เคยถามคุณหมอ เกียวกับ อาการมากมายของผม ซึงเป็นนั้นนี่หลาย อาการ เช่น ตาขาวเส้นเลือดเยอะ มองเห็นใยตำๆลอยไปมา , กล้ามเนื้อเต้นเอง ,ถ่ายเหลวทุกวันไม่จับเป็นก้อน อืนๆๆ เยอะ จนทำให้ผมคิดว่าติด HIV จนตรวจมาตลอด 10เดือน ผล HIV ปกติทุกครั้ง

 

ซึงผม ได้ไปตรวจเลือด หาสาเหตุๆต่างๆเอง ที่ Lab เอง ตอนนี้  มี CMV ผิดปกติ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Test                                                 Result                Unit                Reference range
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Cytomegalovirus Ab IgG;Serum      Positive         165 AU/ml             Negative

Cytomegalovirus Ab IgM;Serum       Negative                                    Negative

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.แบบนี่ต้องรักษาไหมครับ มี Cytomegalovirus Ab IgG เป็น Positive

2.ในใบรายงาน ว่า reference range Negative เลยคิดว่าผิด ปกติ หรือไม่คับ

3.cmv igg เป็น Positive จะทำให้ติด แฟนผม ได้ ถ้าผมอยากมีลูก กับแฟน จะมีปัญหาไรไหม คับ

4.ถ้าผมจูบและมีเพศสัมพันกับแฟน กัน จะทำให้เชื้อติดกันไปๆมาๆ หรือไม่ครับ

5.เท่าที่ผมอ่านๆมาติดต่อทางนำลาย และหลายๆทางมาก ซึงจะให้คนใกล้ตัวด้วไหม

อายุ: 32 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.96 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

2 มีนาคม 2560 06:10:02 #2

https://www.mx7.com/view2/zHWhDnXYqOMAHNVL

 

 

รูปผลเลือด

Anonymous

2 มีนาคม 2560 08:58:32 #3

ขอถามเพิ่มเติม

6. ถ้าผมรักษาหา แต่ ตัวแฟนผมติดจากผมไปแล้ว หรือคนรอบข้างที่ติดจากผมแล้วไม่ได้รักษาด้วย

จะทำให้  ผม ติดกลับจาก คนนั้นๆ หรือไม่ครับ

 

*****ผมคิดว่าอาการที่เกิดกับผมทั้งหมด อาจจะเป็นเพราะผมติดเชื้อ CMV นี่ต้นเหตุ******

 

ผมอยากหายจากเชื้อตัวนี่ มันรักษาได้ไหม

พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

7 มีนาคม 2560 04:32:38 #4

โรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส หรือโรคติดเชื้อซีเอมวี (Cytomegalovirus infection ย่อว่า CMV) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะอาศัยอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิตของเรา ในคนปกติทั่วไป การติดเชื้อมักไม่ทำให้เกิดอาการหรือมีอาการที่ไม่รุนแรง แต่ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง จะทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ และมีอาการที่รุนแรงได้ สำหรับเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา มีโอกาสที่จะติดเชื้อผ่านทางรก และทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดตามมาได้

ทั้งนี้ พบการติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส/เชื้อซีเอมวีได้ทั่วโลก โดยพบในประเทศด้อยพัฒนามากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากการดูแลสุขอนามัยที่แตกต่างกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรที่มีเชื้อชนิดนี้อยู่ในร่างกายประมาณ 60% สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน

การติดเชื้อนี้ ครั้งแรกมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก และจะพบอัตราการติดเชื้อมากขึ้นในกลุ่มประ ชากรที่อายุมากขึ้น ในประชากรบางกลุ่ม เช่น ชายรักร่วมเพศ โสเภณี พบว่ามีการติดเชื้อชนิดนี้เกือบ 100% การติดเชื้อยังสามารถพบได้ในทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งถ่ายทอดมาจากมารดา โดยพบว่าประมาณ 1% ทารกแรกคลอดทั้งหมด มีการติดเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้น

การติดเชื้อนี้ เกิดจากการอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย ซึ่งเชื้อไวรัสซีเอมวี อาจจะอยู่ในน้ำลาย อุจจาระ หรือปัสสาวะ ก็ได้ ดังนั้นการติดเชื้อมักเกิดจากคนที่อยู่อาศัยในบ้านเดียวกัน หรือในสถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งมีการสัมผัสกันใกล้ชิด เชื้อไวรัสนี้ยังพบได้ในน้ำอสุจิ และในน้ำจากช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อจึงสามารถติดเชื้อได้ ดังนั้นในผู้ที่พฤติ กรรมสำส่อนทางเพศ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้มาก

นอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อไวรัสได้ในน้ำนมของมารดาที่มีเชื้อนี้อยู่ เชื้อจึงสามารถถ่าย ทอดไปสู่ทารกที่กินนมแม่ได้อีกด้วย ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์ก็เช่นเดียวกัน มีโอกาสติดเชื้อจากมารดาได้
การได้รับเลือด หรือได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจากผู้ที่มีเชื้อนี้ ก็พบว่าสามารถติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน
เชื้อไซโตเมกาโลไวรัสมีอยู่หลายชนิดย่อย ผู้ที่ติดเชื้อชนิดย่อยหนึ่งแล้ว มีโอกาสที่จะติดเชื้อชนิดย่อยอื่นๆได้อีก

แบ่งอาการและอาการแสดงจากโรคติดเชื้อซีเอมวี ตามกลุ่มของผู้ติดเชื้อได้ดังนี้

การติดเชื้อของทารกในครรภ์ (Congenital cytomegalovirus infection) ประ มาณ 10% ของทารกที่ติดเชื้อ เมื่อคลอดออกมาจะมีอาการ และอาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต ศีรษะมีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็กเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com ในบทความเรื่อง ทารกในครรภ์เติบโตช้า) ทารกส่วนน้อยอาจมีอาการรุนแรง ซึ่งเรียกว่า Cytomegalic inclusion dis ease (CID) คือจะมีอาการตัวเหลือง ตับม้ามโต ศีรษะเล็ก น้ำหนักน้อย ตัวเล็ก มีจุดและจ้ำเลือดออกตามผิวหนังจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และจอตาอักเสบ หากเจาะเลือดตรวจ จะพบค่าน้ำดี และค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ การเจาะหลังตรวจน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง จะพบค่าโปรตีนสูงกว่าปกติ การตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์สมองจะพบสมองมีขนาดเล็ก ช่องโพรงน้ำในสมอง (Ventricle) กว้างกว่าปกติ และมีหินปูนเกาะอยู่รอบๆช่องโพรงน้ำในสมองนี้
ทารกที่ติดเชื้ออีกประมาณ 90% จะไม่ปรากฏอาการเมื่อแรกคลอด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทารกที่ติดเชื้อจากมารดาที่เคยมีการติดเชื้อมาแล้ว แต่ติดเชื้อชนิดย่อยใหม่เข้ามาอีก หรือติดเชื้อจากเชื้อที่เกิด Reactivation ขึ้นมาในระหว่างที่ตั้งครรภ์

การติดเชื้อในวัยแรกคลอด (Perinatal cytomegalovirus infection) ทารกที่คลอดออกมา อาจติดเชื้อจากมารดาจากการคลอดผ่านทางช่องคลอด จากการดูดนมมารดา หรือติดมาจากน้ำลายของมารดา โดยที่ทารกส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ และสามารถเติบโตได้เป็นปกติ ทารกบางรายโดยเฉพาะที่คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักแรกคลอดน้อย อาจเกิดอา การของปอดอักเสบ ตับอักเสบ และมีต่อมน้ำเหลืองโตได้

การติดเชื้อในคนที่ระบบภูมิคุ้มกันฯปกติ การติดเชื้อครั้งแรกในคนปกติส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ผู้ที่มีอาการมักอยู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นๆ (อายุ 20-30 ปี) โดยระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อครั้งแรกจนกระทั่งแสดงอาการ(ระยะฟักตัวของโรค) คือ ประมาณ 20-60 วัน อาการได้แก่ ไข้สูงอ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ บางรายอาจมีตับโต ม้ามโต และผื่นขึ้นตามผิวหนัง มีส่วนน้อยที่อาจมีอาการเจ็บคอจากคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ และมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ซึ่งทำให้อาการคล้ายกับโรค Infectious mononucleosis ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอบสไตบาร์/อีบีวี (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีบีวี) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการจากเชื้อซีเอมวี จึงเรียกว่าเป็น โรค CMV mononucleosis

ในผู้ป่วยที่ไม่มีผื่น หากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactamase เช่น Amoxicillin จะเกิดผื่นทั่วร่างกายได้ โดยที่ไม่ใช่จากการแพ้ยา เช่นเดียวกับในผู้ป่วยโรค Infectious mono nucleosis
มีผู้ป่วยน้อยรายที่อาจเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ อาการที่เกิดจากปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ เป็นต้น

การติดเชื้อในคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในผู้ที่ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ หรือเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันฯจะถูกกดจากยาที่ให้ หากมีการติดเชื้อซีเอมวีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หรือติดเชื้อ ซีเอมวี ชนิดย่อยใหม่ ซึ่งเชื้อมักจะมาจากอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย ก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการขึ้น หรือในผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งเชื้อจะไปทำลายภาวะภูมิคุ้มกันฯของร่างกาย หากได้รับการติดเชื้อซีเอมวี เป็นครั้งแรก หรือติดเชื้อซีเอมวี ย่อยชนิดใหม่ ก็จะทำให้เกิดอาการเช่นกัน นอกจากนี้ มีส่วนน้อยที่ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มนี้ อาจจะเกิดอาการจากเชื้อซีเอมวี ที่มีอยู่ในร่างกายเดิม เกิดการแบ่งตัวมี Reactivation ขึ้นมาได้

ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเหล่านี้ เชื้อซีเอมวี จะไปทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายๆอวัยวะ และทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการได้หลากหลาย อาการทั่วๆไป เช่น มีไข้เรื้อรัง อ่อน เพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ส่วนอาการอื่นๆจะขึ้นกับอวัยวะที่เกิดพยาธิสภาพ เช่น ปอดอักเสบเมื่อเกิดติดเชื้อที่ปอด มักเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนปอด โดยจะเกิดขึ้นภายใน 1-3 เดือนหลังจากได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ อาการคือ ไอแบบไม่มีเสมหะ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย

ตับอักเสบเมื่อเกิดติดเชื้อที่ตับ ผู้ป่วยจะมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลืองปวดท้อง หากเจาะเลือดตรวจจะพบค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ มักเกิดในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ นอกจากนี้ บางรายอาจเกิดถุงน้ำดีอักเสบจากติดเชื้อที่ถุงน้ำดีได้
เยื่อบุผิวทางเดินอาหารอักเสบและมีแผล จากติดเชื้ออวัยวะระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่ การติดเชื้อที่เยื่อบุภายในช่องปากหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และ/หรือลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการกลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว/ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก หรืออุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น

จอตาอักเสบ (Retinitis) มักพบติดเชื้อซีเอมวีที่จอตาในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีจำ นวนเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำมากๆ ซึ่งทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยลดลง จนกระทั่งตาบอดได้ อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตาก็ได้
สมองอักเสบ และช่องโพรงน้ำในสมองอักเสบ(Ventriculoencephalitis) มักพบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ก่อนแล้ว โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อซีเอมวีที่ระบบประส่าทนี้ จะมีอาการสับสน ตากระตุกเส้นประสาทสมองอักเสบ บางรายที่มีการสมองอักเสบอย่างเดียว (Encepha litis) จะมีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม ที่เหมือนโรคความจำเสื่อมที่เกิดจากตัวเชื้อเอชไอวี เองได้

อวัยวะอื่นๆที่อาจพบมีการติดเชื้อซีเอมวีได้ ได้แก่ ไตอักเสบ(Nephritis) ต่อมหมวกไตอักเสบ (Adrenalitis) และ/หรือ ตับอ่อนอักเสบ แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อซีเอมวี ได้แก่

เด็กทารกในครรภ์ที่ตรวจพบว่า มีการติดเชื้อซีเอมวี อาจเลือกการรักษาโดยการทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์ หรือให้ยาต้านไวรัสฆ่าเชื้อไวรัสกับมารดา ซึ่งผลในการป้องกันและรัก ษาทารกในครรภ์ยังไม่ชัดเจน อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการรักษามาก มีการศึกษาว่าการให้สารภูมิต้านทานที่เรียกว่า CMV hyperimmune globulin กับมารดา และฉีดให้กับทารกผ่านทางน้ำ คร่ำ จะช่วยลดโอกาสของทารกในครรภ์ที่จะติดเชื้อจากมารดา ที่เพิ่งมีการติดเชื้อซีเอมวี ลงได้ แต่ผลการรักษาก็ยังไม่แน่นอน

ในเด็กทารกที่คลอดออกมาแล้ว มีอาการของโรคติดเชื้อซีเอมวีแต่กำเนิด การรัก ษาหลักคือการรักษาประคับประคองตามอาการ และดูแลตามความพิการที่ปรากฏ การให้ยาต้านไวรัสฆ่าเชื้อไวรัส ยังไม่พบประโยชน์ที่ชัดเจน
ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันฯปกติ ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคการรักษาหลักคือ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เมื่อผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียมากหรือกินไม่ได้ เป็นต้น การให้ยาต้านไวรัสฆ่าเชื้อไวรัสนั้นไม่แนะนำ เพราะประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อยังไม่ดีพอ เมื่อเทียบกับผลข้างเคียงจากยาที่อาจได้รับ อีกทั้งในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่อาการจะหายได้เป็นปกติ ยกเว้นในบางรายที่มีอาการรุนแรง จึงอาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ

ในคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถึงแม้ว่ายาต้านไวรัสเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสยังไม่มีประ สิทธิภาพดีพอ แต่ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์ก็แนะนำที่จะให้ยาต้านไวรัส ควบคู่กับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่เป็นอยู่ นอกจากนี้การศึกษาพบว่า การให้ CMV hyperimmune globulin ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ จะช่วยลดการเกิดพยาธิสภาพต่างๆจากเชื้อซีเอมวีได้

ดูแลตนเอง และป้องกันโรคติดเชื้อซีเอมวีอย่างไร?

การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคติดเชื้อซีเอมวี ได้แก่ ถึงแม้ว่าทารกมีโอกาสติดเชื้อจากการกินนมแม่ก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีอาการ และการกินนมแม่ก็มีประโยชน์มากกว่าการที่จะงดให้นม เพียงเพื่อต้องการป้องกันการติดเชื้อซีเอมวี สู่ทารก จึงไม่มีคำแนะนำให้งดนมแม่ แม้จะทราบว่า แม่เคยมีการติดเชื้อซีเอมวี มาก่อนก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวังในการรับเชื้อซีเอมวี โดยการป้องกันการสัมผัส น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระของผู้อื่น ได้แก่ การล้างมือก่อนการปรุงและกินอาหาร การไม่ใช้แก้วน้ำ จาน ชาม และของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น

เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่อาจมาจากการได้รับเลือด ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะต้องใช้เลือดจากผู้บริจาคที่ไม่เคยติดเชื้อซึ่งทราบจากการนำเลือดไปตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อซีเอมวี หรือใช้เลือดที่ผ่านการแช่แข็ง และถูกทำให้ปลอดภัยจากเชื้อนี้ด้วยวิธีที่เฉพาะที่เรียกว่า Deglycerolized ในผู้ที่ต้องปลูกถ่ายอวัยวะแต่ไม่เคยติดเชื้อซีเอมวี การป้องกันการติดเชื้อซีเอมวี จากอวัยวะที่ปลูกถ่าย คือ ต้องเลือกอวัยวะจากผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ซึ่งจะทราบได้จากการตรวจเลือดของทั้งผู้รับบริจาค และผู้ที่เป็นผู้ให้อวัยวะ หากไม่ได้ตรวจหรือจำเป็นต้องได้รับอวัยวะนั้น การให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกัน พบว่าอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้

มีการคิดค้นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อซีเอมวี แต่ประสิทธิภาพยังไม่ดีพอ จึงยังไม่ได้แนะนำให้ใช้ในบุคคลทั่วไป มีการทดลองให้วัคซีนในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดเชื้อ พบว่าช่วยลดอัตราของการติดเชื้อของ