กระดานสุขภาพ

ขอสอบถามคะ
Anonymous

11 พฤศจิกายน 2559 15:08:48 #1

หนูไม่รู้ว่าเป็นรึป่าว ไปหาหมอตรวจเช็คลำไส้บนล่างแล้ว และหมอให้ตรวจกระเพราะหลอดอาหารไปร่วมด้วยเลย แต่ผลบอกปกติ แน่หนูมีอาการจุกแน่น คอ แสบร้อนสะบักซ้าย หายใจลำบากแน่นมาก หลังจมูกอักเสบตลอดเวลา แต่หมอบอกปกติ หาสาเหตไม่ได้ หนูควรไปหาหมอกรดไหลย้อนอีกท่านดีมั้ยคะ โรคนี้วินิจฉัยกันง่ายๆเลยมั้ย
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 51 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.43 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

14 พฤศจิกายน 2559 04:31:38 #2

โรคกรดไหลย้อน (Gastoesophageal reflux disease) หรือ เรียกย่อว่า โรคเกิร์ด (GERD) หรืออาจเรียกว่า โรคกรดไหลกลับ ได้แก่โรคซึ่งกรดที่ควรมีอยู่แต่เฉพาะในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร และก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn) ลำคอและกล่องเสียงอักเสบ (เจ็บคอเรื้อรัง มีเสลด และอาจเสียงแหบเป็นครั้งคราว)

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

• อายุ ดังกล่าวแล้ว อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น

• การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย

• ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่

• ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมันมันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ

• อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อเพราะจะลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เช่น ช็อกโกแลต สุรา/แอลกอฮอล์

• เครื่องดื่มมีกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มกลุ่มโคล่า ยาชูกำลังบางชนิด) เพราะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น

• อาหารที่ก่อการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มและอา หารที่มีความเป็นกรด (เช่น รสเปรี้ยว มะเขือเทศ)

• อาหารและเครื่องดื่มที่ให้แก๊สมาก (เช่น น้ำอัดลม หอม กระเทียม)

• นอกจากนั้นแต่ละคนต้องสังเกตตนเองว่า อาหารและเครื่องดื่มประเภทใด ปริมาณอย่างไรที่กระตุ้นให้เกิดอาการ หรือก่อให้เกิดอาการมากขึ้น ทั้งนี้เพราะแต่ละคนจะไวต่ออาหารได้แตก ต่างกัน

• บุหรี่ เพราะมีสารพิษ เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และอาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง

• โรคเรื้อรังต่างๆที่มีผลต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งของกระเพาะอาหารและของเส้น ประสาทกระเพาะอาหารเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง

• โรคอ้วน เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้น

• การตั้งครรภ์ เพราะเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารจากครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น

• โรคของกะบังลม ซึ่งมักเป็นแต่กำเนิด ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อนหรือมีช่อง กระเพาะอา หารจึงดันเข้าไปอยู่ในช่องอกส่งผลให้มีอาหารค้างในกระเพาะอาหาร รวมทั้งเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารด้วย

• โรคกล้ามเนื้อ และ/หรือ ของเนื้อเยื่อต่างๆ (พบได้น้อย) ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และ/หรือเนื้อเยื่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานด้อยประสิทธิภาพลง

อาการพบบ่อยของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

• อาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคนี้ แต่พบในคนปกติเป็นครั้งคราวได้เมื่อกินอาหารมากเกินไป หรือกินอาหารรสจัด แต่เมื่อมีอาการบ่อย หรืออาการไม่หายไปภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์ เพราะมักเกิดจากโรคกรดไหลย้อน แต่เมื่อมีอาการแสบร้อนกลางอกรุน แรง ควรต้องรีบพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉิน เพื่อแยกจากอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

• เรอบ่อย โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนทั้งที่ยังไม่ได้กินอะไร ทั้งนี้เพราะจากภาวะมีกรด และมีอาหารบางส่วนค้างในกระเพาะอาหาร
• อาจปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ (บริเวณกระเพาะอาหาร) เรื้อรัง
• สะอึกบ่อย
• เจ็บคอเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนตื่นนอน จากกรดและอาหารไหลท้นถึงลำคอ ก่อการอักเสบเรื้อรังของลำคอ
• ไอเรื้อรัง จากอาหารและกรดท้นขึ้นมาถึงลำคอ จึงเกิดลำคออักเสบเรื้อรัง
• อาจมีเสียงแหบเป็นๆหายๆเรื้อรัง จากอาหารและกรดไหลท้นถึงกล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง
• มีรสเปรี้ยวในช่องปากเสมอ จากมีเศษอาหารและกรดไหลท้นถึงช่องปาก
• อาจอาเจียน หรือขย้อนอาหารออกมาได้บ่อยผิดปกติ หลังกินอาหาร
• มีเสมหะ หรือของเหลว หรือสารคัดหลั่งไหลลงลำคอเสมอ ก่ออาการไอเรื้อรัง จากมีการอักเสบเรื้อรังของไซนัส (ไซนัสอักเสบ) สาเหตุจากอาหารและกรดท้นขึ้นมาถึงโพรงหลังจมูก
• อาการจากโรคหืดที่ในบางรายมีสาเหตุจากโรคกรดไหลย้อน(ไอ หอบ เหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด) หรือทำให้อาการของโรคหืดที่เป็นอยู่ก่อนแล้วรุนแรงขึ้น แพทย์เชื่อว่าจากมีกรดไหลท้นสู่หลอดลม/ปอด จึงก่อการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม

แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เลิก/จำกัดอาหาร เครื่องดื่มที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เลิกบุ หรี่ ควบคุมน้ำหนัก, ร่วมกับเมื่อมีอาการเรื้อรังรุนแรงขึ้น แพทย์จะให้ยาต่างๆ เช่น ยาลดกรด(อ่านเพิ่มเติมในบทความ วิธีใช้ยาลดกรด) หรือยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร (เช่น ยา Metoclopramide) ซึ่งเมื่ออาการเลวลงมาก อาจต้องให้การผ่าตัดหูรูด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ เพราะการผ่าตัดไม่ได้ผลดีในผู้ป่วยทุกราย
ดังนั้น ในการรักษาควบคุมโรคนี้ ผู้ป่วยต้องระลึกเสมอว่า โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย แต่รักษาควบคุมอาการได้ดี โดยต้องควบคู่กันไประหว่างการปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง (อ่านเพิ่ม เติมในหัวข้อ การดูแลตนเอง) ร่วมกับการรักษาจากแพทย์กรณีเมื่อมีอาการต่อเนื่อง ซึ่งการรัก ษาด้วยยาหรือการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวโดยไม่ปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต ไม่สามารถรักษาควบคุมโรคกรดไหลย้อนได้