กระดานสุขภาพ

สวัสดีค่ะคุณหมอหนูชอบมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก และมีอาการควบคู่กับมือสั้นด้วยค่ะเวลาเครียดหรือทถ้าไม่เครียดแต่ทำงานอะไรนิดหน่อยก็มีอาการแบบนี้ทุกครั้งบางครั้งนั่งเฉยๆก็มีอาการแบบนี้ค่ะเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะและต้องรักษาอย่างไงถึงจะหายเป็นปกติค่ะ
Ice-*****4

28 พฤศจิกายน 2555 12:28:25 #1

เวลาเครียดหรือทถ้าไม่เครียดแต่ทำงานอะไรนิดหน่อยก็มีอาการแบบนี้ทุกครั้งบางครั้งนั่งเฉยๆก็มีอาการแบบนี้ค่ะเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะและต้องรักษาอย่างไงถึงจะหายค่ะ

อายุ: 17 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 45 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 16.53 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ. อุดม เพชรสังหาร

(จิตแพทย์)

30 พฤศจิกายน 2555 09:28:02 #2

อาการมือสั่น ใจสั่น แน่นหน้าอก เวลาตั้งใจทำอะไรบางอย่าง มีสาเหตุได้ทั้งจากทางร่างกายและจิตใจ
1. ก่อนอื่นอยากให้ลองตรวจเช็คร่างกายดูหน่อยก็ดี เพราะคุณน้ำหนักค่อนข้างน้อย ร่างกายอะไรบกพร่องบ้างหรือเปล่า

2. อดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือใช้ยาอะไรอยู่บ้างหรือเปล่าครับ เพราะสาวๆ สมัยนี้ชอบหุ่นผอมๆ การอดอาหารที่ผิดวิธี การใช้ยาควบคุมน้ำหนัก ทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้ครับ

3. ถ้าไม่ใช่ทั้ง 1 และ 2 อาการแบบนี้มักจะเกิดความกังวลครับ ไม่ใช่โรค แต่เป็นความกังวลที่บางทีเราอาจจะรู้สึกกังวลลึกๆ ว่า จะทำอะไรไม่ได้ตามที่ต้องการ กังวลว่าจะถูกตำหนิ ไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง พอจะต้องทำอะไรที่มันกระทบต่อความรู้สึกแบบนี้ ร่างกายมันเลยฟ้อง ทำให้มือไม้สั่น ใจสั่น แน่นหน้าอก ฯลฯ

4. ถ้าเป็นแบบ ข้อ 3 ผมมีข้อแนะนำดังนี้ครับ

  • บอกตัวเองว่า "ฉันจะควบคุมมันให้ได้ และฉันต้องทำได้"
  • การกำหนดจิตตัวเองแบบนี้สำคัญมาก เพราะมันจะทำให้ใจของเรามุ่งมั่น และระบบการทำงานของสมองอีกหลายๆ ระบบจะคอยสนับสนุนการกำหนดจิตแบบนี้ แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยความรู้สึกว่า "แย่" อะไรๆ มันก็จะแย่ตามมาทั้งหมด
  • เมื่อมีอาการเกิดขึ้น ไม่ต้องตกใจ หายใจเข้าลึกๆ บอกตัวเองว่า "ฉันต้องควบคุมมันให้ได้" ทำใจให้สบายๆ อยู่กับมัน ปล่อยให้มันเป็นไป ดูซิว่ามันจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วคุณจะพบว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
  • การที่รู้ว่า "มันไม่น่ากลัว" จะทำให้ใจและสมองของคุณเกิดการปรับตัวใหม่
  • แรกๆ อาจจะไม่ได้ผล อย่าถอยเป็นอันขาด เพราะคุณกำลังจะปรับเปลี่ยนความเคยชินของใจและสมองของคุณในการเผชิญกับสถานการณ์ความกังวล ต้องใช้เวลา
  • ทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ
  • การฝึกนั่งนิ่งๆ คอยสังเกตการหายใจเข้าออกของตัวเองครั้งละประมาณ 5 นาที วันละ 3 ครั้ง จะช่วยให้คุณทำตามขั้นตอนในข้อ 4 ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

 

นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร