กระดานสุขภาพ

อยากถามคุณหมอเรื่องตรวจสอบเบาหวานครับ
Anonymous

3 พฤศจิกายน 2559 11:18:06 #1

คือผมมีอาการคล้ายจะเป็นเบาหวาน คืออาการมันไม่แน่นอนอะครับ คอแห้งบ้างแต่เป็นบางทีคันตามเนื้อตามตัวก็มีบ้างแต่มันเหมือนมีนิดเดียวอะครับ แล้วก็แผลหายปกติ ไม่ได้ช้าอะไร(เช่นผมเป็นที่ปากใช่เวลาประมาน1อาทิตหาย ผมหนังศรีสะเป็นแผลเพราะย้อมผมหนัก ใช่เวลาประ5-6วันก็หายแล้วอะครับ) ไม่มีมดมาตอมฉี่. แต่ผมลองตรวจสอบเบาหวานโดย นำสารละลายเบเนดิกผสมกับฉี่แล้วเอาไปต้ม มันเหมือนเปลี่ยนเป็นสีเขียวอะคับ เหมือนสีน้ำเงินอบเขียวคับ ในเว็บเขาบอกว่าถ้าตรวจว่าเป็นสีเขียว(+1)ขึ้นไป ให้เราคิดไว้เลยวาเราเป็นเบาหวาน แต่ผมได้ไปอ่านกระทู้ในเว็บ***เขาบอกว่าเขามีอาการเป็นเบาหวาน มีมดมาตอมฉี่ด้วย แล้วเขาไปตรวจกับหมอ หมอบอกเขาว่า ไกล่เป็นแล้วอยู่ในขั้นเสี่ยงถ้าไม่ลดน้ำตาลอาตเป็นได้ ผมก็เลยสงสัยว่าระหว่างผมที่มดไม่ขึ้นฉี่กับเขาที่มดขึ้นฉี่ มันน่าจะเป็นเขาที่มีน้ำตาลในฉี่มากกว่าผม แต่ทำไมหมอบอกเขาว่าแค่เสี่ยงจะเป็น แต่ผมเป็นหละคับ(ที่บอกว่าผมเป็นคือดูจากเว็บ)
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 141 กก. ส่วนสูง: 178ซม. ดัชนีมวลกาย : 44.50 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

6 พฤศจิกายน 2559 17:05:18 #2

เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือเรียกย่อว่า โรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติ

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุและทั้งสองเพศ แต่จะพบได้สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

โดยทั่วไป แบ่งเบาหวานได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิด 1 (Diabetes mellitus type 1), เบาหวานชนิด 2 (Diabetes mellitus type 2) และเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Ges tational diabetes mellitus)

เบาหวานชนิด 1 เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรัก ษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus) และเพราะเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น หรือ Juvenile diabetes mellitus ( อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.comบทความเรื่อง โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น)

เบาหวานชนิด 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน ดังนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า เบาหวานในผู้ใหญ่ (Adult onset diabetes mellitus) และเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน (Non- insulin-dependent diabetes mellitus) ซึ่งเบา หวานชนิดนี้พบได้สูงที่สุดประมาณ 90 - 95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงโรคเบาหวาน จึงมักหมายถึงโรคเบาหวานชนิดนี้ (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง รู้ทันเบาหวาน)

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ พบได้ประมาณ 2 - 5% ของเบาหวานทั้งหมด กล่าวคือ เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่า

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่

  1. โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆดื้อต่ออินซูลิน
  2. ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้เซลล์ต่างๆไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ หรือช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง
  3. พันธุกรรม เพราะพบว่า คนที่มีครอบครัวสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ท้องเดียวกัน) เป็นเบา หวานมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป
  4. เชื้อชาติ เพราะพบว่า คนบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่า เช่น ในคนเอเชียและในคนผิวดำ
  5. อายุ ยิ่งอายุสูงขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้น อาจจากการเสื่อมถอยของเซลล์ตับอ่อน หรือขาดการออกกำลังกายจากสุขภาพที่เสื่อมถอย
  6. มีไขมันในเลือดสูง
  7. มีความดันโลหิตสูง

เบาหวานมีอาการอย่างไร?

อาการหลักสำคัญของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย นอกจากนั้น เช่น
เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวแห้ง คัน ตาแห้ง อาการชาเท้าหรือรู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้าหรือที่เท้า ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้ เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆแผลมักหายช้ากว่าปกติโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้

แพทย์วินิจฉัยเบาหวานได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติการเจ็บ ป่วยของคนในครอบครัว การตรวจร่างกาย และที่สำคัญคือ การตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาลในเลือด และ/หรือ ดูสารที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C: Glycated hemoglobin) ค่าปกติของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือเรียกย่อว่า FBS) คือ น้อยกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) หรือถ้าตรวจเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังแพทย์ให้กินน้ำตาลประมาณ 75 กรัม (Glucose tolerance Test หรือเรียกย่อว่า จีทีที/ GTT) ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 140 มก./ดล หรือค่า HbA1C น้อยกว่า 6.5% เบาหวาน คือ ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป และ/หรือ ค่าจีทีที สูงตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป หรือค่า HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%

อาจมีการตรวจอื่นๆประกอบด้วย เช่น การตรวจปัสสาวะดูน้ำตาลในปัสสาวะซึ่งจะไม่พบในคนปกติ นอกจากนั้น คือ การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต เพราะเบาหวานมักส่งผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงของเบา หวานต่อจอตา หรือที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา

ดังนั้นในการจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานคือ ต้องเจาะเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาล ถึงจะวินิจฉัยได้นะคะ